การประชุมเชิงปฏิบัติการ


หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551

ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบูรณาการการเรียนการสอน ทักษะการคิดแบบ "Six Thinking Hats" ในวันที่ 11-13ก.ย.51 ณ โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย

หมายเลขบันทึก: 208026เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2008 07:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อือมชอบหมวกสีเขียว

หมายความอะไรนะคะ

อบรมนานแล้วไม่ได้

ฟื้นความรู้เลยลืมหมด

เอามาใช้กับเศรษฐกิจพอเพียง

ได้น้อ คนเราคิดต่างกันมาก

ต้องช่วยกันค้นหาประเด็นปัญหาหลักก่อน

ค่อย ๆ แก้ให้ตรงจุด ไม่แข็งจนขืนกร้าว

แต่ไม่อ่อนจนไร้จุดยืนน้อ

เอ............

เกี่ยวกันไหมนี่

  • อยากรู้กิจกรรมตามหมวก ๖ ใบ เหมือนกันค่ะ

การคิด”และ “การสอนคิด”เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งในการศึกษาแต่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝนและพัฒนาได้ การใช้วิธีคิดแบบหมวก ๖ ใบ เป็นการกระตุ้นให้นักเรียนคิดโดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ จากนั้น จึงวิเคราะห์หาเหตุผล อันจะช่วยให้คิดพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ได้ครอบคลุมและมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้นักเรียนคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนในการคิดและสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น และหากนักเรียนนำกระบวนการคิดนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิต ก็จะทำให้นักเรียนเข้าใจถึงบริบทของคนและสังคม อันจะทำให้นักเรียนมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ผลสำเร็จ

๑. สามารถปลูกฝังกระบวนการคิดในอีกรูปแบบหนึ่งให้แก่นักเรียน ส่งผลให้นักเรียนเป็นคนมีเหตุผล คิดกว้าง คิดไกลและคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นผลในเชิงประจักษ์ทั้งในมุมมองของนักเรียนและผู้สอน

๒. จากการทำการวิจัยพบว่านักเรียนมีทักษะการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เมื่อใช้ทักษะการคิดแบบหมวก ๖ ใบ

๓. นักเรียนสนุกกับการคิดและมีความสุขในการเรียน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรม / วิธีการ / ขั้นตอนที่สำคัญ

ในการเรียนการสอนวิชาพุทธประวัติ หลังจากที่ศึกษาพุทธสาวกหรืออุบาสก อุบาสิกาจบแล้ว นักเรียนจะต้องวิเคราะห์วิจารณ์ ซึ่งผู้สอนก็มักจะให้หลักการและตัวอย่างการวิจารณ์ แล้วให้นักเรียนปฏิบัติ จากการสังเกตและตรวจผลงานพบว่า นักเรียนยังคงใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยวิเคราะห์ตามสิ่งที่ปรากฏตามหนังสือที่เรียนคิดได้ในบางแง่มุม ทำให้ผู้สอนเกิดแรงบันดาลใจที่จะกระตุ้นและปลูกฝังกระบวนการคิดให้แก่นักเรียน จึงได้ศึกษารูปแบบกระบวนการคิดแบบต่างๆ และตัดสินใจเลือกกระบวนการคิดแบบหมวก ๖ ใบ เพื่อใช้ในกิจกรรมนี้ โดยดำเนินการดังนี้

๑.เริ่มจากให้นักเรียนเขียนวิจารณ์พุทธสาวก สาวิกา หรือ อุบาสก อุบาสิกาที่กำหนดให้ในแง่มุมต่างๆ ตามหลักการวิจารณ์ในกระดาษที่แจกให้

๒.ให้ความรู้แก่นักเรียนในเรื่อง การคิดแบบหมวก ๖ ใบ คือ

- หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ข้อเท็จจริง

- หมวกสีเหลือง หมายถึง การมองในแง่ดี เต็มไปด้วยความหวัง

- หมวกสีแดง หมายถึง อารมณ์ ความรู้สึก

- หมวกสีเขียว หมายถึง การคิดอย่างสร้างสรรค์

- หมวกสีดำ หมายถึง การตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัย การมองในแง่ลบ

- หมวกสีฟ้า หมายถึง การควบคุมความคิดทั้งหมดหรือมองภาพรวมของการคิด

๓. ให้นักเรียนสวมหมวกสีต่าง ๆ ทีละสี วิจารณ์ตามบทบาทของสีหมวกทั้ง ๖ ใบ

๔. ให้นักเรียนเปรียบเทียบผลของการคิดทั้ง ๒ รูปแบบ เพื่อให้นักเรียนเห็นถึงความแตกต่างของการคิดที่ใช้กระบวนการกับการคิดแบบธรรมดาที่ไม่มีรูปแบบ ซึ่งจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน

๕. ฝึกให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการคิดแบบหมวก ๖ ใบในกิจกรรมต่างๆ ตามความเหมาะสม

ข้อจำกัดในการนำไปใช้

นักเรียนจะต้องจำและเข้าใจในบทบาทของหมวกแต่ละสีให้ได้ ในช่วงแรกครูต้องเป็นผู้ช่วยโดยการใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท