เพชร แก้วดวงดี


การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก

 ท่านที่เคารพครับ ปัญหาเรื่องคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก เป็นสิ่งที่รัฐบาลถือว่าเป็นปัญหาแห่งชาติที่ถูกนำมากำหนดเป็นนโยบายที่สำคัญ  หลายท่านมองไปที่ความขาดแคลนทรัพยากร 4'M  คือ คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ แต่เท่าที่กระผมศึกษาดูโรงเรียนขนาดเล็กที่มีคุณภาพ ที่ผ่านการประเมิน ระดับดี และดีมาก จาก สมศ.รอบ2 พบว่า โรงเรียนเหล่านั้นก็มีสภาพความขาดแคลนพอๆกับโรงเรียนทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องครู ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบางโรงเรียนมีครูเพียง 2 คน ก็เป็นโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน ทั้ง 14 มาตรฐานจากการสอบถามผู้บริหารต่างๆ ท่านเหล่านั้นให้ความเห็นว่า ถึงยังไง โรงเรียนก็ไม่มีครูมากกว่านี้ เพราะเด็กมีเท่านี้ สิ่งที่เป็นเรื่องที่สำคัญ จึงอยู่ที่ การบริหารจัดการ ถ้าผู้บริหารและครูในโรงเรียนตั้งมั่นในเรื่องของคุณภาพผู้เรียน และพยายามไปสู่จุดนั้น โรงเรียนขนาดเล็กจะมีคุณภาพแน่นอน ส่วนจะมีรูปแบบใดที่ทำให้การบริหารจัดการประสบผลสำเร็จดังกล่าว แต่ละโรงเรียนต้องมีหลักการ แนวคิดที่คล้ายกัน คือตั้งเป้าไปที่คุณภาพผู้เรียน แล้วกำหนดยุทธศาสตร์ และกระบวนการที่เป็นแนวทางตามระบบคุณภาพ PDCA จะส่งผลต่อคุณภาพและมาตรฐาน ของโรงเรียนขนาดเล็กอย่างแน่นอน

หากท่านสนใจถึงรูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมต่อคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก สามารถสอบถามข้อมูเพิ่มเติมได้ที่ผมที่อยู่ตาม บล็อกนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 206427เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 15:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อาคารทั้งสี่ ทรงวิทย์ จิตเกษม เปรมอุดม โสมชัยศิริ

การเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัฒน์คงเป็นส่วนหนึ่งของทิศทางการพัฒนาการศึกษา ดังนั้นจุดมุ่งหมายของการศึกษาในชนบทไม่ควรมุ่งเน้นแต่เพื่อนักเรียนที่ต้องการเรียนต่อเนื่องระดับสูงๆ  ในฐานะผู้อยู่ในองค์กรเอกชนขอฝากแนวคิดพัฒนาการศึกษาในภาคบังคับที่หลั่งไหลเข้ามาหางานทำในอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากการต้องการแรงงานวุฒิขั้นต่ำ ม.3 เริ่มจะเหลือน้อยเต็มที    เพราะอะไร  ในการปฐมนิเทศพนักงานระดับแรงงาน สิ่งที่น่าตกใจคือ ภาษาต่างประเทศ(อังกฤษ)อ่อนอย่างน่าเป็นห่วง วุฒิ ม.3 น่าจะมีวงจรเวลาได้นานอีก กว่าที่วุฒิขั้นต่ำ ม.6 จะรับ 100% ผมไม่อยากเห็น ม.3 ทำได้แค่ แรงงานก่อสร้าง หรืออยู่ใน Level เดียวกันกับแรงงานต่างด้าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท