ญาณ


ญาณ

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ญาณ

             ญาณ แปลว่า  ปัญญาหรือความรู้ที่หยั่งลึกลง  

 โดยทั่วไปเรามักจะตีความ ด้วยความเข้าใจผิดๆว่าญาณเป็นความรู้ที่วิเศษ ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ หรือมีอะไรๆที่มีความพิเศษ พิสดาร ที่คนธรรมดาไม่อาจจะมีได้ แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่เลย !

ญาณ คือ ความรู้ ที่รู้โดยการโยนิโสมนสิการ เป็นความรู้ ที่รู้เพราะ การได้ประสพพบเจอกับความรู้นั้นอย่างลึกซึ้ง รู้ลงที่ใจของเราเอง

ตัวอย่างเช่น  มีการทดลองให้เด็กเล็กๆกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่เคยรู้จักกับส้มเลย  โดยผู้ทดสอบได้บอกเล่าให้เด็กๆเหล่านั้นฟัง ถึงเรื่องราวของส้ม  เล่าให้ฟังถึง รูป ร่าง ขนาด สีสัน ลักษณะ ตลอดจนถึงรสชาติของส้ม 

คำพูดหรือคำบอกเล่าทั้งหมด ก็คือ การเปรียบเทียบกับ อะไรๆที่เด็กรู้อยู่แล้ว สิ่งต่างๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกับส้ม (เช่นเปรียบเทียบว่าคล้ายกับลูกปิงปองแต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งเด็กเหล่านั้นจะต้องรู้จักกับลูกปิงปองนั้นก่อน มิฉะนั้นเด็กก็จะไม่สามารถจินตนา การเปรียบเทียบได้) แล้วเขาก็ให้เด็กๆกลุ่มนั้นวาดภาพของส้มตามคำบอกเล่า ตามจินตนาการของเด็กๆแต่ละคน ตามที่เด็กๆเหล่านั้นเข้าใจ (ทิฏฐิ) ผลปรากฏว่า

ส้ม ของเด็กแต่ละคน  ไม่เหมือนกันเลย !

การรับรู้ในลักษณะนี้ ก็คือ การรับรู้โดยการผ่านทิฏฐิ ความคิด การรับรู้โดยการจินตนาการเอา เปรียบเทียบเอากับฐานความรู้เก่าๆ(ทิฏฐิ)ที่แต่ละคนมี

ซึ่งไม่ได้แตกต่างอะไรกับ การรับรู้ของเราๆท่านๆทุกๆคน ในเรื่องราวต่างๆ ความรู้ต่างๆ แม้กับพระธรรม

แต่... คุณรู้จักส้มกันเป็นอย่างดี เคยรับประทานส้ม เคยเห็น เคยสัมผัส เคยได้กลิ่น ความรู้ที่คุณรู้เกี่ยวกับส้มนั้น มันอยู่ในใจของคุณ

ความรู้แบบนั้นแหละ ที่เป็นความรู้ที่เรียกว่าญาณ

ความรู้นั้นแบบนั้นเป็นความรู้ ที่รู้ เพราะได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส ได้ลิ้ม ชิมรสชาติของส้มจริงๆ ด้วยกายด้วยใจของคุณเองจริงๆ

การโยนิโสมนสิการ ก็เป็นเช่นนั้น เป็นเหมือนกับการที่คุณได้สัมผัส ได้ชิม ลิ้ม รส ของส้มจริงๆ

เป็นความรู้ จากการสัมผัสจริง ได้ทำจริงๆ ประสบการณ์ที่เราได้ประสบพบเจอจริงๆ ไม่ใช่ได้จากการคิดเอา จินตนาการเอา หรือโดยการใช้หลักของเหตุผล การใช้การเปรียบเทียบ การกะประมาณเอา

ไหนคุณลองอธิบายถึง รสชาติ ของส้มให้ ตนเองเองฟังหน่อยซิ  ?

คุณจะบอกเล่าว่าไง หวานแบบไหน เปรี้ยวแบบไหน ...

แต่คุณก็คงรู้ถึง รสชาติ ของส้มจริงๆได้เป็นอย่างดี แต่ยากที่จะอธิบาย...

การรับรู้แบบโยนิโสมนสิการนี้เอง คือ การปฏิบัติในแบบที่เราเรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานที่แท้จริง ไม่ว่าคุณจะปฏิบัติโดยวิธีการใดก็ตาม จะนั่งสมาธิหรือเดินสมาธิ ก็ตามแต่ที่คุณจะเรียก หากคุณโยนิโสมนสิการไม่เป็น การเรียนรู้การรับรู้ต่างๆที่ไม่ได้สัมผัสหรือทำลงในใจของคุณ ถึงคุณจะปฏิบัติอีกสักกี่ชาติ คุณก็ไม่รู้จักกับญาณ ไม่แม้กระทั่งจะเป็นการวิปัสสนาที่แท้จริง

วิปัสสนา แปลว่า การเห็นแจ้ง  มันแจ้งตรงจิตตรงใจของผู้ปฏิบัติ มันซาบซึ้งถึงใจจริงๆ จึงเรียกว่าเข้าใจแจ้ง”“เห็นแจ้ง  ไม่ใช่เป็นความเข้าใจ โดยอาศัยหลักของเหตุผล หรือความคิด

และความเข้าใจแบบนั้น ก็ยากที่จะอธิบายด้วยคำพูดโดยตัวอักษร นอกจาก เห็นเอง แจ้งเอง นั่นแหละ

หลักในการวิปัสสนา คือ การรับรู้สิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ก็โดยการรับรู้ด้วยจิตอุเบกขา จิตที่เป็นกลาง ซึ่งก็คือ จิตที่ไม่เข้าข้างไม่เข้าด้วยกับทิฏฐิแบบไหน  ไม่ขัดแย้งและไม่คล้อยตาม

ซึ่งนั่นก็คือ การรับรู้โดยสัมมาทิฏฐิ หรือการรับรู้ด้วย สัมมาสติ 

ความจริงแล้ว

วิปัสสนา - โยนิโสมนสิการ - สัมมาทิฏฐิ - สติ - ญาณ ................เป็นเรื่องเดียวกัน

แต่ความเป็นภควันของพระพุทธองค์ ที่สามารถแจกธรรมในเรื่องเดียวกัน ออกเป็นแง่มุมต่างๆกัน ได้

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ญาณ
หมายเลขบันทึก: 206775เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 09:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท