สกัดขุมความรู้...สู่โครงงานหน้าเดียว


โครงงานคณิตฯหน้าเดียว

                   จากการสังเกตการณ์จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านมาในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จะพบว่าครูผู้สอนมักใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดที่ไม่หลากหลายให้กับนักเรียน  โดยส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นการใช้ทักษะการคิดแบบง่าย  เช่น  ใช้ทักษะการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิด  ทักษะการคิดคำนวณจาการทำแบบฝึกหัดเสียเป็นส่วนใหญ่  ส่งผลนักเรียนมักจะคิดตามกรอบเนื้อหาวิชา  โดยเลียนแบบบ้าง  ทำตามตัวอย่างที่ครูสอนบ้างหรือตัวอย่างในแบบเรียนบ้าง  ดังนั้นจึงส่งผลให้นักเรียนในภาพรวมส่วนใหญ่มีความรู้แบบไม่ฝังลึกและไม่เกิดรูปแบบการคิดที่หลากหลาย 

                ดังนั้นข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอนได้พบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น  ซึ่งตัวครูผู้สอนนี่แหละที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหา  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงศึกษา  ค้นคว้า  และค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการคิดที่หลากหลายให้เกิดกับนักเรียน  ซึ่งกิจกรรมหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้ทดลองนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคือ  กิจกรรมการสกัดขุมความรู้...สู่โครงงานหน้าเดียว  กับเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  ความน่าจะเป็น  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เริ่มจากการจัดการเรียนการสอนตามปกติ  (สะสมความรู้)  ครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันโดยใช้คำถามซักถามเกี่ยวกับเรื่องความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของนักเรียน  แล้วนำเสนอความรู้ใหม่เกี่ยวกับ  แซมเปิลสเปซ , เหตุการณ์  และความน่าจะเป็นให้นักเรียนรับทราบ  โดยใช้คำถามโต้ตอบกับนักเรียนตลอดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ครูฝึกฝนทักษะการคิดคำนวณจากแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับ  แซมเปิลสเปซ , เหตุการณ์  และความน่าจะเป็น 

 (สกัดขุมความรู้)  ครูและนักเรียนร่วมทำกิจกรรม สกัดขุมความรู้...สู่โครงงานหน้าเดียว  โดยให้นักเรียนแต่ละคนสกัดความรู้ที่ได้เรียนผ่านมา  โดยทำตามขั้นตอนของโครงงานหน้าเดียว ที่ประกอบด้วย

-          ชื่อเรื่อง (ที่เร้าใจ/น่าสนใจ)

-          ที่มา/ความเป็นมา

-          วัตถุประสงค์

-          เนื้อหาคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

-          วิธีการดำเนินงาน/ขั้นตอนการดำเนินงาน

-          ประโยชน์ที่ได้รับ

แล้ววางแผน/ออกแบบการดำเนินงานตามหัวข้อของโครงงานหน้าเดียว(Mini Project)  พร้อมตกแต่งให้สวยงามตามความคิดสร้างสรรค์  หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละคนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน 

(ตีแผ่ความรู้)โดยนำเสนอผลงานของตนเองหน้าชั้นเรียน  คนละ 3-5 นาที  พร้อมประเมินผลงานของเพื่อน  สำหรับนักเรียนที่ได้รับข้อเสนอแนะจากเพื่อนหรือครูก็ให้ปรับปรุง/แก้ไขผลงานก่อนจัดส่งครู    หลังจากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันติดผลงานของนักเรียนทุกคนไว้ที่บอร์ดหลังห้องของแต่ละห้องเรียนเพื่อเผยแพร่ผลงานของนักเรียนและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในแต่ละห้องจากการทำกิจกรรมสกัดขุมความรู้...สู่โครงงานหน้าเดียว  ครูผู้สอนได้เฝ้าสังเกตุพฤติกรรมของนักเรียน  พบว่า  นักเรียนรู้จักการลำดับความคิดที่เป็นขั้นตอน  ,  นักเรียนได้รับแก่นความรู้ที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลงานซึ่งกันและกัน ,  นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และที่สำคัญพบว่านักเรียนมีความสุขและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมอย่างมาก  จากกิจกรรมดังกล่าวครูผู้สอนได้พบปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความสำเร็จในครั้งนี้ก็คือ  รูปแบบการจัดกิจกรรมสกัดความรู้...สู่โครงงานหน้าเดียว  และบทเรียนที่ได้รับจากการจัดกิจกรรมนี้  คือนักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองได้อย่างดียิ่ง  ถ้าครูมีรูปแบบกิจกรรมหรือเทคนิควิธีการสอนที่ดี  และนักเรียนทุกคนสามารถสร้างรูปแบบการคิดของตนเองได้  ถ้าได้รับคำแนะนำที่ถูกวิธี

หมายเลขบันทึก: 204325เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2008 12:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • งานของอาจารย์  เป็นแนวการคิด ที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการคิด ภายใต้กระบวนการทำงานเป็นทีม  พร้อมทั้งเกิดคุณลักษณะนิสัยอันพึงประสงค์ให้กับนักเรียนด้วย

น่าชื่นชม  จริงๆค่ะ

ครูอ้อยเป็นกำลังใจให้นะคะ 

ขอพระคุณครูอ้อย แซ่เฮ มากครับ เป็นกำลังใจที่ดีสำหรับคนมือใหม่อย่างผม และจะขอเรียนรู้จากครูอ้อยเช่นกันครับ

กิจกรรมของคุณครูเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์และน่าสนใจเป็นอย่างมาก นักเรียนได้ร่วมกิจกรรมและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและเกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลายขอชมเชยคุณครูผู้มีความพยายามในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ตบมือให้ด้วยความจริงใจ....

ขอไปปรับใช้กับการสอนบ้างนะคะอาจารย์

เห็นด้วยกับแนวการสอนนี้เป็นอย่างยิ่งค่ะ เนื่องจากจบสาขาวิชาฟิสิกส์ หลาย ๆ ครั้งเนื้อหาที่ทำการสอนไปแล้ว นักเรียนกลับมาถามว่า แล้วเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไรล่ะครู ถ้าลดจะล้มนำมาคำนวณอย่างนี้หรือเปล่า ก็ไม่นี่

ทำให้เด็กขาดความสนใจในสิ่งที่เรียน คงต้องสอดแทรกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างงี้แหละค่ะ นักเรียนจึงจะเห้นความสำคัญของสิ่งที่เรียน

เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ครูแนน

อาจารย์มีความพยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน นับว่าเป็นครูมืออาชีพ ที่มิได้ละเลยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

เยี่ยมจริง ๆ ครับ ครูคำนวณ

กิจกรรมน่าสนใจดีค่ะ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องที่ง่าย

นักเรียนต้องชอบแน่ๆเลย ต้องลองบ้างละ

สุดยอดเลยครับ ขออนุญาตนำไปปรับใช้ด้วยนะครับ

สุดยอดเลยครับ ขออนุญาตนำไปปรับใช้ด้วยนะครับ

ได้เลยครับผม ลองทำดูน่ะครับแล้วจะพบว่า นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน และได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ จากนักเรียนที่หลากหลายความคิดครับ

เป็นแบบสรุปที่ง่ายต่อผู้เรียน

องค์ความรู้สร้างได้ด้วยตน ความคงทนมีสูง

ผู้เรียน และผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

เยี่ยมครับ

ขอขอบคุณครูเก่าที่ให้กำลังใจ และส่งเสริมให้ครูคำนวณมีวันนี้...ผมมีบล็อกที่จะแชร์ความรู้ (ลปรร.) กับทุกๆท่าน ขอคุณจากใจจริงครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท