การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศด้านกีฬากระบี่-กระบอง


ความเป็นเลิศด้านกีฬาไทย

การจัดการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศด้านกีฬากระบี่ – กระบอง

                      โดย  สิบเอกวีระ  คงสมนึก  ครู  โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1                       

 

 

                อำเภอดอนเจดีย์เป็นดินแดนยุทธหัตถี การสอนหรือปลูกฝังค่านิยมให้นักเรียนเกิดความรักในท้องถิ่น รักบ้านเกิด มีความหวงแหนแผ่นดิน สิ่งที่ตามมาคือจิตสำนึกความรักประเทศจากประวัติศาสตร์ผู้รักษาแผ่นดินไว้ได้อยู่อาศัยเป็นสุข   ในปัจจุบันการสร้างจิตสำนึกเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเพราะสังคมในปัจจุบันมักจะมีปัญหาแทบทุกด้าน ทำให้นักเรียนสนใจสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต ที่ไม่มีสาระ    การใช้วิชาเรียนกระบี่ – กระบองต่อสู้กับสิ่งเหล่านั้นทำได้ยาก  คงจะมีคุณครูพลศึกษาไม่กี่คนที่คิดจะทำเพราะ  ทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องออกมาจากใจ มาจากจิตสำนึกเท่านั้น

                กระผมได้ย้ายมารับราชการที่โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1 ในช่วงแรกที่กระผมคิดเริ่มคิดทำทีมกระบี่ – กระบอง   เมื่อสอบถามนักเรียนก็ได้คำตอบว่า “ครูไม่ควรสอนหรอก สมัยนี้เขาใช้ปืนกันแล้ว”  จากคำพูดของนักเรียนมันเป็นเครื่องบั่นทอนจิตใจ ก้าวแรกที่ผมคิดจะทำกีฬากระบี่ – กระบอง เริ่มมีอุปสรรคเสียแล้ว  ในปี 2540 งานแสดงแสงสีเสียง อนุสรณ์ดอนเจดีย์ กระผมเริ่มคิดและสงสัย  ทำไมจังหวัดสุพรรณบุรี ไม่ให้นักเรียนในท้องถิ่นได้แสดงบ้าง ถ้านักเรียนได้แสดงเป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจของผู้ปกครองนักเรียน     กระผมมองเห็นความท้าทาย  มองเห็นเป้าหมาย   มองเห็นความสำเร็จ  นักเรียนตั้ง 1,700 คน คงมีสักคนที่ต้องการเรียนกระบี่- กระบอง  เริ่ม  1   ต่อไป ก็มี 2

                กระผมใช้ประวัติศาสตร์ใช้งานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ใช้ความรักท้องถิ่นใช้ศักดิ์ศรีเจ้าถิ่น เป็นสื่อชักชวน    ปี 2540 จุดเริ่มต้นผ่านไปเข้ามีการศึกษาปี 2541ของผมได้รวบรวมนักเรียนที่ยังพอมีความสนใจแต่ไม่ถึงสิบคน เริ่มฝึกซ้อมจากดาบหวายเก่า ๆ ที่ชำรุดพอใช้งานได้ ซึ่งได้ขอจากวิทยาลัยพลศึกษา    เป็นการจุดประกายครั้งแรกให้เด็กนักเรียนกลุ่มเล็ก ๆ สลับกับการปลูกฝังคุณธรรมที่ครูกระบี่ – กระบอง ทุกยุคทุกสมัยได้สั่งสอน ความดีคู่คุณธรรม มีวิชาที่เหมือนคนอื่นแล้วต้องมีคุณธรรม ให้อภัย มีความอดทนอดกลั้น รับผิดชอบ กตัญญูรู้คุณครู บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ เวลาที่ใช้ในการฝึกซ้อมก็ยังน้อย นักเรียนต้องเรียน เย็นก็ซ้อมไม่ได้นักเรียนต้องกลับรถประจำ ใช้เวลาเช้าก่อนเข้าแถว พักกลางวันหลังกินข้าว อยากจะเปิดเป็นวิชาสอนก็ทำไม่ได้ เนื่องจากหลายปัจจัยและที่แน่ใจคือกระผมไม่มีชื่อเสียงไม่มีผู้ยอมรับ เป็นสิ่งใหม่ของโรงเรียนที่ยังไม่ฉายแสงคุณค่าใดๆ

                จากนักเรียนกลุ่มแรกที่มีไม่ถึง 10 คนในปีแรกที่ทำ นักเรียนได้ออกงานแสดงตั้งแต่งานศพ งานเปิดกีฬาสีของโรงเรียนประถม หรือตามงานกลุ่มแม่บ้านในปีที่ 2 ( ปี2541 )นักเรียนมีการคิดร่วมกับครูผู้สอน จะทำละครส่งเสริมความรักท้องถิ่นเรื่อง “เลือดสุพรรณ”ขึ้นและออกทำการแสดงอีกประมาณ 10 ครั้ง นับจากปี 2543เป็นต้นมา นักเรียนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น จนสำเร็จเป็นรูปร่าง    นักเรียนมีรายได้ ออกแสดงแสงสีจังหวัดอื่นๆเกิดรายได้ที่แสนภูมิใจของนักเรียนเป็นผลให้การเรียนการขยายตัวเพิ่มขึ้น   ทั้งนี้เป็นเพราะนักเรียนกลุ่มแรกได้จุดประกายนักเรียนรุ่นที่ 2 โดยการชักชวนกันต่อๆไป โดยใช้วิธีการที่เรียกง่าย ๆ ว่า พี่สอนน้อง 

          ในที่สุดการรอคอยที่เป็นจุดเริ่มก็มาถึง  รายการคนไทยวันนี้ ได้มาบันทึกเทปไปออกอากาศทางทีวีช่อง 7 ในวันที่ 5 ธันวาคม 2543 และในปี 2544 นักเรียนของโรงเรียนได้ร่วมแสดงยุทธหัตถีในงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์   นับเป็นเวลาที่อดทนถึง 4 ปี  ในปัจจุบันนักเรียนได้ร่วมแสดงได้ร่วมแสดงยุทธหัตถีตั้งแต่ 2544-2551 รวมเวลา 8 ปีแล้ว

         หลายครั้งที่ท้อถอย  หลายครั้งที่หมดแรง  หลายครั้งที่ขาดเงินอุดหนุนทีม  8 ปีที่อ่อนล้า  เด็กกระบี่-กระบองเริ่มอ่อนไหวไปกลับสังคมที่หลอกล่อ  กระผมเกือบตัดสินใจเลิกทำทีม   ถ้าไม่มีเขาผู้หนึ่งที่พูดว่า  ถ้ามีพวกเขาไปเดี๋ยวเดียวเขาก็กลับมา   ถ้าไม่มีพวกเขาจะจากเราไปเลยจะไม่กลับมา  กระผมต้องก้าวต่อไปเพราะคำพูดที่ยังคงสงสัยพอเข้าใจแต่ไม่เห็นจริงและยังแสวงหาคำตอบ   ในที่สุดปี 2551 กระผมก็ได้คำตอบที่ชัดเจนในใจ คำพูดนั้นเป็นครูที่สอนครูอย่างผมท่านเป็นชาวบ้านธรรมดาแต่ทำไมเข้าใจรู้ทันสถานการณ์โลกปัจจุบัน  เตือนจิตสำนึกครูให้ต่อสู้กระแสโลกต่อไป    คำตอบคือกระบี่-กระบองมีคุณค่าต่อเด็กท้องถิ่น  ถ้าเขามีกระบี่-กระบองในหัวใจเขาก็จะกลับมา   กระบี่-กระบองเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวใจในคุณธรรมความดี   พวกเขากลับมาจริงๆหลังจากที่หลงทาง   กระผมกลับมาด้วยกำลังใจมั่นคงอีกครั้งเลิกหาคำตอบและเดินต่อไป

         แล้ววันเวลาที่รอคอยก็มาถึง ในวันที่ 4 สิงหาคม  2551 ได้รับเชิญจากเขตการศึกษา 1 จังหวัดสุพรรณบุรี ให้นำนักเรียนไปแสดงละครเรื่องเลือดสุพรรณ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับโรงเรียนอื่นๆ ใช้เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ละครท้องถิ่นและใช้เป็นแนวทางการฝึกซ้อมเพื่อส่งเข้าประกวดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน   โดย สพฐ.เป็นผู้บันทึกเทปโทรทัศน์และเผยแพร่ไปทั่วทุกโรงเรียนในประเทศไทย    เป็นจุดเริ่มของเส้นทางจิตสำนึกรักบ้านเกิด  แล้วกระผมก็ฝันทางสายใหม่ต่อไปใจผมและนักเรียนเท่านั้นที่รู้

                หนทางสู่ความสำเร็จในการสอนวิชากระบี่ – กระบอง ต้องเริ่มจากการที่ครูต้องได้ใจนักเรียน การที่จะให้นักเรียนได้รู้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงของมหาราชผู้กล้าของไทย เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ประวัติศาสตร์ไทย ประกอบฝึกวิชากระบี่ – กระบอง เมื่อนักเรียนเกิดความรัก และศรัทธาในศิลปะด้านนี้ จะเกิดความรู้ที่ฝังแน่นในตัวนักเรียน จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดระบบอีกระบบหนึ่ง คือ “พี่สอนน้อง” ผู้ปกครองนักเรียนมีความสุขกับนักเรียนเนื่องจากลูกได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ใช้เวลาว่างไปในทางที่ดี กตัญญูรู้คุณคน เป็นผู้มีมารยาทอันงดงาม สามารถเป็นบุคคลตามผลที่การศึกษาชาติได้วางไว้ คือ ดี เก่ง มีสุข ครบทุกด้าน  

               เวลา.....  ความอดทน.....กำลังใจ......  ความหวัง..... ไม่ยอมแพ้อุปสรรค..... สร้างจิตสำนึก........เรียนรู้ประวัติศาสตร์..... สร้างความรักและศรัทธา.....  สอนศิษย์ด้วยเมตตา .......  พี่สอนน้อง........ ผู้ปกครองเห็นคุณค่า......   เคารพและซื่อสัตย์......      เป็นสิ่งที่แสดงถึงความสำเร็จของวิชากระบี่ – กระบอง   

หมายเลขบันทึก: 209577เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีมากเลยค่ะ ช่วยให้เรารู้ว่ากีฬากระบี่กระบองนั้นช่วยใน

เรื่องต่างๆได้นะค่ะ

ดีๆๆๆที่สุดเลยค่ะ

เล่นกันเหมือนจริงมาก

ดูๆไปแล้วสงสารคนเล่น

กลัวว่าเขาจะเจ็บ

แต่ไงก็สนุกมากๆๆๆเลยค่ะ

คนที่เล่นกระบี่กระบองเก่งมากเลยค่ะ ^o^

ขอชมเชยและให้กำลังใจแก่ผู้อนุรักษ์ศิลปะไทยทุกท่านครับ

เยิ้ม เด็ก กระบี่กระบอง

อ.วี สุดยอดๆๆๆๆซึ้งๆๆๆๆๆคับ

ผวกผมจะผยามสอนน้องๆๆขึ้นมาทดแทนกันเรื่อยๆๆคับๆๆๆ

ขอบคุณคับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท