การพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนด้วย ระบบมาตรฐานงานชุมชน


ระบบมาตรฐานงานชุมชน

การพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

ด้วย ระบบมาตรฐานงานชุมชน

ระบบมาตรฐานงานชุมชน (มชช.)

          ระบบมาตรฐานงานชุมชน เรียกโดยย่อว่า มชช.  เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้แก่กลุ่มเป้าหมาย 4 ประเภท ได้แก่ ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชน และชุมชน ให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ด้วยการเรียนรู้ตนเอง  กำหนดทิศทางการพัฒนา ดำเนินการพัฒนา และประเมินผลความสำเร็จด้วยตนเอง  โดยมีฐานคิดสำคัญว่า มชช. ไม่ใช่การประกวด ของดีที่มีอยู่ แต่เป็นการพัฒนาที่แข่งขันกับตัวเอง เพื่อไปสู่สิ่งที่ดีกว่า บนพื้นฐานของการพึ่งตนเอง โดยมีหน่วยงานภาคีเป็นผู้สนับสนุนในส่วนที่เกินขีดความสามารถเท่านั้น ระบบนี้ สามารถทำให้ชุมชนตอบสังคมได้ว่า การเป็นคนคุณภาพ  และชุมชนเข้มแข็งเป็นอย่างไร  และถือเป็น เครื่องชี้วัดการพัฒนาแบบบูรณาการที่มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง

í หลักการสำคัญ
          1. การมีส่วนร่วมของชุมชน ชุมชนเป็นเจ้าของ ชุมชนเป็นผู้รับประโยชน์
          2. ชุมชนมีความสมัครใจในการพัฒนาตนเอง
          3. เป็นกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง
          4. เน้นความยืดหยุ่น สอดคล้อง เหมาะสมกับชุมชน
          5.ความร่วมมือและการยอมรับเป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานของภาคีการพัฒนา

-  ฐานคิดสำคัญ

* คุณลักษณะของชุมชนตามวาระแห่งชาติ

   -  ขีดความสามารถทางการแข่งขัน

   -  การพัฒนาทุนทางสังคม

                     -   การพัฒนาอย่างยั่งยืน

                     -  ความยากจนและการกระจายรายได้

í  วัตถุประสงค์

     1. เพื่อให้ผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน เครือข่ายองค์กรชุมชนและชุมชน ใช้เป็นเครื่องมือสร้าง

กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองไปสู่ความเข้มแข็ง
          2. เพื่อให้ภาคีการพัฒนาใช้เป็นเครื่องมือเชื่อมประสานการทำงานการพัฒนาศักยภาพชุมชนโดย

มีชุมชนเป็นศูนย์กลาง

í  ลักษณะมาตรฐาน/รูปแบบการดำเนินงาน   

                   ลักษณะของมาตรฐานงานชุมชนแต่ละประเภท และรูปแบบการดำเนินงานตามระบบ มชช. ได้จากการศึกษา/พัฒนาระบบเมื่อปี 2546 โดยการระดมความคิดเห็นจากพื้นที่ระดับหมู่บ้านกระจายทั่วประเทศ 25 หมู่บ้าน และเวทีระดมความคิดเห็นจากตัวแทนผู้เกี่ยวข้อง  4 ภาค และได้นำไปใช้ดำเนินการ

ทดลองในพื้นที่นำร่อง 12  ศพช.เขต  12 จังหวัด  เมื่อปี 2547       จากนั้น ได้ขยายผลการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัด  ตั้งแต่ ปี 2548 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งลักษณะมาตรฐานงานชุมชน ทั้ง 4 ประเภท ประกอบด้วย ด้าน กับองค์ประกอบ  ที่แสดงถึงคุณลักษณะที่ดีของผู้นำชุมชนหรือแสดงถึงความเข้มแข็งของกลุ่ม/องค์กรชุมชน  เครือข่ายองค์กรุชมชน  ชุมชน

í ประเภทมาตรฐานงานชุมชน  มี  4  ประเภท          

          ประเภทที่  1        

          ประเภทที่  2

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

ประเภทที่  3 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

ประเภทที่  4 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

í  คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย

Ø  ผู้นำชุมชน

1.  เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในชุมชนไม่น้อยกว่า ๑ ปี

2.  มีผลงาน/กิจกรรมร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี

3.  เป็นที่ยอมรับนับถือของคนในชุมชนทั้งที่มีตำแหน่งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

           Ø  กลุ่ม/องค์กรชุมชน / เครือข่ายองค์กรชุมชน

          1. มีมติของสมาชิกกลุ่ม/องค์กรชุมชน/เครือข่ายองค์กรชุมชน ในการสมัครเข้าสู่ระบบ มชช.

          2. ต้องมีอาณาเขตของพื้นที่ที่แน่นอน

          3. มีมติของประชาคมในการสมัครเข้าสู่ระบบ มชช.

í วิธีการดำเนินงานตามระบบ มชช. 5 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1  ขั้นเตรียมการ

ขั้นที่ 2  ขั้นการสมัคร

ขั้นที่ 3  ขั้นเสริมสร้างการเรียนรู้

ขั้นที่ 4  ขั้นเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

ขั้นที่ 5  ขั้นประเมินเพื่อรับรองผลการพัฒนา

                   จากลักษณะมาตรฐาน  ซึ่งประกอบด้วยด้านและองค์ประกอบ กลุ่มเป้าหมายร่วมกับสมาชิก และที่ปรึกษา ทำการกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละด้าน/องค์ประกอบ และ เกณฑ์การประเมินผลได้เอง  ภายใต้ความเห็นพ้องร่วมกับ คณะกรรมการระบบ มชช.อำเภอ (มชช.อ.)  จากนั้น  กลุ่มเป้าหมายจัดทำแผนพัฒนาตนเอง  ดำเนินการตามแผน และวัดประเมินผลการพัฒนาตนเองแบบมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้องเป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบตนเองว่าผ่านเกณฑ์การพัฒนา อย่างน้อยร้อยละ 60 ของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้หรือไม่  หลังจากนั้นจึงเสนอขอรับการประเมินผลการพัฒนาตนเองจาก มชช.อ. และเมื่อ มชช.อ. ดำเนินการประเมินผลการพัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมายแล้ว จะส่งผลการประเมินฯ ให้คณะกรรมการระบบ มชช.จังหวัด (มชช.จ.)  เพื่อให้ มชช.จ.ดำเนินการตรวจสอบรับรองผล  และมอบใบประกาศเกียรติคุณหรือใบรับรองผลการพัฒนาตนเอง

¯ การบริหารจัดการระบบ มชช.

1.      จากการสรรหา / คัดเลือกของจังหวัด

2.      เชิงประเด็น เช่น ศอช.จ  เครือข่ายกลุ่มออมทรัพย์ฯ  ฯลฯ

3.      ผสมผสาน ( 1 + 2 )

4.      อื่น ๆ ตามความเหมาะสม

 

 

 

 

¯  ขั้นตอนการเรียนรู้และพัฒนาตนเองของกลุ่มเป้าหมาย

1.      ขั้นเตรียมการ

2.      ขั้นสมัคร

3.      ขั้นเสริมสร้างการเรียนรู้

4.      ขั้นการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

5.      ขั้นการประเมินเพื่อรับรองการพัฒนาตนเอง

Œ  ขั้นเตรียมการ

-  เริ่มเรียนรู้

          -  ทำความเข้าใจ

-  เผยแพร่ระบบ มชช.

          -  หาความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกในการร่วมเรียนรู้และพัฒนาตนเองตามระบบ

  ขั้นสมัคร

-  จัดทำใบสมัคร

-  ยื่นใบสมัคร

                    * กลุ่มเป้าหมายระดับอำเภอ / ตำบล / หมู่บ้าน  ยื่นใบสมัคร ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ

                    * กลุ่มเป้าหมายระดับจังหวัด   ยื่นใบสมัคร ที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด

Ž  ขั้นเสริมสร้างการเรียนรู้

1.       เข้ารับการปฐมนิเทศ

2.       จัดทำแบบแสดงเครื่องชี้วัดการพัฒนาตนเองและแผนการพัฒนาตนเอง

3.       หาความเห็นพ้องต้องกันในการพัฒนาตนเอง

4.       จัดเวทีนำเสนอตัวชี้วัด/แนวทางการพัฒนาตนเองให้คณะกรรมการประเมินผลทราบ

  ขั้นการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง

-   เรียนรู้การบริหารจัดการตนเอง

                   * ดำเนินการพัฒนาตนเอง (เน้นการพึ่งตนเอง)

                   * ประสานขอรับการสนับสนุนจากภาคี

  ขั้นการประเมินเพื่อรับรองการพัฒนาตนเอง

       เมื่อครบ ปี

           -  จัดเวทีประชาคมสมาชิก/ชุมชน

                        * หาความเห็นพ้องต้องกันว่า พัฒนาตนเองได้อย่างไรบ้าง

           -  ส่งผลจากเวทีให้คณะกรรมการ มชช.

           -  ถ้าผ่าน  - จัดทำเอกสารเผยแพร่ผลงาน

 

หมายเลขบันทึก: 205466เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2008 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลดีๆ

 

sears parts

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท