พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กับการลงทุน


พรบ.คุ้มครองเงินฝาก

วันที่ 11 สิงหาคม นี้เป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก 2551 มีผลบังคับใช้... พระราชบัญญัติฉบับนี้จะมีผลต่อการลงทุนในหุ้นอย่างไร... ร่วมแลกเปลี่ยนกันนะค่ะ...

หมายเลขบันทึก: 203793เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2008 12:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (81)

จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมาใช้คืนให้กับผู้ฝาก

สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง

โครงสร้างเงินฝากจะเปลี่ยนไป การแข่งขันเพื่อหาเงินฝากจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะแบงค์ขนาดเล็กที่มีความมั่นคงต่ำกว่าแบงค์ขนาดใหญ่จะต้องหาวิธีการ เช่น เสนอดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หรือหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อดึงเงินฝาก นอกจากนี้ แบงค์จะต้องบริหารงานให้ดีขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่สาธารณชน เพื่อดึงดูดให้ประชาชนนำเงินมาฝากที่แบงค์

พฤติกรรมการออมจะเปลี่ยนไป หากประชาชนรับรู้ว่า เงินฝากไม่ใช่การลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงอีกต่อไป โดยเฉพาะเงินฝากในส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อการฝากเงินมีความเสี่ยง และยังให้ดอกเบี้ยในระดับต่ำอยู่ ผู้ฝากจึงต้องสรรหาแหล่งการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ ประกันชีวิต กองทุนรวม ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนั้น อาชีพการให้คำปรึกษาด้านการเงินส่วนบุคคล (financial planner) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจาก การฝากเงินจะเป็นเพียงรุปแบบการลงทุนแบบหนึ่งซึ่งต้องมีการวางแผน ไม่ใช่ฝากเงินไว้แล้วก้อมั่นใจนอนกินดอกเบี้ยไปได้ตลอดอีกต่อไป

และดิฉันคิดว่า จะส่งผลดีต่อการลงทุนในหุ้นก็คือ ประชาชนที่ฝากเงินรายปานกลางขึ้นไป ก็จะนำเงินไปลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น การลงทุนในหุ้น ประกันชีวิต เพื่อลดความเสี่ยง

นาย ณัฐวุฒิ พัวพันธ์งาม

ผมคิดว่า 5 แบงก์ใหญ่จะมีต้นทุนเงินฝากที่ต่ำกว่าแบงก์ที่เหลือ เมื่อกฎหมายคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ควบคู่ไปกับกฎเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงตามมาตรฐานใหม่ (Basel II) และเกณฑ์การบันทึกบัญชีตามมาตรฐานใหม่ (IAS 39) จะทำให้แบงก์ขนาดเล็กขยายธุรกิจได้ยาก เพราะข้อจำกัดในเรื่องการหาเงินฝากและต้นทุนเงินฝากที่สูงกว่า ประกอบกับความสามารถในการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าชั้นดีที่อัตราดอกเบี้ยที่แข่งขันได้มีจำกัด ทำให้ไม่สามารถขยายธุรกิจสินเชื่อ (ที่มีความเสี่ยงต่ำ) ได้ดีเท่ากับแบงก์ขนาดใหญ่ จึงน่าที่ 5 แบงก์ใหญ่จะขยายส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอีก และน่าจะเกิดการควบรวมกิจการระหว่างสถาบันการเงินขนาดเล็กกันเอง หรือกับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ทั้งของไทยและของต่างประเทศ สถาบันการเงินที่ต้องปรับตัวมากที่สุดเพื่อให้ยืนหยัดกับการแข่งขันได้ จะเป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กที่เหลือ บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คงต้องหาพันธมิตรหรือStrategic Partners มาช่วยกันสร้างความแข็งแกร่งของเงินกองทุนและขยายฐานเงินฝาก ส่วนธนาคารของรัฐนั้นคงไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากรัฐบาลเป็นประกันตามกฎหมายอยู่แล้ว

สถาบันการเงินนอกจาก 5 แห่ง ดังกล่าว จะต้องเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างและขยายฐานเงินฝากที่มั่นคง เช่น การเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจขึ้น การออกผลิตภัณฑ์เงินฝากในรูปแบบใหม่ๆ ที่จูงใจผู้ออมเงินมากขึ้น อาทิเช่น บัญชีเงินฝากที่ควบคู่กับการประกันสุขภาพ หรือผลิตภัณฑ์ที่ใกล้เคียงกับเงินฝาก เช่น Money Market Fund หรือเงินฝากที่มีการค้ำประกันเงินต้นแต่อัตราดอกเบี้ยอิงกับผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์

ผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน ผู้ฝากเงินที่เป็นลักษณะผู้ลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนบำเน็ญบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวมเพื่อการกเษียณอายุ (RMF) กองทุนรวมโดยทั่วไป ซึ่งมีเงินภายใต้การบริหารการจัดการมากกว่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งฝากเงิน

บางส่วนไว้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นการลงทุนและเก็บสภาพคล่องตามระเบียบข้อบังคับและนโยบายของกองทุน นอกจากนั้นยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ มูลนิธิและองค์กรการกุศล ซึ่งมีเงินรวมกันไม่ต่ำกว่า 4 แสนล้านบาท องค์กรเหล่านี้ จะเพิ่มความระมัดระวังและให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยถือว่าเงินฝากเป็นทรัพย์สินเพื่อการลงทุน (Asset Class) ประเภทหนึ่ง ซึ่งต้องลงทุนโดยคำนึงถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงอย่างจริงจังควบคู่ไปกับ Asset Class ประเภทอื่นๆ ผมคิดว่าแบงก์ขนาดเล็กและยังไม่มีฐานผู้ฝากเงินที่มั่นคงพอ จะต้องหันมาพึ่งลูกค้าเงินฝากสถาบันเหล่านี้มากขึ้น โดยระดมเงินฝากในรูปการออกตั๋วเงินฝาก (B/E) หรือตราสารหนี้ในลักษณะที่คล้ายCommercial Paper มากขึ้น

ส่วนผู้ฝากเงินรายย่อยหรือผู้ฝากเงินนิติบุคคลที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท อาจจะมีความกังวลหรือไม่กล้าฝากเงินส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท กับสถาบันการเงินเพียงแห่งเดียว และกระจายไปฝากยังสถาบันการเงินอื่นๆ ซึ่งผมคิดว่ามีความเป็นไปได้ที่สถาบันการเงินขนาดใหญ่ 5 แห่ง จะได้เงินฝากในส่วนนี้มากกว่าสถาบันการเงินอื่นๆ ที่เหลือ (ด้วยเหตุผลที่ผมไม่สามารถกล่าวในที่นี้ได้)

แต่โดยทั่วไปแล้วผมคิดว่าทั้งผู้ฝากเงินรายย่อยและผู้ฝากเงินสถาบันจะไม่ค่อยกล้าฝากเงินแบบประจำระยะยาว แต่จะหันไปฝากเงินแบบประจำระยะสั้นๆ เช่น 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน เพราะผู้ฝากจะมีการประเมินสถาบันการเงินที่ตนเองฝากบ่อยครั้งขึ้น และอาจมีการเปลี่ยนไปฝากกับสถาบันการเงินอื่นถี่ขึ้น

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการปรับตัวของสถาบันการเงินในอีก 3 — 4 ปี ข้างหน้า (ซึ่งกฏหมายคุ้มครองเงินฝากจะทยอยลดการคุ้มครองลงเหลือ 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป) ว่าจะปรับกลยุทธ์การแข่งขันได้ดีแค่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบงก์ขนาดเล็ก แบงก์ที่เป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ ที่เกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานที่ต้องปรับปรุง แบงก์ใหม่ บริษัทเงินทุนและเครดิตฟองซิเอร์ ซึ่งหากปรับตัวรองรับกฎหมายและกฎเกณฑ์ใหม่ได้ดี ซึ่งผมเชื่อว่าคงมีอยู่จำนวนหนึ่งซึ่งทำได้ ก็จะสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ แต่สถาบันการเงินเหล่านี้ต้องเริ่มปรับตัวอย่างจริงจังตั้งแต่เดี๋ยวนี้ เพื่อรักษาฐานเงินฝากให้มั่นคง

ในความคิดเห็นของผมการที่รัฐบาลออกพรบ.นี้ขึ้นมาจะทำให้มีการฝากเงินที่ลดน้อยลงโดยเฉพาะนักเก็งกำไรเนื่องจากนักเก็งกำไรนั้นจำเป็นอย่างมากในการฝากเงินเพื่อที่จะเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จะต้องมีเงินฝากที่มากพอสมควรเมื่อรัฐบาลออกพรบ.อย่างนี้ออกมาจะทำให้นักเก็งกำไรรายใหญ่ร่วมถึงรายย่อยไม่กล้าที่จะมีเงินในบัญชีมากจนเกินไป

ชัชพงษ์ วิทยประสพชัย

การบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะทำให้ประชาชนที่มีเงินออมจำนวนมาก ต้องบริหารเงินออม โดยรูปแบบอาจกระจายการออมเงินไปยังธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง หรือกระจายการออมเงินสู่การลงทุนอื่นๆ เพื่อการออมทรัพย์ ส่งผลให้การออมในรูปแบบของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือพันธบัตร ทั้งในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดตราสารหนี้ หรือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลได้รับความสนใจจากประชาชนมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่จะช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดทุนอีกด้วย

พ.ร.บ.ดังกล่าว ยังได้กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพื่อให้ความคุ้มครองเงินฝาก โดยจะมีรายได้จากการเรียกเก็บเบี้ยประกันเงินฝากจากสถาบันการเงิน ที่นำเงินฝากที่ได้จากผู้ฝากเงินมาทำประกันคุ้มครองเงินฝากอีกทอดนั้น

ซึ่งในระยะแรกนั้นสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเรียกเก็บประกันเงินจากสถาบันการเงินเท่ากัน ทุกแห่ง ในอัตรา 0.40 เปอร์เซ็นของเงินฝาก เริ่มตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2556 เป็นต้นไป การเก็บเบี้ยประกันเงินฝากของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะเรียกเก็บเบี้ยประกันจากสถาบันการเงินไม่เท่ากัน โดยใช้เกณฑ์เรื่องของฐานะการเงินและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน มาเป็นตัววัดในการเรียกเก็บเบี้ยประกัน

ทั้งนี้ จากแนวคิดการเรียกเก็บเบี้ยประกันดังกล่าว ทำให้สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้สถาบันการเงินเสียเบี้ยประกันเงินฝากกับสถาบันคุ้มครองเงินฝากในอัตราที่ต่ำ เพื่อหวังให้ต้นทุนในการดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ต่ำลงด้วย ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กที่มีการบริหารการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ต้องควบรวมกิจการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและเพิ่มอำนาจการแข่งขันในกลุ่มสถาบันการเงิน รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนผู้ฝากเงิน

โดยความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้วพ.ร.บ.ฉบับนี้มีข้อดี 2 ด้านคือ ช่วยให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดและพัฒนาความเข้มแข็งของธนาคารพาณิชย์มากขึ้น จากเดิมที่ประชาชนไม่เคยมีส่วนร่วมเลย เพราะ พ.ร.บ.นี้ สถาบันการเงินใดไม่เข้มแข็ง ประชาชนก็ไม่เลือกฝาก และ พ.ร.บ.นี้ยังช่วยให้ ประชาชนมีการพัฒนาระบบการเงินการหาผลตอบแทนมากขึ้นเพิ่มเติมจากการฝากเงินอย่างเดียว.

นางสาวรัดเกล้า ปัญจมานนท์

การค้ำประกันเงินฝาก" ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 ส.ค.นี้ เพราะจากนี้ไปการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินอาจมีคำเตือนว่า "การฝากเงิน มีความเสี่ยง" เหมือน "การลงทุน มีความเสี่ยง" เนื่องจากภายใต้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากสถาบันการเงินถูกสั่งปิดกิจการ ผู้ฝากจะได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ฝากไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ เป็นการจำกัดวงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จากปัจจุบันที่

คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน จะทยอยลดลงจนเหลือวงเงินคุ้มครองเงินฝากเพียง 1 ล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่ในปีที่สองจะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 100 ล้านบาท ในปีที่สามจะคุ้มครองเงินฝากในจำนวน 50 ล้านบาท ในปีที่สี่จะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท โดยวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองจะได้รับคืนทันทีหรือภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิด แต่ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้าคิดว่าพรบ. เงินฝากนี้ทำให้เกิดผลดีต่อการลงทุน เพราะจะมีการนำเงินไปใช้ในการลงทุนมากขึ้น (เปรียบการลงทุนเสมือนการออมเงินหรือการฝากเงิน) ทำให้เกิดการขยายตัวในการลงทุน รวมถึงทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอีกด้วย

นางสาวจุฑารัตน์ นาถ้ำพลอย

การฝากเงินกับสถาบันการเงินเป็นประโยชน์ ในการออมเงินของผู้ฝากในอนาคต เพื่อลดภาวะการคลัง รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากในสถาบันเต็มที่ สมควรนำระบบการคุ้มครองเงินฝากมาใช้ในกลไกการฝากเงิน เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงของระบบเงินฝากให้แก่ลูกค้า

นางสาวณัฐพร เอี่ยมหรุ่น

พรบ.คุ้มครองเงินฝาก2551 มีผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้นอย่างไร

อันดับแรกเลยนะค่ะ. ขออธิบายว่าทำไมถึงต้องใช้พรบ.คุ้มครองเงินฝากฉบับนี้,เพราะการฝากเงินกับสถาบันการเงิน เป็นประโยชน์ในการออมเงินของผู้ฝากในอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน  รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวน  ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐบาลมากเกินไป  ดังนั้นเพื่อลดภาระการคลัง จึงนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ค่ะ  ยกตัวอย่างเช่น คุณA มีเงิน 10 ล้านบาท ฝากแบงค์ไว้  หากพรบ.นี้บังคับใช้กฏหมายก็จะคุ้มครองเงินของคุณ A แค่ 1 ล้าน อีก 9 ล้านที่คุณ Aฝากไป คุณAต้องทำประกันภัยไว้เองต่างหาก  ซึ่งผู้รับทำประกันภัยก็คือแบงค์ที่ คุณAฝากนั้นแหละค่ะ (พูดง่ายๆก็คือเค้าคิดดอกเบี้ยเราส่วนที่ฝากเกิน 1 ล้าน)

ยกตัวอย่าง

กำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

...ปีแรก      คุ้มครองเต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี 

..ปีสอง       คุ้มครองรวม 100 ล้านบาท                 

...ปีสาม      คุ้มครองรวม 50 ล้านบาท                   

...ปีสี่          คุ้มครองรวม 10 ล้านบาท                   

...ปีห้าเป็นต้นไป    คุ้มครองรวม 1 ล้านบาท              

*****ในความคิดของดิฉันแล้ว,พรบ.คุ้มครองเงินฝาก2551 มีผลกระทบต่อการลงทุนในหุ้นอย่างแน่นอนค่ะ,เพราะพรบ.คุ้มครองเงินฝากทำให้ผู้ที่มีเงินออมมากๆอยากที่จะกระจายความเสี่ยง โดยการโยกย้ายเงินบางส่วนมาลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพราะ พรบ.ฉบับนี้จะทยอยลดการค้ำประกันเงินฝากสำหรับบัญชีที่มีเงินฝากจำนวนมาก จนกระทั่งปีที่ 5 จะค้ำประกันบัญชีเงินฝากทั้งจำนวนที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ต่อบัญชีต่อรายต่อธนาคาร ซึ่งทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินทั่วไปมีความสนใจและตื่นตัวในการจัดการด้านการเงินและการลงทุนมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องส่งผลดีต่อภาพรวมตลาดหุ้นไทยในอนาคตค่ะ*-*

ชนากานต์ คงจิตต์งาม

โดยส่วนตัวมีความเห็นว่า

พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง..

การคุ้มครองเงินฝากมีวัตถุประสงค์ดูแลเงินฝากของรายย่อยเป็นหลัก ในกรณีของคนรวย หรือภาคธุรกิจ เชื่อว่า ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจริง กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถเลือกสถาบันการเงินที่มั่นคงในการฝากเงินก้อนใหญ่ หรือบัญชีกระแสรายวันเพื่อหมุนเวียนในการทำธุรกิจได้

ความเสี่ยงที่สำคัญของการลงทุนในหุ้น คือความเสี่ยงจากราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้น-ลง ซึ่งอันนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก ที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลขาดทุนจากราคาหุ้นที่ลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถได้ผลตอบแทนหรือกำไรสูงมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะลงทุนในหุ้นต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีการศึกษาหาข้อมูลมาอย่างดี โดยอาจลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เน้น ลงทุนในหุ้นซึ่งมีเงื่อนไขของการลงทุนให้เลือกหลากหลายได้”

สำหรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งจัดให้อยู่ที่ยอดของพีระมิด แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน คือการลงทุนในตลาดล่วงหน้าเช่น สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า และตราสารอนุพันธ์ อันนี้ไม่ได้แนะนำให้กับผู้ฝากเงินหรือผู้ออมเงินปกติทั่วไป เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญสูง

นวลทิพย์ จิวสกุลแพทย์

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 กับการลงทุนในหุ้น

หลังจากที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.)  มีผลบังคับใช้วันที่ 11 ส.ค.นี้

สาระสำคัญ  : นพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้การคุ้มครองเงินต้นแก่ผู้ฝากเงินในจำนวนเท่ากันทุกธนาคาร ในช่วงเวลา 4 ปี ทั้งนี้ปีแรกจะรับประกันเงินฝากไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อคนในทุก ๆบัญชีรวมกัน ปีที่ 2 รับประกันเงินฝาก 25 ล้านบาท ต่อคนในทุก ๆบัญชี ปีที่ 3 รับประกันเงินฝาก 10 ล้านบาท ต่อคนในทุก ๆบัญชี และปีที่ 4 เป็นต้นไปรับประกันเงินฝาก 1 ล้านบาท ต่อคนในทุกๆบัญชี  ซึ่งเป็นการเปิดช่องรับมือหาก 4 ปีแรก เศรษฐกิจ-ระบบการเงินปั่นป่วน

ความคิดเห็น : ในระยะเวลา 5 ปีหลังมีการประกาศใช้พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก จะทำให้มีเงินฝากบางส่วนไหลเข้าตลาดทุนในลักษณะทยอยไหลเข้า ซึ่งจะทำให้ตลาดมีแรงซื้อมากขึ้น และอยากแนะนำให้นักลงทุน ลงทุนในหมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพราะ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มี Net Profit ที่สูงขึ้นจากปีก่อนและมีอนาคตที่ดีจากการขอส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

ซึ่งเงินฝากบางส่วนก็จะไหลเข้าอุตสาหกรรมกองทุนรวมและธุรกิจประกันชีวิต ประมาณ 50% จากปัจจุบันมีเงินฝากทั้งระบบ 6 ล้านล้านบาท

***   สำหรับนักลงทุนที่มีความกังวล สามารถตรวจสอบได้จากการดูราคาหุ้นของธนาคาร รวมถึงสังเกตพฤติกรรมการฝากเงินของรายใหญ่ หากมีความผิดปกติ

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ 2551

           การมี พรบ.คุ้มครองเงินฝากออกมา ก็เพื่อคุ้มครองเงินฝากของรายย่อย รายย่อยในที่นี้คือคนที่มีเงินฝากในทุกบัญชีของธนาคาร 1 แห่งไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงถึง 98% ของเงินฝากรวมทั้งระบบ เนื่องจากรายย่อยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ความถนัดในเรื่องของการลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนจากแหล่งอื่น เช่น ตลาดหุ้น ตลาดพันบัตร ตลาดตราสารหนี้ หรือหน่วยลงทุนต่าง ๆ นอกจากการฝากเงินเพื่อกินดอกเบี้ยเท่านั้น ผิดกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายกว่า เนื่องจากมีความได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตาม หากคนที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท และไม่อยากแตกบัญชีไปฝากไว้กับธนาคารหลายที่ คงต้องติดตามฐานะการเงินของธนาคารที่มีเงินฝากอยู่เป็นระยะ หากฐานะการเงินไม่น่าไว้วางใจ ก็ยังพอเวลาที่จะถอนเงินไปฝากธนาคารอื่นที่มั่งคงกว่าได้ เนื่องจากการสั่งปิดธนาคารแต่ละแห่งที่มีฐานะไม่มั่งคงนั้น ทางการจะต้องให้โอกาสธนาคารแห่งนั้นแก้ไขปัญหาของตัวเองไปก่อน หากแน่ใจว่าไม่ไหวจึงสั่งปิด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ที่จะทำให้ลูกค้าที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ไหวตัวได้ทัน

ความคิดเห็นกับการลุงทุน

         ข้าพเจ้าคิดว่า พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำให้ผู้ออมคำนึงถึงการบริหารเงินตนเองมากขึ้น และทำให้ตลาดรองตราสารหนี้ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่มีความมั่นคง แต่ผู้ลงทุนเองก็จะมีการกระจายการลงทุนไปยังผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆ เช่น กองทุนรวม ซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ฝากค่ะ

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

        พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

        โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

        เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

         ขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มทำความเข้าใจกับผู้ฝากเงินแล้วเพื่อเตรียมความพร้อมถ้าหากจะมองในแง่ดีคือต่อไปประชาชนผู้ฝากเงินจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะบริหารจัดการเงินให้มีประเสิทธิภาพ แต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอาจจะทำให้ประชาชนมีความสับสนบ้างแต่ก็เป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมาใช้คืนให้กับผู้ฝาก

          ข้าพเจ้าคิดว่า การมีพ.รบ.ฉบับนี้ขึ้น จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายเงินทุนรายย่อย ไปอยู่กับการลงทุนอื่นๆมากขึ้นแทนที่การออมทรัพย์ เนื่องจากความสับสนรวมถึงการไม่มีความรู้เรื่องผลกระทบต่างๆ รวมถึงยังไม่มีความรู้เรื่อง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งพ.ร.บ.นี้จะไม่ค่อยมีผลกระทบต่อผู้ออมทรัพย์รายย่อย

พรบ. คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน” 2551

     สำหรับทุกบัญชีที่ผู้ฝากเงินมีต่อสถาบันการเงินที่กำลังจะถูกควบคุมและเพิกถอนใบอนุญาต  ดังนี้ .-

ปี1                 คุ้มครองเต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี 

ปี2                 คุ้มครองรวม   100   ล้านบาท                 

ปี3                 คุ้มครองรวม    50    ล้านบาท                   

ปี4                 คุ้มครองรวม    10    ล้านบาท                   

ปีห้าเป็นต้นไป   คุ้มครองรวม     1    ล้านบาท                    

     การกำหนดสัดส่วนความคุ้มครองเงินฝากที่จริงใจและหวังผลเท่าเทียมกันแบบเสมอภาคถ้วนทั่ว  ควรกำหนดเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์จากยอดเงินฝากในบัญชีเงินฝากไปเลย  รวยมาก รวยน้อย โดนหมดเท่าเทียมกัน ... เช่น

ปี 1    คุ้มครอง       100%   เต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี
ปี 2    คุ้มครองรวม   85 %   ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี 
ปี 3    คุ้มครองรวม   60 %   ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี 
ปี 4    คุ้มครองรวม   45 %   ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

ข้าพเจ้ามีความเห็นพรบ.มีผลกระทบต่อผู้ลงทุน เพราะ พรบ.คุ้มครองผู้ฝากรายย่อยเป็นส่วนใหญ่  ผู้ทีฝากเป็นจำนวนมากในอนาคตก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเงินคืน  ทำให้นักลงทุนและประชาชนทั่วไปอาจจะยอมเสี่ยงโดยหันมาลงทุนหุ้น กองทุนรวม พันธบัตร ซึ่งดูแล้วอาจมีความเสี่ยงน้อยกว่าก็ได้

จารุวัฒน์ รัตนภักดี (เจ้าชายไม่พูด)
วันที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้
1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี
พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน
โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงิน
สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร
หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

 

****สำหรับความคิดเห็นของผม  ผมคิดว่าพรบ.นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียในหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป   พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการที่มั่นคงกว่าเดิม ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง****

 

 

นางสาวนีรนุช สุ่มมาตย์

การคุ้มครองเงินฝาก

แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ กองทุนคุ้มครองเงินฝาก เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองและการจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงิน

ส่วนที่หนึ่ง กองทุนคุ้มครองเงินฝาก

ประกอบด้วย เงินที่สถาบันการเงินนำส่ง ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการชำระบัญชี ทั้งนี้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้อง นำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และเมื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนแล้วสถาบันการเงินจะไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป หากสถาบันการเงินใดไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเงินดังกล่าว และให้ถือว่าเงินที่ส่งเข้ากองทุนและเงินเพิ่มเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงิน

ส่วนที่สอง เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบด้วย

(1) เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่นำมาคำนวณยอดเงินฝากถัวเฉลี่ย และดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดจากเงินฝากนั้นจนถึงวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และ

(2) เงินฝากดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องเป็นเงินฝากและ ดอกเบี้ยที่เป็นเงินบาท ต้องเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ โดยต้องมิใช่เงินฝากในบัญชีประเภทบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและให้ คณะกรรมการประกาศรายละเอียดประเภทเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ในราชกิจจานุเบกษา

ส่วนที่สาม การจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงิน

ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว จึงเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ตลอดจนสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) กำหนดให้สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินตลอดจนเอกสารทั้งปวงของสถาบันการเงิน และกำหนดให้คณะกรรมการควบคุม หรือผู้แทนนิติบุคคลของสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการทรัพย์สินของสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินและทรัพย์สิน ตลอดจนเอกสาร ทั้งปวงให้แก่สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สถาบัน การเงินนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต

(2) กำหนดหน้าที่ของสถาบันที่จะต้องประกาศกำหนดให้ผู้ฝากเงินมายื่นคำขอรับเงินภายในสี่สิบวันนับแต่วันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

(3) กำหนดให้ผู้ฝากเงินมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นคำขอรับเงินและแสดงพยานหลักฐานเพื่อขอรับเงินภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สถาบันประกาศกำหนดให้มายื่นคำขอรับเงิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนี้ หากรัฐมนตรีเห็นว่ามีความจำเป็น รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งขยายได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน

(4) กำหนดให้สถาบันต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินแต่ละรายผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีหรือทายาทภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฝากเงินยื่นขอรับเงินโดยสถาบันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้สำหรับทุกบัญชีรวมกันในแต่ละสถาบันการเงิน แต่หากเงินฝากทุกบัญชีรวมกันดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งล้านบาท ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งล้านบาท (มาตรา 53)

ในกรณีที่มีชื่อบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของบัญชี ให้สถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีแต่ละคนตามส่วนที่บุคคลนั้นมีสิทธิในบัญชีเงินฝาก หากไม่อาจทราบจำนวนเงินฝากที่แต่ละคนมีส่วนในบัญชี ให้ถือว่าผู้ฝากเงินดังกล่าวมีส่วนเท่ากัน

การจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

(5) เมื่อสถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตาม (4) แล้ว ให้สถาบันเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ฝากเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปแล้ว และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในจำนวนเงินนั้นจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้ชำระบัญชี โดยมีบุริมสิทธิเหนือเจ้าหนี้สามัญของสถาบันการเงินนั้นทั้งหมด

ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นการคุ้มครองเงินฝากกับสถาบันการเงินที่เป็นเงินบาท ข้าพเจ้าว่าเป็นการดีต่อประเทศที่คุ้มครองเงินบาทไทยและบัญชีเงินฝากภายในประเทศด้วย ทำให้สถาบันการเงินมั่นใจในความปลอดภัยเพราะมีการคุ้มครองและไว้ว่างใจใน พรบ.นี้ด้วย

พรบ.คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน 2551 สาระสำคัญ 1) กำหนดให้มีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันเงินฝากของประชาชนรายย่อยที่ฝากอยู่ในธนาคารพาณิชย์ต่างๆ 2) ประกันขั้นสูงสุด 1 รายต่อ 1 บัญชีต่อ 1 ล้านบาทตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในปีแรกๆของการบังคับใช้กฎหมายอาจจะทยอยลดวงเงินค้ำประกันลงมา จากปีแรก 50ล้านบาท ปีต่อไปเหลือ 25 ล้านบาท ปีที่สามเหลือ 10ล้านบาท ก่อนจะเหลือเพียง 1 ล้านบาท ในปีที่ 4‐5 ซึ่งจะครอบคลุมบัญชีเงินฝาก 98.5% หรือประมาณ 45.7 ล้าน บัญชี (ตามกฎหมายจะเป็นเจ้าหนี้รายแรกของธนาคารพาณิชย์) 3) สถาบันการเงินแต่ละแห่งต้องส่งเงินเข้าสมทบให้กับสถาบันฯ เท่ากับ 0.4% (flat rate) ของฐานเงินฝากในระยะแรกที่ประกาศใช้กฎหมาย แต่จะไม่เกิน 1% ของฐานเงินฝาก และเมื่อมีความพร้อมจึงจะกำหนดอัตราเงินสมทบ ใหม่ตามเครดิตของธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งจะมีบริษัทจัดอันดับเครดิตเป็นผู้กำหนด ความคิดเห็น ข้าพเจ้าคิดว่าพรบ.คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน 2551จะทำให้ผู้ที่มีเงินฝากไว้กับธนาคารเป็นจำนวนมาก เกิดความกังวน เนื่องจากสถาบันการเงินจะมีการลดวงเงินค้ำประกันทุกปี ซึ่งผู้ที่มีเงินฝากจำนวนมากต้องกระจายความเสี่ยงโดยนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นที่มีความแน่นนอนมากกว่า ซึ่งถือเป็นความปลอดภัยอย่างหนึ่งของผู้ที่มีเงินฝากจำนวนมาก แต่ พรบ. ฉบับนี้กับส่งผลดีต่อผู้ฝากรายย่อย โดยการเน้นให้ความคุ้มครองผู้ฝากรายย่อย

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 กับการลงทุนในหุ้น

หลังจากที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.) มีผลบังคับใช้วันที่ 11 ส.ค.นี้

      สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะให้การคุ้มครองเงินต้นแก่ผู้ฝากเงินในจำนวนเท่ากันทุกธนาคาร ในช่วงเวลา 4 ปี

      ปีแรก จะรับประกันเงินฝากไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อคนในทุก ๆบัญชีรวมกัน

      ปีที่ 2 รับประกันเงินฝาก 25 ล้านบาท ต่อคนในทุก ๆบัญชี

      ปีที่ 3 รับประกันเงินฝาก 10 ล้านบาท ต่อคนในทุก ๆบัญชี

      ปีที่ 4 เป็นต้นไปรับประกันเงินฝาก 1 ล้านบาท ต่อคนในทุกๆบัญชี ซึ่งเป็นการเปิดช่องรับมือหาก 4 ปีแรก เศรษฐกิจ-ระบบการเงินปั่นป่วน

**ความคิดเห็นของดิฉัน คิดว่า พ.ร.บ.นี้จะส่งผลให้เงินไหลเข้าตลาดทุนมากขึ้น ผู้ออมทรัพย์รายย่อยจะไม่มีผลกระทบมากนัก ส่วนผู้ออมทรัพย์รายใหญ่ก็ต้องกระจายความเสี่ยงโดยการเลือกลงทุนในหมวดอสังหาริมทรัพย์จะดีกว่า

นางสาวนิตยา หวังสุข

เงินฝาก จิงๆ แล้ว ไม่ใช่การลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง (risk-free) เนื่องจาก เงินฝาก มีลักษณะคล้ายตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง (debt instrument หรือ fix income instrument) ดังนั้น ความเสี่ยง (default risk) จึงขึ้นกับผู้ออก เป็นหลัก และผู้ออกตราสารเงินฝากก้อคือ ธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นเงินฝากจึงมีความเสี่ยง ไม่เหมือนกับ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (government bond) ซึ่งจะเรียกได้ว่า ปราศจากความเสี่ยง (default risk free) อย่างไรก็ตาม หากปล่อยให้เงินฝากมีความเสี่ยงที่ผันผวนขึ้นกับสถานะของแบงค์ จะทำให้ระบบการเงินไม่มั่นคง โดยเฉพาะในประเทศที่ ตลาดเงินยังอยู่ในช่วงพัฒนา (emerging market)

ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และ การกลัวปัญหา การแห่ถอนเงินจากแบงค์ (bank panic) เวลามีข่าวในทางไม่ดีเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ประกอบกับ ปัญหาที่เคยมีสถาบันการเงินล้มไปหลายแห่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้มีการให้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เข้ามาทำการประกันหรือคุ้มครองเงินฝากในแบงค์ทุกแห่ง เพื่อเรียกความเชื่อมันในระบบสถาบันการเงินกลับมา โดยมีเงื่อนไขให้แบงค์ส่งเงินสมทบ กองทุนฟื้นฟูในสัดส่วน 0.04% ของยอดเงินฝากทั้งหมด การคุ้มครองเงินฝากของกองทุนฟื้นฟู เป็นแบบ blanket guarantee คือ คุ้มครองเต็มจำนวนเงินฝาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บทบาทหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูหมดลง ดังนั้น จึงควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองเงินฝากดังกล่าวโดยตรง ทำให้มีการผลักดันออกมาเป็น พรบ คุ้มครองเงินฝาก ใช้เวลาดำเนินการศึกษาแก้ไขกันนานหลายปี จนได้ข้อสรุป เป็น พรบ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 (Deposit Protection Agency หรือ DPA) โดยจะให้ความคุ้มครองเงินฝาก แบบ partial guarantee คือ คุ้มครองแบบจำกัดวงเงิน โดยวางเป้าหมายไว้ที่การคุ้มครองที่วงเงินฝาก 1 ล้านบาท ในแต่ละแบงค์ โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 11 สิงหาคม นี้เป็นไป ในปีแรก ยังมีการคุ้มครองเต็มจำนวน และจะลดวงเงินคุ้มครองไปแต่ละปี จนกระทั่งเหลือ 1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการปรับตัวให้สอดคล้องกัน จำนวนเงินที่คุ้มครองแต่ละปี มีดังนี้

- ปีที่ 1 คุ้มครองเต็มจำนวน

- ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท

- ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท

- ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท

- ปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท

ผลกระทบของจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

- โครงสร้างเงินฝากจะเปลี่ยนไป การแข่งขันเพื่อหาเงินฝากจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะแบงค์ขนาดเล็กที่มีความมั่นคงต่ำกว่าแบงค์ขนาดใหญ่จะต้องหาวิธีการ เช่น เสนอดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หรือหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อดึงเงินฝาก นอกจากนี้ แบงค์จะต้องบริหารงานให้ดีขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่สาธารณชน เพื่อดึงดูดให้ประชาชนนำเงินมาฝากที่แบงค์

- พฤติกรรมการออมจะเปลี่ยนไป หากประชาชนรับรู้ว่า เงินฝากไม่ใช่การลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงอีกต่อไป โดยเฉพาะเงินฝากในส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อการฝากเงินมีความเสี่ยง และยังให้ดอกเบี้ยในระดับต่ำอยู่ ผู้ฝากจึงต้องสรรหาแหล่งการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ ประกันชีวิต กองทุนรวม ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนั้น อาชีพการให้คำปรึกษาด้านการเงินส่วนบุคคล (financial planner) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจาก การฝากเงินจะเป็นเพียงรุปแบบการลงทุนแบบหนึ่งซึ่งต้องมีการวางแผน ไม่ใช่ฝากเงินไว้แล้วก้อมั่นใจนอนกินดอกเบี้ยไปได้ตลอดอีกต่อไป

เกร็ดความรู้ - ทำไมเราจึงใช้คำว่า คุ้มครองเงินฝาก แทนคำว่าประกันเงินฝาก เนื่องจาก มองว่า คำว่า "คุ้มครอง" หมายถึงการที่ภาครัฐเข้ามาให้การดูแล และเป็นการคุ้มครองภาคบังคับ ซึ่งผู้ฝากไมได้มีสิทธิเลือก แต่คำว่า "ประกัน" จะหมายถึงการที่ผู้ฝากมีสิทธิเลือกได้ว่า ต้องการให้คุ้มครองมากน้อยแค่ไหน และจ่ายเบี้ยประกันตามอัตราที่เหมาะสม

อาจมีผลดีต่อการลงทุนนะ แทนที่จะเอาเงินไปฝากในธนาคาร แต่เอามาหมุนเวียนในการลงทุน ทำให้การลงทุนมีการเจริญเติบโต

หลังจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากพ.ศ. ... ในวาระ 2 และ 3 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 และล่าสุด พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 โดยพ.ร.บ.ฉบับนี้จะใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน หรือ 6 เดือน นับจากวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ซึ่งก็คือกลางเดือนสิงหาคม 2551

สาระสำคัญของพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

- วัตถุประสงค์ ของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ ให้ยกเลิกการคุ้มครองเงินฝากจากปัจจุบันที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน คุ้มครอง หรือจ่ายคืนเงินฝากให้เต็มจำนวนทั้ง 100% เป็นให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่จะจัดตั้งขึ้น คุ้มครองเงินฝากเพียงบางส่วน ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น และเป็นการคุ้มครองต่อรายต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่ง รวมทั้งเป็นการคุ้มครองเงินฝากในประเทศทุกประเภทที่เป็นเงินบาท

- วงเงินคุ้มครอง หรือการจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงิน กฎหมายกำหนดไว้ คือ ปีแรก จะคุ้มครองเงินฝาก หรือจ่ายคืนเงินให้ประชาชนผู้ฝากเงิน ในกรณีสถาบันการเงินล้ม หรือเกิดปัญหาเต็มจำนวนตามวงเงินที่ฝาก ส่วนปีที่ 2 ให้ลดลงมาคุ้มครองเพียง 100 ล้านบาท ในปีที่ 3 ลดลงมาคุ้มครองเหลือ 50 ล้านบาท ในปีที่ 4 คุ้มครองเพียง 10 ล้านบาท และปีที่ 5 เป็นต้นไป ความคุ้มครองเงินฝากจะลดลงเพียง 1 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากจ่ายเงินภายในไม่เกิน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ฝากเงินยื่นขอ

วงเงินที่จะได้รับการคุ้มครองตามช่วงเวลาของการบังคับใช้กฎหมายนี้ *

วงเงินที่จะได้รับการคุ้มครองต่อรายต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่ง

ปีแรก (เริ่มประมาณกลางเดือนส.ค. 51) คุ้มครองเต็มจำนวน 100%

ปีที่ 2 ไม่เกิน 100 ล้านบาท

ปีที่ 3 ไม่เกิน 50 ล้านบาท

ปี่ที่ 4 ไม่เกิน 10 ล้านบาท

ปี่ที่ 5 หรือประมาณกลางเดือน ส.ค. 55 เป็นต้นไป ไม่เกิน 1 ล้านบาท

* อยู่ในมาตรา 53 และ บทเฉพาะกาล มาตรา 72

อย่างไรก็ตาม การกำหนดวงเงินคุ้มครองอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดย

(1) ในบทเฉพาะกาล ตามมาตรา 72 ระบุว่า ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นจากที่กำหนด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และ

(2) ในมาตรา 54 กำหนดให้สถาบันคุ้มครองเงินฝากสามารถจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินสูงกว่า 1 ล้านบาท เป็นการทั่วไปหรือ ให้แก่ผู้ฝากเงินประเภทหนึ่งประเภทใดเพื่อความเป็นธรรมได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

- การนำส่งเงินสมทบของสถาบันการเงิน กฎหมายกำหนดให้สถาบันการเงินนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดตามพระราชกฤษฎีกา แต่ ต้องไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีที่ได้รับการคุ้มครอง ซึ่งในครั้งแรกอัตราเงินนำส่งจะเป็นอัตราเดียว สำหรับครั้งต่อไปจะกำหนดอัตราดังกล่าวให้แตกต่างกันตามประเภท หรือฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน ได้

จากการศึกษาในเบื้องต้น พบว่ากฎหมายฉบับนี้ น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งสถาบันการเงินและผู้ฝากเงินอยู่ในวิสัยที่จะปรับตัวได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารจะต้องเร่งสร้างฐานะการเงินให้มั่นคง ปรับปรุงการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส เพื่อให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในขณะเดียวกันการแข่งขันเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆเพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าจะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออก B/E เพื่อระดมเงินทุน, การแนะนำทางเลือกให้ลูกค้าใช้บริการผ่านบริษัทในเครือ เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น

น่าจะดีต่อการลงทุน เพราะประชาชนอาจจะเลือกที่จะนำไปลงทุนให้ได้กำไรมากกว่าที่จะนำไปฝากแต่ไม่มีความคุ้มครองให้

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากเมื่อมีผลบังคับใช้ควรทำอย่างไร

กล่าวคือ เป็นการจำกัดวงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จากปัจจุบันที่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน จะทยอยลดลงจนเหลือวงเงินคุ้มครองเงินฝากเพียง 1 ล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่ในปีที่สองจะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 100 ล้านบาท ในปีที่สามจะคุ้มครองเงินฝากในจำนวน 50 ล้านบาท ในปีที่สี่จะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท โดยวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองจะได้รับคืนทันทีหรือภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิด แต่ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น ดังนั้น สิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้และทำความเข้าใจเพื่อความไม่ประมาท คือ การคุ้มครองเงินฝากดังกล่าวจะคุ้มครองเงินฝากตามวงเงินที่กฎหมายกำหนดต่อรายผู้ฝากเงินต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ซึ่งบุคคลธรรมดา และนิติบุคลคล ไม่ว่าจะเป็นบริษัท มูลนิธิ กองทุน หรือสมาคมการกุศลใดๆ ก็ตาม จะได้รับการคุ้มครองเงินฝากเหมือนกันอย่างเท่าเทียม คือ คุ้มครองเงินฝากตามวงเงินกฎหมายกำหนดต่อรายต่อสถาบันการเงิน และสิ่งที่ควรทราบอีกอย่าง คือ ภายใต้กฎหมายนี้หากสามีภรรยาเปิดบัญชีเดียวโดยใช้ชื่อร่วมกัน เช่น มีบัญชีเงินฝากอยู่ 1,800,000 บาท หากสถาบันการเงินนั้นถูกปิด จะได้รับการคุ้มครองทั้งสามีและภรรยา คือ หากไม่มีการกำหนดสัดส่วนการคุ้มครองตั้งแต่ต้นว่าหากสถาบันการเงินมีปัญหาจะแบ่งสัดส่วนการคุ้มครองกันเท่าไร ให้ถือว่าแบ่งกันคนละครึ่ง กล่าวคือ สามีจะได้การคุ้มครอง 90,000 บาท และภรรยาได้รับการคุ้มครอง 90,000 บาท เนื่องจากภายใต้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก สามี กับภรรยา ไม่ถือเป็นบุคคลคนเดียวกัน จึงได้รับการคุ้มครองเงินฝากทั้งสองคน หรือกรณีเปิดบัญชีร่วม 3 คน ก็ใช้หลักการเดียวกัน คือ ถ้าไม่มีการกำหนดสัดส่วนแบ่งการคุ้มครองไว้ให้ ก็ให้แบ่งการคุ้มครองเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน สำหรับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คือ ธนาคารพาณิชย์ 14 แห่ง สาขาธนาคารต่างประเทศ 16 แห่ง บริษัทเงินทุน 5 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง ทั้งนี้ไม่นับรวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน อย่างไรก็ตาม หากธนาคารเฉพาะกิจเกิดปัญหาก็มีรัฐบาลรับผิดชอบดูแล เหมือนสโลแกนที่ติดอยู่หน้าธนาคารออมสินว่า "รัฐบาลเป็นประกัน" ซึ่งมีมานานแล้ว เพราะฉะนั้นภายใต้กฎกติกาดังกล่าว ผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป จะรู้ได้อย่างไรว่าธนาคารที่ฝากเงินจะเข้มแข็ง มีเสถียรภาพ หรือฝากเงินกับสถาบันการเงินใดแล้วมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งความจริงอาจเข้าไปดูที่งบการเงินก็ได้ แต่ตัวเลขในงบการเงินอาจซับซ้อนมาก แต่มีหลักง่ายๆ ที่สามารถวัดความเสี่ยงของสถาบันการเงินได้ระดับหนึ่ง โดยนายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการ สมาคมธนาคารไทย ได้เสนอวิธีในหลักการง่ายๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่ประชาชนควรรู้ คือ 1.ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) 2.ตัวเลขการกันสำรองเผื่อหนี้เสีย 3.ตัวเลขเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) โดยธนาคารใดหากมี NPL สูง เมื่อเทียบกับตัวเลข NPL ทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 6-7% ให้ถือว่าสถาบันการเงินนั้นอาจมีความเสี่ยง และเมื่อเห็น NPL แล้ว แต่สิ่งที่ต้องดูควบคู่กันด้วย คือ ตัวเลขการกันสำรองเพื่อหนี้จัดชั้น ซึ่งสิ่งที่ควรดู คือ ธนาคารนั้นๆ มีการตั้งกันสำรอง NPL ครบหรือยัง และสุดท้ายที่ควรรู้ คือ BIS ratio ซึ่งตามกฎหมายกำหนดต้องมี BIS ratio ไม่ต่ำกว่า 8.5% ซึ่งปัจจุบัน BIS ratio ของระบบสถาบันการเงินอยู่ที่ 11-12% ซึ่งถือว่าสูง แต่บางแห่งอาจน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ แต่ส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 9-10% ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวเลขที่สถาบันการเงินทุกแห่งต้องเปิดเผยอยู่แล้ว โดยอาจติดประกาศอยู่ที่สาขาธนาคารพาณิชย์และในเว็บไซต์ของธนาคารแต่ละแห่ง ดังนั้นถ้าใครมีเงินมากก็ต้องหาความรู้ทำความเข้าใจว่ามีทางเลือกต่างๆ ทางใดที่จะมีประโยชน์ต่อการลงทุน ถ้าไม่อยากเสี่ยงหรือกลัวมากก็ควรกระจายการลงทุน คือ ฝากธนาคารบ้าง ลงทุนในกองทุน หรือตราสารอื่นๆ แต่การลงทุนในตราสารอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้ผลตอบแทนสูง หรือถ้าต้องการความมั่นคง แต่ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง ก็อาจลงทุนในที่ดิน เป็นต้น

***ในส่วนความคิดเห็นของข้าพเจ้าแล้ว พรบ.นี้มีความยุติธรรมที่สามารถจัดการบัญชีเงินฝากที่มีผู้ถือร่วมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่เกิดปัญหาการโต้แย้งได้ในภายหลังและเหมาะกับประชาชนที่เป็นผู้ฝากรายย่อยมากดด้วยเหมือนกัน
น.ส.สุพรรษา สำลีกลาง

สาระสำคัญของ

             พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก 2551 คือการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีคณะกรรมการคุ้มครองเงินฝากซึ่งมาจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและการเงินการคลัง โดยจำนวนเงินฝาก 1 ล้านบาทแรกเท่านั้นที่จะได้รับการคุ้มครอง และในระยะแรก ธนาคารต่าง ๆ จะต้องเข้าเป็นสมาชิก และส่งเงินเข้าสมทบให้กับสถาบันฯ แทนการการส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ในอัตราเดียวคือร้อยละ 0.4 ของมูลค่าเงินฝากแต่ละธนาคาร หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อม จะคิดอัตราเงินสมทบตามความเสี่ยง (risk premium rate) ซึ่งบริษัทจัดอันดับเครดิตจะเป็นผู้กำหนดตามความน่าเชื่อถือของแต่ละธนาคาร แต่จะให้เวลานานถึง 5 ปีในการทยอยลดวงเงินคุ้มครอง ให้เหลือไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายต่อ 1 สถาบันการเงิน เพื่อให้ทั้งสถาบันการเงินและผู้ฝากเงินปรับตัว ดังนี้ - ปีที่ 1 คุ้มครองเต็มจำนวน - ปีที่ 2 คุ้มครอง 50 ล้านบาท - ปีที่ 3 คุ้มครอง 25 ล้านบาท - ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท - ปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท

          *****ในความคิดของดิฉัน คือ ในพ.ร.บ.นี้จะคุ้มครองสำหรับผู้ฝากเงินรายย่อย ส่วนผู้ฝากเงินรายใหญ่ก็ต้องกระจายความเสี่ยงซึ่งมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็สามารถถอนเงินออกไปได้ ก็ทำให้มีเงินไหลเวียนเข้าในตลาดทุนมากขึ้น*****

คิดว่าการบังคับใช้กับ พ... ฉบับนี้ไม่ดี เนื่องจากผู้ฝากมีความเสี่ยงสูง เพราะบางครั้งผู้ฝากอาจจะไม่รู้ว่าธนาคารที่ฝากเงินนั้นมีความเข็มแข็งหรือมีเสถียรภาพที่ดีหรือไม่

                ดังนั้นหลักการง่ายๆที่ผู้ฝากจะตรวจสอบความเสี่ยงจากธนาคารได้ต้องดูจาก

1.      NPL

2.      ตัวเลขการกันสำรองเผื่อหนี้เสีย

3.      ตัวเลขเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง

***สรุปแล้ว หากธนาคารไม่มีการแสดงหลักฐานหรืองบการเงินให้ผู้ฝากได้เห็นตามหลักความเป็นจริง หุ้นธนาคารนั้นอาจจะไม่ได้รับความสนใจและผู้ที่ถือหุ้นอาจจะเกิดความลังเลใจและเทขายหุ้น เพราะฉะนั้นธนาคารจึงควรปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับ พ... ฉบับนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก จะเริ่มมีผลใช้บังคับในวันที่ 11 สิงหาคม 2551 โดยจะกำหนดการคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินสูงสุดรายละ 1 ล้านบาท แต่มีช่วงเวลาให้ปรับตัว 4 ปี คือในปีแรก 11 สิงหาคม 2551 ถึง 10 สิงหาคม 2552 จะยังคงให้ความคุ้มครองเต็มจำนวนที่ฝาก เช่นเดียวกับที่คุ้มครองในปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนผู้ให้ความคุ้มครองจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน มาเป็นสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ในปีที่สอง คือ ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2552 ถึง 10 สิงหาคม 2553 จะลดความคุ้มครองลงเหลือรายละไม่เกิน 100 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน (ซึ่งรวมถึงธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์) โดยจำนวนสถาบันการเงินในปัจจุบันมีรวมกัน 22 แห่ง ในปีที่สาม คือ ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2553 ถึง 10 สิงหาคม 2554 จะลดความคุ้มครองลงเหลือรายละไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน และในปีที่สี่ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2554 ถึง 10 สิงหาคม 2555 จะลดความคุ้มครองลงเหลือรายละไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อสถาบันการเงิน และ ตั้งแต่ 11 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป ก็จะคุ้มครองเพียงรายละ 1 ล้านบาทต่อสถาบัน ดิฉันเคยเขียนในคอลัมน์นี้ไปสองครั้งแล้วเกี่ยวกับการคุ้มครองเงินฝาก แต่ในทั้งสองครั้งยังเป็นเพียงแนวคิดและการร่างพระราชบัญญัติ ในครั้งนี้จึงขอเขียนถึงสาระในพระราชบัญญัตินี้ และทางเลือกของผู้ฝากเงิน ในความเป็นจริงผู้ฝากเงิน คือ ผู้ให้กู้กับสถาบันการเงิน และสถาบันการเงินก็นำเงินที่รับฝากจากประชาชนและนิติบุคคลต่างๆ เหล่านี้ไปปล่อยสินเชื่อ คือ นำไปให้กู้ต่อ หรือนำไปลงทุน โดยเงินให้สินเชื่อจะเป็นสัดส่วนสูงที่สุด เพราะหน้าที่หลักของธนาคารพาณิชย์ คือ การเป็นตัวกลางในการนำเงินจากผู้ออม หรือผู้มีเงินเหลือใช้ มาให้ผู้ที่ต้องการใช้เงิน

    ผมคิดว่า ยังไม่ดีครับสำหรับ พรบ.ฉบับนี้ เพราะเห็นได้ชัดจากการมีความเสี่ยงที่สูงอยู่  จึงยังไม่คงส่งผลดีให้กับภาคประชาชนสักเท่าไหร่นัก

น.ส.อุทัยวรรณ เสือกรุง

พรบ.คุ้มครองเงินฝาก 2551 กับการลงทุนในหุ้น

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก คือการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีคณะกรรมการคุ้มครองเงินฝากซึ่งมาจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและการเงินการคลัง โดยจำนวนเงินฝาก 1 ล้านบาทแรกเท่านั้นที่จะได้รับการคุ้มครอง และในระยะแรก ธนาคารต่าง ๆ จะต้องเข้าเป็นสมาชิก และส่งเงินเข้าสมทบให้กับสถาบันฯ แทนการการส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ในอัตราเดียวคือร้อยละ 0.4 ของมูลค่าเงินฝากแต่ละธนาคาร หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อม จะคิดอัตราเงินสมทบตามความเสี่ยง (risk premium rate) ซึ่งบริษัทจัดอันดับเครดิตจะเป็นผู้กำหนดตามความน่าเชื่อถือของแต่ละธนาคาร?

เห็นด้วยกับหลักการทั่วไป พ.ร.บ. ฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจำกัดการประกันไว้เพียง 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฝึกวินัยการเงินของประชาชนที่มีเงินมากในระดับหนึ่ง และควรที่จะกระจายความเสี่ยงส่วนหนึ่งให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่เป็นผู้รับด้วยตนเอง เพราะการประกันเงินฝากเต็มจำนวนเป็นการสร้างนิสัยการสุ่มเสี่ยง (Moral Hazard) เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุด โดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่รัฐบาลต้องแบกรับแทนเขา

อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองเงินฝากอาจส่งผลกระทบทางลบเช่นกัน หากสถาบันการเงินต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสถาบันคุ้มครองเงินฝากมาก จะเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการรับเงินฝาก ซึ่งอาจทำให้สถาบันการเงินมีแรงจูงใจที่จะหาเงินทุนจากแหล่งอื่นนอกจากเงินฝากมากขึ้น และทำให้ช่องห่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ฝากเงินได้รับผลกระทบจากการที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากลดลง

ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือการให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เห็นว่าสิ่งนี้เป็นการส่งสัญญาณให้กับภาคการเงินว่ารัฐจะยังคง ?อุ้ม? สถาบันการเงินต่อไป กล่าวคือ หากสถาบันการเงินใดล้ม ผู้ที่จะเป็นผู้รับภาระในการแก้ไขหนี้ยังคงเป็นรัฐบาลเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540

ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า พรบ. คุ้มครองเงินฝาก 2551 ฉบับนี้จะเน้นคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยเป็นหลัก ส่วนผู้ฝากเงินรายใหญ่ก็ต้องกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในด้านอื่นหรือในกองทุนรวม ซึ่งอาจจะมีความเสี่ยงที่น้อยกว่า

ปิยวัลคุ์ ดุรงค์รัตน์ การเงิน 02

คิดว่าการออก พรบ.คุ้มครองเงินฝากนั้น จะทำให้มีการลงทุนในหุ้นมากขึ้น

เพราะว่าเป็นการกระจายความเสี่ยงในเงินฝาก แต่ พรบ.คุ้มครองเงินฝากนั้น มีประโยชน์กับผู้ฝากเงินรายย่อยมากกว่า จึงทำให้คนที่มีเงินออกมากหันไปลงทุนอย่างอื่นมากกว่าการฝากเงินอย่างเดียว

มีความเห็นว่า พรบ.คุ้มครองเงินฝากนั้นจะส่งผลกระทบให้คนที่มีเงินฝากเป็นจำนวนมาก เปลี่ยนจากการฝากเงินมาลงทุนในหุ้น และคิดว่าเป็นประโยชน์กับตลาดหุ้น เพราะจะทำให้มีการลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น

นางสาว เบญจวรรณ ภู่วงศ์

มีความเห็นว่า การออก พรบ.คุ้มครองเงินฝากอาจส่งผลต่อผู้ฝากเงินรายใหญ่เพราะคุ้มครองได้ไม่เต็มจำนวนในปีถัดๆไป

อาจทำให้มีการลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้นเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง

หนูคิดว่ามันก็มีทั้งข้อดีข้อเสียนะค่ะ ข้อดีกับคนที่ฝากรายย่อยที่สามารถคุ้มครองได้แต่สำหรับผู้ลงทุนรายใหญ่อาจนำเงินที่ฝากธนาคารไปลงทุนดีกว่าเนื่องจากมีความเสี่ยงสูงอีกทั้งการนำเงินไปลงทุนยังได้ผลกำไรมากกว่า ดูจากอัตราข้างล่างซิค่ะ

ปีแรกคุ้มครอง 100%แต่ต่อไปก็ลดลงมาเรื่อยๆอาจทำให้คนที่มีเงินเยอะๆไปฝากก็ไม่มั่นใจดังนั้นเค้าก็ต้องทำประกันอย่างอื่นไว้สู้เอาเงินไปซื้อหุ้นหรือลงทุนอย่างอื่นดีกว่าค่ะ

ในอนาคตตลาดหุ้นอาจจะคึกคักมากกว่าเดิมค่ะ

...ปีแรก คุ้มครอง 100% เต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

...ปีสอง คุ้มครองรวม 85 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีสาม คุ้มครองรวม 60 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีสี่ คุ้มครองรวม 45 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีห้าเป็นต้นไป คุ้มครองรวม 30 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

นางสาวขนิษฐา เอี่ยมมี

คิดว่าการออก พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก 2551 จะส่งผลให้มีการลงทุนในหุ้นเพิ่มมากขึ้น เพราะ ปีแรกมีการคุ้มครอง 100% แต่ปีต่อๆ ไปจะลดลงเรื่อยๆ ส่งผลให้คนที่มีเงินจำนวนมากอาจสนใจที่จะนำเงินไปลงทุนในการซื้อหุ้นมากกว่านำเงินไปฝากจะเห็นได้ชัดเจนจากการคุ้มครองคือ

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

พ.ร.บ.นี้จะเป็นการบีบให้ประชาชนหันไปหาการออมแบบอย่างอื่นมากขึ้น อาทิ แทนที่จะไปฝากแบงค์ก็จะไปซื้อหุ้นกู้ที่ออกโดยภาคธุรกิจแทนซึ่งเป็นการกู้ยืมกันโดยตรงไม่ต้องผ่านแบงค์และพอเวลาแบงค์ล้มภาคธุรกิจและประชาชนก็จะไม่ได้รับผลกระทบเท่าไรนัก คนทีเสียประโยชน์คือคนที่มีเงินฝากมากกว่า หนึ่งล้านบาท พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีผลบังคับใช้เต็มตัวเมื่อไหร่ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็จะมีดังนี้

1. บัญชีที่ไม่เกินหนึ่งล้านบาทจะไหลไปสู่ธนาคารพาณิชย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดโดยไม่สนใจว่าความเสี่ยงของแบงค์นั้นจะเป็นเท่าไร ในขณะที่บัญชีที่เกินหนึ่งล้านบาทจะไหลไปสู่ธนาคารพาณิชย์ที่มั่นคงที่สุด นั้นหมายความว่า แบงก์เล็กๆจะหันไปหารายย่อยมากขึ้นในขณะที่แบงก์ใหญ่ๆจะมุ่งมั่นกับบรรรดารายใหญ่โดยเฉพาะ

2. เงินจะไหลเข้าสู่รูปแบบการออมแบบอื่นๆมากขึ้น ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร สินค้าโภคภัณฑ์ (อาทิ ทองคำ) กองทุน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาระบบการเงินของไทยให้เติบโตและแข็งแรงขึ้นในอนาคต

แต่ทั้งนี้เชื่อว่าในระยะเวลา 1-2 ปีนี้คงจะยังไม่เห็นการโยกย้ายเงินฝากมากนักแต่หลังจากนั้นจะเห็นภาพเงินฝากที่กระจายตัวออกไปอย่างชัดเจน

สิทธิโชค วงค์เต้จ๊ะ

หลังจากที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ปี 2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป น่าจะส่งผลให้ตลาดหุ้น, กองทุนส่วนบุคคลได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากผลของพ.ร.บ.ดังกล่าว นักลงทุนรายย่อยที่มีเงินฝากไม่ถึง หนึ่งล้านบาทยังคงได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน ในขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ แม้จะมีการกระจายเงินฝากไปยังหลายธนาคารแต่คาดว่าไม่น่าจะสามารถกระจายได้เต็มวงเงินทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งจะทำให้นักลงทุนรายใหญ่ให้ความสนใจการลงทุนในตลาดหุ้น,กองทุนส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น

การมี พรบ.คุ้มครองเงินฝากออกมา ก็เพื่อคุ้มครองเงินฝากของรายย่อย รายย่อยในที่นี้คือคนที่มีเงินฝากในทุกบัญชีของธนาคาร 1 แห่งไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้มีสัดส่วนสูงถึง 98% ของเงินฝากรวมทั้งระบบ เนื่องจากรายย่อยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ ความถนัดในเรื่องของการลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนจากแหล่งอื่น เช่น ตลาดหุ้น ตลาดพันบัตร ตลาดตราสารหนี้ หรือหน่วยลงทุนต่าง ๆ นอกจากการฝากเงินเพื่อกินดอกเบี้ยเท่านั้น ผิดกับลูกค้ารายใหญ่ที่มีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลายกว่า เนื่องจากมีความได้เปรียบในเรื่องของข้อมูลเชิงลึก อย่างไรก็ตาม หากคนที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท และไม่อยากแตกบัญชีไปฝากไว้กับธนาคารหลายที่ คงต้องติดตามฐานะการเงินของธนาคารที่มีเงินฝากอยู่เป็นระยะ หากฐานะการเงินไม่น่าไว้วางใจ ก็ยังพอเวลาที่จะถอนเงินไปฝากธนาคารอื่นที่มั่งคงกว่าได้ เนื่องจากการสั่งปิดธนาคารแต่ละแห่งที่มีฐานะไม่มั่งคงนั้น ทางการจะต้องให้โอกาสธนาคารแห่งนั้นแก้ไขปัญหาของตัวเองไปก่อน หากแน่ใจว่าไม่ไหวจึงสั่งปิด ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร ที่จะทำให้ลูกค้าที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ไหวตัวได้ทัน

พัสรสพรรณ เพ็ชร์ยาหน

"การค้ำประกันเงินฝาก" มีผลบังคับใช้ในวันนี้ (11 ส.ค. 2551)

"การฝากเงิน มีความเสี่ยง" เหมือน "การลงทุน มีความเสี่ยง" เนื่องจากภายใต้กฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝาก หากสถาบันการเงินถูกสั่งปิดกิจการ ผู้ฝากจะได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ฝากไว้ แต่ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด

 

กล่าวคือ เป็นการจำกัดวงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จากปัจจุบันที่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน    จะทยอยลดลงจนเหลือวงเงินคุ้มครองเงินฝากเพียง 1 ล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่ในปีที่สองจะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 100 ล้านบาท ในปีที่สามจะคุ้มครองเงินฝากในจำนวน 50 ล้านบาท ในปีที่สี่จะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท โดยวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองจะได้รับคืนทันทีหรือภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิด แต่ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

 

ดังนั้นพ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อผู้ที่ชอบลงทุนโดยการฝากเงินกับธนาคาร  ผู้ลงทุนอาจหันมาสนใจในการซื้อหลักทรัพย์อื่นๆ อาทิเช่น หุ้นกู้ หุ้นสามัญ หรือ ตราสารอนุพันธ์เพิ่มมากขึ้น

 

การมีพรบ.ออกมาทำให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้สูงนำเงินรายได้ไปฝากกับธนาคารต่างๆมากขึ้น จากการที่ฝากแต่ธนารคารเพียงแห่งเดียว ทำให้มีการหันไปฝากกับธนาคารต่างๆ มากขึ้น เพราะเป็นการป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร และนอกจากนี้ทำให้มีการหันไปลงทุนในหุ้นต่างๆ มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น จากที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

       จากพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากนั้น ทำให้มองเห็นว่าการที่นำเงินไปฝากไว้กับธนาคารเป็นเวลาเกิน 5 ปีมีความเสี่ยงในการรับเงินคืน เนื่องจากมีการคุ้มครองเงินฝากในอัตราที่ลดลง

ปีแรก  คุ้มครองเต็มจำนวน 100%

ปีที่ 2 ไม่เกิน 100 ล้านบาท

ปีที่ 3 ไม่เกิน 50 ล้านบาท

ปี่ที่ 4 ไม่เกิน 10 ล้านบาท

ปี่ที่ 5  ไม่เกิน 1 ล้านบาท

     จึงคิดว่า นักลงทุนน่าจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นมากกว่าการฝากธนาคาร เพราะว่าถึงแม้จะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน

ดิฉันคิดว่า การลงทุนในหุ้นนั้นจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากนั้น คุ้มครองเงินฝากได้ไม่เต็มจำนวนที่ฝาก ทำให้การมีความเสี่ยงในการได้รับเงินคืน การลงทุนในหุ้นนั้นได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า

อุดมลักษณ์ เข็มแก้ว

หลังจากที่พระราชบัญญัตินี้ออกมา ดิฉันคิดว่า มีผลต่อการลงทุนในหุ้นมากขึ้น เนื่องจากนักลงทุนต้องการกระจายความเสี่ยงแทนที่จะนำเงินฝากธนาคารเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อฝากเงินกับธนาคารแล้วได้คุ้มครองเงินฝากไม่เต็มจำนวนวงเงิน ทำให้มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากนี้ อาจทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ความกลัว ว่าเงินที่ตนจะนำไปฝากธนาคารนั้นจะได้รับผลอย่างไรจากการคุ้มครองเงินฝากไม่เต็มจำนวน ทำให้นักลงทุนนั้นอาจต้องการการกระจายความเสี่ยง โดยการเข้าหาการลงทุนในหุ้นเพิ่มขึ้น

หลังจากที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ คุ้มครองเงินฝาก 2551 บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 ทำให้ผู้ที่มีเงินฝากที่มีจำนวนมากมีผลกระทบและอาจส่งผลให้ผู้ที่มีเงินฝากมากหันไปลงทุนทางด้านอื่นแทน เช่น ตลาดหุ้น กองทุนรวม ตลาดพันธบัตร เนื่องจากสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงได้ดีทำให้ธนาคารอาจมีปริมาณเงินฝากลดลง แต่จะส่งผลดีต่อผู้ฝากเงินรายย่อย

จำนงจิตต์ คุ้มครอง

ตาม พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เมื่อจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว สถาบันจะทยอยลดการคุ้มครองผู้ฝากเงินจากเต็มจำนวนเงินฝากในปีแรก เพื่อให้ผู้ฝากและสถาบันการเงินได้มีเวลาในการปรับตัว แผนการทยอยลดการค้ำประกันเงินฝากในช่วง 4 ปี มีดังนี้

 

      ปีที่ 1 เริ่ม 11 ส.ค. 2551 - 10 ส.ค. 2552 คุ้มครองเต็มจำนวน

      ปีที่ 2 เริ่ม 11 ส.ค. 2552 - 10 ส.ค. 2553 คุ้มครอง 100 ล้านบาท

      ปีที่ 3 เริ่ม 11 ส.ค. 2553 - 10 ส.ค. 2554 คุ้มครอง 50 ล้านบาท

      ปีที่ 4 เริ่ม 11 ส.ค. 2554 - 10 ส.ค. 2555 คุ้มครอง 10 ล้านบาท

      ปีที่ 5 เริ่ม 11 ส.ค. 2555 - 10 ส.ค. 2556 คุ้มครอง 1 ล้านบาท

    

     สำหรับเงินฝากที่จะได้รับการคุ้มครอง ได้แก่ เงินฝากทุกประเภทที่เป็นเงินบาทในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ  แต่บัญชีประเภทเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยน (non-resident baht account) จะไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้ พ.ร.บ. ธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ บริษัทเงินทุนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ต้องเข้าเป็นสมาชิกของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 34 สถาบันเข้าเป็นสมาชิก และต้องนำส่งเบี้ยประกันในอัตราไม่เกินร้อยละ 1 ของยอดเงินฝากเฉลี่ยให้กับสถาบันคุ้มครองเงินฝาก แทนการนำเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยในตอนเริ่มต้นสถาบันการเงินจะส่งเงินร้อยละ 0.4 ของเงินฝากเฉลี่ย

     อย่างไรก็ตาม สถาบันการเงินภายใต้ พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น รวมทั้งธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะตั้งขึ้น เช่น ธนาคารอิสลาม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 

สรุป

 

       จากการที่มีพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้  ทำให้นักลงทุนหันมาสนในใจทางเลือกอื่นแทนการฝากเงินไว้  ซึ่งเม็ดเงินที่ไหลออกจากระบบเงินฝากจะไม่วิ่งเข้าสู่ตลาดหุ้น  เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเมือง และภาวะเงินเฟ้อนักลงทุนจึงหันมาสนใจทางเลือกต่างๆ  เหล่านี้  

  • ธนาคารของรัฐ และธนาคารขนาดใหญ่ 

        ผู้ที่มีเงินฝากจำนวนมากโยกย้ายเงินไปฝากธนาคารของรัฐ ด้วยความเชื่อที่ว่ารัฐจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินของรัฐต้องประสบปัญหาจนล้มละลาย   รวมทั้งการโยกย้ายเงินไปฝากธนาคารขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งระบบสถาบันการเงินไทยในอนาคตจะมีการร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน  

 

  • ธุรกิจกองทุนรวม  อาทิกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์  กองทุนรวมตราสารทางการเงินระยะสั้น  กองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ กองทุนรวม Gold Linked  กองทุนรวมตราสารทุน  กองทุนรวม FIF

        พ.ร.บ.นี้จะเป็นปัจจัยบวกหนึ่งต่อธุรกิจกองทุนรวมให้เติบโตขึ้นได้  เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะมองหารทางเลือกการลงทุนเพื่อทดแทนเงินฝาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะไหลมายังธุรกิจกองทุนรวม

  • ธุรกิจประกันชีวิต 

        เนื่องจากผู้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ จะแสวงหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการฝากเงิน เพราะเงินฝากในระบบสถาบันการเงินมีโอกาสที่จะไหลออกไปสู่การลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า

 

  • หลักทรัพย์ต่างๆ  โดยเฉพาะตราสารหนี้

        เพราะมีความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำ ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและคาดการณ์ได้ ที่อาจทำให้ประชาชนหันไปลงทุนเพื่อกระจายการออมเงินได้มากขึ้น  ซึ่งตราสารทุน  ตราสารอนุพันธ์จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

 

  • อื่นๆ  เช่น  การลงทุนในที่ดิน

        เป็นอีกทางเลือกหนึ่งหากนักลงทุนต้องการความั่นคงแต่ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง

 

                    

                       พ.ร.บ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

           มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่11สิงหาคมที่ผ่านมาสำหรับพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากซึ่งจะมีสถาบันคุ้มครองเงินฝากเข้ามาทำหน้าที่แทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเข้ามาทำหน้าที่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ

           สำหรับประชาชนคนไทยผู้ที่มีเงินล้นมือและนำเงินไปฝากไว้กับสถาบันการเงินซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม้พ้นธนาคารพาณิชย์ก็ย่อมต้องรู้สึกวิตกเป็นธรรมดาว่าหากในอนาคตเกิดมีปัญหาแบงก์ล้มหรือธนาคารพาณิชย์เจ๊งขึ้นมาจริงๆแล้วจะทำอย่างไรเพราะพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีข้อจำกัดการคุ้มครองวงเงินลงในทุกๆปี

            มีวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองเงินฝากทุกบัญชีในปีแรกไม่จำกัดวงเงิน ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท และปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท ต่อ 1 บัญชีต่อสถาบันการเงิน 1 แห่ง ซึ่งการบังคับใช้ในครั้งนี้ จะส่งผลให้ประชาชนที่มีเงินฝากมากกว่า 1 ล้านบาท จะเลือกการออมเงินในรูปแบบอื่น เช่น การลงทุนในตลาดทรัพย์ การซื้อตราสารหนี้ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้ตลาดเหล่านี้มีเม็ดเงินจากการลงทุนเพื่อออมเงินของประชาชนเข้ามาในตลาดมากยิ่งขึ้น

            ซึ่งการคุ้มครองเงินฝากจะเหลือไม่เกิน1ล้านบาทต่อ1สถาบันการเงิน เมื่อเป็นเช่นนี้นักลงทุนที่มีวงเงินมากกว่า1ล้านบาทคงพิจารณาหาทางเลือกอื่นเพื่อผลตอบแทนที่ดีกว่าโดยทางเลือกที่ใกล้เคียงซึ่งสถาบันเงินฝากบางแห่งมีควบคู่ไปด้วยกันคือบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.)

         พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 เป็นพระราชบัญญัติที่ออกมาเพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาลที่มีมากเกินไป ซึ่งจากเดิมรัฐจะรับประกันเงินฝากเต็มจำนวนมาเป็นรับประกันแบบจำกัดวงเงิน มองดูกันแล้วมันเป็นกันถ่ายโอนความเสี่ยงจากภาครัฐที่มีมหาศาลกระจายสู่ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินฝากเอง

        ในระยะแรกคงจะเป็นระยะปรับตัวสำหรับผู้ที่ฝากเงินรายเก่าที่ใช้การประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยการทยอยลดการค้ำประกันลงดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

         จากพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ คงจะทำให้ผู้ที่ฝากเงินเกิดความไม่มั้นใจในสถาบันการเงินขึ้นมากแต่ถ้าเทียบความเสี่ยงแล้วการฝากเงินกับสถาบันการเงินยังคงเป็นตัวเลือกที่มีความเสี่ยงน้อยและเป็นที่นิยมกันมากสำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ คงเป็นหน้าที่ของเราแล้วในตอนนี้ที่จะต้องจัดระเบียบการจัดการเงินฝากของเราใหม่

         ส่วนในแง่การลงทุนนั้นเรื่องนี้คงทำให้เกิดความหวาดกลัวในความเสี่ยงมากขึ้น นักลงทุนบางรายที่ไม่มั้นใจ หรือไม่พอใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเทียบกับความเสี่ยงอาจหันไปลงทุนในประเภทอื่นๆ เช่น ซื้อพันธบัตร หุ้น หรือหน่วยลงทุนต่างๆ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากกว่า

นายจีรพันธ์ ผิวดี (ราชาฝันสลาย)
วันที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้
1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี
พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน
โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงิน
สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร
หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ความคิดเห็น : กระผมคิดว่า พ.ร.บ.นี้จะคุ้มครองสำหรับผู้ฝากเงินรายย่อย ส่วนผู้ฝากเงินรายใหญ่ก็ต้องกระจายความเสี่ยง ถ้าหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น ก็สามารถถอนเงินออกไปได้ ก็ทำให้มีเงินไหลเวียนเข้าในตลาดทุนมาก

สุรีย์รัตน์ ชูริขิต

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก

      มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่11สิงหาคมที่ผ่านมาสำหรับพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากซึ่งจะมีสถาบันคุ้มครองเงินฝากเข้ามาทำหน้าที่แทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเข้ามาทำหน้าที่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย

มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น

การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

ในระยะแรกคงจะเป็นระยะปรับตัวสำหรับผู้ที่ฝากเงินรายเก่าที่ใช้การประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยการทยอยลดการค้ำประกันลงดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

 (2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นผลดีสำหรับบุคคลที่ฝากเงินรายย่อยๆ ส่วนบุคคลที่ฝากเงินเป็นจำนวนมาก ก็ควรกระจายความเสี่ยงโดยการฝากเงินหลายธนาคาร ซึ่งใน พรบ. ฉบับนี้จะส่งผลในแง่ดีในเรื่องของการลงทุนฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆ คนลงทุนกัน

จากการประกาศใช้ พรบ.คุ้มครองเงินฝาก เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านดิฉันคิดว่าน่าจะส่งผลดีต่อการลงทุนและเศรษฐกิจในภาพรวมเพราะประชาชนจะได้มีการกระจายการลงทุนมากขึ้น ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้น โดยแต่ก่อนเงินทุนส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในรูปเงินฝากซึ่งถือว่าเงินทุนไม่ค่อยจะกระจายเข้าสู่ระบบมากเท่าที่ควร

ปิยะวรรณ หน่องพงษ์

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 เป็นพระราชบัญญัติที่ออกมาเพื่อลดภาระทางการคลังของรัฐบาลที่มีมากเกินไป ซึ่งจากเดิมรัฐจะรับประกันเงินฝากเต็มจำนวนมาเป็นรับประกันแบบจำกัดวงเงิน มองดูกันแล้วมันเป็นกันถ่ายโอนความเสี่ยงจากภาครัฐที่มีมหาศาลกระจายสู่ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของเงินฝากเอง ในระยะแรกคงจะเป็นระยะปรับตัวสำหรับผู้ที่ฝากเงินรายเก่าที่ใช้การประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยการทยอยลดการค้ำประกันลงดังนี้ (1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี (2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน (3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท (4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท จากพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ คงจะทำให้ผู้ที่ฝากเงินเกิดความไม่มั้นใจในสถาบันการเงินขึ้นมากแต่ถ้าเทียบความเสี่ยงแล้วการฝากเงินกับสถาบันการเงินยังคงเป็นตัวเลือกที่มีความเสี่ยงน้อยและเป็นที่นิยมกันมากสำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ คงเป็นหน้าที่ของเราแล้วในตอนนี้ที่จะต้องจัดระเบียบการจัดการเงินฝากของเราใหม่ ส่วนในแง่การลงทุนนั้นเรื่องนี้คงทำให้เกิดความหวาดกลัวในความเสี่ยงมากขึ้น นักลงทุนบางรายที่ไม่มั้นใจ หรือไม่พอใจกับผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเทียบกับความเสี่ยงอาจหันไปลงทุนในประเภทอื่นๆ เช่น ซื้อพันธบัตร หุ้น หรือหน่วยลงทุนต่างๆ ซึ่งอาจให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับความเสี่ยงมากกว่า

การฝากเงินกับสถาบันการเงินเป็นประโยชน์ ในการออมเงินของผู้ฝากเงินในอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไป อีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลัง สมควรนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม โครงสร้างของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

(1) การจัดตั้ง กำหนดให้สถาบันมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น

(2) วัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ วัตถุประสงค์ของสถาบันมี 3 ประการ คือ คุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงิน เสริมสร้างความมั่นคง และเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงิน และดำเนินการกับสถาบันการเงิน ที่ถูกควบคุม และชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน สถาบันมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด เช่น บริหารจัดการกองทุน ทุนและทรัพย์สินของสถาบัน มีอำนาจกระทำนิติกรรมใดๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักรออกตั๋วเงินหรือตราสารทางการเงินตลอดจนลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้และมีอำนาจหน้าที่ประการสำคัญ คือเรียกเก็บเงินที่สถาบันการเงินนำส่งเข้ากองทุนคุ้มครองเงินฝากและจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินหรือจ่ายเงินให้แก่สถาบันการเงินที่ควบหรือรับโอนกิจการหรือสถาบันการเงินที่รับโอนเงินฝาก ภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

(3) เงินทุนกำหนดให้รัฐบาลจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สถาบันเป็นวงเงิน ไม่เกินหนึ่งพันล้านบาท และกำหนดทุนของสถาบัน ได้แก่ (ก) เงินทุนที่รัฐบาลจัดสรรให้ (ข) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของสถาบัน (ค) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่มีผู้มอบให้ (ง) ดอกผลของกองทุนที่คณะกรรมการจัดสรรให้ (จ) ดอกผลหรือรายได้จากเงินหรือทรัพย์สินของสถาบัน

(4) การเงินและการบัญชี กำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก สถาบันต้องจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีด้วย

(5) คณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากนี้นอกจากจะมีประโยชน์ต่อตัวของผู้ออมแล้วยังส่งผลประดยชน์ต่อประเทศชาติอีกด้วย

พงศ์พันธ์ เกริกชัยวัน

วันที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ 1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงิน สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิด ผมคิดว่า เป็นผลดีสำหรับบุคคลที่ฝากเงินรายย่อยๆ ส่วนบุคคลที่ฝากเงินเป็นจำนวนมาก ก็ควรกระจายความเสี่ยงโดยการฝากเงินหลายธนาคาร ซึ่งใน พรบ. ฉบับนี้จะส่งผลในแง่ดีในเรื่องของการลงทุนฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆ คนลงทุนกัน

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

สำหรับความคิดเห็นของดิฉัน คิดว่า พรบ.คุ้มครองเงินฝากที่ออกมาฉบับนี้ ช่วยเพิ่มความมั่นใจและคุ้มครองความเสี่ยงของผู้ฝากรายย่อยได้ดีทีเดียว แต่เนื่องจากการคุ้มครองเงินฝากนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวนเงินฝาก ดิฉันจึงคิดว่าควรที่จะกระจายความเสี่ยงไปลงทุนในหุ้นด้วย เพราะได้ค่าตอบแทนสูงกว่าค่ะ

นางสสาวศโนชา ปั้นสลัก

นางสาวศโนชา ปั้นสลัก 48473120123

พรบ.เงินสด ฉบับใหม่

จาการที่มีผลใช้พรบ.นี้ เป็นผลให้สถาบันการเงินของรัฐได้หารือร่วมกันแล้วว่า จะไม่เข้าร่วมในพ.ร.บ.สถาบันเงินฝาก ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค. เป็นต้นไป เนื่องจากมีรัฐบาลถือหุ้นในทุกธนาคารของรัฐ 100% ซึ่งมีความมั่นคงอยู่แล้ว อีกทั้งหากต้องเข้าร่วม ต้องจ่าย 0.4% ของยอดเงินฝาก เพื่อสมทบทุนให้สถาบันเพื่อใช้คุ้มครองเงินฝากต่อไป

นางสุกัญญา จันทรปรรณิก รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า หลังจากที่พ.ร.บ.ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ส่งผลให้ผู้ฝากเงินรายย่อยได้รับการคุ้มครองมากขึ้น เนื่องจากเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต ผู้ฝากเงินรายย่อยที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท มาขอความคุ้มครองภายใน 90 วัน และจากนั้นสถาบันการเงินดังกล่าวจะจ่ายเงินคืนภายใน 30 วัน

การฝากเงินหลังจากนี้ ต้องการให้ประชาชนคำนึงถึงความมั่นคง และสถานะทางการเงินของแต่ละธนาคาร โดยสถาบันการเงินจำเป็นต้องให้ความรู้ถึงเรื่องราวเหล่านี้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ฝากเงินที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท แต่ทั้งนี้เชื่อว่า ระยะ 1-2 ปีนี้ คงจะยังไม่เห็นการโยกย้ายเงินฝากมากนัก แต่หลังจากนั้น จะเห็นภาพเงินฝากที่กระจายตัวออกไปอย่างชัดเจน (ธปท.) ได้เรียกขอข้อมูลการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว แต่ตนไม่ทราบว่ามีผู้รายงานเข้าไปบ้างหรือยัง.

นางสาวศรีสุดา นิ่มโอ่

วันที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ // 1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร

หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มทำความเข้าใจกับผู้ฝากเงินแล้วเพื่อเตรียมความพร้อมถ้าหากจะมองในแง่ดีคือต่อไปประชาชนผู้ฝากเงินจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะบริหารจัดการเงินให้มีประเสิทธิภาพ แต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอาจจะทำให้ประชาชนมีความสับสนบ้างแต่ก็เป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมาใช้คืนให้กับผู้ฝาก

สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก .... พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง...

วันที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ // 1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร

หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มทำความเข้าใจกับผู้ฝากเงินแล้วเพื่อเตรียมความพร้อมถ้าหากจะมองในแง่ดีคือต่อไปประชาชนผู้ฝากเงินจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะบริหารจัดการเงินให้มีประเสิทธิภาพ แต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอาจจะทำให้ประชาชนมีความสับสนบ้างแต่ก็เป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมาใช้คืนให้กับผู้ฝาก

สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก .... พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง...

ดิฉันคิดว่าน่าจะส่งผลดีต่อการลงทุนและเศรษฐกิจของไทยในภาพรวมเพราะจะทำให้มีการกระจายการลงทุนมากขึ้น มีเงินทุนหมุนเวียนในระบบมากขึ้นค่ะ

ภัทรนันท์ อาจวิเชียร

ผลกระทบกับผู้ฝากในกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ 1 ล้านบาท อาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้านำเงินไปฝากธนาคาร และทำให้ผู้มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ต้องกระจายเงินฝากไปฝากไว้กับสถาบันการเงินหลายแห่ง เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ธัญญารัตน์ คุ่ยหอม

นางสาวธัญญารัตน์ คุ่ยหอม รหัส 48473120121

พรบ.คุ้มครองเงินฝาก ได้เริ่มใช้เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2551

ในกฎหมายคุ้มครองเงินฝากฉบับนี้ได้กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมกิจการสามารถปรับลดปริมาณเงินฝากและดอกเบี้ยจ่ายได้ในกรณีที่สถาบันการเงินในระบบที่ส่อเค้าถูกปิดกิจการแล้วมีการระดมเงินฝากมาพยุงฐานะผ่านการให้ดอกเบี้ยจ่ายสูงเกินตลาด เพื่อจูงใจผู้ฝากเงิน ถือไม่เป็นธรรมกับสถาบันการเงินรายอื่นในระบบได้ อีกทั้งต่อไปรัฐบาลสามารถเพิ่มวงเงินคุ้มครองก็ได้หรือเพิ่มการคุ้มครองผู้ฝากเงินประเภทอื่นเพิ่มเติมจากปัจจุบันก็ได้

ธปท.มั่นใจปีแรกประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากจะไม่มีการโยกเงิน เพราะยังคุ้มครองเต็มจำนวน แต่สั่งกำชับแบงก์ติดตามพฤติกรรมของผู้ฝากเงินอย่างใกล้ชิดพร้อมทั้งสั่งทำแผนฉุกเฉินหากเกิดการเคลื่อนย้ายเงินฝากผิดปกติ จับตากรณีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอย่างผิดปกติเพื่อเร่งระดมเงินฝากมาพยุงฐานะ

จุฑาทิพย์ ระเวงวรรณ

ความคิดเห็น : หากใครมีเงินมากก็ต้องหาความรู้ทำความเข้าใจว่ามีทางเลือกใด ที่จะมีประโยชน์ต่อการลงทุน ถ้าไม่อยากเสี่ยงก็ควรกระจายการลงทุน คือ ฝากธนาคารบ้าง ลงทุนในกองทุน หรือตราสารอื่นๆ แต่การลงทุนในตราสารอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ก็ได้ผลตอบแทนสูง หรือถ้าต้องการความมั่นคง แต่ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง ก็อาจลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ค่ะ

      กองทุนคุ้มครองเงินฝาก ประกอบด้วย เงินที่สถาบันการเงินนำส่ง ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการชำระบัญชี ทั้งนี้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้อง นำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และเมื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนแล้วสถาบันการเงินจะไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป หากสถาบันการเงินใดไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเงินดังกล่าว และให้ถือว่าเงินที่ส่งเข้ากองทุนและเงินเพิ่มเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงิน

บทเฉพาะกาล

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น จากที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

พรบ.ออกมาดีเพราะจะได้มีการคุ้มครองผู้ฝากเงินและลูกค้าที่ฝากเงินมีความมั่นใจที่จะกล้าเสี่ยงต่อการฝากเงินเพราะปลอดภัย

พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

      พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2550 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 

1. สถาบันคุ้มครองเงินฝากเป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ บริหารงานโดยคณะกรรมการมีบทบาทในการจ่ายคืนเงินฝากให้ผู้ฝากและดำเนินการกับสถาบันการเงินที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต

2. กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ไทยสาขาธนาคารต่างประเทศ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เข้าเป็นสมาชิกของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และนำส่งเบี้ยประกันในอัตราร้อยละของยอดเงินฝากเฉลี่ยแทนการนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เบี้ยประกันอาจเก็บแตกต่างกันตามประเภทหรือฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินได้

 3. การคุ้มครองผู้ฝากเงินกำหนดไว้เป็นต่อรายผู้ฝากต่อสถาบันการเงินในจำนวนเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้นเมื่อจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากแล้ว จะทยอยลดการคุ้มครองผู้ฝากเงินจากเต็มจำนวนเป็นจำนวนที่กำหนดตามกฎหมาย เพื่อให้ผู้ฝากและสถาบันการเงินได้มีเวลาในการปรับตัว โดยทยอยลดการค้ำประกันในช่วง 4 ปี ดังนี้

ปีที่ 1 คุ้มครองเต็มจำนวน

ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท

ปีที 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท

ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท

ปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท

4. เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วย

     พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบก (เริ่มใช้ 11 ส.ค. 2551)

    พรบ. ฉบับนี้จะส่งผลในแง่ดีในเรื่องของการลงทุนฝากเงินกับธนาคาร ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายๆ คนลงทุนกัน

พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง..

การคุ้มครองเงินฝากมีวัตถุประสงค์ดูแลเงินฝากของรายย่อยเป็นหลัก ในกรณีของคนรวย หรือภาคธุรกิจ เชื่อว่า ถึงแม้ว่าจะมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจริง กลุ่มคนเหล่านี้จะสามารถเลือกสถาบันการเงินที่มั่นคงในการฝากเงินก้อนใหญ่ หรือบัญชีกระแสรายวันเพื่อหมุนเวียนในการทำธุรกิจได้

การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงิน

ความเสี่ยงที่สำคัญของการลงทุนในหุ้น คือความเสี่ยงจากราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้น-ลง ซึ่งอันนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก ที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลขาดทุนจากราคาหุ้นที่ลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถได้ผลตอบแทนหรือกำไรสูงมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้ที่จะลงทุนในหุ้นต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีการศึกษาหาข้อมูลมาอย่างดี โดยอาจลงทุนผ่านกองทุนรวมที่เน้น ลงทุนในหุ้นซึ่งมีเงื่อนไขของการลงทุนให้เลือกหลากหลายได้”

สำหรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด ซึ่งจัดให้อยู่ที่ยอดของพีระมิด แต่ก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงมากเช่นกัน คือการลงทุนในตลาดล่วงหน้าเช่น สินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้า และตราสารอนุพันธ์ อันนี้ไม่ได้แนะนำให้กับผู้ฝากเงินหรือผู้ออมเงินปกติทั่วไป เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญสูง

เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบด้วย

(1) เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่นำมาคำนวณยอดเงินฝากถัวเฉลี่ย และดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดจากเงินฝากนั้นจนถึงวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และ

(2) เงินฝากดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องเป็นเงินฝากและ ดอกเบี้ยที่เป็นเงินบาท ต้องเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ โดยต้องมิใช่เงินฝากในบัญชีประเภทบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและให้ คณะกรรมการประกาศรายละเอียดประเภทเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ในราชกิจจานุเบกษา

ข้าพเจ้าคิดว่า 

พรบ.ทำให้มีความปลอดภัยในการลงทุนมากขึ้น

พิมลักษณ์ ทองเลี่ยมนาค

นางสาวพิมลักษณ์ ทองเลี่ยมนาค รหัส 48473120093

พรบ.คุ้มครองเงินฝาก ดีเดย์11ส.ค.51-ประชาชนต้องรู้

สำหรับสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 34 แห่ง บริษัทเงินทุน 5 แห่ง และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ 3 แห่ง

ไม่ครอบคลุมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวมถึงธนาคารและสถาบันการเงินอื่นที่มีกฎหมายเฉพาะตั้งขึ้น เช่น ธนาคารอิสลาม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ประกอบด้วย กรรมการที่มาจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 5 คน โดยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลัง และด้านกฎหมายอย่างน้อยด้านละ 1 คน มีผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นกรรมการ และเลขานุการ โดย รมว.คลัง เสนอชื่อประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง

หลักการของกฎหมายดังกล่าวต้องการลดภาระการค้ำประกันเงินฝากของรัฐบาลจำนวนมหาศาลกว่า 1.4 ล้านล้านบาท จากในอดีตที่ใช้เงินภาษีของประชาชนจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนให้ผู้ฝากเงินที่เป็นลูกค้าอยู่ในธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาจนต้องปิดกิจการ

โดยพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก กำหนดทยอยลดการคุ้มครองผู้ฝากเงินเต็มจำนวนตามที่กำหนดตามกฎหมาย คือ

ในปีแรก (11 ส.ค.51-10 ส.ค.52) สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวน ผู้ฝากเงินจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

ปีที่ 2 (11 ส.ค.52-10 ส.ค.53) ให้การคุ้มครองเงินฝาก 100 ล้านบาท

ปีที่ 3 (10 ส.ค.53-10 ส.ค.54) ให้การคุ้มครองเงินฝาก 50 ล้านบาท

ปีที่ 4 (11 ส.ค.54-10 ส.ค.55) ให้การคุ้มครองเงินฝาก 10 ล้านบาท

และนับจากวันที่ 11 ส.ค.55 ที่เข้าสู่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ให้การคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่งเท่านั้น

อาทิ หากอยู่ในช่วงปีที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 ส.ค.52-10 ส.ค.53 กรณีมีเงินฝากในบัญชี 200 ล้านบาท ถ้าสถาบันการเงินที่เราฝากเงินไว้ปิดกิจการ จะได้คืนเพียง 100 ล้านบาท ส่วนที่เกินผู้ฝากรอรับคืนจากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินภายหลังสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชี เพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิด แล้วนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้

ถ้าหากสถาบันการเงินที่ผู้ฝากเงินถูกสั่งปิดกิจการ ผู้ฝากเงินสามารถยื่นคำขอรับเงินฝากได้ภายใน 90 วัน นับจากวันที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากประกาศกำหนดให้มายื่นขอรับเงิน หลังจากนั้นผู้ฝากเงินจะได้รับเงินฝากคืนภายใน 30 วัน

นอกจากนี้ ผู้ฝากเงินจะได้รับดอกเบี้ยค้างจ่ายของเงินฝาก จนถึงวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต แต่เฉพาะวงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อให้ครอบคลุมผู้ฝากเงินรายย่อย

การคุ้มครองเงินฝาก ครอบคลุมเงินฝากทุกประเภทที่เป็นเงินบาทในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ แต่ไม่คุ้มครองเงินฝากในบัญชีประเภทเงินบาทหรือเงินสกุลต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (นอนเรสซิเดนต์)

ชุดานาฏ หออัมพวันวงศ์

“พรบ.คุ้มครองเงินฝาก” 2551 ซึ่งมีผลบังคับใช้ วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นการคุ้มครองผู้ฝากรายย่อย โดยมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากด้วยทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท เพื่อรับประกันเงินฝากของประชาชนรายย่อยที่ฝากอยู่ในธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ประกันขั้นสูงสุด 1 รายต่อ 1 บัญชีต่อ 1 ล้านบาทตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในปีแรกๆของการบังคับใช้กฎหมายอาจจะทยอยลดวงเงินค้ำประกันลงมา จากปีแรก 50 ล้านบาท ปีต่อไปเหลือ 25 ล้านบาท ปีที่สามเหลือ 10

ล้านบาท ก่อนจะเหลือเพียง 1 ล้านบาท ในปีที่ 4‐5 ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่อผู้ฝากเงิน เมื่อมีการลดวงเงินค้ำประกันลงในปีหลัง การลดวงเงินคำประลงในปีหลังจะทำให้ผู้ฝากเงินมีความเสี่ยง เมื่อถ้าสถาบันการเงินเกิดมีปัญหาผู้ฝากอาจไม่ได้เงินคืนตามจำนวนฝาก ซึ่งเป็นเหตุผลที่จะทำให้ผู้ฝากเงิน ฝากกับธนาคารลดลงในปีหลัง แต่ ผู้ฝากอาจนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือหลักทรัพย์ด้านอื่นแทน แต่ก็จะเป็นผลดีกับธุรกิจอื่นมากขึ้น เพราะเมื่อมีผู้ฝากเคลื่อนย้ายเงินฝากไปลงทุนในธุรกิจอื่น จะทำมีการกระจายการลงทุนมากขึ้น และก็จะทำให้เงินหมุนเวียนมากขึ้น เศรษฐกิจก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก

   จุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้งพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย

คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน
โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

   และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ
   จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

   
อย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงินประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร

  หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
ขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มทำความเข้าใจกับผู้ฝากเงินแล้วเพื่อเตรียมความพร้อมถ้าหากจะมองในแง่ดีคือต่อไปประชาชนผู้ฝากเงินจะต้องเรียนรู้วิธีที่จะบริหารจัดการเงินให้มีประเสิทธิภาพ แต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอาจจะทำให้ประชาชนมีความสับสนบ้างแต่ก็เป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจากการที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมาใช้คืนให้กับผู้ฝาก
สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝาก .... พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการบริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคารจะลดลง... แบ่งปันกันอ่าน  แต่รอความเห็นอื่นๆนะค่ะ 

และในการกำหนดสัดส่วนความคุ้มครองเงินฝากควรกำหนดเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์จากยอดเงินฝากในบัญชีเงินฝากไปเลย  นะคะ เช่น..

....ปีแรก                                  คุ้มครอง 100% เต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี
...ปีสอง                                   คุ้มครองรวม 85 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี 
...ปีสาม                                  คุ้มครองรวม 60 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี 
...ปีสี่                                      คุ้มครองรวม 45 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี
...ปีห้าเป็นต้นไป                  คุ้มครองรวม 30 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

นางสาวศิริกุล อุ่นบุญเรือง

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายคืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะมั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากช่วยให้สถาบันการเงินแข่งแกร่งและปรับตัวก้าวสู่การแข่งขันในตลาดโลกมากขึ้น พร้อมทั้งลดภาระใช้เงินภาษีประชาชนมาหนุนสถาบันการเงินที่บริหารเจ๊ง แม้กฎหมายฉบับนี้เป็นเพียงการตั้งรับกับการแก้ไขปัญหาทั้งเข้าไปดูแลเร็วขึ้น ลดความเสี่ยง และทำให้เจ้าหนี้-ผู้ฝากเงินได้เงินคืนเร็ว

ดังนั้น ในกฎหมายฉบับนี้ จะเน้นคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยที่อาจมีความเข้าใจและข้อมูลที่น้อยกว่าผู้ฝากเงินรายใหญ่ และให้เงินคืนเร็วที่สุด คือ ภายใน 30 วัน รวมทั้งผู้ฝากเงินสามารถสามารถปรับตัวได้ทันภายใน 5 ปีโดยในปีแรกสร้างความเข้าใจกับผู้ฝากเงินก่อน ทำให้ยังคงคุ้มครองเต็มจำนวนอยู่ ส่วนปีสองลดลงเหลือ 100 ล้านบาท ปีที่สาม 50 ล้านบาท และปีที่สี่ 10 ล้านบาท ซึ่งเป็นการคุ้มครอง 1 บัญชีต่อสถาบันการเงิน ทำให้ผู้ฝากเงินสามารถทยอยฝากเงินได้กับสถาบันการเงินในระบบทั้ง 43 แห่งได้ ส่งผลให้สถาบันการเงินในระบบมีการดูแลความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

จึงขอแสดงความคิดเห็นดังนี้ "เห็นด้วยที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เพราะต่อไปนี้รัฐบาลไม่จำเป็นต้องเอาเงินภาษีของประชาชนไปใช้เพื่ออุ้มธนาคารพาณิชย์ ที่ปล่อยหนี้สินโดยไม่รอบครอบทำให้เกิดหนึ้เสียตามมา โดยต่อจากนี้การปล่อยสินเชื่อต่างๆต้องมีความรอบครอบขึ้น เเต่ให้รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควร ช่วยกันให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพรบ.ประกันเงินฝาก เนื่องจากประชาชนทั่วไปอาจไม่รู้ว่าการมีพรบ นั้นมีไปเพื่ออะไร เเล้วจะได้รับผลประทบอะไรตามมา"

จากการที่มีพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ ทำให้นักลงทุนหันมาสนในใจทางเลือกอื่นแทนการฝากเงินไว้ ซึ่งเม็ดเงินที่ไหลออกจากระบบเงินฝากจะไม่วิ่งเข้าสู่ตลาดหุ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจกำลังเผชิญกับภาวะความผันผวนทางเศรษฐกิจ การเมือง และภาวะเงินเฟ้อนักลงทุนจึงหันมาสนใจทางเลือกต่างๆ เหล่านี้

• ธนาคารของรัฐ และธนาคารขนาดใหญ่

ผู้ที่มีเงินฝากจำนวนมากโยกย้ายเงินไปฝากธนาคารของรัฐ ด้วยความเชื่อที่ว่ารัฐจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินของรัฐต้องประสบปัญหาจนล้มละลาย รวมทั้งการโยกย้ายเงินไปฝากธนาคารขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งระบบสถาบันการเงินไทยในอนาคตจะมีการร่วมมือระหว่างกันมากขึ้น เพื่อสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน

• ธุรกิจกองทุนรวม อาทิกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมตราสารทางการเงินระยะสั้น กองทุนรวมที่ลงทุนในทองคำ กองทุนรวม Gold Linked กองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวม FIF

พ.ร.บ.นี้จะเป็นปัจจัยบวกหนึ่งต่อธุรกิจกองทุนรวมให้เติบโตขึ้นได้ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพ.ร.บ.ฉบับนี้จะมองหารทางเลือกการลงทุนเพื่อทดแทนเงินฝาก ซึ่งส่วนหนึ่งก็จะไหลมายังธุรกิจกองทุนรวม

• ธุรกิจประกันชีวิต

เนื่องจากผู้ฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ จะแสวงหาช่องทางการลงทุนใหม่ๆ เพื่อกระจายความเสี่ยงจากการฝากเงิน เพราะเงินฝากในระบบสถาบันการเงินมีโอกาสที่จะไหลออกไปสู่การลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า

• หลักทรัพย์ต่างๆ โดยเฉพาะตราสารหนี้

เพราะมีความเสี่ยงจากการลงทุนต่ำ ได้ผลตอบแทนสม่ำเสมอและคาดการณ์ได้ ที่อาจทำให้ประชาชนหันไปลงทุนเพื่อกระจายการออมเงินได้มากขึ้น ซึ่งตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์จะมีความเสี่ยงที่สูงกว่า

• อื่นๆ เช่น การลงทุนในที่ดิน

เป็นอีกทางเลือกหนึ่งหากนักลงทุนต้องการความั่นคงแต่ไม่ค่อยมีสภาพคล่อง

บรรณานุกรม

agriman.doae.go.th

course.eau.ac.th

mansci.tru.ac.th

www.chiangmaiarea2.go.th

www.geosities.com

www.infocomm-maejo.net

www.service.siam.edu

www.mct.rmutp.ac.th

พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่11สิงหาคมที่ผ่านมาสำหรับพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากซึ่งจะมีสถาบันคุ้มครองเงินฝากเข้ามาทำหน้าที่แทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(กองทุนฟื้นฟูฯ)โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะเข้ามาทำหน้าที่จ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ฝากเงินที่ได้รับผลกระทบเมื่อเกิดเหตุสถาบันการเงินถูกปิดกิจการ

ในส่วนของประเทศไทยการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากเริ่มเห็นอย่างเป็นทางการเมื่อวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี2540ที่มีสถาบันเงินฝากหลายแห่งปิดทำการจนต้องมีการตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินหลังจากนั้นกระทรวงการคลังจึงเห็นความสำคัญในการนำระบบคุ้มครองเงินฝากมาใช้กับประเทศไทยจึงได้มีการศึกษาและยกร่างกฎหมายสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นมาจนร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่13กุมภาพันธ์พ.ศ.2551โดยจะมีผลใช้บังคับในวันที่11สิงหาคมพ.ศ.2551

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ในช่วงแรกจะยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของระบบฝากเงินเท่าไรนักแต่เมื่อถึงเวลา 1-2 ปีผู้ฝากเงินจะเริ่มศึกษาช่องทางการลงทุนใหม่กันมากขึ้นโดยการพูดปากต่อปากจะเป็นตัวที่ช่วยกระจายช่องทางได้ไวมากที่สุดซึ่งผู้ฝากจะมีการพิจารณาถึงช่องทางที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเพิ่มขึ้น

สรุปว่า

พ.ร.บ.เงินฝากเริ่มมีผลบังคับใช้จะส่งผลดีต่อนักลงทุนโดยตรงเนื่องจากเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับนักลงทุนโดยลูกค้าที่ฝากประจำกับสถาบันเงินฝากจะเริ่มหันมาหาโอกาสที่ให้ผลตอบแทนอื่นๆที่ดีกว่า

การมีพรบ.ออกมาทำให้ประชาชนผู้ที่มีรายได้สูงนำเงินรายได้ไปฝากกับธนาคารต่างๆมากขึ้น จากการที่ฝากแต่ธนารคารเพียงแห่งเดียว ทำให้มีการหันไปฝากกับธนาคารต่างๆ มากขึ้น เพราะเป็นการป้องกันความเสี่ยงของธนาคาร และนอกจากนี้ทำให้มีการหันไปลงทุนในหุ้นต่างๆ มากขึ้นอีกด้วยค่ะ

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ในความคิดเห็น : จากปัจจุบัน รัฐได้ คุ้มครองเงินฝาก อยู่ที่1 ล้านบาท

ถือว่าเป็นข้อดีอย่างมากต่อภาคเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนหันมาเห็นความสำคัญของ

เงินมากขึ้น คนที่มีเงินมาก ก็ต้องระวังเงินตัวเองที่อยู่ในธนาคาร แล้วว่าไม่ปลอดภัยต่อ

การลงทุนในธนาคาร เงินก็เกินการหมุนเวียนมากขึ้น ในระบบเศรษฐกิจ เช่น ลงทุนในเรื่อง ของการประกันชีวิต ทอง ตราสารทุน หุ้น อสังหาริมทรัพย์ กันมากขึ้น

ทำให้เศรษฐกิจเดินได้อย่างต่อเนื่อง

ณัฐ ตันเจริญ

48473120089

การเงินการธนาคาร02

พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากที่มีผลบังคับใช้ 11 ส.ค.นี้น่าจะทำให้ผู้ที่มีเงินออมกระจายความเสี่ยงโดยอาจโยกเงินบางส่วนมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น จึงน่าจะส่งผลดีต่อภาพรวมตลาดหุ้นไทยในอนาคตได้ เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้จะเริ่มทยอยลดการค้ำประกันเงินฝากสำหรับ บัญชีที่มีเงินฝากจำนวนมาก จนกระทั่งปีที่ 5 จะค้ำประกันบัญชีเงินฝากทั้งจำนวนที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อบัญชีต่อรายต่อธนาคารเท่านั้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ประชาชนผู้ฝากเงินทั่วไปสนใจและตื่นตัวในการจัดการด้านการเงินและการลงทุน

ขณะเดียวกันผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบยังอยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูง ดัวยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนทั่วไปบางส่วนมองหาช่องทาง ในการสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในหลักทรัพย์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งได้รับความสนใจ โดยเฉพาะผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน หลักทรัพย์ซึ่งส่วนหนึ่งพิจารณาได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ

ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงมองเห็นโอกาสที่ดีที่จะให้การสนับสนุนให้บริษัท หลักทรัพย์ต่างๆ เปิดให้มีการทำธุรกรรมผ่านสำนักงานสาขาของบริษัทที่ตั้งอยู่ในธนาคารพาณิชย์ เป็นหนึ่งในแผนการขยาย ฐานผู้ลงทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเป็น การทำงานร่วมกับบริษัทหลักทรัพย์ และธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งกับบริษัทหลักทรัพย์และธนาคาร เนื่อง จากสามารถลดต้นทุนในการเปิดสาขาของ บริษัทหลักทรัพย์ และยังสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของธนาคารได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น ในขณะที่ลูกค้าของธนาคารก็จะได้รับความ สะดวกในการทำธุรกรรมในตลาดทุนมากขึ้น

พ.ร.บ.เป็นการจำกัดวงเงินการคุ้มครองเงินฝาก จากปัจจุบันที่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน จะทยอยลดลงจนเหลือวงเงินคุ้มครองเงินฝากเพียง 1 ล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่ในปีที่สองจะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 100 ล้านบาท ในปีที่สามจะคุ้มครองเงินฝากในจำนวน 50 ล้านบาท ในปีที่สี่จะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท โดยวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองจะได้รับคืนทันทีหรือภายใน 30 วัน หลังจากสถาบันการเงินถูกปิด แต่ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาท ผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

อัจฉริยา จันทร์แจ่มฟ้า

ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ จะเป็นวันที่ พรบ สถาบันคุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้ หลายคนคงสงสัยว่า มันคืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร

เงินฝาก จิงๆ แล้ว ไม่ใช่การลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยง (risk-free) เนื่องจาก เงินฝาก มีลักษณะคล้ายตราสารหนี้ประเภทหนึ่ง (debt instrument หรือ fix income instrument) ดังนั้น ความเสี่ยง (default risk) จึงขึ้นกับผู้ออก เป็นหลัก และผู้ออกตราสารเงินฝากก้อคือ ธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นเงินฝากจึงมีความเสี่ยง ไม่เหมือนกับ การลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล (government bond) ซึ่งจะเรียกได้ว่า ปราศจากความเสี่ยง (default risk free) อย่างไรก็ตาม หากปล่อยให้เงินฝากมีความเสี่ยงที่ผันผวนขึ้นกับสถานะของแบงค์ จะทำให้ระบบการเงินไม่มั่นคง โดยเฉพาะในประเทศที่ ตลาดเงินยังอยู่ในช่วงพัฒนา (emerging market)

ดังนั้น เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และ การกลัวปัญหา การแห่ถอนเงินจากแบงค์ (bank panic) เวลามีข่าวในทางไม่ดีเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ประกอบกับ ปัญหาที่เคยมีสถาบันการเงินล้มไปหลายแห่งในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ในช่วงเวลานั้น รัฐบาลได้มีการให้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เข้ามาทำการประกันหรือคุ้มครองเงินฝากในแบงค์ทุกแห่ง เพื่อเรียกความเชื่อมันในระบบสถาบันการเงินกลับมา โดยมีเงื่อนไขให้แบงค์ส่งเงินสมทบ กองทุนฟื้นฟูในสัดส่วน 0.04% ของยอดเงินฝากทั้งหมด การคุ้มครองเงินฝากของกองทุนฟื้นฟู เป็นแบบ blanket guarantee คือ คุ้มครองเต็มจำนวนเงินฝาก

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้บทบาทหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูหมดลง ดังนั้น จึงควรมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่คุ้มครองเงินฝากดังกล่าวโดยตรง ทำให้มีการผลักดันออกมาเป็น พรบ คุ้มครองเงินฝาก ใช้เวลาดำเนินการศึกษาแก้ไขกันนานหลายปี จนได้ข้อสรุป เป็น พรบ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 (Deposit Protection Agency หรือ DPA) โดยจะให้ความคุ้มครองเงินฝาก แบบ partial guarantee คือ คุ้มครองแบบจำกัดวงเงิน โดยวางเป้าหมายไว้ที่การคุ้มครองที่วงเงินฝาก 1 ล้านบาท ในแต่ละแบงค์  โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ 11 สิงหาคม นี้เป็นไป ในปีแรก ยังมีการคุ้มครองเต็มจำนวน และจะลดวงเงินคุ้มครองไปแต่ละปี จนกระทั่งเหลือ 1 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการปรับตัวให้สอดคล้องกัน จำนวนเงินที่คุ้มครองแต่ละปี มีดังนี้

- ปีที่ 1 คุ้มครองเต็มจำนวน
- ปีที่ 2 คุ้มครอง 100 ล้านบาท
- ปีที่ 3 คุ้มครอง 50 ล้านบาท
- ปีที่ 4 คุ้มครอง 10 ล้านบาท
- ปีที่ 5 คุ้มครอง 1 ล้านบาท

ผลกระทบของจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก
- โครงสร้างเงินฝากจะเปลี่ยนไป การแข่งขันเพื่อหาเงินฝากจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะแบงค์ขนาดเล็กที่มีความมั่นคงต่ำกว่าแบงค์ขนาดใหญ่จะต้องหาวิธีการ เช่น เสนอดอกเบี้ยที่สูงขึ้น หรือหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อดึงเงินฝาก นอกจากนี้ แบงค์จะต้องบริหารงานให้ดีขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่สาธารณชน เพื่อดึงดูดให้ประชาชนนำเงินมาฝากที่แบงค์
- พฤติกรรมการออมจะเปลี่ยนไป หากประชาชนรับรู้ว่า เงินฝากไม่ใช่การลงทุนที่ปราศจากความเสี่ยงอีกต่อไป โดยเฉพาะเงินฝากในส่วนที่เกินวงเงินคุ้มครอง ดังนั้น เมื่อการฝากเงินมีความเสี่ยง และยังให้ดอกเบี้ยในระดับต่ำอยู่ ผู้ฝากจึงต้องสรรหาแหล่งการลงทุนอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากับความเสี่ยง เช่น อสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ ประกันชีวิต กองทุนรวม ตั๋วแลกเงิน เป็นต้น ดังนั้น อาชีพการให้คำปรึกษาด้านการเงินส่วนบุคคล (financial planner) จะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น เนื่องจาก การฝากเงินจะเป็นเพียงรุปแบบการลงทุนแบบหนึ่งซึ่งต้องมีการวางแผน ไม่ใช่ฝากเงินไว้แล้วก้อมั่นใจนอนกินดอกเบี้ยไปได้ตลอดอีกต่อไป

สรุปเกร็ดความรู้ - ทำไมเราจึงใช้คำว่า คุ้มครองเงินฝาก แทนคำว่าประกันเงินฝาก เนื่องจาก มองว่า คำว่า "คุ้มครอง" หมายถึงการที่ภาครัฐเข้ามาให้การดูแล และเป็นการคุ้มครองภาคบังคับ ซึ่งผู้ฝากไมได้มีสิทธิเลือก แต่คำว่า "ประกัน" จะหมายถึงการที่ผู้ฝากมีสิทธิเลือกได้ว่า ต้องการให้คุ้มครองมากน้อยแค่ไหน และจ่ายเบี้ยประกันตามอัตราที่เหมาะสม

สาระสำคัญของ ร่างพ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก

- มีองค์กรที่เป็นอิสระชัดเจนทำหน้าที่คุ้มครองผู้ฝากเงิน

- มีสถาบันคุ้มครองเงินฝากทำหน้าที่ติดตามฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงินที่เกิดปัญหา ถูกควบคุม ปิดกิจการ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาต

- คุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินรายย่อยให้มากรายที่สุด โดยกำหนดไว้ที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อรายต่อสถาบันการเงินแต่ละแห่ง (ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์)

- เมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการ ผู้ฝากเงินจะได้รับเงินคืนภายใน 30 วัน เมื่อยื่นคำขอครบถ้วน

นายฐิติกร ต่อสุวรรณ

หลายท่านคงทราบดีว่า พรบ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก 2551 ซึ่งลงนามโดยยุคขิงแก่ ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2551 ในยุคหมูหมัก และต้องนับไปอีก 180 วัน นับจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ... วันที่ 11 สิงหาคม 2551 5 ปี โดยเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ในปีแรกยังคงคุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่ในปีที่สองจะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 100 ล้านบาท ในปีที่สามจะคุ้มครองเงินฝากในจำนวน 50 ล้านบาท ในปีที่สี่จะคุ้มครองเงินฝากในวงเงิน 10 ล้านบาท และในปีที่ 5 จะคุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท โดยวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองจะได้รับคืนทันทีหรือภายใน 30 วัน

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

ปีแรก คุ้มครองเต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

ปีสอง คุ้มครองรวม 100 ล้านบาท

ปีสาม คุ้มครองรวม 50 ล้านบาท

ปีสี่ คุ้มครองรวม 10 ล้านบาท

ปีห้าเป็นต้นไป คุ้มครองรวม 1 ล้านบาท

ขณะเดียวกันผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในระบบยังอยู่ในระดับต่ำ สวนทางกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับสูง ดัวยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ประชาชนทั่วไปบางส่วนมองหาช่องทาง ในการสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งการลงทุนในหลักทรัพย์ก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งได้รับความสนใจ โดยเฉพาะผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุน หลักทรัพย์ซึ่งส่วนหนึ่งพิจารณาได้จากดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ

การกำหนดสัดส่วนความคุ้มครองเงินฝากที่จริงใจและหวังผลเท่าเทียมกันแบบเสมอภาคถ้วนทั่ว ควรกำหนดเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์จากยอดเงินฝากในบัญชีเงินฝากไปเลย รวยมาก รวยน้อย โดนหมดเท่าเทียมกัน ... เช่น

...ปีแรก คุ้มครอง 100% เต็มจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

...ปีสอง คุ้มครองรวม 85 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีสาม คุ้มครองรวม 60 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีสี่ คุ้มครองรวม 45 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

...ปีห้าเป็นต้นไป คุ้มครองรวม 30 % ของยอดเงินฝากแต่ละบัญชี

เมื่อวันที่ ๑๓ ก.พ.ที่ผ่านมาได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบัน

คุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.๒๕๕๑ ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้น ๑๘๐ วัน นับจากวันประกาศใช้  กฎหมายนี้มีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีเงินฝากในธนาคารเพราะไม่ว่าจะมีเงินฝากเป็นแสนล้านหรือหมื่นล้านก็จะได้คืนเพียงแค่ล้านเดียวเท่านั้น

เหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็เพราะว่า จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวน เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไป อีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม 

โครงสร้างของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

กำหนดให้สถาบันมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยรัฐบาลจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สถาบันเป็นวงเงินไม่เกินหนึ่งพันล้านและมีคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากจำนวนอย่างน้อย ๗ คน แต่ไม่เกิน ๙ คน

การคุ้มครองเงินฝาก

แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ กองทุนคุ้มครองเงินฝาก เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองและการจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงิน

            ส่วนที่หนึ่ง กองทุนคุ้มครองเงินฝากประกอบด้วย เงินที่สถาบันการเงินนำส่ง ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการชำระบัญชี ทั้งนี้ สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และเมื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนแล้วสถาบันการเงินจะไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป หากสถาบันการเงินใดไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเงินดังกล่าว และให้ถือว่าเงินที่ส่งเข้ากองทุนและเงินเพิ่มเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงิน

            ส่วนที่สอง เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบด้วย
            (๑) เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่นำมาคำนวณยอดเงินฝาก ถัวเฉลี่ย และดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดจากเงินฝากนั้นจนถึงวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และ

            (๒) เงินฝากดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องเป็นเงินฝากและ

ดอกเบี้ยที่เป็นเงินบาท ต้องเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ โดยต้องมิใช่เงินฝากในบัญชีประเภทบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและให้คณะกรรมการประกาศรายละเอียดประเภทเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครองในราชกิจจานุเบกษา

            ส่วนที่สาม การจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้วจึงเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ตลอดจนสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

            (๑) กำหนดให้สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินตลอดจนเอกสารทั้งปวงของสถาบันการเงินและกำหนดให้คณะกรรมการควบคุม หรือผู้แทนนิติบุคคลของสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการทรัพย์สินของสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินและทรัพย์สิน ตลอดจนเอกสารทั้งปวงให้แก่สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สถาบันการเงินนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต

            (๒) กำหนดหน้าที่ของสถาบันที่จะต้องประกาศกำหนดให้ผู้ฝากเงินมายื่นคำขอรับเงินภายในสี่สิบวันนับแต่วันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

            (๓) กำหนดให้ผู้ฝากเงินมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นคำขอรับเงินและแสดงพยานหลักฐานเพื่อขอรับเงินภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สถาบันประกาศกำหนดให้มายื่น      คำขอรับเงิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนี้ หากรัฐมนตรีเห็นว่ามีความจำเป็น รัฐมนตรีมีอำนาจ      สั่งขยายได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน

            (๔) กำหนดให้สถาบันต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินแต่ละรายผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีหรือทายาทภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฝากเงินยื่นขอรับเงินโดยสถาบันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้สำหรับทุกบัญชีรวมกันในแต่ละสถาบันการเงิน แต่หากเงินฝากทุกบัญชีรวมกันดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งล้านบาท ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งล้านบาท (มาตรา ๕๓)

            ในกรณีที่มีชื่อบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของบัญชี ให้สถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีแต่ละคนตามส่วนที่บุคคลนั้นมีสิทธิในบัญชีเงินฝาก หากไม่อาจทราบจำนวนเงินฝากที่แต่ละคนมีส่วนในบัญชี ให้ถือว่าผู้ฝากเงินดังกล่าวมีส่วนเท่ากัน

            (๕) เมื่อสถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตาม (๔) แล้ว ให้สถาบันเข้า     รับช่วงสิทธิของผู้ฝากเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปแล้ว และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในจำนวนเงินนั้นจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้ชำระบัญชี โดยมีบุริมสิทธิเหนือเจ้าหนี้สามัญของสถาบันการเงินนั้นทั้งหมด

            อย่างไรก็ดีเพื่อมิให้เกิดความสับสนวุ่นวายในระยะเริ่มแรกกฎหมายก็กำหนดบทเฉพาะกาลไว้ว่าเมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน ๔ ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงินตามหลักเกณฑ์ โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

            ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน   ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท ปีที่สี่ สิบล้านบาท  ทั้งนี้ ในช่วง ๔ ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจและระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้นจากที่กำหนด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

            พอถึงปีที่ ๕ เป็นต้นไปก็เข้าสู่ภาวะปกติ คือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ใครที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็ต้องศึกษากันให้ดีล่ะค่ะ

 

 

สราวุฒิ สกุลชัยแก้ว

ในความคิดของผมเอง ผมคิดว่าการประกาศใช้ พรบ.สถาบันคุ้มครองครองเงินฝาก จะมีผลทำให้ประชาชนที่ฝากเงินใว้กับสถาบันการเงิน มีความเข้าว่าเงินฝากที่ฝากไปนั้นก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน และจะส่งให้มีการนำเงินที่ฝากใว้กับสถาบันการเงิน หันมาลงทุนในหุ้นเพิ่มมากขึ้น

สถาบันการเงินที่รับโอนเงินฝากให้อำนาจสถาบันจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ได้ และภายหลังที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วให้สถาบันยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยสถาบันพ้นจากอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีและให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไป นอกจากนี้นับแต่วันที่สถาบันการเงินถูก เพิกถอนใบอนุญาต จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ห้ามมิให้ผู้ใดฟ้องร้องสถาบันการเงินเป็นคดีล้มละลายหรือฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของสถาบันการเงิน รวมทั้งให้ระงับการพิจารณาคดีที่มีผู้ฟ้องสถาบันการเงินนั้นสำหรับสิทธิใดๆ ต่อศาลไว้ก่อน

บทกำหนดโทษ กรณีที่บุคคลใดนอกจากสถาบันการเงินใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ และหากผู้ใดล่วงรู้กิจการของสถาบันการเงิน เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นโดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น จากที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

สรุป การมี พรบ ทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้นว่าทางภาครัฐจะรับผิดชอบเงินฝากและคุ้มครองเงินฝากของลูกค้าเมื่อแบงค์ล้มละลายหรือประสบปัญหาทางด้านการเงิน

วีณา หวังสว่างรุ่ง

สถาบันการเงินที่รับโอนเงินฝากให้อำนาจสถาบันจัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ได้ และภายหลังที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วให้สถาบันยื่นคำร้องขอเพื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย โดยสถาบันพ้นจากอำนาจหน้าที่ในฐานะผู้ชำระบัญชีและให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไป นอกจากนี้นับแต่วันที่สถาบันการเงินถูก เพิกถอนใบอนุญาต จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ห้ามมิให้ผู้ใดฟ้องร้องสถาบันการเงินเป็นคดีล้มละลายหรือฟ้องร้องบังคับคดีเกี่ยวกับ ทรัพย์สินของสถาบันการเงิน รวมทั้งให้ระงับการพิจารณาคดีที่มีผู้ฟ้องสถาบันการเงินนั้นสำหรับสิทธิใดๆ ต่อศาลไว้ก่อน

บทกำหนดโทษ กรณีที่บุคคลใดนอกจากสถาบันการเงินใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงว่าธุรกิจของตนเป็นสถาบันการเงินที่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนอยู่ และหากผู้ใดล่วงรู้กิจการของสถาบันการเงิน เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่และนำข้อมูลดังกล่าวไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่นโดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น จากที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

สรุป การมี พรบ ทำให้ประชาชนมั่นใจมากขึ้นว่าทางภาครัฐจะรับผิดชอบเงินฝากและคุ้มครองเงินฝากของลูกค้าเมื่อแบงค์ล้มละลายหรือประสบปัญหาทางด้านการเงิน

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึงเงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออกกฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

เมื่อมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นแล้ว ให้ยกเลิกการประกันผู้ฝากเงินของสถาบันการเงิน โดยรัฐบาลที่มีอยู่ก่อนการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และใน 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย ให้จ่ายเงินแก่ ผู้ฝากเงิน ตามหลักเกณฑ์ (มาตรา 53) โดยกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองไม่เกินจำนวน ดังนี้

(1) ปีที่หนึ่ง เต็มตามจำนวนเงินที่ปรากฏในบัญชี

(2) ปีที่สอง หนึ่งร้อยล้าน

(3) ปีที่สาม ห้าสิบล้านบาท

(4) ปีที่สี่ สิบล้านบาท

ทั้งนี้ ในช่วง 4 ปีแรกของการบังคับใช้กฎหมาย หากภาวะเศรษฐกิจ และระบบการเงินเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นเหตุให้ต้องกำหนดจำนวนเงินที่ให้ความคุ้มครองเงินฝากเพิ่มขึ้น จากที่กำหนดให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา

     พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2551 พ.ร.บ.ฉบับนี้จะใช้บังคับเมื่อพ้น 180 วัน หรือ 6 เดือน นับจากวันที่ 13 ก.พ. หลักการและเหตุผล คือ การฝากเงินกับสถาบันการเงินเป็นประโยชน์ ในการออมเงินของผู้ฝากเงินในอนาคต และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน รัฐบาลคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวน ซึ่งหลักการดังกล่าวเป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไป อีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่เหมาะสม

     ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลัง สมควรนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

นางสาวศิริลักษณ์ คงประสิทธิ์

ส่วนที่หนึ่ง กองทุนคุ้มครองเงินฝาก

ประกอบด้วย เงินที่สถาบันการเงินนำส่ง ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการชำระบัญชี ทั้งนี้สถาบันการเงินมีหน้าที่ต้อง นำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินฝากถัวเฉลี่ยของบัญชีเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง และเมื่อนำส่งเงินเข้ากองทุนแล้วสถาบันการเงินจะไม่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมาย ว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป หากสถาบันการเงินใดไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งเท่าของจำนวนเงินดังกล่าว และให้ถือว่าเงินที่ส่งเข้ากองทุนและเงินเพิ่มเป็นหนี้บุริมสิทธิลำดับต่อจากหนี้ภาษีอากรของสถาบันการเงิน

ส่วนที่สอง เงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ประกอบด้วย

(1) เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่นำมาคำนวณยอดเงินฝากถัวเฉลี่ย และดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เกิดจากเงินฝากนั้นจนถึงวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน และ

(2) เงินฝากดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข คือ ต้องเป็นเงินฝากและ ดอกเบี้ยที่เป็นเงินบาท ต้องเป็นเงินฝากในบัญชีเงินฝากภายในประเทศ โดยต้องมิใช่เงินฝากในบัญชีประเภทบัญชีเงินฝากของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและให้ คณะกรรมการประกาศรายละเอียดประเภทเงินฝากที่ได้รับการคุ้มครอง ในราชกิจจานุเบกษา

ส่วนที่สาม การจ่ายเงินแก่ผู้ฝากเงิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้น ภายหลังจากที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินแล้ว จึงเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ตลอดจนสิทธิของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(1) กำหนดให้สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดูแลทรัพย์สินตลอดจนเอกสารทั้งปวงของสถาบันการเงิน และกำหนดให้คณะกรรมการควบคุม หรือผู้แทนนิติบุคคลของสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ดูแลจัดการทรัพย์สินของสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องส่งมอบเงินและทรัพย์สิน ตลอดจนเอกสาร ทั้งปวงให้แก่สถาบันในฐานะผู้ชำระบัญชีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สถาบัน การเงินนั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาต

(2) กำหนดหน้าที่ของสถาบันที่จะต้องประกาศกำหนดให้ผู้ฝากเงินมายื่นคำขอรับเงินภายในสี่สิบวันนับแต่วันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

(3) กำหนดให้ผู้ฝากเงินมีหน้าที่ที่จะต้องยื่นคำขอรับเงินและแสดงพยานหลักฐานเพื่อขอรับเงินภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่สถาบันประกาศกำหนดให้มายื่นคำขอรับเงิน ซึ่งระยะเวลาดังกล่าวนี้ หากรัฐมนตรีเห็นว่ามีความจำเป็น รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งขยายได้ไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินเก้าสิบวัน

(4) กำหนดให้สถาบันต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินแต่ละรายผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีหรือทายาทภายในระยะเวลาไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ฝากเงินยื่นขอรับเงินโดยสถาบันจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตามจำนวนเงินที่ฝากไว้สำหรับทุกบัญชีรวมกันในแต่ละสถาบันการเงิน แต่หากเงินฝากทุกบัญชีรวมกันดังกล่าวมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งล้านบาท ให้จ่ายเงินเป็นจำนวนหนึ่งล้านบาท (มาตรา 53)

ในกรณีที่มีชื่อบุคคลหลายคนร่วมกันเป็นเจ้าของบัญชี ให้สถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีแต่ละคนตามส่วนที่บุคคลนั้นมีสิทธิในบัญชีเงินฝาก หากไม่อาจทราบจำนวนเงินฝากที่แต่ละคนมีส่วนในบัญชี ให้ถือว่าผู้ฝากเงินดังกล่าวมีส่วนเท่ากัน

การจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด

(5) เมื่อสถาบันจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินตาม (4) แล้ว ให้สถาบันเข้ารับช่วงสิทธิของผู้ฝากเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปแล้ว และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในจำนวนเงินนั้นจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้ชำระบัญชี โดยมีบุริมสิทธิเหนือเจ้าหนี้สามัญของสถาบันการเงินนั้นทั้งหมด

การชำระบัญชีสถาบันการเงิน

ภายหลังที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้สถาบันเป็นผู้ชำระบัญชีสถาบันการเงิน และการใดที่เป็นอำนาจหน้าที่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสถาบัน

นอกจากนี้ การโอนสินทรัพย์ตามร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้การ โอนสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันของสถาบันการเงิน ให้ตกเป็นของสถาบัน การเงินที่รับโอนกิจการนั้น เว้นแต่เป็นสิทธิตามที่กฎหมายกำหนดให้ตกแก่ผู้รับโอนตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น จำนอง จำนวน หรือค้ำประกัน ซึ่งถ้าในการดำเนินการมีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้สถาบันการเงินที่รับโอนเข้าสวมสิทธิ์เป็น คู่ความแทนในคดีได้ และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิ เรียกร้องนั้นแล้วให้สวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้

นางสาวณัฐวรรณ ดวงดี

วัน ที่ 11. สิงหาคมนี้ จะเป็นวันแรกที่พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้ // 1 ในสาระสำคัญของกฎหมายฉบับใหม่นี้คือการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน ผู้ฝากเงินทุกคนต้องทำความเข้าใจให้ดี

พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากของไทย มีจุดประสงค์สำคัญในการจัดตั้ง คือ การให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อยซึ่งเป็นผู้ฝากจำนวนมากในสถาบันการเงิน ให้ได้รับเงินคืนเมื่อสถาบันการเงินปิดกิจการหรือไม่มีความสามารถในการจ่าย คืนเงิน โดยมีการกำหนดจำนวนเงินคุ้มครองที่ผู้ฝากจะได้รับคืนจากสถาบันคุ้มครองเงิน ฝากไว้ชัดเจน เพื่อบรรเทาความตื่นตระหนกของผู้ฝากไม่ให้พากันถอนเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากที่มีจำนวนเงินฝากอยู่ภายในวงเงินที่ได้รับการคุ้มครองก็จะ มั่นใจว่าจะได้เงินฝากคืนจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากอย่างแน่นอน

โดยสาระสำคัญของ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก มีหลายประการด้วยกัน เช่น การคุ้มครองผู้ฝากเงินรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อหนึ่งสถาบันการเงิน ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทผู้ฝากสามารถขอรับคืนได้จากกองทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น

และ เมื่อสถาบันการเงินถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาต สถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการกับทรัพย์สิน ของสถาบันการเงินที่ถูกปิดเพื่อนำเงินมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งรวมถึง เงินฝากส่วนที่เกินกว่าจำนวนที่ได้รับการคุ้มครองด้วยส่วนเหตุผลของการออก กฎหมายนี้มาบังคับใช้ก็คือ จากหลักการเดิมที่มีการคุ้มครองเงินฝากในสถาบันการเงินเต็มจำนวนนับตั้งแต่ เกิดวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 เป็นผลให้เกิดภาระการคลังแก่รัฐมากเกินไปอีกทั้งยังไม่มีกลไกดำเนินการที่ เหมาะสม ดังนั้น เพื่อลดภาระการคลังจึงมีการนำระบบการคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินมาใช้ พร้อมกำหนดกลไกต่างๆ ในการคุ้มครองเงินฝาก อย่างเป็นระบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบ สถาบันการเงิน อันจะเป็นการสนับสนุนการออมเงินของประเทศและเสริมสร้างความมั่นคงและ เสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินภาพรวม

สำหรับเกณฑ์เบื้องต้นตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝาก จะทยอยลดสัดส่วนการรับประกันลงจาก 50 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีแรก เป็น 20 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สอง, 10 ล้านบาท/บัญชี/ธนาคารในปีที่สาม, และ 1 ล้านบาทอย่างไรก็ตาม มีเสียงสะท้อนจากประชาชนบางส่วนถึงผลกระทบกับผู้ฝากกรณีที่มีการกำหนดเงิน ประกันไว้ที่ 1 ล้านบาทว่าอาจจะทำให้ระบบสถาบันการเงินขาดความปลอดภัย มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนไม่กล้าที่จะนำเงินไปฝากไว้กับธนาคาร

หลังจากปีที่ 5 เป็นต้นไปที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติคือ คุ้มครองไม่เกินหนึ่งล้านบาท ผู้ที่มีเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาทก็ต้องวางแผนทางการเงินว่าจะต้องทำอย่างไร กับเงินที่มีอยู่ จะแบ่งไปฝากหลายๆสถาบันการเงินหรือจะนำไปลงทุน ก็คงต้องศึกษากันให้ดีเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ขณะนี้สถาบันการเงินหลายแห่งเริ่มทำความเข้าใจกับผู้ฝากเงินแล้วเพื่อ เตรียมความพร้อมถ้าหากจะมองในแง่ดีคือต่อไปประชาชนผู้ฝากเงินจะต้องเรียนรู้ วิธีที่จะบริหารจัดการเงินให้มีประเสิทธิภาพ แต่ในช่วงแรกของการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเงินฝากอาจจะทำให้ประชาชน มีความสับสนบ้างแต่ก็เป็นการดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากที่รัฐเคยคุ้มครองเงินฝากเต็มบัญชีเป็นการคุ้มครองเงินฝากที่จำกัดวงเงิน โดยหากมีความเสียหายเกิดขึ้นส่วนที่เกินจากวงเงินคุ้มครองผู้ฝากจะได้รับจาก การที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากจัดการกับทรัพย์สินของสถาบันการเงินแห่งนั้นมา ใช้คืนให้กับผู้ฝาก

สำหรับสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับพระราชบัญญัติคุ้มครอง เงินฝาก .... พรบ.ฉบับนี้คงถูกใจผู้ฝากรายย่อยแต่สำหรับผู้ฝากจำนวนมากคงต้องใช้วิธีการ บริหารจัดการ ขณะที่สถาบันการเงินก็เริ่มวิตกว่าจะส่งผลให้ยอดเงินออมของประชาชนในธนาคาร จะลดลง...

พรรณิภา พันธ์เพ็ชร

พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 เป็นกฏหมายที่ใช้เพื่อคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินของผู้ฝากเงิน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

ก.  ปีที่1 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2551 ถึง 10 สค. 2552 คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน โดยไม่จำกัดวงเงิน

ข. ปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2552 ถึง 10 สค.2553 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ ไม่เกิน100ล้านบาท

ค.  ปีที่3 ตั้งแต่วันที่11 สค.2553 ถึง 10 สค.2554 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ไม่เกิน50ล้านบาท

ง.  ปีที่4 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2554 ถึง 10 สค.2555 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ไม่เกิน10ล้านบาท

จ. ปีที่5 ตั้งแต่วันที่11 สค.2555 เป็นต้นไป คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินไม่เกิน1ล้านบาท

           จะเห็นได้ว่าตั้งแต่วันที่11 สค.2551 ที่ พรบ.ฉบับนี้ประกาศใช้ ก็จะค่อยๆ ทยอยลดวงเงินคุ้มครองเงินฝากลง กล่าวคือเมื่อสถาบันเงินฝากคือธนาคารทั้งหลายประสบปัญหาถึงสั่งปิดกิจการ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ก็จะคุ้มครองภายใต้เงื่อนไขของระยะเวลาที่ พรบ.มีผลบังคับใช้

          ปัญหาอยู่ว่าเมื่อหลังวันที่11 สค.2555 แล้ว วงเงินคุ้มครองตาม พรบ.คือ ไม่เกิน1ล้านบาทผู้ที่มีเงินฝาก เกิน1ล้านบาทต่อหนึ่งบัญชี และหนึ่ง ธนาคารก็จะได้รับการคุ้มครองเพียงวงเงินไม่เกิน1ล้านบาทเท่านั้น สมมุติว่าผู้ฝากเงินมีเงิน10ล้านบาท ก็ต้องกระจายไปฝาก10บัญชี10ธนาคาร จึงจะได้รับการคุ้มครองตามกฏหมาย  แต่ถ้ามีเงินฝาก100ล้านบาท คราวนี้มีปัญหาแน่ กล่าวคือในปัจจุบันธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ภายใต้ พรบ.นี้มีเพียง41 แห่งเท่านั้น ผู้ที่มีเงินฝาก100ล้านก็สามารถกระจายบัญชีเงินฝากได้เพียง41บัญชีจำนวน41ล้านบาทเท่านั้น ส่วนที่เหลือ59ล้านบาทก็ไม่ได้รับการคุ้มครองนอกจะจะกระจายไป41บัญชี บัญชีละ2-3ล้านบาทแล้วไปเสี่ยงเอาว่าสถาบันการเงินไหนจะล้มหรือไม่

            ส่วนรัฐเอง ดูเหมือนจะลดปัญหาการการชดเชยเงินฝากให้กับผู้ฝากเต็มจำนวนในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถูกปิดกิจการ แต่อย่าลืมว่ารัฐเองยังต้องรับผิดชอบดูแลสถาบันคุ้มครองเงินฝากหรือ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(เดิม) อยู่ โดยต้องเข้าไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดมิให้สถาบันการเงินเกิดปัญหาได้

               สำหรับธนาคารและสถาบันการเงิน ก็ต้องลดขนาดลง ธนาคารขนาดใหญ่จะหายไปเนื่องจากผู้ฝากเงินก้อนใหญ่ ต้องกระจายความเสี่ยงฝากเงินทุกสถาบันการเงิน41 สถาบัน ทำให้ธนาคารเหล่านี้มีขนาดเท่าๆ กัน ซึ่งก็จะเป็นปัญหากับธนาคารขนาดใหญ่ของประเทศ โอกาสที่จะถูกครอบกิจการจากกลุ่มทุนต่างประเทศมีโอกาสสูงมาก จนถึงขั้นอาจจะไม่มีธนาคารใดเป็นของคนไทยอีกก็เป็นไปได้ ซึ่งปัจจุบันนี้ก็เหลือธนาคารที่เป็นของคนไทยเพียงไม่มีธนาคารแล้ว

 

 

     กฎหมายการค้ำประกันเงินฝากมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย เผยปีแรกยังคุ้มครองเงินฝากผู้ฝากเงินเต็มทั้งจำนวน แต่หลังจากนั้นจะทยอยลดลงตั้งแต่ปีที่2-ปีที่5 เพราะฉนั้นสิ่งที่ผู้ฝากเงินควรรู้มีอะไรบ้าง เพราะต่อนี้ไปการฝากเงินมีความเสี่ยงแล้ว!

ประวัติศาสตร์หน้าแรกของการประกันเงินฝากในประเทศไทยนั้น เริ่มขึ้นท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 เมื่อรัฐบาลในขณะนั้นมีมติให้ผู้ฝากและเจ้าหนี้ในสถาบันการเงินได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน (blanket guarantee) เมื่อเดือนสิงหาคม 2540 เพื่อเรียกความเชื่อมั่นต่อระบบสถาบันการเงินกลับคืนมาจากความตื่นตระหนกในช่วงเวลานั้น โดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานดำเนินการ

เมื่อวิกฤติการณ์คลี่คลายลง ทางการจึงยกเลิกการคุ้มครองเจ้าหนี้เพื่อให้เป็นไปตามครรลองของสากล อีกทั้งมีนโยบายที่จะจัดตั้งหน่วยงานประกันเงินฝากอย่างถาวร จึงได้มีการร่างพระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้น

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝาก คือการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีคณะกรรมการคุ้มครองเงินฝากซึ่งมาจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย และผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายและการเงินการคลัง โดยจำนวนเงินฝาก 1 ล้านบาทแรกเท่านั้นที่จะได้รับการคุ้มครอง และในระยะแรก ธนาคารต่าง ๆ จะต้องเข้าเป็นสมาชิก และส่งเงินเข้าสมทบให้กับสถาบันฯ แทนการการส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯ ในอัตราเดียวคือร้อยละ 0.4 ของมูลค่าเงินฝากแต่ละธนาคาร หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อม จะคิดอัตราเงินสมทบตามความเสี่ยง (risk premium rate) ซึ่งบริษัทจัดอันดับเครดิตจะเป็นผู้กำหนดตามความน่าเชื่อถือของแต่ละธนาคาร

ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเงินฝากได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม.ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547 และเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาร่างโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา จากนั้นอีกเกือบ 3 ปี เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2550 ครม. ได้มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากตามการตรวจของคณะกรรมการกฤษฎีกา และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไปก่อนจะประกาศใช้

ทั้งนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการตัดบทบัญญัติการกำหนดให้กระทรวงการคลังมีอำนาจค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันคุ้มครองเงินฝาก เนื่องจากขัดต่อ พ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 และเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม หากรัฐบาลเห็นสมควรให้กระทรวงการคลังสามารถค้ำประกันการกู้เงินของสถาบันได้ จะต้องดำเนินการเพื่อให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 ก่อนจึงจะถูกต้อง

ผมเห็นด้วยกับหลักการทั่วไป พ.ร.บ. ฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจำกัดการประกันไว้เพียง 1 ล้านบาท ซึ่งเป็นการฝึกวินัยการเงินของประชาชนที่มีเงินมากในระดับหนึ่ง และควรที่จะกระจายความเสี่ยงส่วนหนึ่งให้ผู้ฝากเงินรายใหญ่เป็นผู้รับด้วยตนเอง เพราะการประกันเงินฝากเต็มจำนวนเป็นการสร้างนิสัยการสุ่มเสี่ยง (Moral Hazard) เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุด โดยไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงที่รัฐบาลต้องแบกรับแทนเขา

พรบ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ.2551 เป็นกฏหมายที่ใช้เพื่อคุ้มครองเงินฝากแบบจำกัดวงเงินของผู้ฝากเงิน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2551 เป็นต้นไป โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

ปีที่1 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2551 ถึง 10 สค. 2552 คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน โดยไม่จำกัดวงเงิน

ปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2552 ถึง 10 สค.2553 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ ไม่เกิน100ล้านบาท

ปีที่3 ตั้งแต่วันที่11 สค.2553 ถึง 10 สค.2554 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ไม่เกิน50ล้านบาท

ปีที่4 ตั้งแต่วันที่ 11 สค.2554 ถึง 10 สค.2555 คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินตั้งแต่ไม่เกิน10ล้านบาท

ปีที่5 ตั้งแต่วันที่11 สค.2555 เป็นต้นไป คุ้มครองเงินฝากจำกัดวงเงินไม่เกิน1ล้านบาท

ดีค่ะนักลงทุนและผู้ฝากเงินจะได้มีการกระจายความเสี่ยง แต่นักลงทุนอาจจะนำเงินไปลงทุนในหุ้นมากกว่าการฝากธนาคาร เพราะจะมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท