เวชระเบียน หัวใจโรงพยาบาล ผู้อาภัพ...ตอนที่ 1


นับเป็นโอกาสดีอีกครั้งหนึ่งที่ได้มีโอกาสกล่าวถึง เวชระเบียน หน่วยงานเวชระเบียน ที่ถูกกล่าวว่านี่คือหัวใจของสถานบริการสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมาเวชระเบียน ถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้เป็นขั้นตอนหนึ่งในการจำแนกและการเอาไว้บันทึกรายการที่แพทย์ตรวจเท่านั้น จึงทำพอเป็นพิธี ในขณะที่เวชระเบียนนั้น อย่างที่ข้าพเจ้าเคยกล่าวไว้แล้วหลายครั้งว่า เวชระเบียน(Medical Record) ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เวชระเบียน (Medical Record Librarian) ซึ่งจะต้องเป็นแพทย์หรือผู้ที่มีคุณวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับแพทย์ที่ผ่านการลงทะเบียน ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการแพทย์และเข้ารับการศึกษาทางด้านเวชระเบียนจนสามารถได้รับการลงทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่เวชระเบียน ในทางการแพทย์จึงเห็นว่าเจ้าหน้าที่ทางด้านนี้มีความสำคัญมากในสถานบริการทางการแพทย์ การจัดให้มีการศึกษาทางด้านเวชระเบียนในประเทศไทยก็มีประวัติมายาวนานหลายสิบปี โดยแพทย์หญิงสมพร เอกรัตน์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลศิริราชพยาบาล ผู้ได้รับการลงทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่เวชระเบียน (Registration : Medical Record Librarian) ได้จัดให้มีการศึกษาทางด้านเวชระเบียนขึ้นโดยเฉพาะเพื่อให้มีบุคลากรทางด้านเวชระเบียน ไปประจำอยู่ในสถานบริการสาธารณสุขต่าง ๆ ในประเทศไทย และมีการจัดการเวชระเบียนอย่างมีระบบ เพราะระบบเวชระเบียน (Medical Record System) เป็นระบบใหญ่ที่ต้องวางรากฐานให้สมบูรณ์เป็นอันดับแรกในการจัดการของสถานบริการสาธารณสุข หลังจากที่มีการจัดการเรื่องอาคารสถานที่ในการรักษาพยาบาลและบุคลากรเรียกร้อยแล้ว ในระบบของเวชระเบียนนั้นแบ่งออกเป็นระบบย่อย ๆ ดังนี้

1. ระบบเวชระเบียน และการไหลเวียนเอกสารทางการแพทย์

2. ระบบเวชสถิติ

3.ระบบการศึกษาวิจัยทางการแพทย์

4.ระบบเวชสารสนเทศและคอมพิวเตอร์

5.ระบบเครือข่ายและการเชื่อมโยงข้อมูล

ซึ่งระบบย่อยเหล่านี้อาจมีการแยกไม่เหมือนกันในแต่ละสถานบริการแล้วแต่ความเหมาะสม หรืออาจแบ่งเป็นผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในของแต่ละระบบเป็นระบบย่อยไปอีกก็แล้วแต่ความเหมาะสม เวชระเบียนที่เป็นระบบย่อยเหล่านี้รวมกัน เป็นระบบเวชระเบียน ซึ่งถือเป็นหัวใจของสถานบริการสาธารณสุข เพราะสถานบริการสาธารณสุขจะมีประสิทธิภาพแค่ไหนในการรักษาและดูแลผู้ป่วยก็สามารถดูจากระบบเวชระเบียนได้ทั้งหมด กระบวนการรรักษาพยาบาลจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนก็ดูได้จากระบบเวชระเบียนนั่นเอง  .....ติดตามต่อในตอนที่ 2 ........

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20521เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 17:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณ ที่คุณทำให้เจ้าหน้าที่เวชสถิติที่รู้สึกน้อยใจมาโดยตลอดว่าไม่มีใครสนใจ แต่ตอนนี้อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่าอย่างน้อยมีอีกคนที่เข้าใจพวกเรา

เวชระเบียนสู้ๆๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท