โสรัตยา


หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                    ในการเรียนเรียนรายวิชา  การออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  355542   อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายให้ผู้เรียนได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มละ  1  เรื่อง  สมาชิกภายในกลุ่มได้ตกลงกันแล้วว่า จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง สารและสมบัติสาร สำหรับช่วงชั้นที่ 2  โดยยึดสาระวิทยาศาสตร์เป็นหลักและบูรณาการกับกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การทำไอติม
ในการที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรที่จะมีการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ดังนี้
                 1. การพัฒนาและออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
                 2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่

                 3. จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของ Alessi and Trollip         7  ขั้นตอน  ดังนี้
               ขั้นตอนที่ 1  ขั้นตอนการเตรียม
                   1.กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
                   2. รวบรวมข้อมูล
                   3. เรียนรู้เนื้อหา
                   4.  สร้างความคิด
               ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน
                     1. การทอนความคิด
                     2. วิเคราะห์งานและแนวคิด
                     3.การออกแบบบทเรียนขั้นแรก
                     4.ประเมินและแก้ไขการออกแบบ
                ขั้นตอนที่ 3  ขั้นตอนการเขียนผังงาน
                ขั้นตอนที่ 4  การสร้างสตอรี่บอร์ด
                ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการสร้างและเขียนโปรแกรม
                ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน
               ขั้นตอนที่ 7 ขั้นตอนการประเมินและแก้ไขบทเรียน
ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเย่
Gagne and others (1988, หน้า 15-16) ได้แยกประเภทของการเรียนรู้ออกเป็น 8 ประเภท สรุปได้ตามลำดับขั้นดังนี้
            1.การเรียนรู้จากสัญญาณ (Signal Learning) เป็นการเรียนรู้โดยผู้เรียนมีปฏิกิริยา
ต่อสิ่ง เร้าที่เป็นเงื่อนไข ผู้เรียนจะตอบสนองต่อสัญญาณหรือเงื่อนไขที่ให้โดยการกระทำซ้ำ ๆ กัน
             2.การเรียนรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง (Stimulus-Response
Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองอย่างตั้งใจหรือจำเพาะเจาะจงโดย ให้กระทำซ้ำบ่อย ๆ ตอบสนองได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การควบคุมสิ่งเร้าจะเพิ่มความถูกต้องของการตอบสนองได้มากขึ้น และการเสริมแรงมีความจำเป็น
               3.การเรียนรู้แบบกลไกต่อเนื่อง (Motor Chain) การเรียนรู้จะต้องมีการกระทำ
ต่อเนื่องอย่างเหมาะสม ในสถานการณ์ที่จะเร้าให้ผู้เรียนตอบสนองโดยผู้เรียนทราบจุดมุ่งหมายของการเรียน

                4.การเรียนรู้ความสัมพันธ์เชื่อมโยงทางภาษา (Verbal Chaining or Verbal
Association) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของถ้อยคำหรือภาษาที่ใช้
               5.  การเรียนรู้โดยสามารถจำแนกความแตกต่างได้ (Discrimnation Learning) เป็น
การเรียนรู้ที่ต้องมีความเข้าใจอย่างกว้างขวางลึกซึ้งตามลำดับขั้นต่าง ๆ ที่จะเรียนรู้จนสามารถจำแนกแยกแยะความซับซ้อนได้ เช่น สามารถแยกชื่อต่าง ๆ ของพืชและสัตว์ได้ และเรียกได้อย่างถูกต้อง
               6.  การเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) มโนทัศน์โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
มโนทัศน์แบบรูปธรรมและมโนทัศน์แบบนามธรรม มโนทัศน์แบบรูปธรรมเกิดจากการสังเกตและร่วมกิจกรรมจากสภาพการณ์ที่จัดให้แบบรูปธรรม ส่วนมโนทัศน์แบบนามธรรมนั้น เป็นมโนทัศน์ที่เกี่ยวกับสัญลักษณ์หรือสิ่งแทนของจริงต่าง ๆ เช่นสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม ความร้อน ความเย็น เป็นต้น ดังนั้นการเรียนรู้มโนทัศน์จึงเกิดขึ้นได้ตามจุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้โดยเรียนรู้ผ่านทางสภาพการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เกิดการตอบสนอง สามารถสรุปหลักการและจุดมุ่งหมายจากสิ่งแวดล้อมได้
              7.การเรียนรู้กฏเกณฑ์หรือหลักการ (Rule Using or Principle Learning) การเรียนรู้
จะเกิดขึ้นอย่างมีลำดับต่อเนื่องและชัดเจน สามารถนำมโนทัศน์ต่าง ๆ มาใช้ได้อย่างสัมพันธ์กัน จนสามารถกำหนดเป็นหลักการหรือกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ได้
              8.การแก้ปัญหา (Problem Solving) การเรียนรู้ต้องอาศัยกฏเกณฑ์หรือหลักการ
เบื้องต้นต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมา จากหลักการก็จะนำไปสู่กระบวนการคิดใหม่ ๆ เกิดการคิดและขยายแนวคิดสามารถนำหลักการนั้นไปใช้ได้อย่างสร้างสรรค์และสามารถแก้ปัญหาได้

จากลักษณะการเรียนรู้ดังกล่าว กาเย่ได้สรุปว่าผู้เรียนจะเกิดความสามารถซึ่งเป็นผลของการเรียนรู้ (Learning Outcomes) และผลการเรียนรู้นี้ถ้ามองในมุมหนึ่งก็คือ จุดมุ่งหมายของการศึกษาและการเรียนการสอนนั่นเอง

3. ทฤษฎีและจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์

                ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำเป็นจะต้องคำนึงถึงทฤษฎีการเรียนรู้ของมนุษย์และจิตวิทยาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นนั้นสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ได้แก่ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม(Behaviorism)  ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ ( Schema theory )  ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา ( Cognitive Flexibility theory ) ดังนี้   ( ถนอมพร  เลาหจรัสแสง. 2541.หน้า 51-67)
                3.1 พฤติกรรมนิยม ( Behaviorism ) เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษา างวิทยาศาสตร์ ( Scientific study of human behavior )  และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง    สิ่งเร้าและการตอบสนอง เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นพฤติกรรมแบบแสดงอาการ มีการเสริมแรง ( Reinforcement ) เป็นตัวการ
                3.2 ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive) เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องภายในจิตใจมนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์จิตใจและความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนควรที่จะคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย ทฤษฎีนี้เกิดจากแนวคิดของ Chomsky ที่เห็นด้วยกับ Skinner ซึ่งเป็นบิดาแห่งทฤษฎีพฤติกรรมนิยม นอกจากนี้ยังมีแนวคิดต่างๆเกิดขึ้น ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเรื่องความจำ ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความจำระยะสั้น ระยะยาวและความคงทนของการจำ แนวคิดนี้ได้แบ่งประเภทของความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือความรู้ในลักษณะเป็นขั้นตอน(Procedural Knowledge) ได้แก่ ความรู้ที่อธิบายว่าทำอย่างไรและเป็น องค์ความรู้ที่ต้องการลำดับการเรียนรู้ที่ชัดเจนความรู้ในลักษณะเป็นการอธิบาย (Declaretive Knowledge) ได้แก่ ความรู้ที่อธิบายว่าคืออะไรและความรู้ที่อยู่ในลักษณะเงื่อนไข (Conditional Knowledge) ได้แก่ ความรู้ที่อธิบายว่าเมื่อไรและทำไม ส่วนในด้านแนวคิดที่เกี่ยวกับเรื่องความทรงจำ( Short term memory ,long term memory and retention)ทฤษฎีปัญญานิยมทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะสาขา(Branching)  ของ Crowder             เมื่อนำแนวคิดนี้ไปเปรียบเทียบกับแนวคิดการออกแบบของพฤติกรรมนิยมแล้วจะทำให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้นสำหรับการควบคุมการเรียนของตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีปัญญานิยมจะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะสาขาเช่นกัน โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหา ในลำดับที่ไม่เหมือนกัน เนื้อหาที่จะได้รับการนำเสนอต่อไปนั้นจะขึ้นอยู่กับความสามารถ ความถนัด และความสนใจของผู้เรียนเป็นสำคัญ
                3.3. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive flexibility theory) มีแนวความเชื่อว่าความรู้แต่ละองค์ความรู้นั้นมีโครงสร้างที่แน่ชัดและสลับซับซ้อนมากน้อย แตกต่างกันไปโดย     องค์ความรู้บางสาขาวิชา เช่น    คณิตศาสตร์กับจิตวิทยานั้นแตกต่างกัน คณิตศาสตร์ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่มีโครงสร้างตายตัวไม่สลับซับซ้อนเนื่องจากเป็นตรรกะและความเป็นเหตุเป็นผลที่แน่นอนขององค์ความรู้ ส่วนจิตวิทยาถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่ไม่มีโครงสร้างตายตัว และมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน เนื่องจากความไม่เป็นเหตุเป็นผลขององค์ความรู้
            3.4. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema theory ) เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงกันอยู่ ในการที่มนุษย์จะเรียนรู้อะไรใหม่ๆ นั้นมนุษย์จะนำความรู้ใหม่ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม(Pre-existing knowledge) การรับรู้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เนื่องจากไม่มีการเรียนรู้ใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจาก     การรับรู้ การรับรู้ข้อมูลถ่ายโอนความรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิม นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยในการรับรู้และการเรียนรู้แล้ว โครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก(Recall) ต่าง ๆ ที่เคยเรียนรู้มา

               

หมายเลขบันทึก: 21198เขียนเมื่อ 27 มีนาคม 2006 21:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมสนใจเกี่ยวกับการเรียนรู้มโนทัศน์ (Concept Learning) แต้หาเนื้อหายากจิงๆผมจึงอยากถามว่าคุณหาเนื้อหาจากหนังสืออะไร คับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท