ความรุนแรงกับสิทธิสตรี


งานสิทธิมนุษยชนครั้งที่ 2

ความรุนแรงกับสิทธิสตรี

 

-                   คุณเคยถูกทำร้ายหรือข่มขู่จากคนในครอบครัว ที่บ้าน หรือจากที่อื่น ๆ หรือไม่ ?

-                   คุณหวาดกลัวว่าสามีหรือคนใกล้ชิดของคุณอาจจะใช้ความรุนแรงกับคุณบ้างหรือไม่ ?

-                   คุณเคยถูกกีดกันมิให้พบปะกับเพื่อนฝูง ญาติพี่น้อง หรือถูกห้ามมิให้ติดต่อกับพวกเขาหรือไม่ ?

-                   คุณจำเป็นต้องขออนุญาตคนใกล้ชิดของคุณ เพียงเพื่อจะออกไปทำกิจธุระนอกบ้าน  เช่น ไปร้านค้ที่ทำการไปรษณีย์ ไปเข้าชั้นเรียน ไปพบแพทย์ หรือไปสถานที่อื่น ๆ หรือไม่ ?

     เคยเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ขึ้นกับชีวิตของคุณบ้างไหม?

 

          ลักษณะเหล่านี้ถือเป็นความรุนแรง  การปฏิบัติที่เป็นการล่วงละเมิด ต่อสิทธิมนุษย์ขั้นพื้นฐาน ในทางกฎหมายของฟินแลนด์ ความรุนแรงถือเป็นอาชญากรรม

 

          ความรุนแรงต่อผู้หญิงเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ความรุนแรงทางกายภาพ คือ เมื่อใครก็ตาม ขว้างปาสิ่งของเข้าใส่คุณ ทุบตีคุณ ผลักไส เตะต่อย บีบคอ ฉุดหรือบิดแขนของคุณอย่างรุนแรง  ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คือ เมื่อใครก็ตามทำการข่มขู่ กรรโชกคุณ ให้เกิดความหวาดกลัว

ตำหนิติเตียน  เรียกชื่อของคุณ ล้อเลียน ติดตามคุณ  จ้องมอง ทำให้อับอายขายหน้า คุณก็เป็นส่วนหนึ่งของผู้ถูกกระทำ   เมื่อคุณถูกกีดกันไม่ให้ได้นอนหลับพักผ่อน ไม่ให้ดูแลบุตรหลาน ไม่ให้ใช้โทรศัพท์

          การล่วงละเมิดด้านเศรษฐกิจ คือ เมื่อคุณถูกใช้เป็นเครื่องมือหาผลประโยชน์ เมื่อคุณถูกหลอกลวง เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ  ถูกบีบบังคับ ขู่กรรโชก

และเมื่อคุณถูกกีดกันไม่ให้ใช้จ่าย หรือ ถ่ายโอนเงิน ที่เป็นของคุณเอง

การล่วงละเมิดทางเพศ คือ การใช้ความรุนแรง ในการมีเพศสัมพันธ์  การร่วมประเวณี   การข่มขืน  และการที่ใครก็ตาม จับต้อง หรือ ลวนลาม ร่างกายของคุณ โดยไม่พึงปรารถนา

          การที่รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญ และประกาศให้เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือน แห่งการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง และเด็กมาตั้งแต่ปี 2542 และมีการแต่งตั้งพนักงานสอบสวนหญิง จำนวน 31 คน ทั่วประเทศ เพื่อการพิทักษ์สิทธิให้กับผู้หญิง รวมทั้งการเพิ่มมาตรการ ให้โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง จัดให้มีศูนย์ช่วยเหลือผู้หญิง ในภาวะวิกฤตจากความรุนแรง โดยเน้นกระบวนการทำงาน แบบสหวิชาชีพ เพื่อให้การช่วยเหลือดังกล่าว ไม่เป็นการตอกย้ำส่งผลต่อภาวะจิตใจของผู้หญิง ที่ได้รับความเสียหาย
          อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการประกาศรณรงค์ออกมา ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อผู้หญิง โดยเฉพาะความรุนแรง ที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว เป็นสิ่งที่สังคมได้รับข้อมูลข่าวสารแล้ว ก็ล้วนแต่จะมีความหดหู่ การทำร้ายร่างกายกัน ไม่ว่าจะเป็นสามีมีต่อภรรยา ภรรยามีต่อสามี รวมถึงเรื่องสลดใจในกรณีการข่มขืนที่เกิดจากบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว ไม่ละเว้นแม้กระทั่งจากผู้ที่เป็นพ่อ

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่น่ารับรู้ เพราะมีแต่จะสร้างความสลดใจ ทว่านี่คือความจริงที่ไม่ควรปฏิเสธ แต่จะหาวิธีการอย่างไร ความรุนแรงจึงจะลดน้อยลง ทำอย่างไรถึงจะสร้างความรัก ความสามัคคี ความเอื้ออาทร อย่างที่ควรจะเป็นในครอบครัว กับผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้
          เพราะครอบครัวเป็นที่เริ่มแรกในการฟูมฟัก เพื่อให้สมาชิกของครอบครัว พร้อมออกมาเผชิญกับสังคมภายนอก แต่เมื่อครอบครัวได้กลับกลาย เป็นหลุมมืดที่คอยดักทำร้าย ก็จะเป็นแรงสะท้อนกลับด้านลบ ออกมาสู่สังคมด้วยเช่นกัน ปัญหานี้จึงไม่ใช่ขึ้นอยู่กับครอบครัว ที่ประสบเหตุเท่านั้น แต่เป็นเรื่องความร่วมมือที่มวลมนุษย์ พึงมีความอาทรต่อกัน โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง และเด็ก ซึ่งในกรณีความรุนแรง ที่ไปเกิดขึ้นกับฝ่ายชายก็มีบ้างเหมือนกัน แต่ด้วยสรีระของร่างกาย หากเกิดการทำร้าย ผู้หญิง และเด็ก จะเป็นฝ่ายที่น่าสงสาร และต้องรับกับความรุนแรงมากกว่า สังคมยังมุ่งไปที่ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มผู้หญิง และเด็กที่ประสบเหตุเหล่านี้

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อเด็กและสตรี ไม่ใช่สิ่งที่สังคมจะต้องนิ่งเฉยอีกต่อไป เพราะนับวันปัญหาเหล่านี้มีแต่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีการรณรงค์จากหลายหน่วยงาน แต่ก็ยังไม่ว่างเว้นที่จะมีข่าวการประทุษร้ายร่างกายสตรีให้เห็นอยู่ทุกวัน ด้วยค่านิยมชายเป็นใหญ่ในสังคม ทำให้ความรุนแรงยังคงมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง 

 

กฏหมายที่คุ้มครองสตรีในความรุนแรง

          กฏหมายภานใน

 

ความเสมอภาคตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

-                   มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

      การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสำขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

     มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

   กฎหมายที่ต่อต้านความรุนแรงทางเพศ เช่น

- พ... ป้องกันปราบปรามการค้าประเวณี (..2539)

-พ... มาตรการในการ ป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก (..2540)  

-พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22 ..2547)

  

     ประมวลกฎหมายอาญา

-                   มาตรา ๓๐๙  ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใด ไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น หรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น ไม่กระทำการนั้นหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

     ถ้าความผิดตามวรรคแรกได้กระทำโดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป หรือได้กระทำเพื่อให้ผู้ถูกข่มขืนใจทำ ถอน ทำให้เสียหาย หรือทำลายเอกสารสิทธิอย่างใด ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ3

     ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่าอั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท

-                   มาตรา ๓๑๐  ผู้ใดหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่น หรือกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก เป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถูกกักขังหรือต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายนั้นถึงแก่ความตาย หรือรับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๐ มาตรา ๒๙๗ หรือมาตรา ๒๙๘ นั้น

ต่อหน้า 2

 

 

หมายเลขบันทึก: 210488เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2008 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มีนาคม 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้หญิงไม่ได้มีไว้เพื่อโดนรังแก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท