หลักสูตร


จุดหมายหลักสูตร

หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร คือ  มวลประสบการณ์ต่าง ๆ  ที่โรงเรียนจัดให้แก่ผู้เรียน  ด้วยการ

 

บริหารหรือคณะผู้บริหารให้มีการจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร การประเมินผลการใช้หลักสูตร การ

 

พัฒนาหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน

 

ท้องถิ่น และสังคม

 

ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้หลักสูตรใหม่ที่เรียกว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544” เมื่อ

วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.. 2544 ซึ่งเป็นหลักสูตรแกนกลางเพื่อให้สถานศึกษาจัดทำสาระของหลักสูตรใน

ส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกิจกรรมที่ผู้บริหารสถานศึกษา

จะต้องดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวกับหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ได้แก่

                   

 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

                   

        หลักการ

                   

        เพื่อให้การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ จึงกำหนด

หลักการของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไว้ดังนี้

                    1.  เป็นการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

                   

                    2.  เป็นการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนจะได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่า

เทียมกัน โดยสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

                   

                    3.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนมี

ความสำคัญที่สุด สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ

                   

                   4.  เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระ เวลา และการจัดการเรียนรู้

                   

                   5.  เป็นหลักสูตรที่จัดการศึกษาได้ทุกรูปแบบ ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอน

ผลการเรียนและประสบการณ์

                   

         จุดหมาย

                   

                หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เป็นคนดี มีปัญญา มี

ความสุข และมีความเป็นไทย มีศักยภาพในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ  จึงกำหนดจุดหมายซึ่งเป็น

มาตรฐานการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ดังต่อไปนี้

   

 1. เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยในตนเอง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา และ

ศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์

   

2. มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน รักการอ่าน รักการเขียนและรักการค้นคว้า

   

3. มีความรู้อันเป็นสากล รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ มีทักษะ

และศักยภาพในการจัดการ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ปรับวิธีการคิด วิธีการทำงานได้

เหมาะสมกับสถานการณ์

   

4. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทักษะการคิด          การ

สร้างปัญญา และทักษะในการดำเนินชีวิต

   

5. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี

   

6. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าเป็นผู้บริโภค

   

7. เข้าใจในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ภูมิใจในความเป็นไทย เป็นพลเมืองดี ยึดมั่นในวิถีชีวิต

และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

   

8. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย ทรัพยากร

ธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม

                   

            9. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสิ่งที่ดีงามให้กับสังคม

หมายเลขบันทึก: 208294เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2008 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท