สูงสุด กันเพียงเท่านั้น


จากหนังสือ "ทางสายเดียวที่ทุกคนต้องเดิน, พุทธทาสภิกขุ, หน้า ๔๗-๔๘, ๒๕๔๙.

คำนิยามที่รัดกุมที่สุดมีอยู่ว่า "ความไม่ยึดมั่นถือมั่นตัวตน จนเห็นแก่ตัว" จะเป็นการศึกษาแขนงไหน หัวข้อไหนก็ตาม จะต้องมีหัวใจมารวมอยู่ตรงที่ว่า "ไม่มีความยึดมั่นตน จนเห็นแก่ตน" จะต้องมีหลักไม่ยึดมั่นตน จนเห็นแก่ตนเสมอไป...

(การศึกษา) ถ้าจะให้ถูกต้องตามอุดมคติแล้ว จะต้องเป็นไปในลักษณะทีไม่เห็นแก่ตนทั้งนั้น และคำว่า "ไม่เห็นแก่ตัว" นั่นแหละ หลายๆท่านจะดูหมิ่นว่าเป็นคำง่ายๆตื่นๆสำหรับคนทั่วไป แต่นี่แหละ คือ หัวใจทั้งหมดของพระพุทธศาสนา

ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิงเมื่อใด ก็เป็นพระอรหันต์เมื่อนั้น

แล้วก็สูงสุดกันเพียงเท่านั้น

 

หมายเลขบันทึก: 206651เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 17:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • ญาติสมจิต จริงรึป่าวคะ
  • คนเราคงละไม่ได้หรอกนะคะเรื่องเห็นแก่ตัว บางทียังเอาเปรียบตัวเองเลยก็มี
  • ขอบคุณสำหรับข้อคิดที่ดีๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาทักทายทำความรู้จักค่ะ ดีใจที่ทราบว่าอยู่เชียงใหม่ ไม่ไกลจาก มช.ด้วย
  • ขอบคุณที่แวะไปทักทายกันนะคะ
  • ความทุกข์เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นจนเกินไป
  • การปล่อยวางไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา   หากแต่เป็นการออกจากปัญหาเลยที่เดียว
  • ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท