อุเบกขา


อุเบกขา

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

อุเบกขา

           อุเบกขา นั้น เรามักตีความเป็นว่า ความรู้สึกเฉยๆ ซึ่งเมื่อฟังดูแล้ว มันช่างเป็นจิตที่ทึบทื่อ ดูดาย เห็นแก่ตัว อย่างไรก็ไม่รู้ และการปฏิบัติธรรมในศาสนานี้ ก็ปฏิบัติไปสู่จิตนี้กันทั้งนั้น ไม่ว่าในฌาน๔ โพชฌงค์ ๗

              หากเราตีความ อุเบกขาจิต เป็นจิตที่เฉยๆ ทื่อๆ ดูดาย เช่นนั้น ศาสนานี้ก็ช่างสอนให้คนดูดาย ไม่สนใจกับผู้คนหรือคนอื่น มุ่งแต่ความสุขส่วนตนกัน แต่เป็นอย่างนั้นจริงๆล่ะหรือ ?

               พระธรรมของพระพุทธองค์นั้น ส่วนใหญ่เป็นธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันเสมอ การตีความจึงต้องตีความแบบบูรณาการ เช่น เรื่องอุเบกขา ก็เช่นเดียวกัน 

               อุเบกขาจิต นั้น เป็นจิตที่เนื่องจาก จิตเมตตา ไม่ใช่อยู่ๆ เป็นจะเป็นจิตอุเบกขา ขึ้นมาได้ในทันที

               ไอ้จิตที่เราเรียกกันว่า อุเบกขา ที่เรามักจะเป็นๆกันอยู่ ที่เกิดขึ้น ด้วยความเห็นแก่ตัว ด้วยความดูดาย ความไม่ใส่ใจ กับความทุกข์ความเดือดร้อนของผู้อื่นนั้น มันไม่ใช่ จิตอุเบกขา ในพระธรรมนี้

 

                พรหมวิหาร ๔ หมายถึง วิหารแห่งพรหม - เครื่องอยู่ของพรหม - เครื่องอยู่อันประเสริฐ (พรหม แปลว่า ประเสริฐ) อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

                 เมตตา มาจากคำว่า มิตต หมายถึง มิตรภาพ หรือ ความรัก(ในฉันท์มิตร) คุณจะเกิดจิตเมตตาขึ้นได้ คุณต้องรู้สึกว่าตนเป็นมิตรกับผู้อื่น และต้องรู้สึกว่าผู้ อื่นเป็นมิตรกับคุณ ขึ้นมาในจิตใจของคุณเสียก่อน

                 ไม่ใช่สักแต่พูดบ่นไป เช่นในการแผ่เมตตา หลังการทำบุญหรือ หลังการสวดมนต์ ก็เห็นแต่สักๆแต่แผ่กันแต่ปากว่าไปเท่านั้น "สัพเพสัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อน เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น" อย่าสวดกันแต่ปากที่พร่ำบ่นไป ลองทำ ใจให้ รู้สึกเป็น เช่นที่ปากว่า แล้วคุณถึงจะเข้าใจ (โยนิโสมนัสสิการ -ทำลงในใจโดยแยบคาย)

                ความเมตตา แปลกันว่า คือ ความปรารถนาดีให้ผู้อื่นเป็นสุข ซึ่งคุณจะเกิดความรู้สึกปรารถนาดีขึ้นมาได้ ก็เพราะ คุณรู้สึกเป็นมิตรกับเขานั่นเอง 

ความกรุณา เมื่อคุณมีใจเมตตา(รู้สึกว่าเขาเป็นมิตร เป็นเพื่อนของเรา) ใจของคุณก็จะเกิดความกรุณา(ใจที่ให้ได้ )ขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ ใจที่สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อนในยามที่เพื่อนเดือดร้อน ให้อภัยเพื่อนเมื่อเขาทำความผิดต่อเรา  

ความมุทิตา เมื่อคุณมีใจความเมตตา ใจคุณก็เกิดความมุทิตา (ใจที่พลอยยินดี) ได้  คือเกิดความยินดีหรือพลอยยินดีกับเพื่อน เมื่อเพื่อนประสบความสำเร็จ แม้ว่าบางครั้งความสำเร็จนั้นอาจจะเป็นการแข่งขันกับเรา โดยไม่มีความอิจฉาริษยา มุทิตาหรือที่เรียกกันอีกอย่างว่าอนุโมทนา นั้นคือแบบเดียวกัน คือ พลอยยินดีที่ได้เห็นผู้อื่นทำดี ได้ดี

ความอุเบกขา เมื่อคุณมีใจเมตตาและกรุณาแล้ว คือได้ให้ความช่วยเหลือกับเพื่อนจนสุดความสามารถแล้ว แต่เขาไม่ยอมที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเอง สิ่งที่ทำได้คือ ก็ต้องทำใจให้เป็นอุเบกขา คือทำใจให้เป็นเป็นกลาง ไม่พลอยไปทุกข์กับเขาด้วย หรือ เมื่อคุณเมตตาและมุทิตากับเพื่อนของคุณที่ประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้าในชีวิตการงานแล้ว เกิดอุเบกขา ไม่เกิดความอิจฉาริษยาเขา แต่ไม่พลอยหลงระเริงเพลิดเพลินสุขไปกับเขาด้วย

แต่จิตอุเบกขานั้น เป็น จิตที่พร้อมที่ให้  มิใช่ใจที่ดูดาย

เพราะเหตุนี้ จิตที่เป็นอุเบกขา จึงเป็นจิตจึงจะ เปี่ยมสุข

หรือก็คือ จิตที่มีเวทนาแบบไม่สุข-ไม่ทุกข์ นั่นเอง ....

 

คำสำคัญ (Tags): #อุเบกขาจิต
หมายเลขบันทึก: 206546เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 08:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท