อิสรภาพ


อิสรภาพ

<!-- /* Font Definitions */ @font-face {font-family:"Angsana New"; panose-1:2 2 6 3 5 4 5 2 3 4; mso-font-charset:0; mso-generic-font-family:roman; mso-font-pitch:variable; mso-font-signature:16777219 0 0 0 65537 0;} /* Style Definitions */ p.MsoNormal, li.MsoNormal, div.MsoNormal {mso-style-parent:""; margin:0cm; margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:12.0pt; mso-bidi-font-size:14.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Angsana New";} @page Section1 {size:612.0pt 792.0pt; margin:72.0pt 90.0pt 72.0pt 90.0pt; mso-header-margin:36.0pt; mso-footer-margin:36.0pt; mso-paper-source:0;} div.Section1 {page:Section1;} -->

อิสรภาพ.....

อิสรภาพที่สมบูรณ์ คือ การเป็นอิสระจากทุกสิ่งทุกอย่าง

 อิสรภาพ เป็นเรื่องของจิตใจ ไม่ได้หมายถึง การเป็นอิสระเพราะการดำรงอยู่ในแบบไหนๆทั้งสิ้น

อิสรภาพ ไม่ได้มีความหมายเพียง การเป็นการอิสระจากบางสิ่งอย่าง แต่ยังคงพยายามรักษาอะไรบางอย่างเอาไว้  

เรามักเพียงต้องการ เป็นอิสระจากสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ แต่ยังให้คงสิ่งที่ทำให้เราสุขเอาไว้  

เป็นอิสระจากความไม่สะดวกสบาย แต่ให้คงสิ่งที่ทำให้เราได้รับสะดวก สบายเอาไว้ 

เป็นอิสระจากสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา แต่ให้คงสิ่งที่เราปรารถนาเอาไว้ 

เราทั้งหมดต่างปรารถนาที่จะเป็นอิสระจากความเจ็บปวด เป็นอิสระจากความทรงจำอันน่ารังเกียจ  เป็นอิสระจากประสบการณ์ที่เป็นทุกข์  แต่ยังให้คงไว้ในบางสิ่งบางอย่างเสมอ

ซึ่งในความเป็นจริง  มันเป็นไปไม่ได้ เพราะ

สิ่งที่ทำให้เรามีความสุขนั้น มันก็ได้นำความทุกข์มาด้วยเสมอ(คุณของกาม(กามคุณ) และโทษของกาม)  
           ตัวอย่างเช่น  เรามีทรัพย์สิน เกียรติยศ ชื่อเสียง บุตรที่น่ารัก ภรรยาที่แสนสวย  สิ่งเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความปลาบปลื้มใจและเป็นสุข แต่ที่ติดตามมาพร้อมกับสิ่งเหล่านั้นก็คือ ความทุกข์  ความทุกข์จากการที่จะต้องพยายามรักษาสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ ความทุกข์จากความห่วงหวงกังวล  ความทุกข์จากความหวาดกลัวที่จะสูญเสียมันไป ฯลฯ ดังนั้น

การเป็นอิสรภาพที่แท้จริง คือ การเป็นอิสระจากทั้งสองส่วน
           ดังนั้น จึงเป็นเรื่องของคนแต่ละคนที่จะต้องตัดสินใจเองว่า เขาต้องการเป็นอิสระอย่างเต็มที่จริงๆหรือไม่ ?  ถ้าเขาบอกว่าต้องการ เขาก็จะต้องเข้าใจถึงธรรมชาติและโครงสร้างของ อิสรภาพ

เมื่อเราเป็นอิสระจากบางสิ่ง  เป็นอิสระจากความปวดร้าว อิสระจากความกังวลบางประการ นั่นคือ อิสรภาพหรือ ?

เราสามารถเป็นอิสระจากความอิจฉา อิสระจากความโกรธ อิสระจากความริษยา แต่อิสรภาพเช่นนั้น ไม่ใช่เป็นเพียงความอยากหรือความปรารถนา หรอกหรือ

เราอาจจะเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัยต่างๆได้อย่างง่ายดาย ด้วยการวิเคราะห์มัน แล้วเขี่ยมันออกไป แต่ความอยากที่จะเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์เหล่านั้น  มันก็มี เงื่อนไข ในตัวมันเอง  เพราะเงื่อนไขที่จะเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์นั้นๆ มันอาจล้าสมัย หรืออาจเป็นเพราะมันไม่สู้สะดวกสบาย

การปฏิวัติก็มิใช่ อิสรภาพ เพราะเมื่อเราปฏิวัติ มันก็เป็นเพียงความปรารถนาอย่างหนึ่ง และความปรารถนานั้น ก็ได้ก่อให้เกิดรูปแบบของมันเอง และเราก็จะตก อยู่ในรูปแบบอันนั้นเสียเอง เราอาจจะคิดว่ามันเป็นสิ่งใหม่ แต่มิใช่เลย ! มันเป็นสิ่งเก่าในแบบพิมพ์ ที่แตกต่างไปจากเดิมเท่านั้น (การปฏิวัติ การปฏิรูป ทำให้เกิดกฎ ระเบียบ กฎเกณฑ์ แบบใหม่ๆ ซึ่งมันไม่ได้ทำให้เราอิสระขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการพ้นจากกฎเกณฑ์ วิธีปฏิบัติแบบเก่า ต้องมาปฏิบัติตามกฎแบบใหม่เท่านั้น) การปฏิวัติทางสังคมหรือการเมือง สุดท้ายมันจะผันกลับเข้าสู่สภาวะจิตใจอย่างเดิมๆ คือ อยากจะพ้น อยากจากอิสระจาก กฎเกณฑ์ที่เป็น อยู่นั้น

อิสรภาพ มีได้ต่อเมื่อ  เราเห็นและกระทำ 

การเห็น ก็คือ การกระทำ

และการกระทำนั้น เป็นการกระทำที่เป็นไปได้โดยฉับพลันทันใด (หมายถึง การทำได้ โดย ไม่มีเงื่อนไข ) นั่นแหละ คือ อิสระ

อิสรภาพ เป็น สภาวะของจิต 

ไม่ใช่เป็นเพียงการ เป็นอิสระจากอะไรๆ  

แต่เป็น ความรู้สึกแห่งอิสระ 

อิสรภาพ

หมายถึง จิต ที่เป็นอิสระ อิสระจากกฎเกณฑ์ ความเชื่อทุกๆอย่าง

หมายถึง จิตที่พ้นจากการพึ่งพิง พ้นจากการอิงอาศัย พ้นจากการลอกเลียนหรือการยอมรับทุกๆชนิด

 หมายถึง การโดดเดี่ยว การอยู่โดยลำพังอย่างแท้จริง 

และหมายถึง ความเงียบอย่างสมบูรณ์ 

แต่เราไม่เคยเงียบ ไม่เคยโดดเดี่ยว ไม่เคยอยู่โดยลำพังเลย !

เพราะ เรา เต็มไปด้วยความทรงจำ การถูกกำหนด การพร่ำบ่นถึงอดีต  จิตของเรา ไม่เคยว่างจากเรื่องไร้สาระ ที่จิตมันได้รวบรวมเอาไว้ 

การโดดเดี่ยว การอยู่โดยลำพัง หมายถึง การที่ เราต้องตายจากอดีต

การอยู่โดดเดี่ยว ความเงียบอย่างสมบูรณ์ หมายถึง การไม่มีคำพูดไม่มีคำพร่ำบ่นใดๆ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะทางภายนอกอันหมายถึงคำพูดหรือวาจา แต่หมายถึง คำพูด คำบ่น คำพร่ำพรรณนาในสมองหรือในจิตใจของเราด้วย

เมื่อเราโดดเดี่ยว อยู่โดยลำพัง อยู่กับความเงียบ

เราก็ไม่ได้เป็นคนของครอบครัวไหน เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อหรือลัทธิใดๆ

เมื่อเป็นได้เช่นนั้นจริงๆ

เราจะมีความรู้ความเห็นของ การเป็นคนนอก ซึ่งหมายถึง การรับรู้ของผู้ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องๆนั้น หมายถึง การรับรู้ของคนที่เป็นกลาง ที่ไม่มีทั้งการตัดสิน เปรียบเทียบหรือต้องการเหตุผลใดๆ เกี่ยวกับการรู้นั้นๆ

ผู้ที่โดดเดี่ยวอยู่ลำพังจริงๆในลักษณะเช่นนี้ 

จิตจะไร้เดียงสา และความไร้เดียงสาเช่นนี้เอง

ที่ทำให้ จิตเป็นอิสระจากความโศกเศร้า (พ้นจากกิเลส) (กิเลส แปลว่า ความโศกเศร้า)

เราได้แบกภาระของคำพูดที่ผู้คนนับร้อยนับพันได้กล่าวเอาไว้(ภาษา ความรู้ คำสั่งสอน วิทยาการต่างๆ)

เราแบกเอาความทรงจำของความโชคร้ายของเราเอาไว้

การละวางสิ่งเหล่านั้นได้อย่างสมบูรณ์ คือ การอยู่โดดเดี่ยว 

จิตที่โดดเดี่ยว ไม่เพียงแต่ไร้เดียงสาเท่านั้น แต่ยังอ่อนเยาว์

ความอ่อนเยาว์ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับเวลาหรืออายุเลย 

แต่เยาว์วัย ไร้เดียงสา และมีชีวิตชีวา (แม้จะมีอายุมากเพียงใดแล้วก็ตาม)  

และด้วยจิตเช่นนี้เท่านั้น  ที่จะเห็นได้ว่า

สิ่งใด คือ  อิสรภาพ    

อิสรภาพ ที่ไม่อาจอธิบายด้วยคำพูดใดๆ ....

                    

คำสำคัญ (Tags): #อิสรภาพ
หมายเลขบันทึก: 205612เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2008 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นมัสการพระคุณเจ้า ชาคโรภิกขุ

  • แวะมาทักทายค่ะ
  • อิสระภาพ คือ การปล่อยวาง
  • ปล่อยวางจากตัวตน เหลือไว้เฉพาะความเป็นจริง
  • และปัจจุบัน
  • ขอบคุณค่ะ

เจริญพร คุณสีตะวัน ....เจริญในธรรมที่เข้าใจนั้น

นมัสการคะ

ตนไม่น่ายึดถือ เพราะเป็นทุกข์เปล่า ไม่แน่นอนอะไร

และไม่ใช่ตนแค่ธาตุมาสุมกันแค่นั้น ใช่ไหมค่ะ

ไม่ว่าสรรพสิ่งใดๆก็เหมือนกันนี้ จริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท