หาประสิทธิภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์


หาประสิทธิภาพสื่อ

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์  วิชาภาษาอังกฤษ    เรื่อง  หลักไวยากรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้ดำเนินการตามลำดับต่อไปนี้

 

1.    ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.       เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

3.       สร้างเครื่องมือที่และหาคุณภาพของเครื่องมือ

4.       วิธีดำเนินการทดลอง

5.       สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 

 

                ประชากร

ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550  โรงเรียนวัดหญ้า สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 1  จำนวน  30  คน  และนักเรียนโรงเรียนบ้านทวดทอง  จำนวน  60  คน

 

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่าง   ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย

1.  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา   เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดหญ้า สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 1   จำนวน 30  คน

                2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้หาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนบ้านทวดทอง ซึ่งมีทั้งนักเรียนกลุ่มเก่ง  กลุ่มอ่อน  และกลุ่มปานกลางคละกันอยู่แล้ว   ได้มาโดยการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลาก  โดยใช้ทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์  จำนวน  2  ครั้ง  คือ

      ครั้งที่  1   ทดลองเป็นรายบุคคล  หรือแบบ  1 : 1   ใช้นักเรียนจำนวน  3  คน   

 เป็น  นักเรียนกลุ่มเก่ง  กลุ่มอ่อน  และกลุ่มปานกลาง   กลุ่มละ  1  คน 

      ครั้งที่  2   ทดลองกลุ่มเล็ก  1 : 10   ใช้นักเรียนจำนวน  10  คน  

เป็น  นักเรียนกลุ่มเก่ง  กลุ่มอ่อน  และกลุ่มปานกลาง  โดยใช้อัตราส่วน  4 : 3 : 3 

3. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน     

วิชาภาษาอังกฤษ   เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1   ภาคเรียนที่  1   ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช  อำเภอเมือง   จังหวัดนครศรีธรรมราช    จำนวน  60  คน และโรงเรียนบ้านทวดทอง   สังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช  เขต 1  จำนวน  30 คน

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า

 

1.  สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์ 

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   

                3.  แบบประเมินคุณภาพสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์

                4.  แผนการจัดการเรียนรู้วิชา ภาษาอังกฤษ

                5.  แบบสอบถามวัดความสนใจในการเรียนสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์

 

การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 

                ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

               

1.       สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์    วิชาภาษาอังกฤษ  เรื่องหลักการใช้

ไวยากรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่   6         ได้ดำเนินการตามขั้นตอน  ดังนี้

 1.1  ศึกษาเอกสารประกอบหลักสูตรกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ( ภาษาอังกฤษ)  กรมวิชาการ 2544   คู่มือการวัดและประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ (Grammar)  ประมวลสาระการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2

                  1.2    ศึกษาหนังสือเรียน  หนังสือเสริมประสบการณ์ต่างๆ และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหลักการใช้ไวยากรณ์ เพื่อนำมากำหนดขอบเขตของเนื้อหาที่จะนำมาจัดทำบทเรียนออนไลน์ต่อไป

 1.3    ศึกษาเอกสารหลักการสร้าง สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์  

                1.4    ศึกษาหลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์

 1.5    แบ่งเนื้อหา เพื่อจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์ ออกเป็น

12  เรื่อง  ได้แก่

1.  Nouns                                               7.  Verb  to  have

                                2.  Uncountable  Nouns                     8.  Adjective

                                3.  Pronouns                                         9.  Question  Word

                                4.  Some / any                                      10. Present  Simple    Tense

                                5.  How  much / How  many             11.  Present  Continuous  Tense

                                6.  Preposition                                      12.  Past  Simple    Tense

                   1.6   กำหนดจุดประสงค์ของแต่ละบทเรียน

                    1.7  นำเนื้อหาที่แบ่งแล้วมาเขียนเป็น  Storyboard  เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบแล้วนำมาปรับปรุง

                   1.8   นำ   Storyboard   ที่ผ่านการตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขมาสร้างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนออนไลน์  โดยใช้โปรแกรม

                                   1.   Macromedia  Dreamweaver  เป็นโปรแกรมหลักในการจัดสร้างบทเรียน

                                   2.   Adobe  Photoshop   เป็นโปรแกรมสำหรับตกแต่งไฟล์ภาพให้สวยงาม

                                   3.   Ulead  PhotoImapac 8 เป็นโปรแกรมสำหรับจัดทำแบนเนอร์และและปุ่ม

                                   4.   Sothink  SWF  Easy  และ  Sothink  Glanda  2005 เป็นโปรแกรมสำคัญในการจัดทำภาพเคลื่อนไหว จัดทำ E-Book และดำเนินเรื่องให้เป็นไปตามขั้นตอน

                                   5.   Noteped  เป็นโปรแกรมรองรับและปรับปรุงแก้ไขโค๊ตของไฟล์ข้อสอบ

                                   6.  เว็บไซด์  http://www.phutti/elearning/mdEx/index.html  เพื่อเข้าไปสร้าง

ข้อสอบแล้วนำโค๊ตมาวางไว้กับโปรแกรม  notepad  เพื่อ  save  ให้เป็น  ไฟล์.html

                                   7.  สร้างไฟล์ Index.html ด้วยโปรแกรม Macromedia  Dreamweaver 

โดยจัดให้ไฟล์นี้เป็นหน้าเมนูหลักของบทเรียนออนไลน์  ซึ่งเป็นเมนูที่กำหนดไว้เชื่อมโยง  (link) ไปยัง เมนูย่อยของแต่ละบทเรียน ซึ่งประกอบด้วย เมนูแบบทดสอบ   เมนูเนื้อหา

  8. เช่าพื้นที่และจดโดเมนเนม เว็บไซต์ ชื่อ http://www.sirada.net สำหรับวาง

งานที่จัดสร้างบทเรียนออนไลน์  และจัดทำคู่มือการใช้สำหรับครูผู้สอน  และคู่มือสำหรับนักเรียน

9. นำบทเรียนทั้งหมดเขียนลงแผ่น CD จัดทำเป็นบทเรียนประเภท Offline

   1.9   นำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์ให้ผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 3

 ท่าน   ได้แก่

1.  รศ. ดร. ชูศักดิ์  เพรสคอทท์   (ผู้ประสานงานหลักสูตรนิเทศศาสตร์) 

      สำนักงานวิชาการสารสนเทศศาสตร์   มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

       นครศรีธรรมราช

2.  อาจารย์พจน์  ใจบุญ   หัวหน้างานเทคโนโลยีสารสนเทศ  คณะครุศาสตร์

     มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

3.  คุณครูวันรวย  จินวรรณ  ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ  สาขา

     คอมพิวเตอร์ โรงเรียนวัดพังสิงค์   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา      

     นครศรีธรรมราช เขต 1    

ตรวจสอบดูความเหมาะสมของเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง  ด้านภาษา   ด้านกราฟิก  และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข 

  1.10  นำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนออนไลน์ ที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไป (Try  out) ร่วมกับแผนการสอนโดยใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนบ้านทวดทอง เพื่อดูความเหมาะสมของเนื้อหาและเวลา เพื่อนำไปแก้ไขข้อบกพร่อง  ปรากฏผลดังนี้

   ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการนำ  สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียน

ออนไลน์  วิชาภาษาอังกฤษ  เรื่องหลักการใช้ไวยากรณ์    ชั้นประถมศึกษาปีที่  6    ที่สร้างเสร็จแล้วไปทดลองหาประสิทธิภาพตามขั้นตอน   ดังนี้  

 

ตาราง  1   แสดงขั้นตอนการทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ

 

กิจกรรม

วัน

เวลา

                         ทดลองรายบุคคล

1 15  .ย.  2550

15.30 .– 16.30 .

ปรับปรุงเครื่องมือ

15 20   พ.ย.     2550

-

หมายเลขบันทึก: 210858เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2008 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • ครูอ้อย  ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง บทเรียน ออนไลน์  e-learning
  • ครูอ้อย  กำลัง ทำเว็บเพจ เพื่อเว็บไซต์ ของโรงเรียน
  • เชิญชม ที่นี่ค่ะ
  • ไม่เก่ง แต่รักที่จะหัดทำค่ะ
  • มีอะไร แนะนำครูอ้อยบ้างนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณอาจารย์อ้อยมากเลยครับที่ให้ความสนใจบทเรียนออนไลน์อยากทราบหรือต้องการอะไรบอกมาได้เลยไม่ต้องเกรงใจพร้มบริการครับ ติดต่อได้ตลอดโทรศัพท์ไม่ปิดเครื่อง 081-0847128

เป็นคน นคร เหมือนกัน แต่ตอนนี้เป็นครูที่ กทม.

เป็นความรู้ที่เพิ่ม ขึ้นมาก ขอบคุณ คะ

พอได้ศึกษาแล้วได้ความรู้เพิ่มขึ้นคะแต่อยากขอคำแนะนำในเรื่อง การหาประสิทธิภาพเครื่องมือในการิจัยเพิ่มเติมนะคะ

อยากรบกวน ช่วยหาตัวอย่างคอมช่วยสอนด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท