ดอกรัก
นาง อมรรัตน์ เปิ้ล เถื่อนทอง

ความรู้จักตนเอง


รู้เท่าทันในอารมณ์ตนเอง

 

ธรรมะคือคุณากร (หลักบริหาร) : สุขภาพจิตในพระพุทธศาสนา

โดย ศจ.แสง จันทร์งาม

การรักษาจิต คือ หัวใจของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งในโลกที่ให้ความสำคัญอย่างสูงแก่จิตใจธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฏก 45 เล่ม เมื่อสรุปลงแล้วมี 3 คือ

ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล ที่แท้จริงได้แก่ วิวัติเจตนา หรือ ความคิดงดเว้นจากความชั่ว ซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจ สมาธิ การทำใจให้สงบก็เป็นเรื่องของใจ และ ปัญญา การสร้างความรู้ทั่วไปให้เกิดขึ้นในใจ ก็เป็นเรื่องของจิตใจ

ฉะนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงรวมอยู่ที่จิตใจ ถ้าเรารักษาใจตัวเดียวได้ ก็ชื่อว่า ปฏิบัติตามธรรมของพระพุทธเจ้าได้ทั้งหมด

ในสมัยพุทธกาล มีภิกษุใหม่องค์หนึ่ง เกิดความท้อถอยในการปฏิบัติธรรม เพราะเหตุว่า ธรรมวินัยในพระพุทธศาสนามีมากข้อมากมาตราปฏิบัติไม่ไหว พระพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้รักษาจิตเป็นสำคัญ ซึ่งต่อมาไม่นานหลังจากที่พระภิกษุองค์นั้น ได้ถือปฏิบัติรักษาจิตอย่างเคร่งครัด ก็ได้บรรลุพระอรหันต์ แสดงว่า หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ การรักษาจิต

โรคจิตในทางพระพุทธศาสนา

หมายถึง กิเลส หรือ ตัวประกอบทางจิตต่างๆ ที่มาทำให้จิตเสียคุณภาพ และ เสียสุขภาพ ทำใจให้เศร้าหมอง บางทีก็เรียกว่า อาสวะ แปลว่า สิ่งที่หมักหมมทับถมอยู่ในใจ บางครั้งก็เรียก อนุสัย แปลว่า สิ่งที่เกาะจับจิตใจ

โรคจิตตัวที่ละเอียดที่สุด เรียกว่า อวิชชา คือ ความโง่ ความไม่รู้ความจริง ไม่รู้ใน อริยสัจ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุหทัย นิโรธ และ มรรค

คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา จำแนกโรคจิตไว้อย่างละเอียดถึง 1608 ชนิด เช่น ตัณหา ความอยาก อุปาทาน ความยึดถือ โลภะ ความโลภ โทสะ ความโกรธ โมหะ ความหลง เป็นต้น

การแบ่งประเภทของคนตามโรคจิต

พระพุทธศาสนา จัดประเภทตามขนาดโรคจิตเป็นชั้นๆ คือ

1.
อันธพาลชน คือ คนที่มีปริมาณของโรคที่เข้มข้นมาก มีพฤติกรรมเป็นอันตราย ต่อสังคม
2.
พาลชน คือ คนที่มีปริมาณของโรคเข้มข้นปานกลาง
3.
ปุถุชน คือ พวกที่มีทั้งคุณและโทษต่อสังคม
4.
กัลยาณชน คือ พวกที่มีคุณมากกว่าโทษ
5.
อริยชน ขั้นโสดาบัน คือ บุคคลที่ละโรคจิตได้เด็ดขาด ร้อยละ 25
6.
อริยชน ขั้นสกิทาคามี ละขาดได้ ร้อยละ 50
7.
อริยชน ขั้นอนาคามี ละขาดได้ ร้อยละ 75
8.
อริยชน ขั้นอรหันต์ ละขาดได้เต็มร้อย คือ ไม่มีโรคจิตเหลืออยู่อีกเลย

การแยกโรคจิต ตามระดับความละเอียด

1.
ละเอียดที่สุด เรียกว่า อวิชชา ความไม่รู้ความจริง ความโง่ ความมืดมัวของจิต ที่ไม่รู้ ใน อริยสัจ 4 คือ ไม่รู้ทุกข์ ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ความดับทุกข์ และ ไม่รู้วิธีปฏิบัติ เพื่อดับทุกข์ ส่วนความจริงที่ไม่รู้นั้นมีหลายประเภท คือ

สมมติสัจจะ สภาวสัจจะ ปรมัตถสัจจะ และ อริยสัจจะ ทางพระพุทธศาสนา ต้องรู้อริยสัจจะ จึงจะกำจัดอวิชชาได้ และเป็นพระอริยเจ้า

2.
ละเอียดขนาดกลาง มี 2 ประเภท คือ ตัณหา และ อุปาทาน ประเภทแรก ตัณหา แปลว่า ความอยากได้ มี 2 อย่าง คือ ภวตัณหา คือ ได้มาแล้วอยากให้มีอยู่ กับ วิภวตัณหา คือ มีแล้วเบื่อ อยากให้พ้น ประเภทที่สอง อุปาทาน แปลว่า ความยึดถือ ติดอยู่ในสมบัติสัจจะ สภาวสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ติดอยู่ในเรา ในเขา และ ของเรา ของเขา

3.
หยาบขนาดกลาง ได้แก่โรตจิต 3 ประการ ที่เรียกว่า อกุศลมูล คือ

เหตุแห่ง ความชั่ว มี โลภะ ความโลภอยากได้ โทสะ ความโกรธเคือง ขุ่นแค้น โมหะความหลงใหลมัวเมา

4.
หยาบที่สุด มี 3 ประเภท คือ อภิชฌา คือ ความเพ่งเล็งอยากได้ จนจิตใจมืดมัว ไม่มีเหตุผลใดๆ เหลืออยู่ ความพยาบาท ความคิดมุ่งร้ายต่อผู้อื่น มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด เช่น เห็นถูกเป็นผิด เห็นดีเป็นชั่ว เห็นจริงเป็นเท็จ เป็นต้น เป็นพฤติกรรมทางจิต

เมื่อใจถูกโรคจิตเหล่านี้บ่อนทำลายแล้ว จิตก็เสียสุขภาพ เศร้าหมอง เดือดร้อน วุ่นวายกระสับกระส่าย เมื่อจิตเช่นนี้ แสดงพฤติกรรมออกมาทางวาจา คำพูดก็จะเป็นไปเพื่อทำลาย เช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดกระแทกแดกดัน เมื่อแสดงออกมาทางกาย ก็จะเป็นการฆ่า ทรมาน เบียดเบียน ลัก ปล้น จี้ โกง ประพฤติผิดกามประเวณี ดื่มยาดองของเมา

เมื่อโรคจิตแสดงพฤติกรรมออกมาทางกาย วาจา ใจ ครบทั้ง 3 แล้ว ผู้ป่วยโรคจิตก็จะได้ผล 3 ประการ คือ ผลทางใจ จะได้รับความเดือดร้อน ความโศก ความทุกข์ระทมตรมใจ ความสะดุ้ง
หวาดกลัว เป็นต้น

ผลทางกาย จะถูกทำลายตอบ จะถูกจับ จำขัง ถูกทรมาน หมดอิสรภาพ

ผลทางสังคม จะถูกคนเกลียดชัง ถูกตำหนิติเตียน เสื่อมจากลาภ ยศ สรรเสริญถูกตัดญาติขาดมิตร เป็นต้น

วิธีรักษา ควบคุม และ แก้ไข

เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพจิตเป็นปกติ ทางพระพุทธศาสนาได้แสดงวิธีจัดการกับ โรคจิตไว้หลายวิธี ตามระยะต่างๆ ของโรค คือ

1.
วิธีระงับผลทุกข์ วิธีนี้ใช้เมื่อคนตกเป็นทาสของจิตจนกระทำความชั่ว และได้รับผล คือ ความทุกข์แล้ว เช่น นักโทษที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ คนอกหัก ผู้ที่ประสบภัยต่าง ๆ ซึ่งในขั้นนี้

คำสำคัญ (Tags): #ป.บัณฑิต รุ่น 32550
หมายเลขบันทึก: 212093เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 23:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท