พระไตรปิฎกปาฬิ "จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช" ชุด 40 เล่ม


ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล

พระไตรปิฎกปาฬิ "จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช" ฉบับอนุรักษ์ดิจิทัล ชุด 40 เล่ม พ.ศ. 2551

Chulachomklao of Siam Pāḷi Tipiṭaka (1893) : A Digital Preservation Edition
With annotation from Tipiṭaka Studies Referece and page concordance to the World Tipiṭaka Edition in Roman Script
Published by Dhamma Society in 2008
with support from
Princess Galyani's Tipiṭaka Endowment Fund Project for Distribution Worldwide
  RCNK Foundation under the Queen's Patronage

 

Siam-script Tipitaka : A Digital Preservation Edition 2008 Siam-script Tipitaka : A Digital Preservation Edition 2008

คำอธิบายวิธีใช้หนังสือ
พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ พ.ศ. 2551

การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอนุรักษ์ พ.ศ. 2551 ได้มีการนำขอมูลจากพระไตรปิฎกอักษรโรมัน ฉบับ “มหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500” มาจัดพิมพ์ประกอบ รวม 8 รายการ คือ

1. การปริวรรต : อักษรสยาม อักษรโรมัน (Siam-script to Roman-script Transliteration for Tipiṭaka Romanisation) แสดงการปริวรรตปาฬิเป็นอักษรสยาม และ เป็นอักษรโรมัน มี สระ 8 เสียง และพยัญชนะ 33 เสียง รวม 41 เสียง โดยจัดพิมพ์เป็นแถวคู่กัน

2. ข้อมูลโครงสร้างพระไตรปิฎกและช่ื่อตอน (The World Tipiṭaka Structures and Titles in Roman Script) แสดงภาพรวมที่มาของข้อมูลฉบับอักษรสยามเปรียบเทียบกับโครงสร้างฉบับสากลอักษรโรมัน โดยจัดพิมพ์ใต้ภาพถ่ายพระไตรปิฎกอักษรสยามในด้านซ้ายทุกหน้า รวม 16,248 หน้า

3. ระบบรหัสอ้างอิงพระไตรปิฎกอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tipiṭaka Quotation Number) แสดงความสามารถในการสืบค้นข้อมูลจากพระไตรปิฎกอักษรสยามสู่ฉบับสากลอักษรโรมันในเครือข่ายอินเตอร์เน็ทจาก www.tipitakaquotation.net โดยสามารถอ้างอิงข้อมูลในพระไตรปิฎกสากล รวม 118,280 ย่อหน้า ไปจัดพิมพ์เผยแผ่ในสื่อผสมต่างๆ ได้

4. ตัวอย่างข้อมูลปาฬิ 2 ฉบับ และเทียบหน้าระหว่างอักษรโรมันกับอักษรสยาม (Example of Parallel Corpus Siam-script/Roman-script Pāḷi Tipiṭaka) แสดงการพิมพ์เสียงปาฬิเปรียบเทียบระหว่างฉบับอักษรสยามกับฉบับอักษรโรมัน ทุกหน้า 16,248 หน้า โดยพิมพ์ข้อมูลใต้ภาพถ่ายในด้านขวาของภาพพระไตรปิฎกอักษรสยาม

5. จดหมายเหตุภาพดิจิตอลพระไตรปิฎกอักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์ (Digital Preservation Edition) แสดงความสามารถในการสืบค้นจดหมายเหตุภาพดิจิตอล “พระไตรปิฎกจุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช อักษรสยาม ฉบับอนุรักษ์” ด้วยเทคโนโลยีทางภาพ จำนวน 16,248 หน้า ซึ่งจัดเก็บเป็นจดมหายเหตุในเครือข่ายอินเตอร์เน็ทจาก www.tipitakahall.net

6. ระบบถอดอักษร : อักษรโรมัน สัททอักษรสากลปาฬิ (Roman-script to International Phonetic Alphabet for Pāḷi Transcription) แสดงการถอดเสียงปาฬิเป็นอักษรโรมันและสัททอักษรสากลปาฬิ ได้แก่สระ 8 เสียง และพยัญชนะ 33 เสียง รวม 41 เสียง

7. ข้อมูลท้ายอรรถ (Endnotes) แสดงรายละเอียดคำศัพท์และรูปคำที่พิมพ์ต่างกัน (Variant Readings) ระหว่างพระไตรปิฎกอักษรสยามกับอักษรโรมัน ทั้งหมดจำนวน 7,414 รายการ ซึ่งเดิมได้จัดพิมพ์เป็นส่วนหนึ่งในเชิงอรรถพระไตรปิฎกสากล โดยได้จัดพิมพ์รวมกันใว้ในตอนท้ายของหนังสือ

8. ดัชนีศัพท์ปาฬิอักษรโรมัน (Pāḷi Word Index in Roman script) แสดงจำนวนคำศัพท์ปาฬิอักษรโรมันและชี้ตำแหน่งของศัพท์เหล่านั้นในพระไตรปิฎกอักษรสยาม รวม 109,629 คำ เพื่อสะดวก ในการค้นหาศัพท์เทียบกับอักษรสยาม โดยจัดพิมพ์ไว้ในตอนท้ายของหนังสือ

คำสำคัญ (Tags): #dhamma#technology#tipitaka
หมายเลขบันทึก: 207199เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2008 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท