มุ่ยฮวง
นาง ศันสนีย์ เกษตรสินสมบัติ

ส่งเสริมการเกษตรอย่างไรให้ยั่งยืน


การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรให้เกษตรกรนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อสามารถผลิตพืชผลที่มีคุณภาพควบคู่กับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน

วันนี้ผู้เขียนมีเรื่องเล่าดีๆ เกี่ยวกับงานส่งเสริมการเกษตรมาฝากค่ะ  เรื่องก็มีอยู่ว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผู้เขียนได้ไปประชุมในพื้นที่ตำบลหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แล้วก็ได้พบกับวิธีการส่งเสริมการเกษตรของ นายชัยณรงค์  หงษ์ทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว รับผิดชอบงานส่งเสริมการเกษตรในตำบลหนองตาแต้ม ซึ่งร่วมกับ อบต. ในการส่งเสริมการผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้เพื่อการส่งออกโดยมีวิธีการที่น่าสนใจดังนี้ค่ะ

นายชัยณรงค์  หงษ์ทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว

1. แจ้งให้เกษตรกรทุกรายในตำบลหนองตาแต้ม มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการส่งเสริมการเกษตร

2. ประสานงานกับ อบต.ในการสนับสนุนงบประมาณ และประสานงานกับนักวิชาการจากสำนักงานเกษตรจังหวัด ในด้านวิชาการเทคโนโลยีการผลิต และเริ่มส่งเสริมอย่างจริงจัง โดยกำหนดให้ ปี 2550-2551 เป็นปีแห่งการรณรงค์การป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ ของตำบลหนองตาแต้ม

นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร

3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดแมลงวันผลไม้ ให้แก่เกษตรกรและนักเรียนในพื้นที่ พร้อมทั้งแจกวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ สารเมทธิล ยูจินอล  (สารล่อแมลงวันตัวผู้) เพื่อนำทดลองใช้จริงในสวน

สารเมทธิลยูจินอลและอุปกรณ์ดักแมลงวันผลไม้

4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้ถุงห่อผลมะม่วง เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลง และทำให้ผิวของผลมะม่วงนวลสวย ตามความต้องการของตลาด

การใช้ถุงห่อผลมะม่วง

5. เมื่อจัดอบรมไป ทั้ง 2 ครั้งแล้วให้เกษตรกรนำวัสดุอุปกรณ์ไปทดลองใช้ในสวน จนเกษตรกรเห็นผลและมีความต้องการใช้อย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นได้จัดเตรียมวัสดุต่างๆ สำหรับบริการเกษตรกรในพื้นที่ ดังนี้

  • ผู้ที่จะได้รับบริการต้องเป็นผู้ที่มาขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประตำตำบล ไว้แล้วเท่านั้น
  • กรณีที่ต้องการสารเมทธิลยูจินอล เกษตรกรต้องนำแมลงวันผลไม้ที่ได้จากการดักล่อมาแลก

แมลงวันผลไม้ที่เกษตรกรนำมาแลกกับสารเมทธิลยูจินอล

  • กรณีที่ต้องการถุงห่อผล ศูนย์ฯ ตั้งราคาไว้ใบละ 2 บาท โดยในครั้งแรกที่เกษตรกรมาขอรับถุง ยังไม่ต้องจ่ายเงิน จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในปีแรกจึงจ่ายเงิน 1 บาท/ใบ และในปีที่ 2 จ่ายอีก 1 บาท/ใบ โดยศูนย์ฯ จะนำเงินที่ได้ไปจัดซื้อถุงห่อผล เพื่อไว้บริการเกษตรกรต่อไปอีก

เกษตรกรมาขอรับถุงห่อผลมะม่วงที่ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

จากการทำงานดังกล่าว เห็นได้ว่า พี่ชัยณรงค์ มีการทำงานที่เป็นระบบ เริ่มตั้งแต่การจัดทำทะเบียนเกษตรกรเพื่อเป็นฐานข้อมูลประกอบการทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล และมีการให้บริการแก่เกษตรกรที่มาขึ้นทะเบียนเท่านั้น ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ต้องมาขึ้นทะเบียนกับศูนย์ฯ ส่วนวิธีการสำคัญก็คือการฝึกให้เกษตรกรเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และ ต้องนำผลงานมาแลกกับวัสดุอุปกรณ์ในกรณีที่นำแมลงวันผลไม้มาแลกสารเมทธิลยูจินอล หรือการนำถุงห่อไปใช้ก่อนแล้วทยอยจ่ายเงินค่าถุงเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เกิดกองทุนหมุนเวียนที่จะช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องของบประมาณเพิ่มอีก

อบต.หนองตาแต้มสนับสนุนสารเมทธิลยูจินอลแก่ศูนย์บริการฯ เพื่อบริการแก่เกษตรกร

และนี่ก็คืออีกวิธีการส่งเสริมการเกษตรที่ดี ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่ายังมีเจ้าหน้าที่อีกมากที่มีวิธีการดีๆ โดยอาจจะแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเดียวกันคือการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรให้เกษตรกรนำความรู้ไปปฏิบัติเพื่อสามารถผลิตพืชผลที่มีคุณภาพควบคู่กับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 204199เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2008 14:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

แวะมาอ่าน....ที่เพชรบุรี ไม่เห็นมีอย่างนี้เลยพี่.....ขอบคุณครับ

ไม่เห็นมีอะไรเลยป้า

  • สวัสดีครับ
  • แวะมาทักทายครับ
  • เยียมมากเลยครับกรณีของพี่ชัยณรงค์  หงษ์ทอง
  • เป็นแนวทางการทำงานส่งเสริมให้กับพื้นที่อื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ได้
  • ขอบคุณมากครับ

P  ขอบคุณ คุณประจักษ์ค่ะที่แวะมาเยี่ยมและเป็นกำลังใจ

P  สวัสดีค่ะ  ที่เพชรบุรีคงจะมีเจ้าหน้าที่ที่มีวิธีการดีๆ ในการส่งเสริมเกษตรกรอีกมาก แต่อาจจะแตกต่างจากประจวบฯ เท่านั้นเอง

ไม่มีรูป  ลูกป้าฮวงนี่ท่าทางจะดื้อนะ  ( ลูกชายที่บ้านเองค่ะ ดื้อมาก...)

P  สวัสดีค่ะ ยินดีที่เป็นส่วนหนึ่งในการ ลปรร. ค่ะ

แวะมาชมบล็อกหนูบ้างนะพี่ฮวง..

แล้วเมื่อไหร่เจ้าหน้าที่ของเราที่เก่งๆจะมีขวัญกำลังใจในการทำงานดีขึ้นล่ะ..

อ่านบันทึกของพี่มุ่ยฮวงทีไร ได้ความรู้เพียบ กึ่งๆ อิจฉาตาร้อนนิดๆๆ ด้วยค่ะ...อิอิ

P  สวัสดีจ๊ะ ดีใจจังพี่จะแวะเข้าไปเยี่ยมบล็อกนะ

P  สวัสดีจ๊ะ เงียบไปนานเหมือนกันนะ

พี่ชัยณรงค์  หงษ์ทอง เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการประสานงานกับ อปท. ซึ่งเป็นแหล่งเงินงบประมาณในพื้นที่ครับ

ขอบคุณครับ

P  สวัสดีค่ะคุณพิทักษ์  เห็นด้วยค่ะกับตัวอย่างที่ดีในการประสานงานกับ อปท.

เข้ามาติดตามอ่านหลายครั้งแล้วจ้า...พี่ฮวง

มีแต่เรื่องดีๆ มีประโยชน์ทั้งนั้นเยย.....

ชอบๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

  • สวัสดีค่ะ น้องมีน และคนโรงงาน
  • ขอบคุณค่ะ

ให้ความรู้ดี

เป็นวิธีการส่งเสริมการเกษตรที่ดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท