AAR:จากใจFA.ฝึกหัดในเวทีลปรร.หัวข้อ"ทีเด็ดหัวหน้างาน


รู้สึกดีใจที่ได้โอกาสมาฝึกหัดเป็นคุณอำนวยในเวทีนี้..เพราะพี่ๆหัวหน้างานชาวสบร.น่ารัก,เอาใจใส่ลูกน้องและรักงานของตน

 

Seangjaได้ฝึกหัดเป็นFacilitatorกลุ่มที่4ค่ะมีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด15คน..เริ่มต้นใช้แบบสอบถามการประเมินลักษณะส่วนบุคคลเพื่อเป็นการปูทางเพื่อให้พี่ๆเกิดความสนใจและสำรวจเกี่ยวกับมุมมองความคิดเห็นและประสบการณ์การทำหน้าที่เป็นหัวหน้างานของตนเองและเพื่อนๆที่มาเข้าอยู่ในกลุ่มเดียวกัน...โดยคุณอำนวยแอบตั้งสมมติฐานในใจเอาไว้ว่า..(1.)พี่ๆทุกคนเป็นหัวหน้างานที่มีจุดดีและจุดเด่นอยู่ในตนเองอยู่แล้วเพียงแต่อาจจะไม่ได้เล่าหรือพูดให้เพื่อนร่วมงานระดับหัวหน้างานด้วยกันได้รับรู้รับทราบ หรือบางคนก็เคยเล่าแล้วแต่อยู่คนละกลุ่มความสนใจ

(2.)พี่ๆทุกคนต่างมีขุมทรัพย์หรือแก่นความรู้อยู่ภายในตนเองเกี่ยวกับการเป็นหัวหน้างาน ทั้งคุณอำนวยและคุณลิขิต สมมติ/อธิบายบทบาทว่าเราจะมาขอความรู้/รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์จากพี่ๆเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อในฐานะหัวหน้างานมือใหม่ หรือลูกน้องที่กำลังจะโตขึ้นเป็นหัวหน้างานลำดับต่อไป..

-เรา(คุณอำนวยกะคุณลิขิต)จึงตีกรอบประเด็นการแลกเปลี่ยนหลักที่กว้างๆไว้3เรื่อง คือ

1.พื้นฐานของการเป็นหัวหน้างาน

2.ศิลปะในการทำหน้าที่เป็นหัวหน้างาน

และ3.เคล็ดลับของการดูแลตนเอง

เหตุผลที่ทำให้เราตีกรอบ/ประเด็นการแลกเปลี่ยนเอาไว้เช่นนี้เพราะ?

.....ก่อนหน้านี้ในฐานะคุณอำนวยเราได้อ่านแบบสอบถามที่พี่เขาตอบมาให้และเราได้ลองจับประเด็นจัดเป็นหมวดหมู่เกี่ยวกับลักษณะนิสัย,ความคิดความเชื่อและพฤติกรรม/เทคนิคการเป็นหัวหน้างานที่ดีรวมถึงความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองของพวกพี่ๆ..ซึ่งพบว่ามีความแตกต่างและหลากหลายในกลุ่ม..มีหลายๆประเด็นที่น่าที่นำมาขยายต่อหรือเล่าสู่กันฟังในวง..อาทิ เรื่องของการแก้ไขปัญหาให้กับลูกน้องได้ดี,เป็นหัวหน้าที่ลูกน้องไว้วางใจ หรือยอมรับพี่ๆเขามีเทคนิคหรือกระบวนการอย่างไรและอีก2เรื่องที่ได้มาจากการอ่านหนังสือเกี่ยวกับการบริหารว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นหรือหัวหน้างานควรคำนึงถึงด้วย คือ1.)เรื่องของการประสานกับหัวหน้างานที่สูงขึ้นจากเรามาอีกระดับหนึ่งและ2.)การจัดการความเครียดของหัวหน้างาน..ซึ่งไม่ได้พบเห็น/มีใครพูดถึงเลยจากการตอบในแบบสอบถาม

การเตรียมตัวก่อนวันจริง

ตอนวันที่8กันยายน ที่มีการเตรียมงานกันก่อนทั้งคุณหมอประพาฬรัตน์และพี่เล็กต่างก็ให้คำแนะนำ/เทคนิคเกี่ยวกับการนำกลุ่ม..ขอบเขตการฝึกในครั้งนี้ซึ่งช่วยให้สบายใจมากขึ้น หลังจากนั้นทั้งคุณอำนวยและคุณลิขิตของกลุ่มก็มีการคุยเตรียมแผนงานกันว่าวันจริงเรามีกรอบ/ประเด็นในการคุยอะไรบ้าง กระบวนการในการดำเนินกิจกรรม ตกลงเรื่องของระยะเวลา สไตล์ของทำกลุ่ม

และแล้วถึงวันฝึกหัดจริงๆของพวกเรา

ก่อนเริ่มกลุ่มเตรียมสถานที่เตรียมข้าวของ ก็เป็นไปตามที่กำหนดไว้ มีตื่นเต้น เพราะคนมาตั้งแต่แรกก็7คนและค่อยๆทยอยมา..มีความรู้สึกที่ดีๆกับพี่ๆที่มาเข้ากลุ่มแต่ก็มีหวั่นใจเพราะพี่บางคนเรารู้ว่าการแสดงความคิดเห็นของเขาค่อนข้างรุนแรง และบางคนเพิ่งมีเรื่องขัดแย้งกันมา..มีผู้สังเกตุการณ์คือคุณหมอรุจนีซึ่งเป็นที่รักและไว้วางใจของหลายฝ่ายก็รู้สึกดีและสบายใจว่าหากพลาดพลั้งอย่างไรก็คงจะมีคนช่วยได้อยู่

ตื่นเต้นจนลืมหลายอย่างเลย!!!

ลืมตกลงกติกาในการแลกเปลี่ยน แต่บอกเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเวลาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน..ลืมดึงลิขิตมาช่วย/ลืมถามน้อง..พี่หลายคนบอกว่าไม่ได้ไปอบรมKMเขาไม่รู้ว่าวงลปรร.เป็นอย่างไรนี่เป็นการเข้าวงลปรร.ครั้งแรกของพี่เขา ก็เลยต้องอธิบายแต่...ฮึๆ...ตื่นเต้นไปหน่อยอธิบายไม่ครบถ้วนหรือถูกทั้งหมด...แต่พี่ๆก็ดูพอใจ...ตอนแรกๆพี่บางคนก็มีการหยั่งท่าทีหรือไม่ลงมาลปรร.ด้วย บางทีก็มีลุกขึ้นออกจากห้องไปแต่ดูว่าไม่ขัดจังหวะสมาชิกก็ยังคุยกันอยู่/ฟังอยู่ก็จึงทำเป็นเฉยๆ(ไม่แน่ใจว่าจะจัดการกับสถานการณ์อย่างนี้อย่างไร)

พี่ๆแลกเปลี่ยนกันดีแต่ไม่ลงลึกสักเท่าไหร่,รู้สึกว่ายังต้องปรับปรุงเรื่องการตั้งคำถามของตัวเองให้เข้าใจง่ายขึ้น

รู้สึกอบอุ่นใจและได้คำแนะนำรวมถึงข้อเสนอแนะที่ดีๆจากพี่ๆในวงลปรร.!!!

บรรยากาศอบอุ่น,มีการให้กำลังใจระหว่างพี่หัวหน้างานด้วยกันเองแม้ช่วงท้ายอาจมีวิวาทะบ้างแต่ก็ไม่รุนแรงค่ะ...seangjaได้เห็นการแสดงวิธีการคิด/มุมมมองที่น่าชื่นชมจากพี่ๆหัวหน้างาน..พี่หลายๆคนได้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่ดีจากการคุยในวงซึ่งเป็นในด้านของการสร้างกำลังใจหรือสัมพันธภาพในกลุ่ม/หน่วยงานย่อยๆ เช่น

-          พี่ศิริรัตน์พูดถึงการจัดงานเลี้ยงหรือโอกาสฉลองในวาระสำคัญๆให้กับน้องๆในกลุ่มพบว่าที่งานอื่นๆก็มีเช่นที่หน่วยงานห้องผ่าตัดมีการพาน้องๆไปเที่ยวต่างจังหวัด คำถามที่เกิดขึ้นคือ งบประมาณมาจากไหนก็เลยได้เห็นวิธีการจัดการการเงินในแต่ละกลุ่มและได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากพี่ศิริรัตน์ว่าที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่HRD.เขามีวิธีการจัดสรรงบส่งเสริม/ช่วยเหลือให้หน่วยงานย่อยๆได้มีการจัดกิจกรรมสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในงานนั้นโดยไม่ไกลไปจากบริเวณของมหาวิทยาลัยเกินกว่า35กิโลเมตร โดยให้ปีละ1000บาท/คนจัดแบ่งให้เขานำไปบริหารจัดการเอาเอง

-          -พี่โสพิสพูดถึงการนำกลุ่ม/ทีมมาใช้ในการปรับพฤติกรรมสมาชิกบางรายที่ไม่สนใจในการทำงานและการไม่ใช้วิธีตำหนิต่อหน้าบุคคลอื่น หากแต่ใช้การประชุมกลุ่มในการสื่อสารและแก้ไขข้อร้องเรียน

-          พี่นิมิตร์เล่าถึงวิธีการสร้างแรงจูงใจแบบใช้แต้มสะสมทุกสิ้นปีจะมีการเก็บรายงานและประเมินผลการทำงานของสมาชิกในงาน พี่เขาใช้แต้มสะสมพฤติกรรมบวกและพฤติกรรมลบมาเป็นตัวกำหนดในการได้รับรางวัลซึ่งใครที่เกเรหรือไม่ตั้งใจถึงเวลาก็จะเห็นว่าการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการทำงานของเขาจะได้น้อยกว่าเพื่อนๆ

-          พี่โล่ห์วารุณีเล่าถึงเคล็ดในการสอนงานน้องในฝ่ายที่ได้รับการชมเชยว่ามีพฤติกรรมการบริการที่ดีว่าใช้หลักของการมองลูกค้า/ผู้ป่วยว่าเป็นเหมือนญาติของตนเอง

-          พี่จุ๋มสมถวิลแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการบริหารหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชาว่าเมื่อรับคำสั่งมาแล้วก็จะต้องพิจารณาและจัดแบ่งงานให้เหมาะหรือไม่ขัดแย้งกับการทำงานหลักหรืองานประจำของส่วนงานในขณะที่พี่ธนูบอกเคล็ดว่าให้นึกว่าเราเป็นลูกน้องที่ดีแล้วควรทำอย่างไรบ้างนี่ก็จะทำให้หัวหน้า/ผู้บังคับบัญชามองเห็นความดีของเรา

-          พี่สมคิดเสนอแนะเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรที่จะมาทำงานว่าอยากให้คนในกลุ่ม/แผนกได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก/สัมภาษณ์คนที่จะมาทำงานด้วย

-          ฯลฯ.

คำถามของคุณอำนวยฝึกหัดหลังการลปรร.เสร็จสิ้นไปแล้ว

ตัวseangjaยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการสำรวจหรือเจาะประเด็นเพราะรู้สึกว่าไปต่อไม่ได้/หลงประเด็นบ่อยๆบางเรื่องอยากถามเจาะแต่เขาพูดข้ามไปแล้วจะทำอย่างไรดี พยายามอยากให้พี่ๆแลกเปลี่ยนกันโดยทั่วถึงแต่ดูเนื้อหามันยังกระจัดกระจายจะต้อนหรือจัดกรอบอย่างไรให้ได้ลงลึก

หรือช่วงท้ายคุมการปะทะทางวาจาหรือการพูดในด้านลบของสมาชิกบางคนไม่ได้จะทำอย่างไรดี

-พี่บางคนมาเล่าความรู้สึกตอนหลังจากเสร็จกลุ่มแล้วว่าเขามีความประทับใจเกี่ยวกับลูกน้องที่แสดงออกให้กับเขาแต่ไม่กล้าเล่าในกลุ่มเพราะ มันตื้นตันจนอยากจะร้องไห้ ไม่อยากร้องไห้ให้คนอื่นเห็น เราก็ได้แต่รับฟังและแสดงความประทับใจ บอกกับพี่เขาว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดีมากและถ้ามีโอกาสอยากให้ได้พูดให้เพื่อนๆได้รู้บ้าง..คำถามก็คือเราควรจะมีวิธีการจัดการอย่างไรสำหรับพี่ๆ/สมาชิกกลุ่มที่เกิดอารมณ์/ความรู้สึกร่วมในการแลกเปลี่ยนในช่วงตอนท้ายๆกลุ่ม หรือ หลังจากที่เลิกกลุ่มแล้ว

จุดที่ต้องจำอย่าให้ผิดซ้ำอีกครั้งหน้า

-ทำAARในกลุ่มไม่ครบและลืมสรุปและขอบคุณสมาชิก...

ความรู้สึกโดยรวมเกี่ยวกับการฝึกหัดในครั้งนี้

รู้สึกดีใจที่ได้ฝึกหัดและมาฟังพี่เขาพูดถึงมุมมอง/ความคิดและประสบการณ์ของการเป็นหัวหน้างานให้ฟังและอยากขอบคุณน้องกุ๋ย(คุณลิขิตฝึกหัดคู่กัน)ที่พยายามช่วยประสานงานหรือทำตามที่แบ่งงานกันได้ดีมากรวมถึงขอโทษที่ตอนทำกลุ่มมัวแต่ตื่นเต้นจนลืมสอบถามขอความเห็นจากน้องเขา..แต่ถึงจะตื่นเต้นอย่างไรในการฝึกหัดลปรร.นี้แต่SEangjaก็ยังอยากฝึกหัดต่อไปอีกแน่นอนค่ะ

หมายเลขบันทึก: 208715เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 12:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ที่ รพ ศรีนครินทร์ ก็มีกลุ่มชุมชน ของหัวหน้าตึก เราจะนัดกันตอนกลางวัน มีงบเลี้ยงอาหารกลางวันด้วย

Fa ของกลุ่มจะนำคุยกันทีละประเด็น เช่น การจัดเวร การจัดการเครื่องมือ การ train พยาบาลใหม่ การบริหารความเสี่ยงฯลฯ

โดยให้หัวหน้ตึกแต่ละคน เล่าเรื่องดีดี (success story) ให้ฟัง คนอื่นตั้งใจฟัง พูดเสร็จทุกคน น้องๆที่มีหน้าที่จดบันทึกจะจดไว้ เพื่อนำไปเขียนคลังความรู้ต่อค่ะ

ในความเห็นและประสบการณ์ของพี่นะ คิดว่าไม่ว่าเรื่องไหนๆ แม้เราจะมีกรอบองค์ความรู้ หรือหลักการในเรื่องน้นๆอยู่ อย่างไรก็ตามความสำคัญล้วนอยู่ที่ "ใจ" ขอเพียง เอาใจไปใส่ และใส่ใจไม่ว่าการฟัง การพูด การคิด...ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน

ขอเป็นกำลังใจกับ "Fa " ทุกๆท่านค่ะ

สวัสดีค่ะ

- ตามมาเรียนรู้ด้วยคนค่ะ สู้ ๆ ๆ ค่ะ นักปราชญ์ยังรู้พลั้งค่ะ

เข้ามาให้กำลังใจขวัญค่ะ

krutoi แวะมาเยี่ยม ก่อนลาไปนอน

การประชุมองค์ความรู้แบบนี้น่าสนใจนะคะ ทำให้ได้อะไรหลายๆอย่าง ได้ใจ รู้ใจ เข้าใจสถานการณ์ มองออก และต่อยอดความรู้ แนวทางการปฏิบัติ หลากหลายดีจังเลย สำคัญไม๊ค่ะ กับการสรุปแนวคิด อะไรต่างๆที่ผู้เข้าร่วมประชุมได้พูด ไดแสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท