คุณลักษณะ 10 ประการ


ธรรมศึกษา

 

 ส่งเสริมความมีระเบียบวินัย

1. ความละอายใจต่อการทำชั่ว และเกรงกลัวต่อความชั่ว (หิริ โอตตัปป ธรรมคุ้มครองโลก หรือ ธรรมเป็นโลกบาล 2 อย่าง )

2. ความอดทนและความเสงี่ยม (ขันติ โสรัจจะ ธรรมอันทำให้งาม 2 อย่าง )

3. ข้อห้าม 5 อย่าง คือ การปลงชีวิต การถือเอาของที่เขาไม่ให้ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และการดื่มน้ำเมา และข้อควรประพฤติ 5 อย่าง คือ ความเมตตา กรุณา การประกอบอาชีพสุจริต การสังวรในกาม ความซื่อสัตย์ และความไม่ประมาท ( เบญจศีล เบญจธรรม )

4. คุณสมบัติของคนดี หรือ ของผู้ดี คือ ความรู้จักและปฏิบัติอย่างเหมาะสมในชีวิตและสังคม 7 ประการ ( สัปปุริสธรรม 7 –ความรู้จักเหตุ หรือผล ตนเอง ความพอดี กาลเวลาอันเหมาะสมการประพฤติปฏิบัติต่อชุมชน และบุคคล )

5. คุณธรรมประจำใจอันประเสริฐ 7 อย่าง (อริยทรัพย์ 7 –ศรัทธา ศีล หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ จาคะ และ ปัญญา )

6. ความมีวินัยในตนเอง หรือ การได้ฝึกอบรมตัวเองไว้ (วินโย จ สุสิกขิโต-มงคลสูตร 38 ประการ ข้อ 9)

7. จรรยาบรรณของอาชีพต่าง ๆ

8. การรักษาความสะอาด (โสเจยธรรม- เครื่องชำระร่างกาย และจิตใจให้สะอาด 10 ประการ)

 

ส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม

1. ละความชั่ว ทำดีและทำใจให้บริสุทธิ์ (พระพุทธศาสนา 3 อย่าง)

2. เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา (พรหมวิหาร 4 –ธรรมประจำใจอันประเสริฐ หรือหลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ 4 ประการ)

3. ความไม่ลำเอียงเพราะความชอบ ความชัง ความเขลา หรือความหลงและความกลัว(การเว้นจากอคติ หรือฐานะอันไม่พึงถึง 4 อย่าง)

4. ทางสายกลางในการดำรงชีวิต หรือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ 8 ประการ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งจิตมั่นชอบ (มรรค8)

5. ทางทำดี หรือทางไปสู่ความเจริญ ทางกาย 3 อย่าง วาจา 4 อย่าง และใจ 4 อย่าง (กุศลกรรมบถ 10)

6. ทางทำชั่ว หรือการกระทำอันนำไปสู่ความเสื่อม ทางกาย 3 อย่าง วาจา 4 อย่าง และใจ 4 อย่าง (อกุศลกรรมบถ 10)

7. กฎแห่งกรรม คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (ธรรมอันเป็นโลกปาลและ อริยทรัพย์ 7)

 

ส่งเสริมความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาชีพ

1. คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ ในการประกอบกิจการงานต่าง ๆ คือ ความพอใจต้องการที่จะกระทำ ความขยันหมั่นเพียร ความตั้งใจและความไตร่ตรองอย่างรอบครอบในการกระทำ (อิทธิบาท 4)

2. ธรรมเกื้อกูลประโยชน์ในปัจจุบัน 4 อย่าง คือ การถึงพร้อมด้วยความมั่นใจ,การถึงพร้อมด้วยการรักษา,การคบคนดีเป็นมิตร และการมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม(ทิฎฐธัมมิกัตถประโยชน์)

3. ความสุขของคฤหัสถ์ 4 อย่าง คือ สุขเกิดแต่การมีทรัพย์, จ่าทรัพย์บริโภค,ความไม่เป็นหนี้ และประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

4. เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลและประชาชน 4 อย่าง คือ การให้ปัน วาจาเป็นที่รัก ประพฤติประโยชน์ และความมีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์กับผู้อื่น (สังคหวัตถุ 4)

5. สาเหตุที่ทำให้ตระกูลอันมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ คือ ไม่แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว,ไม่บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่าชำรุด,ไม่รู้จักประมาณในการใช้จ่าย และตั้งคนทุศีลเป็นพ่อบ้านแม่เรือน

6. ธรรมอันเป็นพลังให้เกิดความสำเร็จในกิจการต่าง ๆ 4 ประการ คือ กำลังปัญญา,ความเพียร,ความสุจริต,การสงเคราะห์ หรือ 5 ประการ คือ ความเชื่อ,ความเพียร,ความระลึกได้,ความตั้งจิตมั่นและความรอบรู้ (พละ 4 หรือ พละ 5)

7. การละเว้นสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม 5 ประการ คือ ความต้องการกามคุณ,ความพยาบาทคิดร้ายผู้อื่น,ความหดหู่เชื่องซึม,ความกระวนกระวายฟุ้งซ่านกังวล,ความลังเลสงสัย(นิวรณ์ 5)

8. การเว้นจากการค้าขายอันไม่ชอบธรรม 5 อย่าง คือ ค้าขายอาวุธ มนุษย์ เนื้อสัตว์ น้ำเมา และยาพิษ (มิจฉาวณิชชา 5)

9. เว้นจากอบายมุข หรือช่องทางแห่งความเสื่อม 6 ประการ คือ การดื่มสุรา หรือเสพของมึนเมา ชอบเที่ยวกลางคืน ชอบเที่ยวดูการละเล่น ติดการพนัน คบคนชั่วและเกลียดคร้านการงาน

10. ความอดทน และการพยายามควบคุมตนไม่ให้ทำชั่วตามใจอยาก (ขนฺตี จตโป มงคลสูตรที่ 27 และ 31)

 

ส่งเสริมความสำนึกในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อสังคม และประเทศชาติ

1. ธรรมสำหรับการครองเรือน 4 อย่าง คือ ความซื่อสัตย์ การเอาปัญญาเป็นเครื่องข่มใจ ความอดทน และการเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (ฆราวาสธรรม 4)

2. ธรรมที่จะนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง 4 อย่าง คือ การอยู่ในถิ่นที่ดี การสมาคมกับคนดี การตั้งตนไว้ชอบ และเป็นผู้ที่ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว (จักร 4)

3. ประโยชน์อันเกิดแก่การเอาโภคทรัพย์ 5 คือ เลี้ยงตัว บิดามารดา บุตรภรรยา และคนในปกครองให้เป็นสุข บำรุงมิตรสหาย ผู้ร่วมงานให้เป็นสุข ป้องกันอันตราย สงเคราะห์ญาติ ต้อนรับแขก ทำบุญอุทิศให้ผู้ล่วงลับไปแล้ว บำรุงราชการ สักการะบูชาพุทธศาสนาและอุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ (โภคอาทิยะ 5)

4.สมบัติของอุบาสก 5 ประการ มีศรัทธาในหลักธรรมศาสนา มีศีล ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนาและอุปถัมภ์บำรุงศาสนา (อุบาสกธรรม 5)

5. การปฏิบัติต่อบุคคลที่อยู่รอบตัวเราก็ดี คือ บิดามารดา ภรรยาหรือสามี มิตรสหาย คนรับใช้ คนงาน และสมณพราหมณ์ พระสงฆ์ หรือนักบวช (ทิศ 6)

6. การบำรุงบิดามารดา สงเคราะห์บุตร ภรรยา การประกอบการงานด้วยความขยันขันแข็ง การสงเคราะห์ญาติ (มาตาปิตุอุปฎฺฐานํ ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห อนากุลา จ กมฺมนฺตา มงคลสูตร ข้อ 11,12,13,14) สัปปุริสธรรม 7 และ อริยทรัพย์ 7

 

ส่งเสริมความรู้จักคิดริเริ่ม วิจารณ์ และตัดสินใจอย่างมีเหตุผล

1. ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือ การหยั่งรู้ 7 อย่าง คือ ความระลึกได้ การฟังธรรม ความเพียร ความอิ่มใจ ความสงบกายสงบใจ ความมีใจตั้งมั่น ความมีใจเป็นกลางวางเฉย (โพชฌงค์ 7)

2. ข้อปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย คือ อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา ถือสืบกันมา อ้างตำราหรือคัมภีร์ ใคร่ครวญเอาเอง คิดตริตรองด้วยเหตุผล เข้าใจได้ด้วยทฤษฎีที่มีมาแล้ว รูปลักษณะที่เป็นไปได้หรือนับถือว่าครูเราสอน ต้องรู้และเข้าใจด้วยตนเองว่า เป็นกุศลหรืออกุศล มีโทษหรือไม่มีโทษ เป็นต้น แล้วจึงละ หรือปฏิบัติตาม (กาลามสูตรกังขานิยฐาน)

3. ความเป็นพหูสูตร (พาหุสจจญจ มงคลสูตร ข้อ 7) , สัปปุริสธรรม 7 , อริยทรัพย์ 7 และ นิวรณ์ 5

 

ส่งเสริมความกระตือรือร้นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

1. หลักการสงเคราะห์ประชาชนของผู้ปกครอง 4 อย่าง คือ การส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมคดีในราชการ ส่งเสริมอาชีพประชาชน ส่งเสริมความเข้าใจดีโดยการพูดจา (ราชสังคหวัตถุ 4)

2. ยึดมั่นในธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม 7 อย่าง คือ หมั่นประชุมกันเนื่องนิตย์ เข้าประชุมเลิกประชุมโดยพร้อมเพียงกันไม่บัญญัติสิ่งอันขัดกับบัญญัติเดิม เคารพนับถือผู้ใหญ่ในคณะมิให้ข่มเหงผู้หญิงและเด็ก เคารพสักการะปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุของชาติ และจัดอารักขาคุ้มครองพระภิกษุสงฆ์ และบรรพชิตผู้ทรงศีล (อปริหานิยธรรม 7)

3. คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง 10 ประการ คือ การให้ การมีศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความอ่อนโยน การละเลิกการคิดชั่วทั้งปวง ความไม่เกรี้ยวกราด ความไม่เบียดเบียน ความอดทนและความตั้งมั่นในธรรม (ทศพิธราชธรรม 10)

4. การบูชาคนที่ควรบูชา และการรู้จักบุญคุณผู้อื่น (ปูชา จ ปูชนียานํ - กตฺญญุตา มงคลสูตรข้อ 3 และข้อ 25) , พรหมวิหาร 4 , อคติ 4 , สัปปุริสธรรม 7 , กาลามสูตร กังขานิยฐาน 10

 

ส่งเสริมความเป็นผู้มีพลานามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ

1. ลักษณะสามัญแห่งสังขาร 3 ประการ คือ ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่เป็นของตน (ไตรลักษณ์)

2. ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ คือ ความทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ และทางไปสู่ความดับทุกข์ (อริยสัจ 4)

3. ส่วนประกอบของชีวิต 5 กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขันธ์ 5)

4. ธรรมที่เกื้อกูลแก่อายุส่งเสริมสุขภาพ 5 อย่าง คือ รู้จักทำความสบายให้ตนเอง รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย บริโภคสิ่งที่ย่อยง่าย ประพฤติเหมาะสมกับเวลา และถือพรหมจรรย์(อายุวัฒนธรรม 5)

5.ธรรมดาของโลก 8 อย่าง คือ มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุขและทุกข์ (โลกธรรม 8)

6. การละเว้นจากมลทิน 8 ประการคือ โกรธ ลบหลู่คุณท่าน ริษยา ตระหนี่ มารยาโอ้อวด พูดปด ปรารถนาลามก และความเห็นผิด (และ 9)

7. การเข้าสมาธิ หรือรักษาสมาธิเพื่อสุขภาพจิตดี

8. การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา การตั้งจิตแน่วแน่ไม่หวั่นไหว ไม่โศกเศร้า ปราศจากมลทิน และจิตใจสบาย ( มชฺชปานา จ สญฺญโม ผุฎฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ อโสกํ วิรชํ เขมํ มงคลสูตร ข้อ 20,35,36,37, และ 38 ) และ ฆราวาสธรรม 4

 

ส่งเสริมความรู้จักพึ่งตนเองและมีอุดมคติ

1. คุณธรรมที่ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม 4 อย่าง คือ การคบหาคนดี การฟังสัทธรรม การคิดหาเหตุผลโดยถูกวิธีและการปฏิบัติสมควรแก่ธรรม (วุฒิธรรม 4)

2. ลักษณะของมิตรแท้ 4 จำพวก คือ มีอุปการะ ร่วมสุขร่วมทุกข์ แนะนำประโยชน์ และมีความรักใคร่ มิตรเทียม 4 จำพวก คือ ปลอกลอก ดีแต่พูดหัวประจบ และชักชวนในทางเสื่อม

3. คุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ 10 อย่าง คือ มีศีล ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก คบคนดีเป็นมิตร ว่านอนสอนง่ายเอาใจใส่ช่วยกิจการของผู้อื่นร่วมคณะเป็นผู้ใคร่ในธรรม ขยันหมั่นเพียรสันโดษ มีสติปัญญา (นาถกรณธรรม 10)

4. การเว้นจากธรรมที่เป็นทางแห่งความเสื่อม 12 ประการ คือ รู้แต่ทำชั่ว ไม่ชอบทำดี ไม่ปฏิบัติตนเป็นแบบที่ดี ชอบนอนชอบคุย ไม่เลี้ยงดูบิดามารดา กล่าวเท็จต่อสมณพราหมณ์ อุปโภคบริโภคทรัพย์ที่มีมากของตนแต่ผู้เดียว หยิ่งในชาติกำเนิดฐานะ ดูหมิ่นญาติของตนชอบทางอบายมุขผลาญทรัพย์ของตน ไม่สันโดษด้วยภรรยาของตน หึงหวงคู่ครองที่ตนมีไม่เหมาะสมตั้งผู้เป็นนักเลงสุรุ่ยสุร่ายเป็นใหญ่ในเรือน มักใหญ่ใฝ่สูงเกินขอบเขต (ปราภวธรรม 12)

5. การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต และการตั้งตนไว้ชอบ ( อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิ-ตานญจ อตฺตสมฺมาปณิธิ จ มงคลสูตรข้อ 1,2 และ 6) และ กฎแห่งกรรม

 

ส่งเสริมความภาคภูมิใจและรู้จักทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและทรัพยากรของชาติ

1.บุคคลที่หาได้ยาก 2 พวก คือ ผู้ให้อุปการะแก่ผู้อื่นก่อน และผู้รู้จักบุญคุณ และตอบแทนบุญคุณ

2. วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งบุญ หรือ คุณความดี 10 ประการ คือ การให้ปั่นสิ่งของ การรักษาศีล การภาวนา หรือฝึกอบรมจิตใจ ความประพฤติอ่อนน้อม การขวนขวยรับใช้ การเฉลี่ยความดีให้ผู้อื่น ความยินดีในความดีของผู้อื่น การฟังธรรมทางความรู้ การสอนธรรมให้ความรู้ และการทำความเห็นให้ตรง (บุญกิริยาวัตถุ 10)

3. การอยู่ในประเทศอันสมควร ศิลปะที่ศึกษาดีแล้ว การประพฤติธรรมและความสันโดษ (ปฏิรูปเทสวาโส จ - สิปฺปญฺจ - ธมฺมจริยา สนฺตุฏฐี จ - มงคลสูตรข้อ 4,8,16 และ 24 )  พรหมวิหาร 4 และ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 4

 

ส่งเสริมความเสียสละ เมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหายและสามัคคีกัน

1. คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า 5 อย่าง คือ ความเชื่อที่มีเหตุผล ศีล ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ความมั่นคงในการเพียร และความรอบรู้ในเหตุผล (เวสารัชชกรณธรรม 5)

2. การกล่าววาจาสุภาษิต การให้ทาน เว้นจากบาป ไม่ประมาท ความเคารพ ความถ่อมตัว (สุภาสิตา จ ยา วาจา - ทานญฺจ - อารตี วิรตีปาปา อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ คารโว จ นิวาโต จ - มงคลสูตร ข้อ 10,14,19,21,22,23) ยังมีข้อธรรม อริยทรัพย์ 7 , พรหมวิหาร 7 , สังคหวัตุ 4, บุคคลหาได้ยาก 2 และ บุญกิริยาวัตถุ 10

 

หัวข้อธรรมที่ใช้อบรมสั่งสอนสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในสถานศึกษา

 

1. ทานมัย การให้ทาน

2. ศีลมัย การักษาศีล

3. ภาวนามัย การฝึกอบรม

4. อปจายนมัย การประพฤติถ่อมตน

5. เวยยาวัจมัย การช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ

6. ปัตติทานมัย การให้ส่วนบุญ

7. ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาส่วนบุญ

8. ธัมมัสสวนมัน การฟังธรรม

9. ธัมมเทศามัย การสอนธรรม

10. ทิฎฐุขุกรรม การทำความเห็นให้ตรง

11. คารวะ ความเคารพ

12. โสวจัสสตา ความเป็นคนว่าง่ายสอนง่าย

13. สันตุฎฐี ความสันโดษ

14. สมชีวิตา เลี้ยงชีพพอเหมาะกับฐานะ

15. หิริ ความละอายต่อบาป

16. โอตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป

17. ปิยวาจา การพูดจาอ่อนหวาน

18. อัตถจริย การบำเพ็ญประโยชน์

19. สมานัตตา ความเป็นผู้ไม่ถือตัว

20. วินโย จ สุสิกขิโต ความมีระเบียบวินัย

21. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ

22. เมตตา ความรักใคร่

23. กรุณา ความสงสาร

24. มุทิตา ความพลอยยินดี

25. อุเบกขา ความวางเฉย

26. สัจจะ ความจริงใจ

27. ทมะ การข่มใจ

28. ขันติ ความอดทน

29. โสรัจจะ ความสงบเสงี่ยม

30. ฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น

31. วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร

32. จิตตะ การเอาใจใส่ในสิ่งนั้น

33. วิมังสา ตริตรองพิจารณาในสิ่งนั้น

34. อารักขสัมปทา การรักษาทรัพย์สมบัติ

35. กัลยาณมิตตตา มีเพื่อนดี

36. จาคะ การเสียสละ

37. ปัญญา ความรอบรู้

38. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุ

39. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล

40. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน

41. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

42. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล

43. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

44. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคล

45. สัปปุริสสังเสวะ คบคนดี

46. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นที่เหมาะ

47. โยนิโสมนสิการ ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ

48. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก

49. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ประพฤติธรรมตามสมควรแก่ธรรม

50. สัทธา เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ

51. สติ ความระลึกได้

52. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

53. ปุพพการี ผู้ทำบุญคุณแก่ผู้อื่นก่อน

54. กตัญญูกตเวที ผู้รู้บุญคุณที่ผู้อื่นทำแก่ตนแล้วตอบแทน

55. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่กัน

56. โทสาคติ ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน

57. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา

58. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

 

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 3
หมายเลขบันทึก: 212224เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท