ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำตาม สถานการณ์ของเฮอร์เซย์ และบลานชาร์ด


วุฒิภาวะหรือความพร้อมของผู้ตาม (Follower Maturity) สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ และมีความต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ความพร้อมระดับต่ำสุด (M1) ไปสู่ความพร้อมในระดับกลาง (M2 และ M3) จนถึงความพร้อมในระดับสูงสุด (M4)

วุฒิภาวะหรือความพร้อมของผู้ตาม (Follower Maturity) สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ และมีความต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ความพร้อมระดับต่ำสุด (M1) ไปสู่ความพร้อมในระดับกลาง (M2 และ M3) จนถึงความพร้อมในระดับสูงสุด (M4) 
                    จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ตามมีความพร้อมในการปฏิบัติงานต่ำสุด (M1) ผู้นำควรใช้ พฤติกรรมมุ่งงานให้มาก โดยการชี้แนะ (Directing) ให้ผู้ตามได้รู้ถึงรายละเอียดและขอบเขตของงาน รวมทั้งตั้งวัตถุประสงค์ มาตรฐาน และวิธีการทำงานให้ง่ายและชัดเจน ทั้งนี้เพราะผู้ตามขาดความรู้ความสามารถ และความเชื่อมั่นในตนเอง ส่วนพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ให้ใช้น้อยที่สุด เมื่อผู้ตามมีความพร้อมในระดับปานกลาง (M2 และ M3)

ผู้นำควรเพิ่มพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์ให้มากขึ้น ลดพฤติกรรมมุ่งงานให้น้อยลง โดยการให้การสนับสนุน (Supporting) ทุก ๆ ทาง และปรึกษา (Consultation) ผู้ตามเพื่อแสวงหาความคิดและข้อเสนอแนะในการ ปฏิบัติงานและตัดสินใจ ให้การยกย่องและสนใจ เพื่อเพิ่มความมั่นใจและความรู้ความสามารถให้แก่ผู้ตาม ส่วนผู้ตามที่มีความพร้อมในระดับสูงสุด (M4) ผู้นำควรลดพฤติกรรมมุ่งงานและมุ่งความสัมพันธ์ให้น้อยที่สุด แต่ให้ใช้วิธีการมอบหมายงาน (Delegation) แทน ทั้งนี้เพราะผู้ตามมีความรู้ความสามารถ และมีความเชื่อมั่นในตัวเองในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงไม่ต้องการการชี้แนะหรือสนับสนุน แต่ต้องการรับผิดชอบและมีอิสระในการเลือกทิศทาง และวิธีการทำงานด้วยตนเอง
         

         พฤติกรรมผู้นำกับความพร้อมของผู้ตามจากทฤษฎีภาวะผู้นำตาม สถานการณ์ของเฮอร์เซย์ และบลานชาร์ด ที่มา : ดัดแปลงมาจาก ยุคล์ (Yukl, 1989 : 106) นอกจากนั้น การศึกษายังชี้ให้เห็นว่า พฤติกรรมผู้นำที่จะส่งผลให้เกิดภาวะ

ผู้นำที่มีประสิทธิภาพนั้น อาจถูกหน่วงเหนี่ยวโดยตัวแปรจากสถานการณ์ คือความพร้อมของผู้ตาม  แต่ผู้นำก็สามารถจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มระดับความพร้อมของผู้ตามให้สูงขึ้นได้ โดยการพัฒนาตัวสอดแทรกขึ้นมา สำหรับตัวแปรสอดแทรกที่จะพัฒนาขึ้นนั้นไม่มีรูปแบบที่แน่นอนและอาจจะใช้เวลาไม่กี่สัปดาห์ หรือยาวนานเป็นปีที่จะทำให้ผู้ตามมีระดับความพร้อมสูงขึ้นตามต้องการ ตัวอย่างเช่น การใช้พฤติกรรมชี้แนะ (Directing) สำหรับผู้นำที่มีระดับความพร้อมต่ำให้น้อยลง แต่ให้โอกาสในการทำงานบางอย่างเป็นอิสระมากขึ้น เมื่อผู้ตามสามารถทำได้สำเร็จย่อมจะเพิ่มความรู้ ทักษะ และความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น ยิ่งกว่านั้นผู้นำควรให้การชื่นชมและยกย่อง เพื่อเสริมแรงในด้านอารมณ์และสังคมของผู้ตามมากขึ้นด้วย อันจะทำให้ผู้ตามมีความพร้อมสูงขึ้นได้

 

ที่มา : http://www.nrru.ac.th/article/leadership/page5.4.html

 

หมายเลขบันทึก: 206165เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2008 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท