การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ตอนที่ 5 วิธีการจัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตร


ความสำเร็จของวิธีการทำงาน...มีให้เลือกได้หลากหลาย จึงอยู่ที่ว่า "เราจะจัดกระบวนการอย่างไร? เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำความคิดและการปฏิบัติมารวมกันเป็นของหน่วยงานให้ได้"

     การประชุมเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี มีเป้าหมายเพื่อรพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรปี 2551 ของกรมส่งเสริมการเกษตร  เป็นงานที่มุ่งเน้นการค้นหาคำตอบของวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ให้ได้ผล ตรงความต้องการของลูกค้า

     การดำเนินงานในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5/2551 จึงมีเป้าหมายเพื่อจัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่และหน่วยงาน  ฉะนั้นการจัดกระบวนการจึงได้เริ่มจาก

       1) การทบทวนข้อมูล/ งานเดิมที่ได้ปฏิบัติ ในครั้งที่ 4/2551 โดยเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้าเป็นผู้เล่าเนื้อหาสาระของประเด็นรายละเอียดที่ได้ดำเนินการปฏิบัติ ได้แก่  การจัดเก็บข้อมูลเรื่องต้นทุนการผลิตข้าว  การเปรียบเทียบข้อมูล  และข้อสรุป
       2) การปรับปรุง/ พัฒนาการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่  โดยที่ประชุมได้ตั้งประเด็นคำถาม/ ข้อสงสัย จากรายละเอียดของข้อมูลเกษตรกร ที่เจ้าหน้าที่ได้บันทึกหรือจัดเก็บไว้  ได้แก่  ค่าใช้จ่ายในการทำนา  ค่าจ้างแรงงาน  ต้นทุนการผลิตรวม  รายได้ที่ได้รับ  เป็นต้น
       3) การแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้กับเจ้าหน้าที่  โดยที่ประชุมได้ร่วมกันปรึกษาหารือถึงวิธีการจัดเก็บข้อมูลนั้นควรจะใช้วิธีการอย่างไร  จะสร้างและออกแบบเครื่องมือกันอย่างไรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานได้ครอบคลุมข้อมูลที่ได้มาแล้วนั้นจะมาบันทึกกันอย่างไรเพื่อให้เห็นข้อมูลี่เป็นภาพรวม/ เปรียบเทียบภาพรวมของข้อมูลได้ทันที  และวิธีการเชื่อมโยง/สรุปข้อมูลจะมีประเด็น/ เรื่องอะไรบ้าง เป็นต้น
       4) การจัดระบบการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอ  โดยเกษตรจังหวัดสุพรรณบุรี (นายไพรัช หวังดี) ได้เสริมความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการจัดเก็บข้อมูลกับเกษตรกรในเรื่องของต้นทุนการผลิตข้าวนั้น "เราจะต้องรู้ขั้นตอนการผลิตข้าวของเกษตรกรตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเก็บเกี่ยวก่อนว่ามีอะไรบ้าง"  หลังจากนั้น จึงค่อยมาหาข้อมูลต่อว่า "ในแต่ละขั้นตอนการผลิตข้าวในแต่ละช่วงนั้น เกษตรกรต้องเสีย/ มีค่าใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้าง"  ซึ่งวิธีการที่ใช้ได้ก็คือ  RRA  แต่ถ้านำเกษตรกรเข้ามาร่วมปฏิบัติการด้วยก็จะใช้ PRA (มาจาก P + RRA) โดยใช้เทคนิค Focus Group  แต่ถ้าจะใช้การเก็บข้อมูลโโยการสุ่มเกษตรกรตัวอย่างนั้น จะต้องนำหลักวิชาการเข้ามาร่วมดำเนินการเพื่อจะได้ข้อมูลที่ชัดเจน เชื่อถือได้ และเป็นตัวแทนที่แท้จริง  เช่น  กลุ่มอาชีพ  การจัดระดับรายได้ของแต่ละช่วงชั้น เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อจะได้มีที่มาที่ไป/ มีเหตุมีผลและนำข้อมูลมาอธิบายได้  ส่วนการบันทึกข้อมูลที่ควรจะต้องมีประเด็นอะไรบ้างนั้น เจ้าหน้าที่ที่ได้ข้อสรุปแล้วว่า "ข้อมูลการเกษตรที่จำเป็นต้องมีเพื่อใช้ทำงาน
ประกอบด้วย ข้อมูล 6 กลุ่ม" 

     ส่วนแนวทางในการใช้ข้อมูลก็จะมีลำดับขั้นตอนคือ 

       ขั้นที่ 1 ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรรายครัวเรือน 

       ขั้นที่ 2  ข้อมูลเทคโนโลยีการผลิตคู่กับข้อมูลการระบาดของศัตรูพืช 

       ขั้นที่ 3  ข้อมูลต้นทุนการผลิต 

       ขั้นที่ 4  ข้อมูลกายภาพ (ดิน)/ ชีวภาพ 

       ขั้นที่ 5  ข้อมูลกลุ่มอาชีพ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงและวิเคราะห์
อย่างเป็นลำดับที่ต่อเนื่อง/เชื่อมโยงกันได้

       5) การสรุปบทเรียนของงานที่จะร่วมดำเนินการปฏิบัติของสำนักงานเกษตรอำเภอ  โดยที่ประชุมได้ร่วมกันสรุปผลการปฏิบัติงานว่า  จากข้อมูลที่เจ้าหน้าที่/ หน่วยงานจะจัดเก็บนั้นคงจะต้องออกแบบ/ สร้างเครื่องมือกันเองเพื่อใช้เป็นของหน่วยงานก็จะทำให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุม  หลังจากนั้นจึงไปรวบรวม/ จัดเก็บข้อมูลกับเกษตรกรโดยใช้เทคนิควิธีการและแนวทางดังกล่าว เมื่อได้ข้อมูลของเกษตรกรมาแล้วก็จะทำการวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบข้อมูลที่เป็นตารางดังกล่าว  ส่วนผลที่เกิดขึ้นก็จะนำมาใช้เป็นประเด็นเพื่อจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร  แต่ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องใช้ดำเนินการแบบเดียวกัน/ เป็นลักษณธเดียวกัน/ เป็นรูปแบบเดียวกัน ทั้งสำนักงานเกษตรอำเภอบางปลาม้า เพราะจะง่ายต่อการทำความเข้าใจและการนำเสนอ

     ส่วนงานที่จะดำเนินการในครั้งต่อไปนั้น ก็จะนำผลที่เกิดขึ้นของ ครั้งที่ 5/2551 มาดำเนินการต่อเนื่อง  และจะร่วมกันสรุปบทเรียน/ สรุปผลการวิจัยที่ได้ร่วมกันปฏิบัติงานมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 จนถึงปัจจุบัน.

หมายเลขบันทึก: 208572เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2008 10:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่อเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น

ผู้ศึกษา นายรักษพล ชิตูมปูน

ปีการศึกษา 2550

กลุ่มสาระ การงานอาชีพและเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนการจัดสวนถาดแบบชื้น มีวิธีดำเนินงานคือใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และนำเทคนิค AIC ซึ่งเป็นเทคนิคในการระดมความคิด การวางแผน และทำงานร่วมกันของนักเรียนมาเป็นกรอบในการดำเนินงานวิจัย โดยเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมตั้งแต่การค้นหาปัญหา การหาสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหา ตลอดจนการประเมินผล

วิธีการประเมินผล ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีความรู้มาร่วมกันประเมิน ประกอบด้วย 3 ฝ่ายคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญในการจัดสวนถาด 2) ผู้ปกครองนักเรียนที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดสวนถาด 3) นักเรียนร่วมกันประเมินผลงานการเขียนแบบแปลนของตนเองและผู้เรียนกลุ่มอื่น ผลการศึกษาพบว่าสามารถพัฒนาทักษะการเขียนแบบแปลนของนักเรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดได้ทุกกลุ่ม

เนื้อหาดีแว้ว

แต่น่าจะมีรูปหน่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท