หลักการสอนเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา


อาจารย์นอกจากจะมีความรู้ทางด้านวิชาการแล้วควรคำนึงถึงความรู้ทางด้านหลักการสอนเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เป็นพลังในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต

บทความเรื่อง  หลักการสอนเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา  เขียนขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนวิชา หลักการอุดมศึกษา  สาขาวิชาอุดมศึกษา  คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หลักการสอนเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา

            การสอนมีความสำคัญในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเป็นภารกิจที่ช่วยให้เกิดการผลิตนิสิตนักศึกษาขึ้นตามความต้องการของสังคม  ด้วยเหตุนี้จึงควรให้ความสำคัญกับการหลักการสอนนิสิตนักศึกษาเพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้รับความรู้จากอาจารย์ผู้สอนอย่างเต็มที่ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้หรือคิดสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมได้  ดังนั้นอาจารย์นอกจากจะมีความรู้ทางด้านวิชาการแล้วควรคำนึงถึงความรู้ทางด้านหลักการสอนเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ  เป็นพลังในการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต

 

ความสำคัญของการสอนระดับอุดมศึกษา

            การสอนเป็นหนึ่งในภารกิจหลักที่สำคัญของสถาบันอุดมศึกษา  เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กับนิสิตนักศึกษา ได้มีความรู้เพื่อใช้ในการประกอบวิชาชีพ  วราภรณ์  บวรศิริ (ม.ป.ป. :    24-25) ได้กล่าวสรุปความสำคัญของการสอนไว้ว่า สถาบันอุดมศึกษานอกจากจะให้ความรู้ทางวิชาการแล้ว ควรให้นิสิตนักศึกษาได้มีโอกาสได้พัฒนาทางด้านความคิด  เพื่อให้นิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วรู้จักวิธีการเรียนรู้ สามารถศึกษาหาความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมด้วยตนเองได้ และนอกจากนี้ในการสอนควรมีการสอดแทรกคุณธรรมให้กับนิสิตนักศึกษาด้วย เนื่องจากหากมีแต่ความสามารถทางด้านวิชาการเพียงอย่างเดียวแต่ขาดคุณธรรมแล้ว  อาจทำให้นิสิตนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไป นำความรู้ไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องทำให้ผู้อื่นและสังคมเดือดร้อนได้  ดังนั้นการสอนในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการสอนเพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน  เพื่อให้นิสิตนักศึกษาเกิดการพัฒนาทางสติปัญญา  ความสามารถในการคิด  พร้อมทั้งพัฒนาทางด้านคุณธรรมให้กับนิสิตนักศึกษา  เพื่อให้นิสิตนักศึกษามีความพร้อมในทุกด้าน  เพื่อที่จะออกไปสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ

 

ลักษณะของอาจารย์ที่ช่วยส่งเสริมการสอนให้มีประสิทธิภาพ

            อาจารย์ผู้สอนมีความสำคัญกับนิสิตนักศึกษา  เนื่องจากเป็นผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้กับนักศึกษา  ดังนั้นลักษณะของผู้สอนจึงมีความสำคัญกับการสอนนิสิตนักศึกษา  ซึ่งอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาควรมีลักษณะ ดังนี้

1. มีความรู้และประสบการณ์  อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาควรเป็นผู้ที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี และนอกจากนี้หากอาจารย์มีประสบการณ์ในการสอนมากจะช่วยให้เกิดความชำนาญทางด้านการสอน  สามารถนำประสบการณ์ต่างๆ ที่พบมาเล่าให้นิสิตนักศึกษาได้ฟังเป็นกรณีตัวอย่างได้  แต่จากการสำรวจ (ไพฑูรย์  สินลารัตน์ 2547 : 58) พบว่า ยังมีบางส่วนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี  และมีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 1 – 5 ปี  ดังนั้นจากข้อมูลนี้จึงเห็นได้ว่า อาจารย์บางส่วนยังมีความรู้ไม่เหมาะสมเนื่องจากการสอนนิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาตรีอาจารย์ผู้สอนก็ควรสำเร็จการศึกษาที่สูงกว่าระดับปริญญาตรีเพื่อจะได้มีพื้นฐานทางความคิดที่กว้างกว่านิสิตนักศึกษาที่ตนเองสอน  สำหรับประสบการณ์การทำงานของอาจารย์นั้นจะเห็นว่าอาจารย์ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการสอนยังน้อย คือไม่เกิน 5 ปี 

ดังนั้นจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่า อาจารย์ผู้สอนในมหาวิทยาลัยยังมีลักษณะที่สอดคล้องกับวิชาชีพ  จึงควรมีการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ด้วยการสนับสนุนให้อาจารย์ที่สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีได้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้มีคุณวุฒิที่เหมาะสมในการสอนนิสิตนักศึกษา  ส่วนอาจารย์ที่ยังขาดประสบการณ์ในการทำงานนั้น ควรมีการส่งเสริมให้เข้ารับการฝึกอบรมหรือการไปสัมมนาต่างๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์และพัฒนาทางด้านความรู้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวจะช่วยให้อาจารย์เป็นผู้ที่มีความพร้อมทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ เพื่อนำใช้ให้เกิดประโยชน์กับการสอนต่อไป

2.  มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้  ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้เป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ  ดังที่หลวงวิจิตรวาทการ (2532 : 250 – 253)  ได้กล่าวถึงความสามารถในการถ่ายทอดความรู้สรุปได้ว่า  ผู้ที่มีความรู้ดีแต่ขาดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น ทำให้ความรู้ที่มีอยู่นั้นได้ประโยชน์น้อย  สำหรับวิธีในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นนอกจากตนเองจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีแล้ว  ควรแบ่งตัวเองเป็นสองภาคในเวลาเดียวกัน คือเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดและผู้รับการถ่ายทอด  โดยพิจารณาว่าสิ่งที่เราถ่ายทอดออกไป  หากเราเป็นผู้รับเราสามารถเข้าใจได้มากน้อยเพียงใด  ถ้าหากยังไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เราถ่ายทอดไปนั้นผู้รับสามารถเข้าใจได้หรือไม่  ผู้ถ่ายทอดอาจต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนวิธีการถ่ายทอด    และนอกจากนี้การพิจารณาระดับความรู้ของผู้รับการถ่ายทอดเป็นสิ่งที่สำคัญอีกเช่นกัน  เนื่องจากหากถ่ายทอดในสิ่งที่ยากเกินความสามารถของผู้รับก็จะทำให้ผู้รับไม่เข้าใจ แต่หากถ่ายทอดในสิ่งที่ง่ายเกินไปผู้รับอาจจะเกิดความเบื่อหน่ายหรือคิดว่าเป็นการดูหมิ่นความรู้ของผู้รับได้ 

ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าหากอาจารย์ขาดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ จะส่งผลให้นิสิตนักศึกษาไม่ได้รับการถ่ายทอดความรู้จากอาจารย์อย่างเต็มที่  ฉะนั้นการจะให้นิสิตนักศึกษาได้รับการพัฒนาทางด้านต่างๆ  อาจารย์ควรให้ความสำคัญกับวิธีการถ่ายทอดความรู้ด้วย

3.  มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีเกิดขึ้นจำนวนมาก          ที่สามารถนำมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ 

กู๊ด (Good 1973) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอนโดยเน้นที่วัตถุประส่งค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง

จึงเห็นได้ว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการนำความรู้ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มาใช้ร่วมกับการศึกษาอย่างมีระบบ  เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการศึกษาให้ก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาจึงควรเป็นผู้ที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆ ได้ เพื่อนำเทคโนโลยีและความรู้ที่ได้จากสื่อต่างๆ มาพัฒนาการสอนให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบันมากขึ้น

4.  เข้าใจลักษณะของนิสิตนักศึกษา  ก่อนที่จะทำการเรียนการสอน อาจารย์ควรทราบลักษณะของนิสิตนักศึกษาและพื้นฐานของนักศึกษาก่อน   วัลลภา  เทพหัสดิน ณ อยุธยา (2543 :    44 - 45) ได้กล่าวถึงลักษณะหรือวัฒนธรรมของนิสิตนักศึกษา ตามหลักของคอฟแมนและจากการสังเกตลักษณะนิสิตนักศึกษาไทยประกอบ  พบว่า นิสิตนักศึกษาไทยมีลักษณะหรือวัฒนธรรมแบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้

      1)  กลุ่มนิสิตนักศึกษา (Collegiate)  คือ กลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ชอบการสมาคม  ซึ่งส่วนใหญ่มาจากครอบครัวคนชั้นกลางหรือสูง  เป็นครอบครัวที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจดี  นิสิตนักศึกษาากลุ่มนี้สนใจชีวิตในสังคม  การกีฬา การช่วยเหลือสังคม และการบำเพ็ญประโยชน์  มักเป็นนิสิตนักศึกษาที่เลือกเรียนทางรัฐศาสตร์  สังคมศาตร์

      2)  กลุ่มอาชีพ (Vocational)  คือ กลุ่มนิสิตนักศึกษาที่สนใจการฝึกฝนอาชีพโดยเฉพาะ  นิสิตนักศึกษากลุ่มนี้มักมาจากครอบครัวที่มีพ่อแม่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับธุรกิจ  การค้าขาย  ลูกจ้าง  พนักงานบริษัท  ซึ่งมีฐานะครอบครัวปานกลาง  ทำให้นิสิตนักศึกษามีทัศนคติว่าอุดมศึกษา เป็นโอกาสในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและยกฐานะทางสังคมของตนเองให้ดีขึ้น  ฉะนั้นนิสิตนักศึกษากลุ่มนี้จึงสนใจเลือกเรียนวิชาที่จะเป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต เช่น วิศวกรรม  ธุรกิจ  บัญชี ครุศาสตร์ เทคโนโลยี  เป็นต้น 

      3)  กลุ่มวิชาการ (Academic)  คือ กลุ่มนิสิตนักศึกษาที่มุ่งความสำเร็จทางด้านวิชาการ  ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชั้นกลางและมีพ่อแม่ที่ได้รับการศึกษาดี  นิสิตนักศึกษากลุ่มนี้มักจะสนใจการศึกษาและเลือกเรียนในสถาบันการศึกษาที่ดีและมีชื่อเสียง  พยายามเรียนเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธ์ทางการเรียนสูง  แต่มักไม่ยุ่งเกี่ยวกับคนในสังคม  มีเพื่อนน้อย  บางครั้งอาจจะมีนิสัยเห็นแก่ตัว       มุ่งผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าการช่วยเหลือคนอื่นและสังคม

      4)  กลุ่มนอกรูปแบบ  (Non Conformist)  คือกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ไม่ยอมรับค่านิยมใดๆ ของนิสิตนักศึกษาทั้งสามกลุ่มข้างต้น  เป็นกลุ่มที่อยู่เฉยๆ แต่หากไม่พอใจในระเบียบต่างๆ ของมหาวิทยาลัย  มักจะรวมตัวกันต่อต้านได้อย่างรวดเร็ว  และนิสิตนักศึกษากลุ่มนี้มักมีความคิดฉับไวและมีความสามารถทางด้านการพูดโน้มน้าวใจให้นิสิตนักศึกษากลุ่มอื่นคล้อยตามได้

จากการแบ่งกลุ่มนิสิตนักศึกษาดังกล่าวทำให้เห็นว่า การที่อาจารย์เข้าใจลักษณะของนิสิตนักศึกษาจะช่วยทำให้อาจารย์เข้าใจว่านิสิตนักศึกษามีจุดเด่นในด้านใดและมีด้านใดบ้างที่ควรปรับปรุง  ส่งผลให้อาจารย์สามารถพัฒนานิสิตนักศึกษาได้ตรงกับกับลักษณะและความสามารถของนิสิตนักศึกษา

5.  เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนิสิตนักศึกษา  ในสถาบันการศึกษาอาจารย์มีบทบาทอย่างมากในการชี้นำหรือกำหนดแนวทางการปฏิบัติตนให้กับนิสิตนักศึกษา  ดังนั้นอาจารย์จึงควรประพฤติปฏิบัติตนเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีของนิสิตนักศึกษา  พระพรหมคุณาภรณ์ (พระธรรมปิฎก         ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึง หลักเกณฑ์การวัดผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมไว้ในหนังสือของสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ ไว้ดังนี้

                  1)  มีความสุขแบบคนทั่วไป  คือ ประกอบอาชีพอย่างอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่ประพฤติตนให้เสียหายทั้งกาย วาจา และใจ

                  2)  แสวงหาทรัพย์โดยชอบธรรม  คือ หาทรัพย์สินมาด้วยความชอบธรรมและรู้จักแบ่งปันทรัพย์สินนั้นให้กับผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่าตนเอง  ใช้ทรัพย์สินที่หามาได้อย่างรู้เท่าทัน ไม่ยึดติดหลง   มัวเมาอยู่กับทรัพย์สินนั้น

      3)  มีหลักธรรมในการดำเนินชีวิต  คือ หลักธรรมที่ควรมีไว้ในการดำรงชีวิต ได้แก่ ฆารวาสธรรม 4  นั่นก็คือเป็นผู้ที่มีความจริงใจต่อผู้อื่น  รู้จักพัฒนาตนเองด้วยความขยันหมั่นเพียร และมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ

      4)  รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง คือ มีความสัมพันธ์อันดีงามกับบุคคลในครอบครัวรวมถึงญาติมิตร ผู้ร่วมงานและผู้ใต้ปกครอง  โดยให้ประโยชน์ทั้งทางวัตถุและชัจูงผู้เกี่ยวข้องให้มีความเจริญงอกงามด้วยการประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วย

      5)  เป็นพลเมืองดีของสังคม  คือ การสร้างสรรค์สังคมด้วยการประพฤติปฏิบัติตนให้ตั้งอยู่ในศีลห้า  อย่างสม่ำเสมอ

จากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีไม่จำเป็นต้องมีฐานะทางสังคมสูงหรือมีทรัพย์สินเงินทองมากมายแต่ควรเป็นผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีและน่านับถือของคนในสังคม  ดังนันจะเห็นได้ว่าหากอาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้นิสิตนักศึกษา  จะช่วยพัฒนาให้นิสิตนักศึกษามีความรู้และความประพฤติที่ดี สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขได้

 

3.  หลักการสอนเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษา

            1.  การสอนเนื้อหาแบบบูรณาการ  ในการสอนนั้นผู้สอนควรมีการเชื่อมโยงเนื้อหาให้มีความสัมพันธ์กับความรู้ด้านอื่นๆ  

เฉลิมพล   แก้วสามสี  (2544)  ได้กล่าวถึงรูปแบบการสอนแบบบูรณาการไว้ 2 รูปแบบ สรุปได้ดังนี้

                  1)  การสอนบูรณาการภายในวิชา  เป็นการเชื่อมโยงการสอนระหว่างเนื้อหาวิชาในกลุ่มประสบการณ์หรือรายวิชาเดียวกันกันเข้าด้วยกัน

                  2)  การสอนบูรณาการระหว่างวิชา มี 4 ประเภท  ได้แก่

                        2.1)  การบูรณาการแบบสอดแทรก  เป็นการสอนในลักษณะที่ผู้สอนในวิชาหนึ่งสอดแทรกเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ในการสอนของตนเอง

                        2.2)  การสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  เป็นการสอนโดยผู้สอนตั้งแต่สองคนขึ้นไป  วางแผนการสอนร่วมกันโดยมุ่งสอนหัวเรื่องหรือความคิดรวบยอดหรือปัญหาเดียวกันแต่สอนต่างวิชาและต่างคนต่างสอน

                        2.3)  การสอนแบบบูรณาการแบบสหวิทยาการ  เป็นการสอนลักษณะเดียวกับการสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน  แต่มีการมอบหมายงานหรือโครงงานร่วมกัน

                        2.4)  การสอนบูรณาการแบบข้ามวิชา  หรือสอนเป็นคณะ  เป็นการสอนที่ผู้สอนวิชาต่าง ๆ ร่วมกันสอนเป็นคณะหรือเป็นทีม  มีการวางแผน  ปรึกษาหารือร่วมกันโดยกำหนดหัวเรื่อง  ความคิดรวบยอด หรือปัญหาร่วมกัน  แล้วร่วมกันสอนผู้เรียนในกลุ่มเดียวกัน

               จากรูปแบบการสอนแบบบูรณาการจะเห็นได้ว่ามีประโยชน์กับนิสิตนักศึกษาเนื่องจากช่วยทำให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจเนื้อหาในวิชาเดียวกันหรือต่างวิชาอย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กัน  เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ ของนิสิตนักศึกษาไปพร้อมกัน 

            2.  การสอนให้เชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  การสอนในแต่ละรายวิชาอาจารย์ผู้สอนควรสอนเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับนิสิตนักศึกษาหรือในการยกตัวอย่างประกอบการสอนควรใช้วิธีการยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวกับนิสิตนักศึกษาเพื่อให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจได้ง่ายมากกว่าการยกตัวอย่างที่ไกลตัวผู้เรียนเกินไป  และนอกจากนี้อาจารย์ควรสอนถึงการนำเนื้อหาความรู้ต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ทั้งในชีวิตประจำวันและการนำไปใช้ประกอบอาชีพในอนาคต  นอกจากนี้ ไพฑูรย์            สินลารัตน์ (2546 : 70)  ได้กล่าวถึง การจัดการสอนไว้ว่าควรจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและมองเห็นแนวทางในการแก้ปัญหานั้น โดยจัดการสอนให้เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของท้องถิ่นหรือสังคมไทยโดยเฉพาะ

            ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า การสอนเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษานั้นควรคำนึงถึงประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเป็นสำคัญซึ่งประสบการณ์ส่วนหนึ่งก็คือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นของนิสิตนักศึกษาซึ่งช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นอย่างแท้จริง ทำให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจถึงปัญหาและสามารถหาแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            3.  การใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย  อาจารย์ควรมีการใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่จะสอน  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหาได้อย่างชัดเจน  ไพฑูรย์  สินลารัตน์  (2547 : 56-58)  ได้กล่าวถึงวิธีการสอนในปัจจุบันสรุปได้ว่า  อาจารย์มักจะใช้วิธีการสอนแบบบรรยายเป็นหลัก ทำให้นิสิตนักศึกษาเบื่อหน่ายในวิชาเรียนและไม่เกิดการพัฒนาความคิด  จุมพจน์ วนิชกุล (2549 : 334) จึงได้เสนอวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ควรนำมาใช้ เช่น การใช้กิจกรรมศึกษาภาคสนาม  การจัดโครงการ  เพื่อให้นิสิตนักศึกษารู้จักแก้ปัญหา  เกิดความคิดสร้างสรรค์  ตระหนักในความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  นอกจากนี้การใช้สื่อการสอนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น  เช่น  การมีเอกสารประกอบการเรียนการสอนอย่างเพียงพอ  การบริการของห้องสมุด  และการมีสื่อทรัพยากรสารสนเทศประกอบการเรียนเพิ่มเติม 

จากข้อมูลดังกล่าวจึงเห็นได้ว่านิสิตนักศึกษามีความต้องการในการเรียนรู้แบบให้ตนเองมีส่วนร่วมซึ่งไม่สอดคล้องกับวิธีการสอนของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ยังเน้นการบรรยายให้นิสิตนักศึกษาฟัง โดยไม่เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน ดังนั้นเพื่อให้เกิดทักษะกระบวนการคิดและการสร้างความรู้  ในการพัฒนานิสิตนักศึกษานั้นอาจารย์ควรปรับรูปแบบการสอนให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับเนื้อหาให้มากขึ้น  อันจะทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้และมีวิธีการสร้างความรู้ใหม่ๆ ด้วยตนเองได้

 

            4.  การนำนวัตกรรมทางการศึกษามาพัฒนาการสอน  คำว่านวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)เป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ  ไพบูลย์  จำปาปั่น (2550)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางการสอนสรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการสอน หมายถึง  การนำความคิดใหม่ๆ  วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมหรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ    จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาสูงขึ้น

            โดยทั่วไปนวัตกรรมทางการสอนมักเกิดจากผู้สอนต้องการแก้ไขปัญหาหรือปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น  ด้วยการศึกษาสภาพปัญหา ออกแบบนวัตกรรมที่สอดคล้องกับปัญหา  และทดลองวิจัยเพื่อให้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด  เช่น  การสอนเป็นคณะ     ชุดการสอน  บทเรียนโปรแกรม  ศูนย์การเรียน  การเรียนด้วยตนเอง  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เป็นต้น

ดังนั้นนวั

หมายเลขบันทึก: 204604เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นหลัการที่น่าสนใจต่อผู้มีอาชีพพัฒนาคน

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท