ผู้บริหาร 7: การประชุมของผู้บริหาร


                จากการวิจัยในงานของผู้เขียน เรื่องรูปแบบและช่องทางการสื่อสารของทีมผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2550

                ผลการวิจัยพบว่า

1)    รูปแบบของการจัดประชุมกลุ่มย่อย ผู้บริหารประจำสัปดาห์ (เช้าวันจันทร์, พุธ, ศุกร์) คณะผู้บริหารมีความคิดเห็นว่าควรมีการจัดประชุม ร้อยละ 78.95 และช่วงเวลาที่เหมาะสม 08.00 09.00 น. ร้อยละ 31.58

2)    รูปแบบการประชุมประจำเดือน คณะผู้บริหารมีความคิดเห็นว่า ควรมีการจัดประชุม 1 ครั้ง/เดือน ร้อยละ 57.90, ไม่ระบุช่วงเวลาที่เหมาะสม ร้อยละ 42.11 และวันที่เหมาะสม ได้แก่วันศุกร์ ร้อยละ 26.32

จากผลวิจัยได้นำมาปรับรูปแบบการจัดประชุมรองคณบดี, ผู้ช่วยคณบดี เป็นทางการเดือนละ 1 ครั้ง เริ่ม 30 พฤศจิกายน 2550 รวมทั้งกลุ่มย่อยก็ยังมีการประชุม ทุกวันจันทร์ 08.00 09.00 น. ประชุม Week Plan, ทุกวันพุธ 08.00 09.00 น. ประชุม Midweek Strategic Plan, ทุกวันศุกร์ 08.00 09.00 น. มีเวที Admin. Journal Club

ผลปรากฏว่า ช่วงแรก ๆ สมาชิกกลุ่มย่อยในการพบกัน จันทร์, พุธ, ศุกร์ เพิ่มขึ้นเท่าตัว หลังจากนั้นก็เหลือ แต่แฟนพันธุ์แท้ ส่วนการประชุมทางการ เดือนละ 1 ครั้ง แรก ๆ สมาชิกก็มาก แต่ก็ไม่เคยครบตามที่มีผู้ให้ความเห็นไว้ เพราะจะมีติดราชการบ้าง

ดังนั้น จึงนำไปสู่การยกเลิกการประชุมที่กล่าวมาทั้งหมด ภายในเดือนพฤษภาคม 2551

ผู้เขียนก็รับเป็นผู้ประสานงานในการจัดประชุมใหม่อีกครั้ง ซึ่งในกลุ่มแฟนพันธุ์แท้ คิดว่าน่าจะอยู่ช่วงกลางวัน อาหารเที่ยง อย่างไรทุกคนคงต้องรับประทานอาหารกลางวัน

จากการประสานงานรองคณบดี 6 ท่าน และผู้ช่วยคณบดี 7 ท่าน ผู้ช่วยคณบดี 5 ท่าน ไม่ได้ประสานงาน ด้วยเหตุ อีก 2 ท่าน ประสานไม่ทันสรุปผล, ลาศึกษาต่อ 3 ท่าน

ผลออกมาเป็นประชุมผู้บริหารคณะ 12.00 13.00 น. วันพฤหัสบดี และขยายผลต่อ รวมทั้งหัวหน้าภาควิชาด้วย ตอนแรกสรุปได้ว่า ประชุมวันพฤหัส เป็นการประชุมแบบไม่เป็นทางการ 3 ครั้ง เป็นทางการ 1 ครั้ง รวมทั้งอาหารกลางวัน จะมีเลขาเป็นผู้เก็บเงินค่าอาหารกลางวัน เดือนละ 200 บาท เพราะไม่มีการประชุมทุกคนก็ต้องซื้ออาหารรับประทานอยู่แล้ว อีกทั้งยังช่วยคณะประหยัดงบประมาณ

บรรยากาศของการประชุมตั้งแต่ มิถุนายน 2551 อาจเป็นเพราะมีเรื่องหลายเรื่องที่ต้องรับทราบและพิจารณาร่วมกัน ที่สำคัญครั้งนี้มีตัวชี้วัดในระดับรองคณบดี และหัวหน้าภาค ถ้าเข้าไม่ได้ต้องส่งตัวแทนเข้าร่วม สังเกตได้ว่ามีผู้ร่วมประชุมเยอะมาก จะเป็นเพราะว่าช่วงเวลาเหมาะสม หรือตัวชี้วัดไม่แน่ใจ ต้องลองติดตามต่อไป

บทเรียนที่ผู้เขียนได้รับ การสอบถามโดยใช้แบบสอบถามที่เป็นงานวิจัย ไม่สามารถตอบสนองการประชุมที่ดีได้ เพราะเป็นคำถามปลายเปิด ผู้ตอบตอบตามเวลาที่ตนเองว่าง จึงทำให้สรุปผลยาก

จากการประสานการประชุมครั้งที่ 2 พบว่า ผู้ประสานสามารถให้ตัวเลือกของคนส่วนใหญ่ได้ ทำให้บางท่าน ที่เลือกวันอังคาร ก็สามารถปรับเป็นวันพฤหัสบดีได้ ตามเสียงส่วนใหญ่

อีก 1 บทเรียนที่ได้รับการประชุมกลุ่มใหญ่มาก ๆ และสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง/ครั้งกับช่วงที่ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทั้ง QA, HA, TQA ปัจจัยจากภายนอกที่ต้องทำให้เราปรับตัวเพื่ออยู่รอด รวมทั้งแผนประจำปี คุยกันเพียงเท่านี้อาจไม่พอ

หมายเลขบันทึก: 207905เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 02:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท