KMการคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน


พยาบาลคัดกรอง สมรรถนะ หน้าที่ ขั้นตอนการปฏิบัติ และประเมินผล

การคัดกรองประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน นี้เป็นการทำงานช่วงต้นของการบริการในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ซึ่งรับผิดชอบโดยพยาบาล จึงเรียกว่าพยาบาลคัดกรอง แท้ที่จริงแล้ว มาจากศัพท์ภาษาฝรั่งคำว่า Triage ซึ่งแปลเป็นไทยว่า"คัดแยก" แต่ก็ไม่เห็นโรงพยาบาลใด เรียกพยาบาล ว่าพยาบาลคัดแยก จึงขอใช้ ว่าพยาบาลคัดกรองตามที่นิยมกัน น่าจะดีกว่า

ทำไมต้องคัดกรองผู้ป่วย เพราะที่ฉุกเฉินต้องด่วนอยู่แล้ว

เป็นเพราะว่า โดยปกติแล้ว จำนวนผู้ใช้บริการจะ มากกว่าแพทย์/พยาบาล

จึงจำเป็นต้องลำดับว่าใครด่วนมากที่สุด ที่ต้องพบ แพทย์ก่อน

การคัดกรองผู้ป่วย

พยาบาลมีสมรรถนะอย่างไร? มีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรบ้าง? 

เครือข่ายพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ที่ทำงานตั้งแต่1-20ปี

สมรรถนะของพยาบาลคัดกรอง  เช่น มีความรู้เรื่องโรคและอาการฉุกเฉินต้องดี อย่างเช่น โรคที่พบบ่อย5-10 อันดับแรก มีประสบการณ์ที่ห้องฉุกเฉินอย่างน้อยต้อง2ปีขึ้นไป พยาบาลต้องผ่านการอบรมการกู้ชีพเบื้องต้นและขั้นสูง และที่สำคัญมีมนุษยสัมพันธภาพ การสื่อสารที่ดี และมีความอดทน

การปฏิบัติการคัดกรอง

1.พยาบาลจะประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการอะไร และเดินได้หรือไม่ โดยแยกประเภท เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่1Emergency=ฉุกเฉิน ต้องพบแพทย์ทันที หรือภายใน4นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีแดง กลุ่มที่2Urgent=รีบเร่ง รอได้จะจัดให้พบแพทย์ภายใน30นาที แสดงสัญญาลักษณ์สีเหลือง กลุ่มที่3 Non urgent=ไม่รีบเร่ง อาจให้ข้อมูลให้ไปตรวจที่แผนกผู้ป่วยนอก แต่หากนอกเวลาราชการ จะตรวจที่แผนกฉุกเฉินต้องรอเป็น1ชั่วโมงหรือมากกว่าจนกว่าจะตรวจผู้ป่วยกลุ่ม1และกลุ่ม2เสร็จก่อน เหมือนสัญญาณไฟจราจร*บางที่อาจแบ่งเป็น4กลุ่ม โดยเพิ่มกลุ่ม Semi Urgent=กึ่งรีบเร่ง*ทำให้มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้น

2.พยาบาลต้องวัดสัญญาณชีพในขั้นตอนที่ 2 เป็นยืนยันด้วยหลักฐานว่าการคัดกรองนั้นตามเกณฑ์ทางการแพทย์ อย่าลืมบันทึกไว้ด้วยในบัตรตรวจโรค เป็นการสื่อสารให้แพทย์ทราบ

3.พยาบาลจะต้องร่วมทีมปฐมพยาบาลหลังจากวินิจฉัยว่ามีอาการรบกวนหรือจำเป็น โดยเฉพาะกลุ่ม1ต้องช่วยกู้ชีพ แก้ภาวะฉุกเฉิน เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้น ต้งส่งสัญญาณให้พยาบาลห้องตรวจรับช่วงต่อด้วย

สิ่งที่ได้จากกลุ่มบรรยากาศ ตามรูปแบบของพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เอาจริงเอาจัง แต่ผ่อนคลายเพราะมีเสียงหัวเราะในกลุ่มตลอดเวลา คะ่

 

หมายเลขบันทึก: 206491เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (63)

วิทยากร KM อย่างง่ายกับการเล่านิทานการเรียนรู้ของลิง

ระหว่างคัดกรอง

  • อย่าลืมให้น้องยิ้มด้วยนะคะ
  • เร็ว ปลอดภัย สะดวก คือ  เป้าหมายของผู้ป่วยที่มาแบบด่วนๆค่ะ

พี่คิดแบบคนที่มาใช้บริการนะคะ...คุณแขก

ขอบคุณมากคะ พี่แก้ว

งานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความพีงพอใจในการบริการที่อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน หลายต่อหลายครั้ง จะบอกเรื่อง Service mide ซึ่งตรงกับสิ่งที่พี่แนะนำ มากกว่าระยะเวลาที่รวดเร็วคะ

เพราะบุคลากรที่มีService mide ก็แสดงการต้อนรับโดยการยิ้ม หน้าไม่นิ่ว คิ้วไม่ชิดกันมาก ตอนนี้ผตก ก็ได้มอบหมายให้หัวหน้าตึกOPDAEดำเนินโครงการพฤติกรรมบริการที่เหมาะสม ครั้งต่อไปคงจะได้เอาไปKM กันอีกค้า

พยาบาลนอกจากจะต้องเก่งแล้วต้องมีบุคลิกที่ผ่อนคลายและต้อนรับใช่มั้ยคะ 

สวัสดีค่ะอาจารย์

สนใจเรื่องระบบคัดกรองค่ะ เป็นพยาบาล ER สารคามค่ะ น้องที่ไปรับอาจารย์มาเป็นวิทยากรค่ะ เพราะระบบคัดกรองที่สารคามมีระบบ แต่ดำเนินการได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ค่ะ ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

ทำงานที่หน่วยคัดกรองผู้ป่วยที่ ER ค่ะ มีปัญหาในการทำงานพอสมควรเนื่องจากมีข้อขัดแย้งในเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยของ จนท. แต่ละคน และดิฉันก็มาทำงานใหม่ ประมาณ 7 เดือนค่ะ รู้สึกสับสนพอสมควร จึงอยากมีความรู้เพิ่มเติม และศึกษาดูงานในที่ที่แตกต่างจากเดิมค่ะ ขอคำแนะนำแนะค่ะ

สวัสดีคะ คุณวิไลพรและคุณสุกัญญา

การคัดกรอง หรือ การคัดแยก ประเภทผู้ป่วย

วัตถุประสงค์ คือ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยมีอาการทรุดขณะรอตรวจ

เกณฑ์ที่เห็นแตกต่างกัน เพราะอาจไม่มีการตกลงร่วมกันก่อน ประมาณว่าหน่วยงานหนึ่งควรใช้เกณฑ์เดียวกัน

ปัจจุบันมีหลายค่ายและแบ่งประเภทคัดกรองผู้ป่วยอย่างไร

แบ่งเป็น3 ,4 หรือ 5กลุ่ม อย่างของ CTAS ก็มีเกณฑ์4กลุ่ม

ที่รพ ราชวิถี ศรีนครินทร์ รามาธิบดี แบ่งเป็น3กลุ่ม รพศ ขอนแก่นแบ่งเป็น4กลุ่ม เป็นต้น ไม่ใช่เรื่องแปลก

ซึ่งแล้วแต่ว่าตกลงกันแบบใด บอกให้ผู้ปฏิบัติงานรู้ ทั้งแพทย์และพยาบาล จะได้ปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน และในการปฏิบัติงานจะขึ้นกับสมรรถนะของพยาบาลด้วย และต้องยอมรับว่า อาจมีคัดกรองคลาดเคลื่อนได้ แต่อย่างไรต้องพัฒนาคะเพราะเราต้องการ Safty Pateints

1.ระบุเกณฑ์เป็นลายอักษร ทำเป็นCardsให้พยาบาลคัดกรองใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานหรือมีคู่มือการคัดกรอง โดย ขอความเห็นจากแพทย์ด้วยคะ

2.บันทึกการคัดกรองเพื่อติดตามประเมินผล การคัดกรองเป็นเพียงการตัดสินใจว่า ผู้ป่วยจะได้รับการตอบสนองช่วยเหลือในระยะเวลาเท่าไรจึงจะปลอดภัย หรืออย่างน้อยให้รอได้เท่าไร จะมีความสำคัญมากเพราะ อาการแรกรับนี้จะบ่งชี้ถึงความสามารถการจัดการของทีมหรือบอกถึงประสิทธิภาพขงองค์กร อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่า ผู้ป่วยจะอาการคงที่ อาจมีอาการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาวะของโรค ซึ่งมีความแตกต่างกัน ตามเหตุผลทางการแพทย์ แต่การคัดกรอง เป็นการตัดสินใจ ในช่วงแรกเท่านั้น

3.ต้องให้ข้อมูลทั้งแพทย์และผู้ป่วยด้วยเพราะการคัดกรองไม่ใช่การจัดคิวเหมือนการตรวจใครมาก่อนตรวจก่อน แต่ต้องตรวจตามภาวะเร่งด่วน ดังนั้นต้องให้สัญญาลักษณ์เพื่อระบุประเภทในบัตรตรวจโรค เช่น ใช่แถบแดง เหลือง เขียว เป็นตัวบอก

4.พยาบาลคัดกรอง ต้องอบรมความรู้ด้านเวชปฏิบัติ/โรค/อาการฉุกเฉิน/การกู้ชีพ และควรมีประสบการทำงานพอสมควร ที่รพ ศรีนรินทร์ ต้องทำงานที่ER>2ปี ทั้งนี้จะทำให้มาความมั่นใจในการปฏิบัติงาน

รูปแบบการคัดกรองในแต่ที่จัดแตกต่างกันไป ยกตัวอย่าง

1.บางที่จัดเป็นStation มีโต๊ะและเครื่องความดันและพยาบาล บางที่เพิ่มเครื่องพิมพ์บัตรแดง เหลือง เขียว และมีตัววิ่งที่หน้าERแจ้งลำดับการเข้าตรวจ คล้ายเราไปธนาคาร แล้วส่งผู้ป่วยเข้าไปในห้องให้แพทย์ตรวจแดงเข้าก่อน ตรวจเหลืองเสร้จทุกคนก่อนจึงจะมาตรวจสีเขียวคะ

2.บางที่ก็มีป้ายบอก มีPortable oxymetry และบัตรคัดกรอง แยกเข้าตามสี สีแดงเข้าห้องResuscitation ส่วนสีเหลืองและเขียวเข้าห้องตรวจ ใช้เวลาคัดกรองไม่นานประมาณ1นาที เรียกว่าPrimary Triage แล้วไปวัดสัญญาณชีพในห้องเพื่อทำการSecondary Triage โดยเป็นพยาบาลคัดกรองหรือพยาบาลในห้องตรวจ

อาจมีรูปแบบมากกว่านี้คะสำคัญหน่วยงานต้องตกกลงกัน การทำงานจะได้ราบรื่น ส่งผลดีทั้งผู้ป่วยและผู้ปฏิบัติงานคะ

สวัสดีค่ะ แขก

ทางโคราชก็มีปัญหาเรื่องคัดกรองหน้า ER.เนื่องจากเกณฑ์ยังไม่ละเอียดพอ กำลังจะขอไปดูระบบคัดกรองที่ ER.รามาธิบดี ที่มีโปรแกรมการคัดกรองที่ชัดเจน แต่ไม่ทราบว่าจะมาประยุกต์ใช้กับบริบทของ มหาราชได้หรือไม่ยังไม่รู้ ปีหน้าคิดว่าจะพัฒนาระบบคัดกรองทั้งจังหวัด ขอติดต่อ คุณแขกไว้ก่อนนะจ๊ะจะเชิญไปเป็นวิทยากร ขอขอขคุณล่วงหน้า

สวัสดีคะ เพื่อนเฉิด ที่เคารพรัก

ยินดีมากคะ เพราะที่รพ.ศรีนครินทร์ เรากำลังปรับมาใช้การคัดกรอง/คัดแยกประเภทผู้ป่วยของCTASก็ขึ้นกับผู้ปฏิบัติว่าจะเห็นประโยชน์ เรามีหน้าที่ในการนำในการพัฒนาแนวปฏิบัติคะ แต่ที่รพ.ศรีนครินทร์ ยังไม่ใช้โปรแกรมการคัดกรองอย่างเมืองนอกหรืออย่างที่รพ.รามาธิบดี ก็ดีคะถ้าทางรพ.มหาราชไปดูงานมาจะได้มีโอกาสไปKMกัน

 

กำลังจะได้เป็นพยาบาลคัดกรอง (กำลังเตรียมการ) อยากได้แนวทางปฏิบัติของระบบคัดกรองอ่ะค่ะ มีอะไรแนะนำไหมคะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ขอบคุณ น้องBerger ที่แวะเยี่ยม รู้สึกดีคะ ที่คิดถึงพยาบาล

คุณนวพร เป็นพยาบาลอย่างแน่นนอน นับว่ายอดเยี่ยมมากจะทำอะไรมีการเตรียมพร้อมเช่นนี้

จุดTriage ใช้ทักษะทางการแพทย์สูง การพยาบาลก็ต้องควบคู่กันไปเพราะสร้างความประทับใจได้ มีเวลาน้อย ต้องแม่นว่างั้น

มีพยาบาลเข้าใจเรื่อง การคัดแยก ไม่ถูกต้อง คือ คิดว่าแยกออกไม่ตรวจ ตรงนั้นไม่ใช่เป้าหมายหลัก

การคัดแยก เน้น แยกผู้ป่วยหนักให้เข้าถึงบริการก่อน อาการอื่นๆก็จะเป็นลำดับต่อไป และที่คัดแยกให้รอตรวจ เป้าหมายต้องไม่มีการทรุดก่อนการตรวจรักษาพยาบาล คือ เอาเป็นว่าต้องให้การช่วยเหลือทันก่อนอาการของผู้ป่วยจะกำเริบ ดังนั้นพยาบาลคัดกรอง/คัดแยก ต้องไว ต่ออาการเปลียนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้น

กำลังจัดทำแนวทางปฏิบัติการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน สำหรับพยาบาล คอยติดตามอีกทีนะคะ

สนใจเรื่องการคัดกรองมากค่ะ อาจารย์แขก อยากให้พี่เฉิดอบรมที่โคราช จะได้พบกับอารย์ รพช.พิมาย มีพยาบาลคัดกรองแล้วค่ะ ขาดข้อตกลงร่วมกันของ รพ. เลยยุ่งๆอยู่ค่ะ

สวัสดีคะ คุณโอเล่

ยินดีคะ ตอนนี้ทำคู่มือคัดกรองสำหรับพยาบาลคะ กำลังจะทดลองใช้ที่แผนกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน คะ ถ้ามีเวทีแลกเปลี่ยกันอาจจะพัฒนาเร็วขึ้น

สวัสดีค่ะ พี่แขก

เป็นน้องใหม่เพิ่งแวะเข้ามาขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยคะ มีคำถามสงสัยหลายข้อที่ยังหาคำตอบในงานER

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวเอง เป็นพยาบาลER โรงพยาบาลพะเยา

สนใจเรื่องการจำแนกประเภทผู้ป่วยค่ะเพราะเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลER ต้องมีdecision makingที่ดี triageเน้นการประเมินปัญหาเร่งด่วนแต่ไม่ใช่การวินิจฉัยโรค มีเกณฑ์ในการจำแนกผู้ป่วยที่เข้าใจตรงกันตรงกันในทีมสุขภาพ

พี่แขกใช้รูปแบบการtriageของCTAS ต้องมีการจัดอบรมพยาบาลtriageโดยเฉพาะหรือไม่คะ มีเทคนิคหรือการเตรียมการอย่างไรเพื่อให้พยาบาลปฏิบัติตามคู่มือคะ

ขอข้อคิดเห็นด้วยคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะ คุณnuyer

ขอบคุณมากคะที่สนใจเรื่องการคัดกรองหรือการคัดแยกประเภทผู้ป่วย นับว่ามีความสำคัญในลำดับต้นๆของการพัฒนางานบริการในER คะ เชื่อว่าเมื่อทำงานขั้นตอนต้นดี ขั้นต่อไปก็น่าจะราบรื่นคะ

การเรียนรู้รูปแบบการปฏิบัติงานในต่างประเทศ CTAS จำเป็นที่ต้องนำมาประยุกต์ให้เข้ากับลักษณะงานของเราคะ

 1. มีการจัดอบรมวิชาการ เรื่อง การคัดกรอง สอนโดยพยาบาลที่มีประสบการณ์ ในส่วนนี้พี่จะสอนเองคะ และเรื่อง ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ในระบบต่างๆ สอนโดยแพทย์เฉพาะทางสาขาต่างๆ ได้แก่ อายุรแพทย์ ศัลยแพทย์ จักษุแพทย์ กุมารแพทย์ ฯล ฯ และเมื่อเข้าใจ พยาบาลผู้นำต้องพาน้องๆนำความรู้ที่ได้การสรุป เป็นคู่มือ คะ หรืออาจสรุปให้น้องดู เอาไปลองปฏิบัติจนสามารถทำได้ดี

 2. จัดเสวนากลุ่ม ให้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้งแพทย์และ พยาบาล ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางและข้อตกลงร่วมกัน ขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ดีอย่างไร และบรรจุขั้นตอนและวิธีการนั้นไว้ในคู่มือคะ

 3. พยาบาลทดลองปฏิบัติ แพทย์จะเป็นผู้รับผลงานคะ ต้องคุยกับว่าที่ทำไป ทำให้ผู้ป่วยปลอดภัยมั๊ย เพราะเข้าถึงแพทย์ในเวลาที่เหมาะสม หรือคลาดเคลื่อนบ้าง พยาบาลสามารถช่วยเหลือได้ทัน จนไม่มีอาการทรุดระหว่างรอตรวจ แล้วก็ต้องกลับมาเสวนากันอีก จนได้ขั้นตอนและวิธีการที่เหมาะสมกับหน่วยงาน

เราอาจใช้รูปแบบกิจกรรมคุณภาพ PDCA=Plan -Do-Check-Act หรือ ทำวิจัยเชิงปฏิบัติการชAction Resaerch ก็ได้

แล้วแต่ว่าอะไรจะตรงกับสิ่งที่เราชอบ

โรงพยาบาลที่ทำงานอยุ่เป็นโรงพยาลขนาด 60 เตียง กำลังจะเริ่มดำเนินการในเรื่องของระบบคัดกรองแต่ยังขาดข้อมูลอยู่อีกมาก รู้สึกสับสนอยากมีความรู้เพิ่มเติม ขอคำแนะนำด้วยค่ะ

พี่คะ ตอนนี้น้องกำลังทำวิจัยเรื่องรูปแบบการให้บริการในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินอยู่

แต่น้องอยากได้chartขั้นตอนการให้บริการว่าตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามาในแผนกต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง

อยากขอคำแนะนำที ขอบคุณคะ...

เป็นพยาบาลคัดกรองของOPD ค่ะ อยากทำวิจัย แต่ยังจับต้นชนปลายไม่ถูกเลยค่ะว่ามันทำอะไรได้มั่ง พอจะแนะนำได้ไหมคะ ว่านอกจากจะทำเรื่องเกี่ยวกับการคัดแยกประเภทผู้ป่วยแล้ว มันน่าจะทำเกี่ยวกับอะไรได้มั่งคะ งงมากเลยค่ะเพราะมาจับงานนี้แบบไม่ได้มีความชำนาญมาก่อนเลย มาโดยaccident ค่ะ

อยากรู้จักคุณ kungking จังเลยค่ะ เผื่อจะได้รับคำแนะนำมั่งค่ะ [email protected]

สวัสดีค่ะ คุณนุชนาถ

"ระบบคัดกรองหรือการคัดแยก " เราต้องทำความเข้าใจก่อนค่ะว่า การคัดกรอง/แยกประเภทผู้ป่วย เริ่มใช้ในกรณีที่มีผู้ป่วยจำนวนมากเกินกำลังตามปกติ เราจึงจำเป็นต้องลำดับ ให้ผู้ป่วยอาการหนัก ได้รับการตรวจ/รักษาพยาบาลก่อน เราต้องแยกออกเป็นกลุ่มๆ ส่วนผู้ป่วยอื่นที่รออยู่อาการไม่ทรุด จนได้รับอันตราย

ดังนั้นการคัดกรอง/แยก จะนิยมดำเนินการ ในกรณีสาธารณภัย หน่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน หรือหน่วยผู้ป่วยนอก

ข้อมูล เรื่อง การคัดกรองประเภทผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะเขียนในตำรา ด้านอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณkungking

กรณีเราจะทำวิจัย เรื่องรูปแบบ.....ถ้าให้พี่แนะนำ เรื่อง Flow chart ขั้นตอนบริการที่อุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เราอาจใช้เวลาไปสังเกตการทำงานนี้ และร่วมกับการสัมภาษณ์คนทำงาน แล้วเริ่มเขียน สามารถเขียนได้ภายในไม่กี่นาทีค่ะ

โดยเราเลือก โครงร่าง วิธีการเขียนแบบใด จะทำ Work flow procedure จะบรรจุบทบาทหน้าที่ของบุคลากรที่รับผิดกระบวนการใด และผู้เกี่ยวข้อง

โดยทั่วไปโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ มักจะต้องทำสิ่งนี้ไว้เพื่อเป้นแนวทางให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานค่ะ

ไม่ทราบว่าแนะนำตรงจุดหรือไม่ ลองดูนะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ justkitty

การทำวิจัย ต้องเริ่มต้น โจทย์วิจัยคืออะไร?ถ้าเราไม่ชำนาญ เรื่องนี้ ต้องหาผู้ร่วมวิจัย หรือที่ปรึกษาค่ะ

เริ่มจากทบทวนงานวิจัยอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณคงน่าจะอยู่ในขั้นตอนแรกๆ อ่านๆมั๊กมาก ทำความเข้าใจก่อนในเรื่องที่เราสนใจ ๆ ไม่ว่าจะบังเอิญ หรือจำเป็นด้วยหน้าที่รับผิดชอบ

ตอนแรกที่ดิฉัน นำเรื่องนี้ขึ้นบล็อก จนวันนี้รับทราบว่า พยาบาล ให้ความสนใจกันมาก กำลังมีความคิดว่าเราน่าจะเริ่ม มีการรวมกลุ่มเป็นชุมชนผู้ปฏิบัติเรื่อง พยาบาลคัดกรอง น่าจะได้ประโยชน์ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

ลัดดาวัลย์ นาคสมบูรณ์ รพ.ศรีเมืองใหม่

โรงพยาบาลที่ทำงานอยู่เป็นโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง ดิฉันพึ่งจะมารับหน้าที่พยาบาลคัดกรองเมื่อต้นเดือนกันยายน 2552 นี้แต่ยังขาดข้อมูลขั้นตอนการปฎิบัติและประเมินผล (เดิมดิฉันเป็นพยาบาลประจำการอยู่ที่ ER) จึงอยากจะขอความกรุณาจากคุณพนอเรื่องข้อมูล (ดิฉันเกิดปีเดียวกันกับคุณค่ะ แต่ยังเป็นพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 7 อยู่)

สวัสดีค่ะ พี่แขก

ดิฉันอยู่หลังเขาจบพยาบาลเฉพาะทางอุบัติเหตุฉุกเฉิน รพ.รามาธิบดี กำลังจะเริ่มทำเรื่องคัดกรองที่ ER รพ.แม่สอด

มีหลายอย่างที่ยังไม่เข้าใจ,ไม่สะดวก ถ้ามีโอกาสจะขอคำแนะนำบ้างและถ้าพี่แขกจัดทำคู่มือเสร็จแล้ว จะขอให้เป็นอาจารย์

ให้หน่อยนะค่ะ จำหน่ายหนังสือคู่มือเมื่อไรบอกด้วยค่ะ เพราะเรื่องการคัดกรองฉบับภาษาไทยหาอ่านได้ยากมากโดยเฉพาะ

อยู่หลังเขาค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้า

สวัสดีค่ะ คุณลัดดาวัลย์ นาคสมบูรณ์และคุณไม่แสดงตน

ยินดีค่ะ แต่ไม่ทราบว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวกับอะไรบ้าง และติดต่อกันอย่างไร เพราะไม่ได้ Email adress

1.ข้อมูลการคัดกรองผู้ป่วยในER ลองKey word: triage,CTAS,Acident and Emergency Department Triage น่าจะได้เอกสารมากโข

2.คู่มือการคัดกรองของร.พ.ศรีนครินทร์ อยู่ระหว่างทดลองใช้ค่ะ สามารถให้คำแนะนำได้ แต่ยังไม่ได้จำหน่าย ก็เป็นความคิดที่ดี ถ้าให้เขียนตำรา จะลองปรึกษาพรรคพวกดูอีกที ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณลัดดาวัลย์

โรงพยาบาลที่ดิฉันทำงานอยู่มีขนาด30เตียง เพิ่งมารับหน้าที่การคัดกรองคนไข้หน้าจุดประชาสัมพันธ์ของรพ.ซึ้งแต่เดิมไม่มีแนวทางใดๆเลยที่ให้ปฎิบัติจึงอยากขอแนวทางในการคัดกรองรพ.ขนาด30เตียง/ขั้นตอนการปฎิบัติและประเมินผล เพื่อเก็บรวบรวมเป็นผลงานของหน่วยงานค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ /สุพัตรา

ขอโทษทีค่ะ พิมพ์ชื่อพี่แขกผิดเป็นคุณลัดดาวัลย์เฉยเลยขอโทษด้วยนะค่ะ

สวัสดีค่ะpkaek

ได้อ่านเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยหน้า ER แล้วสนใจมากค่ะ เพราะตอนนี้น้องอยู่ร.พ.ชุมชน 30 เตียงจะมีปัญหาเรื่องการคัดแยกผู้ป่วยนอกเวลาราชการเนื่องจากผู้ป่วยมารับการตรวจนอกเวลาเป็นจำนวนมากซึ่งมีการให้บริการทั้งผู้ป่วยอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ผู้ป่วยทำแผล ฉีดยาตามนัด และผู้ป่วยประเภท ac.illness ด้วยซึ่งไม่สามารถปฏิเสธผู้ป่วยได้เมื่อมาถึงร.พ.แล้ว ส่วนใหญ่พยาบาลERต้องตรวจผู้ป่วยเองก่อนภ้ามีปัญหาจึงจะปรึกษาแพทย์เวร ซึ่งตอนนี้อัตรากำลังเวรบ่ายคือพยาบาลวิชาชีพ 3 คน เวชกร 1 คน เวรดึกพยาบาลวิชาชีพ 2 คน อยากเรียนถามว่าด้วยบริบทเช่นนี้จำเป็นต้องมีการคัดแยกผู้ป่วยหน้าERหรือไม่ หรือมีแนวทางแนะนำอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

การคัดแยกจะทำการประเมินผลอย่างไรได้บ้างคะว่าเราทำถูกต้องถ้าต้องมีการเก็บเป็นข้อมูล ดัชนีชี้วัดเพื่อทำการปรับปรุงขอคำแนะนำในการทำคะเป็นรพ. 30 เตียง ขอบคุณคะ

สวัสดีคะ พี่แขก

น้องเพิ่งมารับผิดชอบงานคัดกรองผู้ป่วย +ประชาสัมพันธ์หน้าหน่วยงาน ER ปกติอยู่ ER ตอนนี้ออกมาคัดกรอง นั่งคิดนอนคิด หาข้อมูลเรื่องการคัดกรองก็พอสมควร แต่ก็คิดไม่ออกซักทีว่าจะทำอย่างไรดี ตอนนี้ได้แค่บันทึกข้อมูลว่ามีผู้ป่วยที่คัดกรองกี่คน มาด้วยอาการอะไร ประเภทใหน ผลการคัดกรองเป็รอย่างไร ลงในสมุดเป็นวันๆ และมาสรุปสิ้นดือน แค่นั้น แต่รู้สึกว่ายังไม่มีแนวทางชัดเจน ไม่มีใบบันทึกที่ชัดเจน และยังไม่ได้นำข้อมูลมาจัดการ คิดไม่ออกจริงๆคะ ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณเรวดี

ตอนนี้ พี่กำลังทดลองใช้คู่มือการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน แต่ที่ รพ ศรีนครินทร์ แบ่งเป็น 4 ประเภท แต่เท่าที่พี่ทราบกระทรวงสาธารณาสุข แบ่งเป็น 5 ประเภท ให้ลองดูในCTASเลยก็ได้

สิ่งที่ทำอยู่ คือ

1.มอบหมายให้มีพยาบาลคัดแยก

2.มีสถานที่คัดแยกที่หน้า ERเตรียมอุปกรณ์ เครื่องวัดBP ,O2sat.ให้ด้วย

3.จัดทำคู่มือ/แบบบันทึกการคัดแยก

4.อบรมพยาบาลที่มีประสบการณ์ที่ ER2 ปี เรื่อง การคัดกรองภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุทุกระบบ 10 หัวข้อ

5.ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด ติดตามประเมินผลลัพธ์ เช่น อัตราผู้ป่วยทรุดขณะรอตรวจ อัตราการคัดแยกผิดพลาด ระยะเวลาการตอบสนองการตรวจทันเวลาตามกำหนด เป็นต้น

ลองทำดูนะค่ะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แขก

ขออนุญาตแชร์ประสบการณ์นะคะ

น้องทำงานอยู่ ER ที่รพ.เจริญกรุงประชารักษ์ กรุงเทพฯ มา 15 ปี จับงานคัดกรองมาก็หลายปีอยู่ ตอนนี้ที่ ER ใช้การคัดกรองและเกณฑ์แบบเดียวกับการทำ triage sieve และ triage sort กรณีสาธารณภัย แล้วทำใบคัดกรองขึ้นมาให้พยาบาลคัดกรองได้ลงคะแนน เพื่อนำคะแนนนั้นมาแยกว่าเป็นผู้ป่วยแดง เหลือง หรือ เขียว ใบคัดกรองก็คล้ายๆ ใบ triage กรณีสาธารณภัย นั่นแหละค่ะ แต่ที่ทำเพิ่มเติมคือใบคัดกรองหญิงตั้งครรภ์ และใบคัดกรองเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี ทำมาได้ 5-6 ปีแล้วค่ะ แบบงูๆ ปลาๆ คลำหาทางไปเรื่อย ตอนนี้ดีใจที่พี่แขกและคณะเริ่มทำเป็นรูปเป็นร่างซะที คู่มือหรือตำราทำเสร็จเมื่อไหร่ช่วยเผยแพร่ด้วยนะคะ จะรีบหามาไว้ให้น้องๆ ได้ศึกษาค่ะ

สวัสดี คุณearth

ยินดีมากค่ะที่มาแลกเปลี่ยน เรามีหน้าที่ตรงนี้ ก็มาช่วยพัฒนางานที่เราทำ จริงแล้วจะช่วยให้ทำให้ให้เราสดวกขึ้น

สำหรับตอนนี้คู่มือเสร็จแล้ว ยังไม่ได้ตีพิมพ์ เพราะเอาไปทดลองใช้แล้ว จะต้องประเมินก่อนว่าใช้ได้หรือไม่ ตอนนี้ก็จะประเมินจากผู้ปฏิบัติ จะประเมินประมารช่วงเมษายน นี้ค่ะ หลังจากนั้นจะส่งข่าวค่ะ

ตัวที่จะประเมินคือ ผลลัพธ์

1 ผู้ป่วยไม่มีอาการทรุดขณะที่รอตรวจ

2 พยาบาลTriage ปฏิบัติถูกต้องตามเกณฑ์

อยากทราบความหมายของ อาการทรุดลงระหว่างรอตรวจเป็นพยาบาล OPD

สวัสดี่ค่ะ คุณsarinpas

ตามปกติแล้ว พยาบาลคัดกรอง จะทำหน้าที่ ซักถามอาการสำคัญที่มาโรงพยาบาลครั้งนี้ และ/หรือ วัดสัญญาณชีพ

แล้วจะระบุประเภทผู้ป่วย ต่อไปจะบอกว่าให้ผู้ป่วยรอตรวจ ในกลุ่ม Urgent, non urgent ซึ่งมีโอกาศเปลี่ยนแปลงเป็น Emergent หรือ Resuscitative เนื่องจากการคัดกรองไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วเสร็จ เมื่อทำครั้งที่1 เรียกว่า primary Triage ก็ยังต้องทำSecondary Triage ในห้องตรวจอีกครั้ง

อาการทรุดที่ว่านี้ คือ อาการที่เปลี่ยนแปลงหลังการคัดกรองครั้งแรก ที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดอันตรายได้ ก่อนได้รับตรวจจากแพทย์คนแรก  เช่น เป็นลมหน้ามืด อาการช็อก หรือ ถึงขั้น Arrest

 

สวัสดีค่ะพี่แขก

น้องเป็นพยาบาลER มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับจุดคัดกรอง น้องเพิ่งจบมาได้ 3ปีค่ะ

- อยากทราบคู่มือการแยกประเภทผู้ป่วยที่สามารถอ้างอิงได้ (รพ.ของน้องคัดแยกผู้ป่วยเป็น 3 ประเภทค่ะ)

- ที่พี่แขก อบรมพยาบาลที่มีประสบการณ์ที่ ER2 ปี เรื่อง การคัดกรองภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุทุกระบบ 10 หัวข้อ ทำอย่างไรค่ะ

ขอบคุณพี่แขกค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณpatidta

"การคัดกรองภาวะฉุกเฉินและอุบัติเหตุทุกระบบ 10 หัวข้อ" ทำอย่างไรค่ะ

พี่ก็กำหนดหัวข้อ 10 เรื่องดังนี้

ภาวะฉุกเฉินระบบ....และการคัดกรองประเภทผู้ป่วย 9 เรื่อง ให้แพทย์เฉพาะทางที่โรงพยาบาล เป็นวิทยากร

ส่วนเรื่องที่ 10 การคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน พี่เป็นวิทยากรเอง

ผู้เรียนคือพยาบาลคัดกรอง ต้องทดสอบความรู้และความเข้าใจก่อนและหลังการเรียน โดยให้คะแนนหลังการเรียนต้องผ่าน ร้อยละ 60 ค่ะ

สวีสดีค่ะพี่แขก แวะมาทักทายค่ะ นกเรียน EN รุ่นเดียวกับพี่แหม่มค่ะ ฉายาปราณีบางกรวย พี่แหม่มคงนึกออก

ในเรื่องบทบาทของพยาบาลER จะพยาบาลมองพี่เป็น Idol ค่ะ

กำลังทำงานคัดกรองของห้องฉุกเฉินอยู่ค่ะ ถ้าจะเริ่มจากสร้างคู่มือการคัดกรองของแผนกก่อนจะดีมั้ยคะ

สวัสดีค่ะ น้องอีอาร์ คุณปราณีและคุณกนกพร

ยินดีค่ะที่ได้รู้จักค่ะ

และการเรื่มการพัฒนา อาจเริ่มจากทบทวนงานี่ผ่านมาของสถาบันอื่นที่เคยทำคู่มือการคัดกรองผู้ป่วยไว้แล้ว เราจะนำมาประยุกต์ทดลองใช้ก่อนแล้ว ค่อยปรับมาเป็นคู่มอของหน่วยงานเราจะง่ายกว่า แต่อย่างไร ผู้ร่วมงานต้องร่วมกันพัฒนา ที่เกี่ยวจะมี แพทย์ พยาบาล พนักงานคลื่อนย้ายผู้ป่วย ค่ะ

ลองทำดู ถ้าผลเป็นอย่างไร จะได้มาเล่าสู่กันฟังเป็นการแลกเปลี่ยนงานพัฒนาต่อไป

สวัสดีค่ะอาจารย์ และมาอ่านบ่อยค่ะ ไม่ได้ทักทายอาจารย์เลย กำลังปรับปรุงที่สารคามค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูมีเรื่องขอคำปรึกษาค่ะ คือหนูอยู่โรงพยาบาล 60 เตียง มีจุดคัดกรองโดยใช้พยาบาล OPD ซึ่งมักเกิดปัญหาว่าผู้ป่วยหรือญาติมักจะบอกว่านั่งรอตรวจไม่ไหวขอเข้า ER ทำให้มาแออัดที่ ER ถึงแม้จะมีเกณฑ์ในการคัดกรองแต่ก็ไม่สามารถทำได้ทุกวันนี้จึงมักจะปะทะคารมณ์กันบ่อยมาก อาจารย์มีคำแนะนำไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอรชร

ปัญหาที่พบ ในอีอาร์ทุกทีค่ะ

1.ถ้าผู้ป่วยที่มไม่ด่วน non urgent มารอที่อีอาร์ ต้องรอ 1-2 ชั่วโมง อีอาร์จะตรวจหลัง emergent ,urgent ค่ะ

เราต้องให้ข้อมูล หรือทำแผ่นพับแจกผู้ป่วยที่นั่งรอ บทบาทของเราคือ พัฒนาการับรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนค่ะ ไม่จำเป็นต้องสร้างความอึดอัดให้ทั้งตัวเราและผู้ใช้บริการ

2.ต้องคุยกับพยาบาล OPD นอกจากจัดประเภทผู้ป่วยแล้วก็ต้องบอก เวลาตรวจด้วย โดยประมาณ ว่าจะต้องรอนานเท่าใด เขาจะทราบว่าควรนั่งรอตรวจที่OPD หรือ ER

ขอให้โชคดีค่ะ และรักษาสุขภาพจิตใจของเราด้วยค่ะ เพราะการปะทะคารมณ์ สร้างความเครียดได้ หรืออาจนำมาสู่การร้องเรียนได้

เราเป็นพยาบาลอย่างน้อย ไม่อยากทำสิ่งนี้

ใช้คำว่าคัดกรองดูอบอุ่นกว่าคัดแยก อีกประการคือได้กรองอย่างถี่ถ้วน มากกว่าแยกออกไปทันที ขอบคูณพยาบาลทั้งหลายที่ใส่ใจในผู้ป่วยครับ

สวัสดีคะ พี่แขก

ขออนุญาตเรียกพี่นะคะ หนูขอบคุณมากหนูจะไปวางแผนให้ความรู้และความเข้าใจกับผู้รับบริการค่ะ โอกาสน่าจะดีขึ้นเพราะplanว่าจะมีห้องฉีดยาทำแผล แล้วหนูจะมาขอรบกวนขอคำปรึกษาใหม่นะคะ

ขอบคุณค่ะ

อรชร ER

ขอบคุณ ครูหยุยและน้องอรชร ค่ะ ที่ร่วมแลกเปลี่ยน

รู้สึกดีมากค่ะ สังคมสุขภาพ คือ เรื่องของเรา เพราะเราอาจเป็นทั้งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ

หากมีความเข้าใจความต้องการซึ่งกันและกัน ก็ย่อมหาทางออกได้อยู่ดี

การคัดกรอง เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งของการจัดบริการ แต่สิ่งที่เราต้องการ คือ ความใส่ใจที่มีต่อกัน ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แขก

ที่โรงพยาบาลโบว์อยู่นอกจากคัดกรองเสร็จแล้วแต่ละแผนกยังมีการปิดรับเวลาไม่เท่ากัน

ทำให้ทำงานลำบากมากเห็นใจผู้ป่วยบางคนเพิ่งตื่นนอนมา 8.30 หน่วยกระดูกปิดรับผู้ป่วยที่ไม่ได้นัดแล้ว

ผู้ป่วยก็อยากพบแพทย์เฉพาะทาง ไม่ว่าจะเป็นตา ผิวหนัง กระดูก จะเป็นเวลาใกล้เคียงกันคือปิด10.00น

เคยแจ้งหัวหน้าแล้วแต่ก็แก้ปัญหาลำบากเพราะหอมีน้อยเห็นว่างั้น รบกวนพี่แขกช่วยเสนอแนวคิดให้ด้วยนะค่ะเพื่อจะเป็นปัญหาที่เส้นผมบังภูเขา ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

น้องโบว์

น้องโบว์ ค่ะ

ทุกที่อาจไม่สามารถบริการแบบสบายสดวกได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะหน่วยงานของร้ฐ ด้วยทัพยากรบุคคลจำกัด

สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ

1 ขนาดปัญหาใหญ่หรือไม่ ถ้าจำเป็นต้องปิดบริการสิ่งประชาชนต้องการรู้ คือ จะเปิดแน่เมื่อใด ตรงนี้ปิดประกาศ เป็นการให้ข้อมูล ผู้ป่วยจะได้บริหารเวลาถูก 2 คลินิกเฉพาะทาง ไม่ควรเปิดทุกวัน เพราะไม่เช่นก็เหมือนทั่วไป แพทย์จะหนักเกินไปจนไม่มีเวลาพัก และบริการอื่นที่จำเป็นกว่าเช่น ผ่าตัด ทำหัตถการ หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น การจำกัดจำนวนทำให้การบริหารเวลาสำหรับผู้ป่วยนัดดีขึ้น การตรวจก็มีคุณภาพ เพราะแพทย์พยาบาลไม่เครียดจนเกินไป ก็ต้องปิดประกาศให้ทราบโดยทั่วไป ประชาชนจะมีระเบียบ รู้เวลา โดยเฉพาะผู้ป่วยเรื้อรัง ที่มาบ่อยๆ เขาก็จะเล่าให้ชุมชนฟังเองค่ะ

 3 เราน่าจะมีตัวเลขที่ผู้ป่วยไม่ได้นัด มาผิดเวลา ต้องคัดแยกอยู่ดี เรื่องก็เกี่ยวค่ะถ้ามีอาการรีบเร่ง Urgent ,Emergent เราส่งให้แผนกอุบัติเหตุ ฉุกเฉินค่ะ แล้วถ้ามีจำนวนมาก แสดงว่าจำนวนผู้ป่วยที่ดูแลตนเองไม่เหมาะสมมีมาก จึงปล่อยให้ตนเองมีอาการฉุกเฉินก่อนจึงมาโรงพยาบาล เรายังทำงานHealth promotion น้อยค่ะ

4 แก้ปัญหาโดยปรับวิธีคืด เรื่องสุขภาพ ตือ เป็นเรื่องของทุกคน ช่วยกันแก้ไข ผู้ป่วยต้องเข้าใจ เราควรมีการเสริมสร้างความรู้ที่ถูกต้องให้กับประชาชน ที่เขาทำแบบไม่ถูกต้องแล้วเราสนับสนุน ถือว่าไม่ได้ช่วยอะไร

5 มีบุคลากรเพิ่ม ต้องการจำนวนผู้ป่วยมาก ก็ยังสามารถทำโครงการคลินิกนอกเวลา โดยผู้ใช้บริการต้องจ่ายเพิ่มค่ะ เพราะเป็นช่องทางพิเศษ เพราะทั้งแพทยื พยาบาล และอื่นๆทำงาน ล่วงเวลา

ทุกปัญหามีทางแก้ไข

ขอบคุณพี่แขกมากเลยค่ะที่ให้ทางสว่าง

ขอบคุณ น้องโบว์ เช่นกัน อย่างน้อยเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพราะในแต่ละที่ จะพบประเด็นที่ต้องแก้ไขคล้ายๆกัน เราเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักใช้แหล่งประโยชน์ ดีมากค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แขก

รบกวนถามอีกหน่อยนะค่ะ น้องอยู่หน่วยคัดกรองมีผู้ป่วย AC.MI , AC.STROKE มา

เรา0Tมีวิธีคัดกรองผู้ป่วยอย่างไรให้มั่นใจว่าส่งตรงที่ ER ได้รวดเร็วทุกวันนี้มีคนจัดทำใบนำส่ง

ว่าผู้ป่วยอาการ AC.MI , AC.STROKE อาการดังรายละเอียดนี้ให้ส่งใบนี้ให้ผู้ป่วยแล้วส่งเข้า ER เลย

แต่ปรากฏว่าใบนี้ไม่ได้ใช้เลยเพราะ น้องจะส่งผู้ป่วยเข้า ER เลย ถ้าพบอาการใกล้เคียง

ไม่ทราบว่าจะต้องออกแบบนวัตกรรมแบบไหนจึงจะเหมาะและนำไปใช้ได้จริง

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

น้องโบว์

สวัสดีค่ะ น้องโบว์

สิ่งที่น้องเล่า ปัญหาอยู่ที่คนใช้เครื่องมือ ไม่ใช้ แค่ทำงานไปตามเดิม ทำให้อีอาร์รับภาระหนัก เราก็ต้องชี้แจงว่าใบประเมินมีเกณฑ์ สามารถรับรองความถูกต้องอย่างไร ทำให้พยาบาลที่ทำหน้าคัดกรองได้รับความน่าเชื่อถือ ว่าเป็นบุคคลที่มีความรู้ เข้าใจ มีหลักฐานชัดเจน แม่นยำ

แต่ถ้ามีเครื่องมือแล้วไม่ใช้ เราก็ไม่ต่างกับคนทั่วไป ไม่เรียกว่าวิชาชีพ Profession อะไรประมาณนี้ เราต้องเลือกจะเป็นแบบใด

สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่น้องบอกนั้น ที่อีอาร์จะมีระบบลองรับ เรียกว่า fast tract ทางด่วน ซึ่งจะมีเกณฑ์ที่ต้องกรองอีกครั้งเข้าสู่แผนการรักษาเฉพาะ ที่เรียกว่า pathway ของแต่ละโรค ค่ะ ถ้าเป็นกลุ่ม Stroke ก็เรียกว่า Strok fast tract path way ค่ะ

การออกแบบนวตกรรมต้องให้ผู้ร่วมมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของร่วม เข้าใจว่า ถ้าไม่ติดตาม คนไม่ใช้มีมากกว่าคนใช้ เพราะ ไม่เข้าใจ

ก็เป็นแบบนี้แหละค่ะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงมีน้อย

ขอให้มีการดำเนินการต่อ อย่าท้อนะค่ะ เพราะการเป็นผู้นำยังไงก็ยาก

ขอเป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะพี่แขก

วันนี้จะรบกวนพี่แขกช่วยบอกข้อมูลคร่าวๆเรื่อง JOB ของพยาบาลคัดกรองว่ามีอะไรบ้าง

เพราะที่โรงพยาบาลหนูอยู่ยังไม่มี JOB ที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร

เพียงแต่พูดต่อกันไปมาว่าทำอย่างนั้น อย่างนี้

หนูเกรงว่ามันจะไม่ครอบคลุมในสิ่งที่ควรจะเป็นค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

น้องโบว์

ทำงานที่ERมานานเวลาTRIAGEจนท.ไม่ค่อยให้ความร่วมมือควรทำอย่างไร

สวัสดีค่ะอาจารย์

ต้องบอกก่อนว่าที่ต้องเรียกอาจารย์ก็เพราะหนูเคยไปเรียน ATLS ค่ะ พอดีหนูจะทำ best practice เกี่ยวกับขั้นตอนการให้บริการผู้มารับบริการที่ ER อาจารย์พอจะมี flow chart เกี่ยวกับขั้นตอนการมารับบริการไหมคะ หนูจะเอาไปเป็นตัวอย่างในการทำค่ะ พอดีทำเป็นข้อๆ หัวหน้าบอกว่าถ้าทำเป็นเหมือนก้างปลา จะน่าสนใจกว่า ผู้มารับบริการก็สนใจที่จะอ่านมากกว่าค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่แขก...ที่ERของหนูต้องรับทำแผลเก่า/ฉีดยาเก่าและใหม่จากOPD/เปลี่ยนNG,Foley รวมทั้งCaseที่มาF/Uแต่BPสูง(ตั้งแต่ 180/100mmHg)ทุกOPDแม้แต่OPD MEDเองก็ตาม...ซึ่งหนูคิดว่าหัตถการเหล่านี้ไม่ควรทำที่ห้องฉุกเฉิน

อย่างCase BPสูงที่มาF/U MED แทนที่จะให้ Staff MED ของ OPD ตรวจเลย..

ก็ส่งมาER..ซึ่งมีแพทย์ปีหนึ่งอยู่ตรวจน่ะค่ะ...

พี่แขกพอจะมีคำแนะนำอะไรให้หนูบ้างมั๊ยคะ..จะได้นำมาเป็นโอกาสพัฒนาต่อค่ะ

 

ดุแลผุ้ป่วยใส่สายยางอย่างไรไม่ให้เกิด aspirate ครับ

ดุแลผุ้ป่วยใส่สายยางอย่างไรไม่ให้เกิด aspirate ครับ

น.ต.หญิงวลัยลักษณ์ ภาแก้ว รน.

สนใจ Triage ค่ะ...มีที่ไหนทำTriage ทางตาบ้างมั๊ยคะ เนื่องจาก risk miss diag / late /no second opinion พอดีงาน OPD.+ OR.ตา ว่าจะทำวิชาการกับ ER. ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะอยู่ที่ ERมีปัญหาการคัดกรองที่ไม่ตรงกับจุดคัดกรองควรมีแนวทางอย่างไรดีคะ เกณฑ์ที่ER.ใช้แบ่งผู้ป่วย 3ประเภทคะ ขอแนวทางและมี อ้างอิง รายละเอียดในการจำแนกผู้ป่วยได้ไหมคะ เป็นรพ.30เตียงคะ รายละเอียดขอทางmailได้ไหมคะขอบคุณล่วงหน้า

ปาริชาติ ตันติลานนท์

ขอถามบ้างนะ มีปัญหาเรื่อง การทำ ADLI มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน

เดือน น้องใหม่ ER ค่ะ

แล้วเกณฑ์ที่แบ่ง 3 ระดับ emergency  urgency  และ non urgen แต่ละที่เขาใช้อะไรเป็นตัววัดบ้างค่ะ

สวัสดีคะพี่  หนูทำงาน ER  มา 10 ปี  มีปัญหาเรื่องการคัดกรองมากคะ  ทะเลาะกับ OPD ประจำ  OPD บอกฉุกเฉิน  แต่ ER ประเมินแล้วรอได้ เป็นต้น คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท