การให้คำปรึกษา


ในยุคแห่งสังคมที่ซับซ้อนและสับสน นักศึกษามีความเปราะบางทางอารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นบทบาทในการให้คำปรึกษาจึงถือเป็นบทบาทหน้าที่และภารกิจที่มีความสำคัญ ของการทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา ทั้งการให้คำปรึกษาอย่างเป็นทางการและการให้คำปรึกษาอย่างเป็นไม่เป็นทางการ แม้แต่การให้คำปรึกษาในเรื่องราวเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถือว่ามีความสำคัญเพราะอาจารย์ที่ปรึกษาจะใกล้ชิดนักศึกษาค่อนข้างมาก

โดยทั่วไปองค์ความรู้เกี่ยวกับการให้คำปรึกษา ตลอดจนเทคนิควิธีการให้คำปรึกผาที่ควรพิจารณาและคำนึงถึงมีหลายประการ โดยในที่นี้จะแยกเป็นข้อๆเพื่อร่วมกันทำความเข้าใจดังนี้คือ

 
 
๑.      ความหมายของคำว่า “การให้คำปรึกษา” 
การให้คำปรึกษา เป็นกระบวนการทำงานของอาจารย์อาจารย์ที่ปรึกษาที่จะสามารถ
ช่วยเหลือนักศึกษาให้สามารถรู้จัก เข้าใจ   ยอมรับตนเอง   มองเห็นปัญหาของตนเอง    สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยตนเอง          รวมทั้งสามารถช่วยให้นักศึกษาสามารถจะวางแผนการในอนาคตของตนเองได้อย่างเหมาะสม
๒.     ประเภทของการให้คำปรึกษา
การให้คำปรึกษาแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๒.๑ การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล  เป็นกระบวนการช่วยเหลือโดยมีการพบปะเป็น
การส่วนตัว ระหว่างผู้ให้คำปรึกษากับผู้รับบริการ  ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ผู้รับบริการได้เข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อมได้ดีขึ้น  สามารถวางโครงการในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งมิใช่เฉพาะจะสามารถแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่เท่านั้น แต่จะช่วยให้มีทักษะในการแก้ปัญหาอื่น ๆ ได้ด้วยตนเอง
๒.๒ การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม  คือ    การให้คำปรึกษามากกว่า ๑ คนในแต่ละครั้ง แต่
ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เกินไป ประมาณ ๗-๑๐ คน เพราะถ้าเป็นกลุ่มใหญ่มากเกินไป การให้คำปรึกษาอาจไม่ทั่วถึง ประการสำคัญเป็นเรื่องทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความรู้สึก  อารมณ์         ที่จะถ่ายทอดให้แก่กันของคนในกลุ่ม การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มนี้เหมาะกับกลุ่มนักศึกษาที่มีปัญหาคล้ายคลึงกัน    นัดหมายมาพบกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกันคือ การแก้ไขปัญหาและข้อบกพร่องของตน
๓.     ความรู้พื้นฐานสำหรับอาจารย์ประจำชั้นและอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้คำปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและควรมีความรู้พื้นฐานดังต่อไปนี้
๓.๑ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์
         - มนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม
         - มนุษย์มีความแตกต่างกันทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์
         - พฤติกรรมของมนุษย์ย่อมมีสาเหตุ
         - มนุษย์มีเกียรติและศักดิ์ศรี
         - มนุษย์มีอารมณ์และเหตุผล
         - มนุษย์ย่อมเห็นประโยชน์ส่วนตัว
         - มนุษย์มักกล่าวโทษผู้อื่น
         - มนุษย์ชอบความแปลกใหม่
          - มนุษย์ชอบเปรียบเทียบ
          - มนุษย์มีความคาดหวัง 
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์จะทำให้อาจารย์ที่ปรึกษาเข้าใจมนุษย์ยิ่งขึ้น
 
๓.๒ ความต้องพื้นฐานของมนุษย์ (ตามทฤษฎีของ Maslow)
          - ขั้นที่ ๑   ความต้องการทางด้านร่างกาย
          - ขั้นที่ ๒   ความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัย
          - ขั้นที่ ๓   ความต้องการความรักและการมีส่วนร่วม
          - ขั้นที่ ๔   ความต้องการเห็นคุณค่าในตนเอง
          - ขั้นที่ ๕   ความต้องการบรรลุภาวะสัจจการแห่งตน
๓.๓ พฤติกรรมของมนุษย์
พฤติกรรมของมนุษย์ เกิดจากการเรียนรู้ที่ได้รับการเสริมแรงแสดงออกได้ ทั้ง
พฤติกรรมที่พึงประสงค์และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ยังเกี่ยวข้องกับเรื่องประสบการณ์อีกด้วย ทั้งการเรียนรู้และประสบการณ์ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป การที่พฤติกรรมของนักศึกษาแต่ละคนแตกต่างกันยังเป็นเรื่องของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
๔.     คุณสมบัติที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษา
ในการทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาสำหรับนักศึกษานั้น อาจารย์ที่ปรึกษาต้องมีควรมี
คุณสมบัติที่สำคัญๆดังนี้
๔.๑ มีบุคลิกภาพที่อบอุ่นและเป็นมิตร
๔.๒ มีลักษณะน่าไว้วางใจ น่าเคารพ น่าเชื่อถือ และรักษาความลับได้
๔.๓ มีความสนใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีคุณธรรม เมตตาธรรม และเสียสละ
๔.๔  รู้จักพูด เพื่อให้ผู้รับคำปรึกษารับทราบปัญหาที่แท้จริง  และแก้ปัญหาของ
นักศึกษาได้ด้วยตนเองโดยไม่พึ่งพิงอาจารย์ผู้ให้คำปรึกษา
๔.๕ รู้จักฟังและสามารถฟังจับประเด็นได้เร็วและกระจ่างชัด      มีความอดทนต่อการ
รับฟังปัญหาของนักศึกษาด้วยความตั้งใจและสนใจฟัง
๔.๖ สามารถอธิบายและคลี่คลายปมประเด็นต่าง ๆ ให้ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
๔.๗ สามารถที่จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษารับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตนเอง โดย
ผู้ให้คำปรึกษาจะไม่ตัดสินใจแทน
๔.๘ มีสุขภาพจิตดี มีอารมณ์มั่นคงเสมอต้นเสมอปลาย รักเพื่อนมนุษย์
๕.     กระบวนการให้คำปรึกษา
 กระบวนการให้คำปรึกษา อาจสรุปได้ ๕ ขั้นตอนดังนี้คือ
ขั้นตอนที่ ๑ การสร้างสัมพันธภาพ ผู้ให้คำปรึกษาต้องทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิด
ความอบอุ่น สบายใจ และไว้วางใจ
ขั้นตอนที่ ๒ สำรวจปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาได้สำรวจปัญหา
และปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาด้วยตัวของเขาเอง
ขั้นตอนที่ ๓ เข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับ
คำปรึกษาเข้าใจปัญหา สาเหตุ และความต้องการของตนเอง
ขั้นตอนที่ ๔ วางแผน แก้ปัญหา ผู้ให้คำปรึกษาช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาพิจารณาวิธี
แก้ปัญหาและตัดสินใจเลือกสิ่งที่จะปฏิบัติด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ ๕ ยุติการให้คำปรึกษา   ผู้ให้คำปรึกษาย้ำความเข้าใจที่เกิดขึ้นระหว่าง
ที่ให้คำปรึกษา และช่วยให้ผู้รับคำปรึกษามีแรงจูงใจและกำลังใจที่จะแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง
๖.      เทคนิคบางประการที่ใช้ในการให้คำปรึกษา
๖.๑ การเริ่มต้นให้คำปรึกษา (Opening the Interview)        ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องสร้าง
สัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับคำปรึกษา เพื่อให้มีบรรยากาศที่ดี อบอุ่น และเกิดความเป็นกันเอง เช่น การกล่าวคำต้อนรับ เป็นต้น
๖.๒ การสร้างสายสัมพันธ์  (Establishing  Rapport)     เมื่อเริ่มต้นการสนทนาไปแล้ว
สิ่งที่ตามมาก็คือ   การสร้างสายสัมพันธ์  เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้การพูดคุยกันดำเนินไปสู่จุดมุ่งหมาย การสร้างสายสัมพันธ์จะต้องกระทำอย่างระมัดระวังเพราะเป็นเทคนิคที่ต้องอาศัยความละเอียดอ่อนมาก โดยทั่วไปแล้วจะต้องทราบภูมิหลังของผู้รับคำปรึกษา       เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ต่อไป อาจจะพูดถึงเรื่องที่ผู้รับคำปรึกษามีความถนัด  และสนใจเป็นพิเศษเพื่อช่วยให้เขาสามารถพูดได้อย่างมั่นใจ ช่วยให้เขามีความสุขและพร้อมที่จะพูดต่อไป
๖.๓ การตั้งคำถาม (Questioning) กระบวนการให้คำปรึกษานั้น ผู้ให้คำปรึกษาจะต้อง
ไม่ใช้การแนะนำ   แต่จะใช้การตั้งคำถาม   เพื่อช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเข้าใจตนเองดีขึ้น เกิดความรู้สึกกระจ่างขึ้น เช่น อะไรเป็นสาเหตุทำให้เธอตัดสินใจเช่นนั้น หรือเธอได้จ่ายเงินซื้อของไปนั้นคุ้มกับประโยชน์ที่ใช้หรือไม่
๖.๔ การแนะ (Suggesting)  ในบางกรณีผู้ให้คำปรึกษาจะพบว่า ผู้รับคำปรึกษามีความ
สนใจต่อปัญหาต่าง ๆ    และไม่สามารถจะโต้ตอบได้ จึงต้องมีการแนะกันบ้าง เพื่อให้เกิดความรู้สึกหรือพอมองเห็นช่องทางที่จะแก้ปัญหา เช่น          เธอคงเคยไปพบครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์มาแล้วกระมัง ฯลฯ
๖.๕ การตีความหมาย (Interpreting)  การช่วยตีความหมายในสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษา
กล่าวไปแล้ว  เพื่อจะช่วยให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น
๖.๖ การเงียบและการฟัง (Silent and Listening)   เป็นกลวิธีที่จะช่วยให้ผู้รับ
คำปรึกษาเล่าเรื่องของตนได้ดีขึ้น การเงียบจะช่วยให้เกิดสมาธิ และรวบรวมคำพูดต่าง ๆ ได้รวดเร็วขึ้น เช่น
 
                     ผู้รับคำปรึกษา : อาจารย์ครับตอนนี้ผมเดือดร้อนมากไม่มีค่าเช่าหอ เขาจะไล่ผมออก
                                                เย็นนี้ครับ อาจารย์ช่วยผมด้วย
     
                       ผู้รับคำปรึกษา : ……………………………………………………(เงียบและฟัง)
                     ๖.๗ การทำให้กระจ่างแจ้ง (Clarifying)  ผู้ให้คำปรึกษากล่าวถึงสิ่งที่ผู้รับคำปรึกษาพูดไปแล้วอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนเนื้อหาคำพูดนั้น ๆ เลย      จะทำให้ผู้รับคำปรึกษารู้สึกแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขาอาจเข้าใจผิดอยู่ได้ และมองเห็นคำพูดของตนในแง่ที่เป็นกลางมากขึ้น เช่น
 
                     ผู้รับคำปรึกษา : “ผมไม่มั่นใจว่าจะเรียนจบหรือเปล่าดูเหมือนปัญหามันมากเหลือเกิน”
                     ผู้ให้คำปรึกษา: “ไหนลองบอกครูซิว่าอะไรทำให้เธอไม่มั่นใจ”
                    
                     ๖.๘ การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling) คือ การที่ผู้ให้คำปรึกษาตีความหมายของคำพูด ซึ่งแสดงความรู้สึกที่สำคัญของผู้รับคำปรึกษา แล้วเปลี่ยนคำพูดใหม่ โดยเน้นเนื้อหาสาระเดิมเพื่อจะทำให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดความเข้าใจ      ความรู้สึกของตนอย่างลึกซึ้ง และกล้าเผชิญกับความรู้สึกของตน เช่น
                        ผู้รับคำปรึกษา : ผมเป็นคนเดียวที่ครูมักจะคอยจับผิดและมักจะใช้ผมทำงานมากกว่า
       ใคร
                        ผู้ให้คำปรึกษา : ในความรู้สึกของเธอ เธอคิดว่าครูไม่ให้ความยุติธรรมแก่เธอเท่ากับ
                                                      เพื่อน ๆ ใช่ไหม
                        ๖.๙ การสอบซักถาม (Probing)  คือ การที่ผู้ให้คำปรึกษาตั้งคำถามตรง ๆ เพื่อค้นหารายละเอียดจากผู้รับคำปรึกษา
                        ผู้รับคำปรึกษา  : หนูไม่ชอบเรียนคณะวิชาสัตวศาสตร์
                      ผู้ให้คำปรึกษา :   แล้วเธอชอบเรียนอะไร  
                      ผู้รับคำปรึกษา :   หนูชอบเรียนบริหารธุรกิจ
                      ผู้ให้คำปรึกษา :   ทำไมเธอจึงชอบเรียนบริหารธุรกิจ
                      ผู้รับคำปรึกษา :  หนูชอบขายของ ชอบงานขายตรง ชอบงานสบายงานสัตวศาสตร์
                                                  หนัก
                      ผู้ให้คำปรึกษา :  หนูชอบขายของ ชอบงานขายตรง ชอบงานสบายงานสัตวศาสตร์
                                                  หนักแล้วหนูคิดว่างานที่เกี่ยวกับบริหารธุรกิจจะสบายหรือ
 
                        นอกจากนี้ยังมีเทคนิคกลวิธีต่าง ๆ  ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการให้คำปรึกษาอีกหลายประการ เป็นต้นว่า การสังเกตพฤติกรรมของผู้รับคำปรึกษา การแสดงความเห็นด้วย เพื่อให้กำลังใจผู้รับคำปรึกษา       ซึ่งอาจแสดงออกทางสีหน้า ท่าทางต่าง ๆ  เช่น  พยักหน้า ยิ้ม  หรือแม้แต่ท่าทาง ซึ่งจะต้องทำให้รู้สึกเป็นกันเองที่สุด เพื่อช่วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีในการให้คำปรึกษา
                      อย่างไรก็ตาม ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา หากอาจารย์ที่ปรึกษา พิจารณาแล้วเห็นว่า         เรื่องที่นักศึกษามาขอรับคำปรึกษานั้น เป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อน เป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนสมควรขอความช่วยเหลือ    ต้องการส่งต่อผู้เรียนและปัญหาดังกล่าวไปยังงานที่เกี่ยวข้องเช่นงานแนะแนวของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาเป็นอย่างดี ก็สามารถทำได้และถือเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งทั้งนี้เพื่อช่วยให้นักศึกษาได้แก่ปัญหาได้ตรง อย่างไรก็ดีบางครั้งอาจใช้วิธีการแนะแนวครูเพื่อให้ครูช่วยเหลือนักศึกษาผู้นั้นต่อเพราะนักศึกษาถ้าเข้าหาอาจารย์ท่านใดก็แสดงว่านักศึกษาผู้นั้นไว้วางใจ อาจารย์ท่านนั้นๆ จงภูมิใจที่เราได้ช่วยนักศึกษาของเรา
หมายเลขบันทึก: 204755เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2008 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาชม คุณคนพลัดถิ่น

เป็นบันทึกมีสาระดีน่าติดตามอ่านนะนี่

สวัสดีเจ้าค่ะ พี่เอ๊ะ

น้องจิขอคำปรึกษาด่วน ทำการบ้านไม่เป็น 55555+++ คิดถึงค่ะ กอดๆๆ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

  • แบบนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาต้อง ใจเย็น สุขุมที่สำคัญรอบรู้
  • ดีจริงๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท