สรุปโครงการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง


สรุปโครงการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

บทนำ

1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ

                ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับปรับปรุง 2545) มาตรา 6 , 22 , 23 และ 24  กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน สถานศึกษาต้องการกิจกรรมการเรียน

การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  นอกจากนี้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ยังมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ

จากการดำเนินการดังกล่าว สถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ดำเนินการจัดการศึกษาตามหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อผู้เรียนเป็นอย่างมากแต่ที่สำคัญ จากผลการประเมินระดับต่าง ๆ ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น มีผลสอดคล้องกันคือ พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างจะต่ำกว่ามาตรฐานอย่างมาก

จากสภาพปัญหาดังกล่าว สาเหตุส่วนใหญ่พบว่าเกิดจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครู ยังไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน ครูส่วนใหญ่ยังจัดการเรียนการสอนโดยไม่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดผลประเมินผลไม่เป็นระบบตามสภาพจริง ผู้บริหารยังไม่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ยังมีการบริหารงานแบบเดิม ๆ ไม่ค่อยมีวิสัยทัศน์และการเป็นผู้นำที่ดี 

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีนโยบายในการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยพยายามผลักดันให้โรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและประสบความสำเร็จจากการบริหารงานเป็นต้นแบบโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง หรือที่เรียกว่าเป็นสถานศึกษาประเภท 1 ตามประกาศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาที่ได้รับการประกาศดังกล่าวจะต้องมีกระบวนการพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครูสายผู้สอน หรือแม้กระทั่งสภาพทางกายของโรงเรียนทุกอย่างจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ในห้องเรียนก็มีการปรับเปลี่ยนสู่การเป็นห้องเรียนคุณภาพ

การพัฒนาครูให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จึงได้ร่วมมือกับโรงเรียนนิคมวิทยาในการดำเนินการจัดการอบรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาครูสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง   

 

2. วัตถุประสงค์

1.       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนาตนเองสู่ผู้นำการ

เปลี่ยนแปลง

2.       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้กระบวนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ BBL

3.       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ศึกษาดูงาน การจัดการเรียนการสอนจากโรงเรียนหรือ

หน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการ

4.       เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันวางแผนการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนา

กระบวนการจัดการเรียนการสอน

5.       เพื่อให้ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถวางแผนการดำเนินการยกระดับผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนให้สูงกว่าขึ้นกว่าเดิม

 

3. เป้าหมายการดำเนินการ

                1. ด้านปริมาณ    

ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้าง

ตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 100 เข้าร่วมโครงการ

                2. ด้านคุณภาพ

                                2.1 ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 100 เข้าใจกระบวนการพัฒนาตนเองสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                                2.2 ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 80 เข้าใจและสามารถวางแผนการนำรูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบ BBL ไปใช้กับผู้เรียน

                                2.3 ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 100 ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงาน

                                2.4 ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 100 สามารถร่วมกันวางแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาร่วมกัน

                                2.5 ข้าราชการครู พนักงานราชการ และบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ร้อยละ 100 สามารถวางแผนยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นกว่าเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 5

 

 

 

4. ขั้นตอนการดำเนินการ

            คณะทำงานได้ดำเนินโครงการตามหลักการทำงานแบบ PDCA ดังนี้

4.1 ขั้นวางแผนและการประสานงาน (Plan)

                1.1 ประชุมคณะวิจัยและพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนและประชุมร่วมกับคณะบริหารของโรงเรียนนิคมวิทยา ในการกำหนดกรอบการดำเนินการ

                1.2 ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเตรียมงานและดำเนินการได้

                1.3 ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลำปาง เพื่อประสานขอเข้าศึกษาดูงาน

                1.4 ประสานงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา

                1.5 ประสานงานไปยังหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 เพื่อมาให้ความรู้ในการประชุมสัมมนา

                1.6 คณะกรรมการฝ่ายการเงินและพัสดุ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามโครงการ

 

4.2 ขั้นการดำเนินการ (DO)

วันที่ 23 กรกฎาคม  พ.ศ. 2551

เวลา 07.30-0.830 น. คณะครู  เดินทางมาถึงและรายงานตัวลงทะเบียน ณ โรงเรียนนิคมวิทยา

เวลา 09.00 น. นายกวี  รังสิวรารักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1  เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีนายไพรัตน์  บุญศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมวิทยาเป็นผู้กล่าวรายงาน และประธานได้บรรยายพิเศษ 

เวลา 9.30 10.30 น. นายไพรัตน์ บุญศรี บรรยายพิเศษ เรื่อง การบริหารองค์การ...บนความเปลี่ยนแปลง

เวลา 10.45-12.00 น. การบรรยาย ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้รูปแบบ BBL โดย คณะศึกษานิเทศก์จาก สพท.ระยอง เขต 1 (นำโดย นางชูศรี   ศรีวงศ์กรกฏและคณะ)

เวลา 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน     

เวลา 13.00-14.30 น. การบรรยายพิเศษเรื่อง ผู้นำ...กับการเปลี่ยนแปลง  

โดย นายศุภกฤต  ปิยะสุข ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1

                เวลา 14.30 น. เตรียมตัวเดินทางไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนบ้านโป่งแยงนอก อ.แม่ริม

จ.เชียงใหม่

 

 

                วันที่ 24  กรกฎาคม  พ.ศ. 2551

                เวลา 05.00 น. ถึงที่พัก ทำภารกิจส่วนตัว รับประทานอาหารเช้า

                เวลา 07.30-10.30 น. เดินทางไปศึกษาดูงาน รูปแบบการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ BBL

                เวลา 10.30-14.30 น. เดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสันกำแพง ซึ่งเป็นโรงเรียนในฝัน ระดับมัธยมศึกษา

                เวลา 14.30-18.00 น. ทัศนศึกษาแหล่งโบราณสถานในตัวจังหวัดเชียงใหม่ เช่น พระธาตุดอยสุเทพ และศูนย์จำหน่ายสินค้าในตัวจังหวัด

                เวลา 18.00-20.00 น. รับประทานอาหารเย็น ณ ศูนย์วัฒนธรรม จ. เชียงใหม่ หลังจากนั้นเข้าที่พัก

 

                วันที่ 25  กรกฎาคม  พ.ศ. 2551

                เวลา 07.30 น. ออกเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ไปศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานความร้อนโดยใช้ถ่านหิน ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง

                เวลา 14.00-17.00 น. เข้าศึกษาการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานความร้อนโดยใช้ถ่านหิน ณ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง

                เวลา 17.00 น. ออกเดินทางจาก จ.ลำปาง มาพักที่ จ.ตาก รับประทานอาหารเย็น กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และละลายพฤติกรรม

 

                วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

                เวลา 07.00 น. รับประทานอาหารเช้า

                เวลา 08.30 น. ทัศนศึกษาแหล่งโบราณสถาน ณ จังหวัดตาก และเดินทางกลับ ถึงจังหวัดระยอง โดยสวัสดิภาพ 

 

4.3 ขั้นการประเมินผลโครงการ  (Check)

                ได้มีการแจกแบบประเมินโครงการตามรูปแบบของ CIPP Model ซึ่งใช้แบบสอบถาม แบบประมาณค่า 5 ระดับ ตามรูปแบบของ ลิเคิร์ต จากนั้นก็นำแบบสอบถามมาคำนวณค่าตามวิธีการทางสถิติต่อไป

 

 

 

 

4.4 การวิเคราะห์ทางเลือก (Action)

                นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาอภิปรายแล้วลงข้อสรุปเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการขั้นต่อไป

5. ผลการดำเนินการ

                5.1 ด้านปริมาณ มีคณะครูจากโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 จำนวน 46 คน เข้าร่วมประชุม จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ในส่วนการเดินทางไปศึกษา มีคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 

                5.2 ด้านคุณภาพ

                                - ผลที่เกิดกับผู้เรียน นักเรียน จะได้รับการพัฒนากระบวนการคิด ตามหลักของ BBL ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาการทางการเรียนรู้สูงขึ้น

                                - ผลที่เกิดกับครู ครูที่เข้าร่วมโครงการได้รับแนวคิด หลักการและวิธีการในการดำเนินการเพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบของ BBL พร้อมทั้งสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และปรับเปลี่ยนตัวเองสู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อไป   

                                - ผลที่เกิดกับโรงเรียน โรงเรียนสามารถวางแผนการดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระหลัก และขยายผลไปยังกลุ่มสาระอื่น ๆ ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

                                - ผลที่เกิดกับชุมชน   ชุมชนเกิดความศรัทธาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนซึ่งส่งผลให้ผู้เรียน เป็นบุคคลที่มีคุณภาพในสังคม

                5.3 ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามเพื่อประเมินโครงการ เป็นดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม  เป็นดังนี้

                1. เพศ ชาย จำนวน   8 คน   คิดเป็นร้อยละ 42 เพศหญิง จำนวน 11 คิดเป็นร้อยละ 58

                2. อายุ  ต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11  ระหว่า 31-35 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ระหว่าง 36-40 ปี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3  มากกว่า 40 ปี จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 79

                3. วุฒิทางการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรี จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 5.3 ระดับปริญญาตรี จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 84 สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11

                4. การรับผิดชอบสอน กลุ่มสาระภาษาไทย จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 8 คณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 37 วิทยาศาสตร์ จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16 การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมฯ) จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11 อื่น ๆ จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 58      

                5. ประสบการณ์ในการสอนวิชาที่รับผิดชอบ น้อยกว่า 5 ปี จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ระหว่าง 5-10 ปี จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 16 และมากกว่า 10 ปี จำนวน 14 คิดเป็นร้อยละ 74


ตอนที่ 2 เกี่ยวกับการประเมินโครงการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพครู สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                การแปลความหมายของคะแนน  การวิเคราะห์ผลการประเมินโครงการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการเสริมสร้างประสิทธิภาพครู สู่ผู้นำการเปลี่ยนแปลง โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1 ว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับใด โดยใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนเป็นตัวชี้วัด กำหนดเกณฑ์ดังนี้

(บุญชม   ศรีสะอาด  และบุญส่ง   นิลแก้ว, 2535, หน้า 23-24)

    คะแนนเฉลี่ย  4.51-5.00    หมายถึง          มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด

    คะแนนเฉลี่ย  3.51-4.50   หมายถึง           มีความเหมาะสมระดับมาก

    คะแนนเฉลี่ย  2.51-3.50   หมายถึง           มีความเหมาะสมระดับปานกลาง

    คะแนนเฉลี่ย  1.51-2.50   หมายถึง           มีความเหมาะสมระดับน้อย

    คะแนนเฉลี่ย  1.00-1.50   หมายถึง           มีความเหมาะสมระดับน้อยที่สุด

 

                ผลการประเมินโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 3.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน=0.6) เมื่อแยกเป็นรายด้าน เป็นดังนี้  

ตารางที่ 1 ตารางสรุปผลการประเมินรายด้าน   

ด้าน

ค่าเฉลี่ย

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

สรุป

1.ด้านสภาพแวดล้อม

3.80

0.60

มาก

2.ด้านปัจจัยนำเข้า

หมายเลขบันทึก: 212098เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท