หลักสูตรท้องถิ่นของฉัน


แผนการทำหัวเชื้อ E.M

หลักสูตรท้องถิ่น

เรื่อง   การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาชุมชน

สาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ความเป็นมา

                   หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2544  ได้พัฒนาให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. 2542  ซึ่งกำหนดให้การจัดการศึกษาตามหลักสูตรต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย  ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์   และเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  พัฒนาสาระ  และกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น  จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ในส่วนของหลักสูตรท้องถิ่น    ให้มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนชาว อำเภอถ้ำพรรณรา  ที่มีอาชีพหลักส่วนใหญ่ทำสวนยางพารา และสวนผลไม้  ทำนา    เลี้ยงปลา    อาชีพเหล่านี้จะมีวัสดุที่เหลือใช้จำนวนมาก  หากนำมาดัดแปลงก็จะเกิดประโยชน์กับเกษตรกร  จึงทำการสำรวจความต้องการที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน  และผลจากการสำรวจชาวตำบลถ้ำพรรณรา  และตำบลคลองเส  ปรากฏว่าประชาชนในท้องถิ่นต้องการให้มีการเรียนการสอนที่จะนำวัสดุเหลือใช้มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์  เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกี่ยวกับการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น   จึงได้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่นเรื่อง การทำเกษตรอินทรีย์เพื่อพัฒนาชุมชนขึ้น  เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา      โดยเนื้อหาการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี   สาระที่ 1  การดำรงชีวิตและครอบครัว   สาระที่ 2 การอาชีพ  และสาระที่ 3  การออกแบบและเทคโนโลยี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลพื้นฐาน

                ผู้จัดทำหลักสูตร  ได้สำรวจข้อมูลพื้นฐาน    หมู่ที่  8   ตำบลถ้ำพรรณรา    อำเภอถ้ำพรรณรา     จังหวัดนครศรีธรรมราช   โดยวิธีการสัมภาษณ์ และสังเกต   ได้ข้อสรุปดังนี้

1.            ข้อมูลทางด้านภูมิอากาศ / ภูมิประเทศ

สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อนชื้น  มีฝนตกชุกตลอดปี  ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขา   มีแหล่งน้ำธรรมชาติ   เหมาะกับการเจริญเติบโตของต้นไม้ประเภทต่างๆ โดยเฉพาะยางพารา และผลไม้ชนิดต่างๆเช่น  เงาะ  มังคุด  ลองกอง ฯลฯ 

2.            ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลัก  มีการทำสวนผลไม้เป็นอาชีพเสริม และปลูกไว้บริโภคในครัวเรือนจึงมีวัสดุที่เหลือใช้จำนวนมาก เช่น  ผลไม้ที่

ข้อมูลทางด้านปัญหา / ความต้องการ

                จากการสอบถามปัญหาและความต้องการของประชาชน  จำนวน  20 ครัวเรือนสรุปข้อมูลทางด้านปัญหาตรงกันว่า   ประชาชนมีปัญหาทางด้านการขาดความรู้เรื่องการประกอบอาชีพที่จะนำเอาวัสดุเหลือใช้   และภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า    มีความต้องการที่จะมีความรู้เรื่องการนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในด้านอาชีพการเกษตร  เช่น  การทำปุ๋ย และต้องการให้มีการอนุรักษ์  สิ่งแวดล้อม   วัฒนธรรม   ประเพณีของท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับท้องถิ่นของตนตลอดไป

               

 

 

 

 

จากาการสำรวจข้อมูลพื้นฐานดังกล่าว    สามารถวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของประชาชน  หมู่ที่  8   ตำบลถ้ำพรรณรา    อำเภอถ้ำพรรณรา    จังหวัดนครศรีธรรมราช    ได้ดังนี้

ปัญหา

สาเหตุ

ผลกระทบ

วิธีการแก้ไข

1. เกษตรกรไม่ได้นำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร

 

 

2. การใช้สารเคมีในการทำการเกษตร

1. เกษตรกรไม่มีความรู้ด้านการนำวัสดุในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร

 

 

2. ขาดความรู้ด้านการทำการเกษตรที่โดยใช้วัสดุธรรมชาติ

1. ใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นไม่คุ้มค่า

 

 

 

 

2. ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการซื้อสารเคมี

1. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนในการ นำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพการเกษตร

2. ให้ความรู้ และปลูกฝังค่านิยมในการใช้วัสดุธรรมชาติในการทำการเกษตร

 

         จากการวิเคราะห์ลำดับปัญหา และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ต้องการที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำการเกษตรเพื่อพัฒนาอาชีพของตนให้มีคุณภาพ ปลอดสารเคมี เพื่อให้สอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกี่ยวกับการเกษตรที่มีอยู่ในท้องถิ่น

          การการทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะสอดคล้องกับระบบเศรษฐกิจพอเพียงแล้วยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนการผลิตทำให้ประชาชนได้

 

หลักการ

1. เปิดโอกาสให้สังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2. เชิญผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเป็นวิทยากรในการจัดการเรียนการสอน

3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้นักเรียนเกิดความรักและภาคภูมิใจในผลงาน

5. จัดการเรียนรู้ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและหารายได้ระหว่างเรียน

6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดี

จุดประสงค์

1.  เพื่อเพิ่มทักษะอาชีพให้นักเรียน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. เพื่อให้นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงานได้อย่างหลากหลาย

3. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4. เพื่อให้นักเรียนรู้เรื่องอาชีพ และนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาเพิ่มประโยชน์

5. เพื่อให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดี

 

เป้าหมาย

1.  นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและเทคนิคในการทำเกษตรอินทรีย์

2.  นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. นักเรียนมีความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง

4. นักเรียนทุกคนมีเจตคติที่ดี และก้าวทันเทคโนโลยี

5. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบอาชีพได้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. นักเรียนมีทักษะและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2. นักเรียนเห็นคุณค่าทรัพยากรท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

3. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติที่ดีต่ออาชีพ

4. นักเรียนสามารถแก้ปัญหาในการทำงานได้

5. นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้ 

6. นักเรียนรู้จักใช้เทคโนโลยีได้

 

มาตรฐานช่วงชั้น

                   สาระที่ 1    การดำรงชีวิตและครอบครัว

                            มาตรฐาน ง 1.1  เข้าใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะ มีคุณธรรม มีจิตสำนึก     ในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน              เพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับงานบ้าน งานเกษตร งานช่าง งานประดิษฐ์ และงานธุรกิจ

                            มาตรฐาน ง 1.2  มีทักษะ กระบวนการทำงานและการจัดการ การทำงานเป็นกลุ่ม

การแสวงหา ความรู้ สามารถแก้ปัญหาในการทำงาน รักการทำงาน และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน

 

สาระที่ ๒   การอาชีพ

                            มาตรฐาน ง 2.1  เข้าใจ มีทักษะ มีประสบการณ์ ในงานอาชีพสุจริต มีคุณธรรม มีเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ และเห็นแนวทางในการประกอบอาชีพสุจริต

                   สาระที่ ๓   การออกแบบและเทคโนโลยี

                            มาตรฐาน ง 3.1       เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการ และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีในการสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ

คำอธิบายรายวิชา

                   ศึกษาหลักการ(เกษตรอินทรีย์) ทำส่วนผสมหัวเชื้ออีเอ็ม (E.M. )         ขั้นตอนและเทคนิคการทำปุ๋ยชีวภาพ         จากพืช/มูลสัตว์ที่หาได้ในท้องถิ่นหรือวัสดุที่เหลือใช้มาเป็นส่วนผสม     การผสมผสานใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการทำปุ๋ยชีวภาพ  การใช้วัสดุอุปกรณ์    ประโยชน์ของปุ๋ยชีวภาพกับสิ่งแวดล้อม     ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำปุ๋ยชีวภาพไปใช้

 

โครงสร้างเนื้อหา

เรื่อง

หัวเรื่อง

เวลารวม

เวลา (ชั่วโมง )

ทฤษฎี

ปฏิบัติ

1.

2.

หมายเลขบันทึก: 206889เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนใจหลักสูตรท้องถิ่น เรื่องการทำหัวเชื้ออีเอ็มมาก อยากขอวิธีทำเพื่อนำไปเผยแพร่ในท้องถิ่นของผมบ้างและใช้สอนในโรงเรียนที่อำเภอควนโดนจังหวัดสตูลเพราะทีบริบทใกล้เคียงกับที่นี่คือชุมชนมีอาชีพกรีดยางพาราเป็นส่วนใหญ่และเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและหากมีวิชาอื่นๆอยากขอความอนุเคราะห์นำไปใช้บ้าง ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท