เกษตรอินทรีย์ มาตรฐานสากลประเทศไทย


เทคนิคและวัสดุในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน

สวัสดีคะ  บันทึกนี้จะเล่าเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ที่เป็นมาตรฐานสากลประเทศไทย ดิฉันนำมาจากหนังสือของดร.สมคิด  ดิสถาพร จัดพิมพ์ไว้ในปี 2549   มีทั้งหมด  217 หน้า  จำหน่ายในราคา 300 บาท  นักวิชาการเกษตรน่าจะมีไว้นะคะ   เป็นหนังสือที่รวมองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ หลายเรื่องเราไม่เคยรู้มาก่อน  และเป็นความรู้ที่นำไปแนะนำเกษตรกรให้เข้าใจและปฏิบัติได้...  

                

              

           วันนี้จะหยิบประเด็นเกี่ยวกับเทคนิคและวัสดุในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพื่อใช้ผลิตเกษตรอินทรีย์..มาเล่า

           วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้ได้

  1. พืชต่างๆที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสด
  2. เศษซากกากเหลือจากพืชปลูก  วัชพืช หรือใบไม้ร่วงและปุ๋ยหมักที่ทำจากส่วนดังกล่าว
  3. กากพืชตระกูลถั่วหรือรำข้าว
  4. ถ่านไม้หรือถ่านเผาขี้เถ้าจากหญ้าและไม้
  5. กากเหลือทิ้งจากโรงงานผลิตน้ำตาล(ชานอ้อยและโมลาส)
  6. วัสดุที่เป็นไม้ซึ่งผ่านการเน่าเปื่อยแล้ว(เปลือกไม้  ขี้เลื่อย ไม้แผ่น)
  7. สาหร่ายทะเล
  8. ปุ๋ยน้ำจากพืช
  9. ถ่านหินดิน (PEAT) และฝ้าถ่านหินดิน
  10. ปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ปีกและสัตว์เลี้ยง  มูลนกทะเล
  11. กระดูกป่น  ปลาป่น  เปลือกปูป่น  วัสดุ แร่ธาตุป่น  ที่มีหินปูนเป็นส่วนประกอบหิน vermiculite ป่น หิน perite ป่น

        สิ่งที่ต้องผ่านการตรวจสอบ  ( ถ้าตรวจผ่านจึงจะนำไปใช้ได้)

  1. ดินที่นำมาจากที่อื่น
  2. เศษขยะในเมืองที่ผ่านการคัดแยกมาแล้ว
  3. ผงเลือดแห้ง  ขนปีกสัตว์  หนังสัตว์ป่น
  4. ปุ๋ยเหลวจากสัตว์
  5. ฟอสฟอรัสเหลว  กำมะถัน
  6. Potassium  Sulfate    Potassium  Chloride  Potassium Monophosphate  Calcium  Monophosphate  Magnesium  Oxide  Magnesium  Sulfate  Magnesium  Phosphate
  7. ปุ๋ยจุลธาตุ (B  Mn  Zn และอื่นๆ)
  8. วัสดุแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุที่ผ่านขบวนการทางเคมีแล้ว
  9. วัสดุอินทรียวัตถุที่ได้จากการเติมปุ๋ยเคมี
  10. ปุ๋ยเคมีไนโตรเจน
  11. สารปรับปรุงดินชนิด Higj  Molecules
  12. ปุ๋ยอินทรียวัตถุที่ซื้อมา

       สิ่งที่ห้ามใช้

  1. นอกจากปุ๋ยเคมีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
  2. เศษซากกากเหลือของพืชและวัสดุชีวภาพที่มีปริมาณตกค้างของยาปราบศัตรูพืช  โลหะหนักและกัมมันตภาพรังสีมากกเกินไป
  3. ขยะของทิ้งในเมืองที่ยังไม่ผ่านการคัดแยก
  4. ขี้โคลนในท่อน้ำทิ้ง
  5. ขยะกระดาษ น้ำหมักจากการทำกระดาษ
  6. สิ่งขับถ่ายของสัตว์เลี้ยงที่ไม่ได้ผ่านการให้สะอาดบริสุทธิ์
  7. อุจจาระและปัสสาวะของมนุษย์ (แสดงว่ามนุษย์สกปรกกว่าสัตว์???....)

    นี่คือ Step  แรกนะนี่..การเตรียมดินต้องผ่านก่อน.... Step ต่อไป..เจอกันคราวหน้า

หมายเลขบันทึก: 206751เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2008 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบคุณคุณ อ้อ_ขอนแก่น ที่นำเรื่อง(หนังสือ)ดีๆมาบอก
  • จะรีบไปหามาเป็นสมบัติซัก 1 เล่มค่ะ...
  • รออ่านตอนต่อไปนะคะ

สวัสดีคะ พี่เก๋

ขอบคุณนะคะที่แวะมาทักทาย.. ของดีต้องบอกต่อคะ...

คุณน้า(ดอก)อ้อ คะ ช่วยบอกหนูทีเถอะคะ ธาตุกรัมมันตรังสี เกี่ยวข้องกับการเกษตรอย่างไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง มีโทษอย่างไบ้บ้าง ยิ่งมากยิ่งดีนะคะ แต่หนูขอด่วนนะคะไม่เกิน วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เวลา 18.59 นาที ขอขอบล่วงหน้าอย่างสูงนะคะ ถ้าหนูมีอะไรดีดี หนูจะนำมาบอกนะคะ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้นะคะ รบกวนช่วยค้นหาให้ที่เถอะค่ะ

ป.ล. ขอด่วนนะคะจะไปทำรายงานส่งอาจารย์ค่ะ

พะยูน ม.2/2 สมเด็จอุบลฯ

น้องบ๊อปขา

ขอโทษนะคะ ตอบไม่ทัน เพราะดิฉันพึ่งกลับมาจากต่างจังหวัด พึ่งเช็คเมล์วันนี้ ธาตุกัมมันตรังสี มีผลต่การเกษตรมาก มีทั้งดีและเสีย ที่ดีเท่าที่รู้คือ ใช้ ฉายผ่านเมล็ดพืชในช่วงเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดการเปลึ่นแปลงพันธุ์กรรม ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น ส่วนโทษนั้นถ้าธาตุที่เป็นกัมมันตรังสีผสมอยู่ในปุ๋ย อย่างเช่นใช้กากเหลือจากโรงงานปิโตรเคมีมาทำปุ๋ยใส่ในพืช พืชก็จะดูดธาตุเหล่านี้ขึ้นไปแล้วติดอยู่กับพืชนั้น แล้วคนเราเอาพืชนั้นมาบริโภค มันก็จะเข้าไปอยู่ในร่างกายเรา สะสม เกิดมะเร็ง โครโมโซมใปลี่ยน พิการ แน่...นึกภาพเอาก็แล้วกัน...

อยากชมภาพ พืชที่ปลูกไว้ตามแปลงต่างๆ และขอภาพแปลงปลูกผักบุ้งหรือโรงเพาะเห็ด หรือที่จะไปดูตัวอย่าง แถวชานเมืองขอนแก่นได้หรือเปล่้า ล่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท