องค์กรอัจฉริยะ 13: การประชุมกับเรื่องเล่า


              เรื่องเล่าความดี และเรื่องเล่าคนสำราญ งานสำเร็จ เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2551

                ผู้เขียนได้นำแนวคิดนี้มาจาก

                    1.  การทำแผนเพื่อจะเป็นองค์กรอัจฉริยะที่ผู้เขียนและทีม เข้าร่วมโครงการ IOCS (Intelligent Organization Coaching Service) ประกอบกับแนวคิดคณบดีที่ให้พยายามใช้ช่องทางที่มีอยู่เดิม และการสังเกตการณ์เข้าร่วมเวทีการประกวดผลงานคุณภาพของทีมคร่อมสายงานในวันแรก 25 เมษายน 2550 คนเข้าร่วมช่วงเช้ามีน้อยมาก 20 คน จากบรรยากาศที่ผู้เขียนเคยอยู่การประกวดคุณภาพแบบนี้ คนจะต้องเติมห้องประชุม เพื่อมาดูว่าคนอื่นมีอะไรดี ก็เลยผนวกความคิด ถ้าจัดเวทีเล่าเรื่องความดี หรือเล่าเรื่องคนสำราญ งานสำเร็จ แล้วมีเข้าน้อย ก็จะเสีย เวลา และงบประมาณ จึงนำมารวมอยู่ในการประชุมผู้บริหารพบหัวหน้างาน เพราะมีกลุ่มเป้าหมาย 70 กว่าคน ซึ่งก็มากพอสมควร

                    2.  ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้แนะนำ SST (Suceen story Technique) ไว้ในหนังสือ ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับปฏิบัติ

                            “SST คือ เทคนิคการใช้ความสำเร็จเล็ก ๆ มาเป็นเครื่องมือเรียนรู้ร่วมกัน นำเอาเรื่องราวของความสำเร็จมาเล่าเป็น เรื่องเล่าเร้าพลัง (Story telling) มีการสร้างบรรยากาศเชิงบวก เชิงชื่นชมภายใน หรือเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                            เป้าหมายหลักช่อง SST คือ การให้คุณค่าต่อความสำเร็จเล็ก ๆ ตามเป้าหมายของหน่วยงานย่อย แต่หลาย ๆ ความสำเร็จเล็ก ๆ จะก่อผลยิ่งใหญ่ในภาพรวมขององค์กร

                            อาจารย์เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร อาจารย์แนะนำให้ใช้ Story telling ก่อนการประชุม

                    3.     จากหนังสือ องค์กรไม่ใช่เครื่องจักร: การบริหารจัดการกระบวนทัศน์ใหม่ (Living Organization) ของ นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ ซึ่งในหนังสือกล่าวถึง สุนทรีสาธก (Appreciative Inquiry)

                            สุนทรียสาธก จะเน้นการเห็นศักยภาพว่าสำคัญกว่าการรับรู้ การเห็นปัญหาในองค์กร แม้จะมีความสำคัญ แต่การพูดถึงแต่ปัญหาตลอดเวลา ก็ยิ่งเป็นการสร้างปัญหามากขึ้นไปด้วย และถ้าเราไม่เห็นแง่มุมของศักยภาพองค์กร เราจะไม่มีทางออกจากวังวนของปัญหาได้เลย ศักยภาพองค์กรที่พูดถึงนี้สามารถค้นหาได้จากเรื่องเล่าของผู้คนในองค์กร เพราะในการเล่าเรื่องนั้นผู้คนในองค์กร เพราะในการเล่าเรื่องนั้นผู้คนมักผนวกเอาจินตนาการ หรือคนใฝ่ฝันเข้าไว้ด้วย

                            ผู้เขียนได้มีโอกาสพบ อ.นพ.โกมาตร ในการประชุมวิชาการการพัฒนาคุณภาพระดับภาพ: ภาคเหนือตอนล่าง (Regional Forum)

                            อาจารย์บอกว่าดี ถ้าใครมีเรื่องดีๆ ให้ส่งเข้าประกวดได้ ให้ดูรายละเอียดในวรสารสุขศาลา

4.       จากหนังเรื่อง Patch Adams ผู้ป่วยบอก Patch Adams ว่า จงอย่ามองแต่ปัญหา

    ผู้ป่วยยกมือขึ้นมา 4 นิ้ว และถาม Patch ว่า เห็นกี่นิ้ว

    ผู้ป่วยพูดว่า                  จงมองไกลออกไปจากตัว

                                                                อย่ามองแต่ปัญหา จะไม่เห็นทางออก

                            ผู้ป่วย ถามว่า             มองไกลจากนิ้ว เห็นที่นิ้ว

                            Patch ตอบว่า            8 นิ้ว

                            ผู้ป่วย พูดว่า              ถูกต้อง

                            ผู้ป่วยพูดต่อ                จงมองในสิ่งที่คนอื่นไม่เลือกมอง

                                                                โดยไม่หวาดหวั่น ไม่เกียจคร้าน

                                                                มองในแง่มุมใหม่ๆ ในโลก ในแต่ละวัน

                                                                อยากช่วยเพื่อนมนุษย์ เข้าถึงเพื่อนมนุษย์ได้

                            ผู้เขียนก็มุ่งว่า การเล่าเรื่องความดี การเล่าเรื่องคนสำราญ งานสำเร็จ จะเป็นแรงบันดาลใจ และเป็นแรงผลักให้องค์กรมีชีวิต ในการขับเคลื่อนต่อไป รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักให้หัวหน้างานอยากมาเล่าเรื่องความดีของตน หรือเห็นภาพบุคลากรในงานตนเอง ออกมาเล่าแล้วนั่งอมยิ้ม หรือยิ้มออกมาด้วยความปิติ รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจ และแรงผลักในการพัฒนางานที่ทำอยู่ และออกมาเล่าเรื่องคนสำราญ งานสำเร็จ

                            ผู้เขียนเป็นผู้จัด นั่งฟังยังมีความสุข ปิติ อิ่มเอมใจ และก็เชื่อมั่นว่าคนที่ได้มาเล่าก็ต้องรู้สึกภูมิใจไม่มากก็น้อย

                            จากหนังสือคนสำราญ งานสำเร็จของท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (การฝึกสมาธิด้วยการใช้เสียงเป็นสื่อ) หากเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง ศาสนาสายมหายานให้มาเป็นส่วนหนึ่งในการฝึกปฏิบัติของพวกเราชาวเถรวาทได้

                            เช่นเดียวกัน ถ้าเราเปิดโลกทัศน์ให้กว้าง เราก็สามารถประยุกต์แนวคิดต่างๆ มาปรับรูปแบบการประชุมในฝันได้เช่นกัน อยู่ที่ผู้รับจะพึงพอใจเพียงใด และให้คำแนะนำ รวมทั้งให้ความร่วมมือก็จะเป็นการประชุมในฝันของทุกคนได้

 

หมายเลขบันทึก: 207707เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2008 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 08:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

we can't change the world but can change our mind and get happiness in our life.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท