มองด้วยใจ
นางสาว โชติรส จิตรบำรุง เอย จิตรบำรุง

บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา


บรรยากาศทางกายภาพ บรรยากาศทางจิตวิทยา

 

บรรยากาศทางกายภาพ (Physical Atmosphere)

บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาดมีเครื่องใช้  และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น เช่น ห้องเรียนมีขนาดเหมาะสม แสงเข้าถูกทาง และมีแสงสว่างเพียงพอ กระดานดำมีขนาดเหมาะสมโต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัยนักเรียน เป็นต้น

บรรยากาศทางจิตวิทยา (Psychological Atmosphere)   บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง บรรยากาศทางด้านจิตใจ
ที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ
 มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน 
ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน

การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ             การจัดบรรยากาศทางด้านกายภาพ เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวก ต่างๆที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน รวมตลอดไปถึงสิ่งต่างๆ ที่เสริมความรู้ เช่น ป้ายนิเทศมุมวิชาการชั้นวางหนังสือโต๊ะวาง
สื่อการสอนฯลฯให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทำให้เกิดความสบายตา
 สบายใจแก่
ผู้พบเห็นถ้าจะกล่าวโดยละเอียดแล้ว  การจัดบรรยากาศทางด้ายกายภาพ ได้แก่ การจัดสิ่งต่อไปนี้

1.       การจัดโต๊ะเรียนและเก้าอี้ของนักเรียน

1.1   ให้มีขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน

1.2   ให้มีช่องว่างระหว่างแถวที่นักเรียนจะลุกนั่งได้สะดวก และทำกิจกรรมได้คล่องตัว

1.3   ให้มีความสะดวกต่อการทำความสะอาดและเคลื่อนย้ายเปลี่ยนรูปแบบที่นั่งเรียน

1.4   ให้มีรูปแบบที่ไม่จำเจ เช่น อาจเปลี่ยนเป็นรูปตัวที ตัวยู รูปครึ่งวงกลม หรือ เข้ากลุ่มเป็นวงกลมได้อย่างเหมาะสม
กับกิจกรรมการเรียนการสอน

1.5   ให้นักเรียนที่นั่งทุกจุดอ่านกระดานดำได้ชัดเจน

1.6  แถวหน้าของโต๊ะเรียนควรอยู่ห่างจากกระดานดำพอสมควร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร ไม่ควรจัดโต๊ะติด
กระดานดำมากเกินไป
 ทำให้นักเรียนต้องแหงนมองกระดานดำและหายใจเอาฝุ่นชอล์กเข้าไปมาก ทำให้เสีย
สุขภาพ

 

2.       การจัดโต๊ะครู

2.1   ให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม อาจจัดไว้หน้าห้อง ข้างห้องหรือหลังห้องก็ได้ งานวิจัยบางเรื่องเสนอแนะ
ให้จัดโต๊ะครูไว้ด้านหลังห้องเพื่อให้มองเห็นนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
 อย่างไรก็ตาม การจัดโต๊ะครูนั้นขึ้นอยู่กับ
รูปแบบการจัดที่นั่งของนักเรียนด้วย

2.2   ให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งบนโต๊ะและในลิ้นชักโต๊ะ เพื่อสะดวกต่อการทำงานของครู และการวางสมุดงานของนักเรียน ตลอดจนเพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยความเป็นระเบียบเรียบร้อยแก่นักเรียน

 

3. การจัดป้ายนิเทศ  ป้ายนิเทศไว้ที่ฝาผนังของห้องเรียน ส่วนใหญ่จะติดไว้ที่ข้างกระดานดำทั้ง  2  ข้าง  ครูควรใช้ป้ายนิเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน โดย

3.1    จัดตกแต่งออกแบบให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แกนักเรียน

3.2    จัดเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับบทเรียน อาจใช้ติดสรุปบทเรียน ทบทวนบทเรียน หรือเสริมความรู้ให้แก่นักเรียน

3.3    จัดให้ใหม่อยู่เสมอ สอดคล้องกับเหตุการณ์สำคัญ หรือวันสำคัญต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียนและควรรู้

3.4    จัดติดผลงานของนักเรียนและแผนภูมิแสดงความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนจะเป็นการให้
แรงจูงใจที่น่าสนใจวิธีหนึ่ง

 

แนวการจัดป้ายนิเทศ   เพื่อให้การจัดป้ายนิเทศได้ประโยชน์คุ้มค่า ครูควรคำนึงถึงแนวการจัดป้ายนิเทศในข้อต่อไปนี้

1.       กำหนดเนื้อหาที่จะจัด ศึกษาเนื้อหาที่จะจัดโดยละเอียดเพื่อให้ได้แนวความคิดหลัก หรือสาระสำคัญเขียนสรุป
หรือจำแนกไว้เป็นข้อ ๆ

2.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดโดยคำนึงถึงแนวความคิดหลักสาระสำคัญของเรื่องและคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย
ว่าต้องการเขารู้อะไร
 แค่ไหน อย่างไร

3.       กำหนดชื่อเรื่อง นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ดู ชื่อเรื่องที่ดีต้องเป็นใจความสั้น ๆ กินใจความให้ความหมายชัดเจน ท้าทาย อาจมีลักษณะเป็นคำถามและชี้ให้เห็นวัตถุประสงค์ในการจัดแผ่นป้าย

4.       วางแผนการจัดคล่าว ๆ ไว้ในใจ ว่าจะใช้วัสดุอะไรบ้าง แล้วจึงช่วยกันจัดหาสิ่งเหล่านั้น อาจเป็นรูปภาพ
แผนภาพภาพสเก็ตซ์ ของจริง หรือจำลอง การ์ตูน เท่าที่พอจะหาได้

5.       ออกแบบการจัดที่แน่นอน โดยคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ โดยสเก็ตซ์รูปแบบการจัดลงบนกระดาษรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
คล้ายแผ่นป้าย ว่าจะวางหัวเรื่อง รูปภาพ และสิ่งต่างๆ ในตำแหน่งใดคำบรรยายอยู่ตรงไหน ใช้เส้นโยงอย่างไร
จึงจะน่าสนใจ
 ควรออกแบบสัก 2 - 3 รูแบบ แล้วเลือกเอารูปแบบที่ดีที่สุด

6.       ลงมือจัดเตรียมชิ้นส่วนต่างๆ ให้มีขนาดและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขึ้นแสดงบนแผ่นป้ายได้อย่างเหมาะสม  หัวเรื่องจะใช้วิธีใด ภาพต้องผนึกไหม คำบรรยายจะทำอย่างไร เตรียมให้พร้อม

7.       ลงมือจัดจริงบนแผ่นป้ายตามรูปแบบที่วางไว้ อาจทดลองวางบนพื้นราบในพื้นที่เท่าแผ่นป้ายก่อน
 เพื่อกะระยะที่เหมาะสมก่อนนำไปใช้จริง

4.   การจัดสภาพห้องเรียน ต้องให้ถูกสุขลักษณะ กล่าวคือ

4.1    มีอากาศถ่ายเทได้ดี มีหน้าต่างพอเพียง และมีประตูเข้าออกได้สะดวก

4.2    มีแสงสว่างพอเหมาะ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนอ่านหนังสือได้ชัดเจน เพื่อเป็นการถนอมสายตา 
ควรใช้ไฟฟ้าช่วย ถ้ามีแสงสว่างน้อยเกินไป

4.3    ปราศจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น ควัน ฝุ่น ฯลฯ

4.4    มีความสะอาด โดยฝึกให้นักเรียนรับผิดชอบช่วยกันเก็บกวาด เช็ดถู เป็นการปลูกฝังนิสัยรักความสะอาด และฝึกการทำงานร่วมกัน

 

5. การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน   ได้แก่

5.1  มุมหนังสือ ควรมีไว้เพื่อฝึกนิสัยรักการอ่าน ส่งเสริมให้นักเรียนอ่านคล่อง ส่งเสริม      การค้นคว้าหาความรู้  และการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ครูควรหาหนังสือหลายๆ ประเภท  ที่มีความยากง่าย เหมาะสมกับวัยของนักเรียนมาให้อ่าน และควรหาหนังสือชุดใหม่มาเปลี่ยน
บ่อย ๆ
 การจัดมุมหนังสือควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อสะดวกต่อการหยิบอ่าน

5.2 มุมเสริมความรู้กลุ่มประสบการณ์ต่าง ควรจัดไว้ให้น่าสนใจ ช่วยเสรมความรู้ ทบทวนความรู้
เช่น 
 มุมภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา มุมความรู้ข่าว เหตุการณ์ ฯลฯ

5.3 มุมแสดงผลงานของนักเรียน ครูควรติดบนป้ายนิเทศ แขวนหรือจัดวางไว้บนโต๊ะ เพื่อให้
นักเรียนเกิดความภูมิใจในความสำเร็จ
 และมีกำลังใจในการเรียนต่อไป อีกทั้งยังสามารถแก้ไขพัฒนา
ผลงานของนักเรียนให้ดีขึ้นโดยลำดับได้อีกด้วย

5.4 ตู้เก็บสื่อการเรียนการสอน เช่น บัตรคำ แผนภูมิ ภาพพลิก กระดาษ สีกาวฯลฯ ควรจัด ไว้ให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วน สะดวกต่อการหยิบใช้ อุปกรณ์ชิ้นใดที่เก่าเกินไปหรือไม่ใช้แล้วไม่ควรเก็บ
ว้ในตู้ให้ดูรกรุงรัง

5.5 การประดับตกแต่งห้องเรียน ครูส่วนใหญ่มักนิยมประดับตกแต่งห้องเรียนด้วยสิ่งต่าง ๆ เช่น
ม่าน มู่ลี่ ภาพ ดอกไม้ คำขวัญ
สุภาษิต ควรตกแต่งพอเหมาะไม่ให้ดูรกรุงรัง สีสันที่ใช้ไม่ควรฉูดฉาด  หรือใช้สีสะท้นแสง อาจทำให้นักเรียนเสียสายตาได้ การประดับตกแต่งห้องเรียน ควรคำนึงถึงหลักความ
เรียบง่าย เป็นระเบียบ ประหยัด มุ่งประโยชน์ และสวยงาม

5.6 มุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ตลอดจนชั้นวางเครื่องมือเครื่องใช้ของนักเรียน เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน แก้วน้ำ กล่องอาหาร ปิ่นโต ฯลฯ ควรจัดวางไว้อย่างเป็นระเบียบ และหมั่นเช็ดถู
ให้สะอาดเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #เด็กพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 205143เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 20:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท