การสอนซ่อมเสริม


CAI

สายสมร  ปาระมี : ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)  เพื่อซ่อมเสริม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  โรงเรียนวัดขี้เหล็ก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน  เขต  1

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา  ผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (CAI)

เพื่อซ่อมเสริม  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และศึกษาความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/2  โรงเรียนวัดขี้เหล็ก  อำเภอเมือง  จังหวัดลำพูน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน  เขต  1  ปีการศึกษา  2550  จำนวน  21  คนโดยในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม  คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6/2  ทั้งหมด 21 คน ได้เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ  80/80  และนักเรียนกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด  ไม่ผ่านเกณฑ์ 80 % เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จำนวน 6  เรื่อง  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 6  หน่วยการเรียนรู้  เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือกหน่วยการเรียนรู้ละ  20 ข้อ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นแบบทดสอบปรนัย  4   ตัวเลือก  จำนวน  6  เรื่อง ๆ ละ  จำนวน 10  ข้อ   แบบฝึกหัด  ในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เป็นกิจกรรมที่หลากหลาย  และแบบสอบถามความสนใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพบว่ามีประสิทธิภาพ

เท่ากับ  92.84 / 92.87    ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ตั้งไว้  E1 / E2  =  80 / 80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแตกต่างกัน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

3.    ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายหรือสัมประสิทธิ์การแปรผัน (C.V.) ก่อนเรียนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเท่ากับ16.19 % และหลังสอนซ่อมเสริมด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์  ช่วยสอน  เท่ากับ  8.84  %  แสดงให้เห็นว่า  หลังการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงในระดับที่ใกล้เคียงกันมากขึ้นคุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

4. ผลการตรวจสอบความสนใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ใน

ระดับ  มากที่สุด  

หมายเลขบันทึก: 204597เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ..สำหรับกำลังใจที่ให้คนทำงาน

สื่อ CAI ที่ศึกษาครั้งนี้เป็นชุดเดียวกับที่ส่งประกวดในระดับเขตใช่หรือเปล่าครับ

เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ครับ ให้กำลังใจ ...

CAI เป็น 1 ใน 6 เรื่องของทั้งหมดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท