ฝึกอบรมในความหมายของนักวิชาการ


กระบวนการสำคัญในการพัฒนาบุคลากร

ความหมายของการฝึกอบรม ตามแนวคิดของนักวิชาการต่าง ๆ มีดังนี้

                         การฝึกอบรม                          คือโปรแกรมการศึกษาที่ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อช่วยให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีประสบการณ์ทางการศึกษาอันจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้ เขาสามารถปรับตัวกันกับงานใหม่ได้สำหรับผู้ที่จะพึ่งเข้าทำงาน ส่วนผู้ที่ทำงานอยู่แล้วการฝึกอบรมจะช่วยให้เขาเกิดความรู้ ทักษะ ทัศนคติ อันเป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมนั้น ตลอดจนช่วยให้บุคคลนั้นมีความสามารถเพิ่มพูนขึ้น และ  การจัดนี้อาจจัดขึ้นภายใต้สภาวะความจำเป็นบางประการที่รูปแบบต่าง ๆ และใช้เวลามากน้อยต่างกัน (เปรื่อง กุมุท. ,2520)           

                           การฝึกอบรม (Training) หมายถึงกระบวนการในการเสริมสร้างและเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และทัศนคติให้กับบุคลากร ในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นองค์ประกอบขององค์กร ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  (พยอม วงค์สารศรี. 2530 )

 


                           การฝึกอบรมเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning) เฉพาะอย่างของบุคคล เพื่อปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ทักษะ หรือความชำนาญ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) อันเหมาะสมจนสามารถก่อให้เกิดความเปลี่ยนในพฤติกรรม และทัศนคติ เพื่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ (speciffic knowledge) เพื่อยกมาตรฐานการปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับสูงขึ้น และทำให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในงาน (เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาติ. 2531)

                          

                           การฝึกอบรมเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาบุคคล ซึ่งรวมกิจกรรมการเรียนรู้เข้าด้วยกัน อย่างมีระบบ และดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้รับการอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ในด้านความรู้ ทักษะ และทัศนคติอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างรวมกัน (สุรพล จันทราปัตย์. 2529: 1)     

 

                          การฝึกอบรม จึงเป็นกระบวนการสำคัญที่จะช่วยพัฒนาหรือฝึกฝนเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรใหม่ที่จะเข้าทำงาน หรือ ที่ปฏิบัติงานประจำอยู่แล้วในหน่วยงาน ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะหรือ ความชำนาญ ตลอดจนประสบการณ์ให้เหมาะสมกับการทำงาน รวมถึงก่อให้เกิดความรู้สึก เช่น ทัศนคติหรือเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน อันจะส่งผลให้บุคลากรแต่ละคนในหน่วยงาน หรือองค์การมีความสามารถเฉพาะตัวสูงขึ้น มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทำให้หน่วยงานหรือองค์กรมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่ดีขึ้น (พัฒนา สุขประเสริฐ. 2541.)

คำสำคัญ (Tags): #ฝึกอบรม
หมายเลขบันทึก: 205103เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท