มองด้วยใจ
นางสาว โชติรส จิตรบำรุง เอย จิตรบำรุง

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน


บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน

 

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน                ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิด
พฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
 บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้
เป็นจริง
 พรรณี ชูทัย (2522 : 261 – 263)กล่าวถึงบรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน
 
จัดแบ่งได้
 6 ลักษณะ สรุปได้ดังนี้

1.       บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge)  เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียนเพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน  นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ

2.       บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิดได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า  รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวลบรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติ
กิจกรรม
ด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด

3.       บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect)เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า  และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง

4.       บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน  การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน   

5.       บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต

6.       บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success)เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ  ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้นผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่าการพูดถึงความ
ล้มเหลว
  เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่สิ่งที่ล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึงแต่ความล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวัง ต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้นบรรยากาศทั้ง 6   ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จ               ของผู้เรียนผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน

 

ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน

                สุมน   อมรวิวัฒน์ (2530 : 13)  ได้สรุปผลการวิจัยเรื่องสภาพในปัจจุบันและปัญหาด้านการเรียนการสอนของครู ประถมศึกษาไว้ สรุปได้ว่า บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน
 นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับ
นักเรียน
 ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้
จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี
 ดังนั้นจึงสามารถแบ่งประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียนได้ 2 ประเภทคือ

1.       บรรยากาศทางกายภาพ

2.       บรรยากาศทางจิตวิทยา

บรรยากาศทั้ง 2  ประเภทนี้ มีส่วนส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิ้น

คำสำคัญ (Tags): #เด็กพิเศษ
หมายเลขบันทึก: 205142เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 19:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท