รวมพลคน วปอ. จังหวัดพิจิตร


พูดคุยแบบไม่มีพิธีรีตองจะได้ความคิดอะไรใหม่ๆออกมามาก

"รวมพล คน วปอ. จังหวัดพิจิตร" เกิดขึ้นจากการพูดคุยกันในวงเล็กเล็ก ของทีมงานมูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร และครูปราชญ์ชาวบ้าน เห็นว่า "การประชุมเป็นเรื่องน่าเบื่อ!!! " พูดคุยอะไรก็มีแต่กรอบ, ประเด็น, วาระ ซึ่งอาจเป็นเพราะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการประชุมก็ได้ (อันนี้ว่ากันไม่ได้)  ส่วนใหญ่มีแต่เวทีประชุมลักษณะเช่นนี้ หาได้ยากที่จะมีเวทีแบบสบายสบาย ไม่มีพิธีรีตอง การพูดคุยตามอารมณ์ ความรู้สึก ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมากมาย ไม่มีวิทยากรกระบวนการ ไม่มีคนเตรียม งาน เอกสาร สถานที่ ไม่มีงานวิชาการ เข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง แต่เป็นวิธีการโดยธรรมชาติ  จะได้ความคิดอะไรใหม่ๆออกมามากกว่า การประชุมที่เป็นทางการ ดังนั้น งานรวมพลคน วปอ.จึงเกิดขึ้น ในวันที่ 17 มีนาคม 2549 ด้วยการระดมทุนคนละ 100 บาท จากบรรดานักเรียน วปอ. ทั้ง 12 รุ่น และภาคีเครือข่ายเกษตรปลอดสารพิษ ร่วมกันจัดงาน บรรยากาศ ร่วมรับประทานอาหารบนโต๊ะจีน 60 โต๊ะ มีวงดนตรี "ลำพอง พรรณา มิวสิค" ขับกล่อม ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นโชว์น้ำเสียง  มีการแจกของรางวัลทางการเกษตร เช่น ข้าวสารโรงสีทับคล้อ โรงสีเนินปอ  ปุ๋ยหมักชีวภาพลุงสืบ กิ่งมะปรางพันธุ์ไข่ไก่ลุงแม้น ฯลฯ นอกจากนี้แล้วยังมีการทอดผ้าป่า ตั้งศาลพระภูมิ  ผลที่ได้ออกมา ทุกคนรู้สึกประทับใจ ได้พบครู ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อนพ้องน้องพี่ พูดคุยกัน รอยยิ้มที่เปื้อนบนใบหน้า ก็พอจะเป็นข้อยืนยันได้เช่นกัน  แม้มีปัญหาในการดำเนินงานของทีมงานบ้าง (ทุกคนเต็มที่แล้ว) แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ใช่สาระสำคัญอะไรของงาน ซึ่งก็เข้าใจ และเรียนรู้ ต่อไปก็จะปรับปรุงให้ดีขึ้น

***หมายเหตุ  สิ่งที่คาดว่าจะไม่ได้เตรียมอะไรมากมายนั้น ทั้งประสานงาน เตรียมสถานที่ จัดทำเอกสาร ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม เรียกได้ว่างานนี้ทีมงานเหนื่อยชะมัดเลย เหนื่อยกว่าการประชุมอย่างเป็นทางการเสียอีก ทำให้รู้เลยว่า งานที่ชาวบ้านจัดกันในหมู่บ้านที่เป็นวิถีชีวิตนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิดเลย สุดสุด!!!จริงๆ และแน่นอนว่า การทำงานไม่ว่าจะเป็นระบบ รูปแบบ วิธีการ ใดก็ตาม ล้วนแต่ผ่านหยาดเหงื่อแรงงานอันเหนื่อยล้ากันทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า จะเจออะไร ยังไง เท่านั้นเอง ใช่ไหมครับ

 

สาระสำคัญบางส่วนของงาน

ความคาดหวัง
                -   นักเรียน วปอ.  +  ภาคีเครือข่ายได้พูดคุยแลกเปลี่ยน  สังสรรค์ถามสารทุกข์สุขดิบ   การทำเกษตรปลอดสาร
               -  ร่วมวางแผนการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมาย
               เจ้าหน้าที่              100   คน
               นักเรียนวปอ.         400   คน 
               ผู้ที่สนใจ                12   อำเภอ

ทบทวนสิ่งที่ดำเนินการแล้ว
      - สิ่งที่ปรับปรุง คือ การโละมะนาวออกบางส่วน โละไผ่เป็นที่นา และปลูกต้นไม้ตามขอบสระ  
      - ต่อเติมครัว/ ที่นั่งประชุม


สภาพปัญหา     
      -   ไม่มีคนทำงานเฝ้าสถานที่ ประจำอยู่  ไฟฟ้า น้ำประปา ไม่อำนวย 
      -   ขาดงบประมาณการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง


งบประมาณ      มูลนิธิฯ สำรองได้จากการระดมหุ้น (บางส่วน)


สิ่งที่คิดจะทำต่อ
1. สร้างอาคารใหม่เอาให้เป็นที่ประชุม/ ที่พัก          
2. โรงปุ๋ย
3. โรงเพาะชำ
4. ปลูกไม้ยืนต้น
5. ทำการสาธิต  (เลี้ยงปลา   ทำให้ครบถ้วนทุกวิธี)

ข้อเสนอแนะ
                            1. รวมหลักสูตรวปอ.   เอาไว้ที่นี้ (ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ)
                            2.  logo เกษตรปลอดสารติดผลิตภัณฑ์
                            3. นำไฟฟ้าเข้าสวน 
                            4. มีการปฎิบัติเพื่อได้พัฒนาต่อไป

     
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20444เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2006 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
วิรัตน์ คำศรีจันทร์

แข็งขันจริงๆ ฝากคารวะพี่สุรเดช และหมู่มิตรประชาคมพิจิตร ทุกท่านด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท