การพัฒนาการคิด


สอนให้นักเรียนคิดเก่งทำได้อย่างไร?

ในการพัฒนานักเรียนให้คิดเก่ง ๆ ครูต้องคิดเก่งก่อน การที่ครูจะคิดเก่ง น่าจะมีหลักการ และทฤษฎีการคิดต่าง ๆ เช่น คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดไกล ฯลฯ ว่ามีกระบวนการ หรือขั้นตอนอย่างไร และขณะนี้ มี Model ที่ สพฐ.ได้นำเสนอคือ Model GPAS ที่เป็น Model การคิดที่เป็นหลักการทั่ว ๆ ไป G มาจากคำว่า Gathering-การเก็บรวบรวมข้อมูล P มาจากคำว่า Process-การจัดการ/การจัดกระทำข้อมูลที่รวบรวมมา A มาจากคำว่า Applying-การนำผลการจัดกระทำข้อมูลไปใช้ S มาจากคำว่า Self-regulation-การตรวจสอบตนเอง การทำงานตามขั้นตอน(GPA)ดังกล่าว ต้องทำอย่างมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย การทำงานตาม Model ดังกล่าว เช่น มอบหมายให้นักเรียนเขียนรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อมอบหมายไปแล้ว นักเรียนต้องรวบรวมข้อมูล(สาระที่เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำรายงาน)จากแหล่งต่าง ๆ เช่น ห้องสมุด เว็บไซต์ สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ ให้ครอบคลุมเรื่องที่ทำรายงาน(ขณะรวบรวมข้อมูล จะมีการตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมมาว่า มีความถูกต้องหรือไม่ เพียงพอหรือไม่-Self-regulation) เมื่อรวบรวมข้อมูลเพียงพอแล้ว จึงนำข้อมูล(สาระที่)ที่รวบรวมมาจัดลำดับการนำเสนอเนื้อหาให้เป็นลำดับ เหมาะสม อ่านแล้วเข้าใจ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน(ในการจัดลำดับการนำเสนอก็ต้องมีการตรวจสอบ-Self-regulationด้วยเช่นเดียวกัน) แล้วจึงลงมือเขียนรายงาน แล้วอ่านทวนด้วยตนเองหลาย ๆ ครั้ง และให้ผู้อื่นช่วยอ่าน เพื่อเป็นการตรวจสอบด้วย เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว จึงจัดทำรูปเล่มให้เรียบร้อยส่งครู(Applying) เป็นการทำงานที่ครอบคลุมตาม Model GPAS

    ขณะเดียวกัน ถ้าจะฝึกนักเรียนให้คิดเก่ง ๆ ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นคือ ครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีการคิดต่าง ๆ เช่น จะฝึกให้นักเรียนเก่งคิดวิเคราะห์ ครูต้องทราบก่อนว่า กระบวนการคิดวิเคราะห์ มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร การคิดวิเคราะห์มี 3 ขั้นตอนใหญ่ ๆ คือ เริ่มด้วย (1)จำแนกเรื่อง/สิ่งที่วิเคราะห์เป็นส่วนประกอบย่อย ๆ ให้ครบของสิ่งที่วิเคราะห์ (2)ขยายความแต่ละส่วนประกอบ (3)จัดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบที่วิเคราะห์ได้ นอกจากนี้ ขณะนี้ ทุกเขตพื้นที่ได้ขยายผลแล้วเกี่ยวกับการพัฒนาการคิดโดยการประเมินผลงานของนักเรียน โดยใช้หลักการที่ ดร.โกวิท ประวาฬพฤกษ์ ได้ให้ความรู้ไว้ คือ นักเรียนของเราจะมีคุณภาพ เวลาทำงานส่งครู สาระที่นำมาส่งครู ต้องมีมากกว่าที่เรียนในห้องเรียน(นักเรียนไปหาเพิ่มด้วยตนเองจากแหล่งต่าง ๆ)ที่ ดร.โกวิท เรียกว่า "ปริมาณข้อมูล" และข้อมูลที่นำเสนอในงานของนักเรียนต้องมีคุณภาพ คือมีการนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเป็นระบบ เป็นภาพกว้างที่ ดร.โกวิท เรียกว่า "คุณภาพข้อมูล" นอกจากนี้ เนื้อหาสาระที่นำเสนอควรมีหลายแง่มุมมอง หรือมีแนวคิดที่กว้างขวาง มีการจัดลำดับที่เหมาะสม มีความเป็นเหตุเป็นผล สัมพันธ์กับชีวิตจริงที่ ดร.โกวิท เรียกว่า "แบบแผนการคิด" ดังนั้น เมื่อครูมีความรู้ดังนี้แล้ว ครูควรนำความรู้เหล่านี้ มาใช้ในการกำหนดประเด็น หรือคำถามให้นักเรียนอภิปรายระหว่างเรียน เช่น นักเรียนเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบย่อยอาหาร น่าจะใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประเด็นที่ควรจะกำหนดให้นักเรียนเรียนรู้เรื่องระบบย่อยอาหาร เช่น 1.มีอวัยวะอะไรบ้างที่เป็นระบบย่อยอาหาร?(แยกส่วนประกอบ) 2.อวัยวะต่าง ๆ นี้มีลักษณะอย่างไร? อวัยวะแต่ละอย่างมีหน้าที่อย่างไรบ้าง?(ขยายความส่วนประกอบ) 3.อวัยวะต่าง ๆ มีลำดับอย่างไรในระบบย่อยอาหาร?(จัดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบ) 4.ระบบย่อยอาหารของคน และของสัตว์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? มีโรคอะไรบ้างที่มักเกิดกับระบบย่อยอาหารของมนุษย์? โรคต่าง ๆ มีอาการอย่างไร? มีวิธีการป้องกันโรคต่าง ๆ ดังกล่าวอย่างไรบ้าง? จะทำอย่างไรให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานได้อย่างเป็นปกติ?(ใช้แนวคิดของ ดร.โกวิท มากำหนดประเด็นคำถาม เพื่อให้ได้ "ปริมาณข้อมูล" "คุณภาพข้อมูล" และ "แบบแผนการคิด" จะทำให้นักเรียนของเราคิดกว้าง คิดไกล นั่นคือ นักเรียนของเราจะคิดเก่งขึ้น

   สำหรับนักเรียนปฐมวัย ก็สามารถสอนให้คิดวิเคราะห์ได้ เช่น ครูนำตะกร้าใส่ผลไม้ที่มีผลไม้หลายชนิดมาให้นักเรียนดู แล้วให้นักเรียนบอกว่า ในตะกร้ามีผลไม้อะไรบ้าง?(แยกส่วนประกอบ) ผลไม่แต่ละอย่างที่บอก มีสีอย่างไร? มีรูปร่างอย่างไร?(ขยายความส่วนประกอบ) ผลไม้อะไรที่มีรูปร่างเหมือนกันบ้าง? ผลไม้อะไรมีสีเหมือนกันบ้าง?(จัดความสัมพันธ์ของส่วนประกอบ-จัดกล่ม) เห็นไหมครับ ไม่ยากเลย ข้อสำคัญ เมื่อฝึกให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดอะไร ต้องจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ปฏิบัติให้ครบกระบวนการคิดนั้น ๆ ดังเช่น กระบวนการคิดวิเคราะห์ ที่ให้ตัวอย่างไว้ครับ นักเรียนของเราจึงจะคิดเก่ง ลองดูนะครับ

คำสำคัญ (Tags): #การสอนคิด
หมายเลขบันทึก: 209048เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2008 12:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ไม่ได้อาจารย์นานแล้ว ขอบคุณค่ะ GPAS เป็นกระบวนการที่ดี แต่ทำอย่าไรจะให้ครูไทยเข้าใจ

และนำไปใช้ได้ นี่ซิยากเป็นบ้าเลยค่ะ?

อาจารย์คะอยากให้อาจารย์แสดงความคิดเห็นเรื่องการวัดสมรรถนะครูผู้สอน

ที่ทำกันอยู่ตามโครงการยกระดับครูทั้งระบบ  มีประสิทธิภาพแค่ไหนคะ?  ช่วยวิพากษ์

และให้ข้อคิดหน่อยค่ะ  ขอบคุณเจ้า

ดร.ศิริอร รัตนอุดม

เรียนดร.เฉลิม

ขอบคุณดร.เฉลิมมากค่ะ ได้ความรู้จากงานเขียนอาจารย์มากเลย

ดร.ศิริอร รัตนอุดม

ศึกษานิเทศก์ค่ะ

ด้วยความยินดีครับ ขอบคุณครับ ถ้าจะให้ผมช่วยด้านวิชาการที่สนใจ ผมก็พอจะให้ความรู้ได้บ้างครับ

มีประโยชน์มากครับ ผมขออนุญาตไปปรับใช้นะครับ ขอบคุณมากครับ ดร.

OK ครับ ไม่ขัดข้อง ช่วยกันพัฒนาเด็กไทยด้วยครับ

  • สวัสดีครับ
  • GPAS รวบรวม - จัดการ - ประยุกต์ใช้ - ตรวจสอบ
  • จัดเชนมากเลยครับ ดีจริง ๆ ครับ
  • นึกว่าเป็นระบบ GPS ระบบนำทางไปเลยครับ 555+++

ดีมากค่ะ ขอขอบคุณที่แบ่งความรู้ให้

ดิฉันต้องการพัฒนาการเขียนของนักเรียนชั้นป.5-6 (คละชั้น)โดยใช้กระบวนการ GPAS ต้องการคำแนะนำจากท่านไม่ทราบว่าเป็นการรบกวนหรือเปล่า ถ้าปรึกษาได้จะติดต่อได่อย่างคะ

พิมพ์ ดร.เฉลิม ฟักอ่อน ไปที่ google คลิก แล้ว หา e-mail และโทรศัพท์ครับจะได้ทราบช่องทางติดต่อกับผมครับ ยินดีที่จะได้มีส่วนช่วยพัฒนานักเรียนของคุณครูครับ ไม่ถือว่าเป็นการรบกวน คิดเสียว่าคุยกับ ศน.คนหนึ่งครับ

สนใจเรื่องนี้มากค่ะ อยากทราบว่า Model GPAS มีที่มาอย่างไรค่ะ พยายามหาเอกสารอ้างอิง ผู้ที่ริเริ่มคิด Model GPAS หาไม่เจอเลยค่ะ ท่านใดทราบ ขอข้อมูล อ้างอิงด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท