เสียเวลา กับ ตกเครื่องบิน คุณเลือกอะไร?


Umesh Vazirani (อูเมช วาสิรานี) นักวิทยาการคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยเบิร์คลีย์  เลือก "ตกเครื่องบิน" ดีกว่าเสียเวลา.....(ไม่ใช่เครื่องบินตกนะครับ ท่านผู้อ่านอย่าเข้าใจผิด)

เขามักจะมีคำพูดติดปากว่า

"If you never miss a flight, you are spending too much time in the airport"

(ใครที่ไม่เคยตกเครื่องบิน คนๆนั้นเสียเวลาที่สนามบินมากเกินไปแล้ว)

 

คนทั่วไปมักจะกลัวการตกเครื่องบินมาก หากต้องบิน มักจะไปถึงสนามบินล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นชั่วโมงกันเสมอ..... แต่วาสิรานีมีคติประจำใจว่า คนเราไม่สามารถทำทุกอย่างพร้อมกันได้ ให้ลงแรงไปทำสิ่งที่สำคัญที่สุดมากที่สุด ....

จากข้อความข้างบน เขาต้องการสื่อว่า

อย่าไปให้ความสำคัญมากกับทุกสิ่งทุกอย่าง จะทำให้สิ่งที่สำคัญที่สุดเราทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

โดยเขาเปรียบเทียบให้คนอื่นฟังเทียบกับเรื่องของเครื่องบิน เขาเปรียบเทียบว่า หากเราพยายามให้ความสำคัญกับการขึ้นเครื่องบินให้ทันเวลาทุกครั้ง เวลาที่เสียไปทั้งหมดรวมกันน่าจะได้อย่างน้อยหลายสิบชั่วโมงทีเดียว.....เอาไปเพิ่มให้เวลาทำงานอย่างอื่นที่สำคัญมากๆดีกว่า  (เขาคงพูดบ้าๆไปแบบนั้น ผมเดาว่าชีวิตจริงของเขาอาจจะไม่เคยตกเครื่องบินจริงๆหรอกครับ)

 

ลูกศิษย์ของวาสิรานี ชื่อ Scott Aaronson (สก็อต อาร์รอนสัน) ได้นำคำพูดของอาจารย์เขามาถ่ายทอดให้คนอื่นๆได้รับทราบ และ เขาตั้งชื่อประโยคประชดประชันของอาจารย์เขาว่า Umeshism (อูเมชชิสซึม-- ประมาณว่า "ลัทธิของอูเมช") สก็อตได้จัดการแข่งขันประกวดแต่งประโยคอูเมชชิสซึมขึ้นมา มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการแข่งขันหลายสิบคน แต่ส่วนใหญ่จะแต่งประโยคแนวกวนประสาทกันน่ะครับ เช่น

  • If you’ve never been robbed, you’re spending too much time locking doors.

        (ถ้าคุณไม่เคยถูกปล้น คุณเสียเวลาล็อกประตูมากเกินไปแล้ว)

  • If you’ve never hit the ground while skydiving, you’re opening your parachute too early.

    (ถ้าคุณไม่เคยกระแทกพื้นตอนโดดร่ม คุณกระตุกร่้มเร็วเกินไปแล้ว)

  • If all your students graduate, then you’re spending too much time in your office.

    (ถ้านักศึกษาที่คุณเป็นที่ปรึกษาทุกคนเรียนจบ คุณใช้เวลานั่งออฟฟิศนานเกินไปแล้ว)

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ข้อคิดชีวิต
หมายเลขบันทึก: 204528เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2008 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 01:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • ในความคิดของครูอ้อยคิดว่า.....การที่เราทำอะไรก็ตาม  แล้วใช้เวลาส่วนใหญ่ในการกระทำชนิดนั้นๆ  ให้ความสำคัญในสิ่งเดียวนานๆ  บางทีก็คงไม่สมหวัง
  • ไม่เหมือนกับ การที่เรา ตั้งใจทำสิ่งใดก็ตาม และต้องหันหลังมองคนข้างหลัง หรือจูงมือใครเดินไปด้วย  หรืออนุญาตให้ใครขี่คอไป
  • บางทีอาจจะมีความสุขมากกว่า  ได้ประโยชน์มากกว่า

ใช่ไหมคะ

 

สวัสดีครับครู้อ้อย :)

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมครับ ... ผมเองก็เป็นคนแบบนั้นครับ ผมพยายามให้ความสำคัญกับทุกสิ่งที่ผมทำ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ....

แต่ในปัจจุบันมีคนดำเนินชีวิตตามแนว Umeshism เยอะมากนะครับ เช่น อาจารย์บางคนอาจจะเน้นหาเงินมากจนไม่ทุ่มเทให้กับการสอน ซึ่งผมเขียนด่าไปแล้ว :P

ผมไม่เห็นด้วยกับ Umeshism เท่าไหร่นักครับ :)

น้องชาย  ปริญญา

  • ครูอ้อย  ไม่ได้สอนพิเศษ นะคะ  คุยกับครูอ้อยได้อย่างเต็มที่เรื่อง สอนแบบเก็บกัก
  • ลูกๆของครูอ้อย  ไม่นิยมให้ไปเรียนพิเศษ 
  • มีความคิดว่า  เพียงแค่เรียนในโรงเรียน ในระบบ ให้เข้าใจ  ศึกษาค้นคว้า เต็มที่ อ่านเอง  เรียนรู้เอง  วิเคราะห์งาน วิเคราะห์ตนเอง  dHน่าจะพอเพียงแล้ว
  • Umehism  เป็นอย่างไร เล่าให้อ่านได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ ที่แวะไปเยี่ยมในบันทึกครูอ้อย

ครูอ้อยครับ,

Umeshism ก็คือสิ่งที่ผมพยายามจะสื่อในบันทึกนี้ครับ มันคือหลักการที่ว่า "ให้ลงแรงให้มากที่สุดกับสิ่งที่สำคัญที่สุด" โดยเหตุผลคือ ถ้าเราพยายามที่จะทำทุกอย่างให้ดีมากๆ จะกลายเป็นว่า สิ่งที่สำคัญกับเรามากที่สุด เราอาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร หลักการนี้เลยบอกว่า อะไรที่สำคัญน้อยกว่า ทำให้ดีเท่าที่พอจะผ่านไปก็พอแล้ว ... เช่นที่เขาเปรียบกับการขึ้นเครื่องบินไงครับ เจ้าของหลักการเขามองว่า หากเราให้ความสำคัญกับการพยายามขึ้นเครื่องบินให้ทัน 100% เราก็จะเสียเวลาไปมาก ตรงกันข้าม หากเราพยายามไปขึ้นให้ทันแค่ 95% (ไปก่อนครึ่งชั่วโมง) เราก็จะเอาเวลาที่เหลือไปทำอะไรอย่างอื่นที่สำคัญกว่าได้ครับ

แต่ผมไม่ได้ใช้ชีวิตตามหลักนี้หรอกนะครับ ....(ผมเกือบตกเครื่องบินหลายครั้งแล้ว แต่เป็นเพราะนิสัยส่วนตัวมากกว่า .... ผมชอบไปสาย)

ส่วนเรื่องเรียนพิเศษ ....

สมัยผมเด็กๆ ผมเรียนพิเศษเยอะมากเลยครับ ถูกแม่บังคับให้ไปเรียน ...

แต่ตอนนี้ผมกลับเห็นด้วยกับหลักการของ "ค้นคว้าด้วยตนเอง" นะครับ ผมรู้สึกว่า เราเข้าใจเนื้อหามากที่สุดคือตอนที่นั่งคิด นั่งทำความเข้าใจด้วยตนเองนี่แหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท