ทำไม เราจึงต้องไหว้ พระ


ทำไม เราจึงต้องไหว้ พระ

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

ทำไม เราจึงต้องไหว้ พระ ?

 เราคงเคยมีคำถามกับตัวเองว่า

ทำไม เราจึงต้องแสดงความเคารพต่อพระ ?

ทำไม เราจึงต้องถวายอาหาร ถวายสิ่งของ ตลอดจนต้องดูแลพระ ?

            พระ มาจากคำว่า

- วร  แปลว่า ประเสริฐ.   และที่ประเสริฐได้เพราะ

                - วีระ แปลว่า กล้าหาญ . ความกล้าหาญในความหมายของวีระ คือ ความกล้าหาญที่จะเสียสละ (ตัวอย่างเช่น วีรบุรุษหรือวีรสตรี ก็คือ ผู้เสียสละได้แม้แต่ชีวิตของตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น)

                - วิริยะ แปลว่า ความเพียร.  ซึ่งก็คือ ความกล้าหาญ อีกแบบหนึ่ง คือ ความไม่ท้อ ไม่ถอย 

                - พละ แปลว่า กำลัง. หมายถึง เป็นกำลังให้กับพระศาสนา เป็นพลังของสังคม เป็นพลังของโลก

                 พระแท้ อยู่ที่ใจ ใจที่มีความประเสริฐ  ใจที่มีความกล้าหาญ กล้าที่จะเสียสละและไม่ท้อไม่ถอยต่อการที่จะทำความดีทำประโยชน์แก่ผู้อื่น ไม่เฉพาะผู้ที่บวชเป็นพระภิกษุในศาสนา ผู้ที่มีจิตใจเช่นนั้น ก็นับว่าเป็น พระ ทั้งสิ้น

                พระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา เป็นรูปแบบของการดำรงชีวิต ที่พระพุทธองค์มุ่งหวังให้คนทั่วไปได้เห็น

พระเป็นชีวิตแบบอย่างแก่คนทั้งหลาย ที่ยังหลงมัวเมาอยู่กับวัตถุหรืออามิสสุข ให้ได้เห็นว่า มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องอิงอยู่กับอามิสหรือวัตถุ

                พระสงฆ์นั้น อาศัยอยู่ในกรอบของพระวินัย ซึ่งเป็นกฎระเบียบ ข้อ บังคับไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง เช่น การห้ามสะสมทรัพย์ การห้ามเกี่ยวกับเรื่องความเพลิดเพลินในกามคุณทั้งห้า(รูป,รส,กลิ่น,เสียง,สัมผัส)และเรื่องต่างๆ แต่โดยหลักใหญ่ คือ การให้พ้นจาก ความเห็นแก่ตัว

เมื่อพระ ไม่มีความเห็นแก่ตัว การกระทำทุกๆอย่างที่ทำไปทุกอย่าง ก็จะเป็นการกระทำเพื่อผู้อื่นโดยอัตโนมัติ ดังนั้น

ชีวิตของพระจึงเป็นชีวิตที่เสียสละตนเองเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่น ชีวิตที่เป็นสุขของพระ ก็เพราะ

พระ เป็น อยู่ เพื่อได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น (เมื่อมีเจตนาทำให้ จิตนั้นก็เต็ม ก็พอ แต่หากมีเจตนาทำเอา จิตก็ไม่พอ ขาด พร่อง หิว โหยหา แสวงหา)

เพราะพระสงฆ์ ไม่ทำในกิจการหรืองานเพื่อประโยชน์ของตน ดังนั้น จึงต้องพึ่งพิงบริษัทอื่นของพระศาสนา ให้ช่วยเกื้อกูลในด้านการดำรงชีพ เช่นในเรื่องของปัจจัยสี่ ต่างๆตามควรที่พระวินัยจะอนุญาต

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ความเข้าใจในพระธรรมคำสอนก็เบี่ยงเบนไป จนในปัจจุบันผู้คนเห็นพระภิกษุเป็นเพียง ผู้ที่จำเป็นต้องมีไว้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆเท่านั้น ตลอดจนความไม่เข้าใจและคิดว่าจะพยายามดำรงรักษาและสืบทอดศาสนาไป โดยต้องมีพระอยู่ในวัดแค่นั้น เพราะมิฉะนั้นวัดจะร้าง กลัวศาสนาจะเสื่อมหายไป โดยไม่ได้ให้ความสำคัญของพระธรรมคำสอนในทางศาสนาเลย จึงได้มีการกะเกณฑ์ให้คนเข้ามาบวช  โดยรูป แบบทางประเพณีหรือความเชื่อทางสังคม เช่นต้องบวชก่อนเบียด ต้องบวชก่อน ถึงจะไม่เป็นคนดิบ บวชแล้วจะทำให้พ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่จะได้ไปสวรรค์ ฯ

ความจริงแล้ว มีพระโอวาทของพระพุทธองค์ที่เคยตรัสไว้ว่า

หากไม่ใช่บวชเพื่อการระงับดับทุกข์แล้ว อย่าบวชเสียเลย จะดีกว่า

เพราะการบวช โดยไม่เป็นไปดังจุดประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ แทนที่จะทำให้ศาสนาเจริญก้าวหน้าไป กลับทำให้ศาสนาเสื่อมลงเช่นทุกๆวันนี้

การบวชเมื่อภายแก่ เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสเตือนไว้ตั้งแต่พุทธกาลแล้วว่า จะมีแต่สร้างปัญหา เพราะคนแก่ มักจะมีทิฏฐิที่หนาแน่น ยากที่จะเข้าใจธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ได้ ยิ่งไม่ใช่เป็นการบวชโดยเจตนาจริงใจที่จะระงับดับทุกข์ด้วยแล้วก็จะยิ่งแย่ เพราะไม่ว่าจะในเรื่องของการสอนเรื่องผิดๆ ให้แก่ญาติโยม เพราะตีความพระธรรมไปตามทิฏฐิความเชื่อของตนบ้าง การสะสมทรัพย์บ้าง การประพฤติไม่เหมาะสมแก่ความเป็นสมณะบ้าง ซึ่งใครจะตักเตือนก็ไม่ค่อยจะเชื่อฟัง เพราะถือว่าตนแก่กว่ามีอายุมากกว่า รู้มากกว่า และเป็นตัวอย่างที่ผิดๆแก่พระที่บวชเข้ามาในภายหลังยิ่งคนแก่ประเภทที่ไม่สามารถ ทำงานอื่นได้แล้ว จนตรอกแล้วเข้ามาบวช กลุ่มนี้ยิ่งหนัก เพราะบวชเข้ามาแล้วจะมุ่งหาแต่เงินทองทรัพย์สิน เพราะ ยังไม่เข้าใจธรรม มีความกลัว สิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น จากความแก่ จึงมีความคิดว่า การเป็นพระเป็นเสมือนอาชีพที่สามารถ หาเงินหาทองได้ ไม่สนใจในการศึกษาหาความรู้ มุ่งแต่เรื่องพิธีกรรม สวดมนต์สะเดาะเคราะห์ ดูดวง ขายเครื่องรางของขลัง วัตถุมงคล จนศาสนิกชนงมงายกันไปหมดทั้งประเทศ

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มพระอีกกลุ่มหนึ่งที่บวชมาเพื่อโอกาสทางการศึกษา เมื่อจบการศึกษาแล้ว ก็มีส่วนหนึ่งที่สึกออกไป เพื่อประกอบอาชีพ แต่ก็ยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่กล้าที่จะสึกออกไป เพราะไม่คุ้นเคยกับการต้องรับผิดชอบภาระต่างๆของสังคมจึงจำใจต้องเป็นพระอยู่ต่อไป แต่จิตใจไม่มีความยินดีในเพศสมณะ บ้างก็เริ่มแสวงหา ลาภ ยศ สักการะ บ้างก็อยู่อย่างซังกะตายอยู่ในวัด ปฏิบัติกิจไปวันหนึ่งๆเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีพระอีกจำนวนไม่น้อย

ที่บวชอยู่ เพื่อระงับดับทุกข์ หรือบวชเพื่อใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น อยู่เพื่อสืบทอดพระธรรมคำสอนของพระศาสนา” “อยู่เพื่อสืบทอดอายุพระศาสนา ซึ่งเราก็แยกไม่ออกว่า พระที่เห็นๆกันอยู่ จะเป็นประเภทใด

แต่ก็เพราะมี พระวินัย นั่นแหละซึ่งเป็นสิ่งที่คอยควบคุมความประพฤติของพระไม่ให้ออกนอกลู่นอกทางไปมากเกินไปนัก

                แม้พระจะมีเงินทองมากเท่าใดก็ตาม แต่โอกาสที่จะสามารถใช้จ่ายออกไปนั้น ถูกจำกัดโดยพระวินัยอยู่แล้ว เงินที่พระได้ไป ก็เพียงเพียงยันต์กันผี ยันต์ป้องกันความกลัวในใจของเขาได้เท่านั้น

                แต่หน้าที่แห่งความเป็นบริษัทหนึ่งในบริษัทสี่ของพระพุทธศาสนา ต้องเห็นแต่ดี คิดแต่ดี และช่วยกันธำรงพระธรรมคำสอน และพระศาสนาสืบต่อไป ... 

หมายเลขบันทึก: 206372เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2008 13:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • กราบนมัสการด้วยความเคารพครับ
  • อนุโมทนาสาธุด้วยครับ
  • ขอให้มีความสุขความเจริญในพุทธศาสนายิ่งๆขึ้นไปครับ
  • สาธุๆครับผม

กราบนมัสการครับ ท่าน tukkatummo

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท