เครือข่ายปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สปก.


พลังความรู้ พลังเครือข่าย พลังชุมชน

     เครือข่ายปราชญ์เกษตร ฯ  สปก.  ซึ่งมีพื้นที่จำนวน  ๖๔  ชุมชน/เครือข่าย  ได้ดำเนินการตั้งแต่ระดับชุมชนท้องถิ่นมุ่งเน้นการทำกิจกรรมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยมีปราชญ์และสมาชิกในเครือข่ายร่วมกับขับเคลื่อน  ในระดับจังหวัดและระดับภาค  ก็จะมีการแลกเปลี่ยน  ความรู้  ผลผลิต  ผลิตภัณฑ์  และการหนุนเสริมให้กำลังใจ  การเสริมทักษะให้แก่สมาชิกในเครือข่าย   เอื้ออำนวยต่อกัน  ในระดับประเทศนั้นเป็นการเชื่อมและถักทอเครือข่ายพร้อมเพิ่มเติมทักษะความรู้สถานการณ์หรือทิศทางบ้านเมือง/โลก  เพื่อให้ได้  รู้เท่าทัน  สู่การกำหนดอนาคตของพื้นที่  และการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบาย

        การขับเคลื่อนงานพัฒนาโดยใช้พลังความรู้ของปราชญ์เกษตรฯ  ให้เกิดการแลกเปลี่ยน  สร้างการยอมรับภูมิปัญญาท้องถิ่น   ขยายจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง  ขยายจากคนสู่กลุ่มองค์กร /เครือข่าย   ขยายจากคนสู่ชุมชน  ท้องถิ่น    นำด้วยกระบวนการถักทอก่อเกิดพลังเครือข่ายการเรียนรู้  เครือข่ายทางการปฏิบัติการพอดี  พอเพียง  และจะเป๊นพลังชุมชน ที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

      ฉะนั้นเครือข่ายปราชญ์เกษตร ฯ  จึงได้ร่วมกำหนด  ....... แนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ ระดับประเทศ

๑.      จัดให้มีกองทุนเพื่อการดำเนินงาน และ กองทุนสวัสดิการ

๒.    จัดให้มีการประชุมคณะทำงานระดับประเทศ/ตัวแทนระดับภาค  จำนวนสองเดือนต่อครั้ง

๓.     จัดให้มีเวทีสัมมนา (สมัชชาเครือข่ายปราชญ์เกษตร)อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง

๔.     ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

๕.    ผลักดันให้เครือข่ายปราชญ์เกษตรฯ เป็นองค์กรที่เป็นทางการและรูปแบบสภาเกษตรกร

๖.      ประเด็นร่วมที่เครือข่ายปราชญ์เกษตรจะร่วมกันขับเคลื่อน

        

๖.๑  พลังงานทดแทน

๖.๒ เสริมสร้างความมั่นทางอาหารและสุขภาพ

๖.๓ การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

คำสำคัญ (Tags): #social chumphon
หมายเลขบันทึก: 211369เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2008 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท