สมมุติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen


Stephen Krashen

สมมุติฐาน 5 ประการของ Stephen Krashen

            สำหรับแนวคิดในการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (SLA) มีหลายแนวคิดตังแต่ยุคเริ่มต้นจนมาถึงปัจจุบัน ในยุคแรกเริ่มต้นจากแนวคิด Contrastive Analysis (CA) ของ Robert Lado 1915-1995 และมีแนวคิดที่สนใจสิ่งที่อยู่ภายในตัวเองอื่นๆ คือ Error Analysis (EA), Inter language, Morpheme Order Studies และ Monitor Model หรือ Monotor Theory (MT) ของ Stephen Krashen  ยุคต่อมาก็มีแนวคิด Universal Grammar (UG) ของ Noam Chomsky และมีแนวคิดอีกหลายแบบที่น่าสนใจเกี่ยวกับสิ่งภายนอกตัวคน เช่น Functional approaches, Systemic Linguistics, Functional Typology, Function-to-form Mapping และ Information Organization (Saville-Troike, M. 2006, p. 31)

            Monitor Model เป็นแนวคิดของ SLA ยุคแรกๆ ซึ่งให้ความสำคัญกับสิ่งที่อยู่ภายในตัวเอง คิดค้นโดย Stephen Krashen (1978)

            แนวคิดของ Krashen ประกอบด้วย 5 สมมุติฐานซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ผู้ที่เรียนภาษาที่สอง (L2) ใช้ในการรับรู้ภาษา แต่แนวคิดของเขาก็ได้ถูกตั้งข้อสงสัยจากผู้วิจัยมากมาย แนวคิดของ Krashen มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 1980 และ 1990 รวมทั้งการหลีกเลี่ยงการสอนไวยากรณ์ในห้องเรียน ทำให้ส่งผลต่อมีการสอนไวยากรณ์ให้กับผู้ใหญ่มากขึ้น (Saville-Troike, M. 2006, p. 45)

            แต่ที่จริงแล้วในช่วงต้น 1980 สมมุติฐานของ Krashen มีทั้งหมด 9 สมมุติฐาน คือ

1.1  The acquisition – learning distinction Hypothesis

1.2  The natural order of acquisition Hypothesis

1.3  The monitor Hypothesis

1.4  The input Hypothesis

1.5  The affective Hypothesis

1.6  The aptitude Hypothesis

1.7  The filler Hypothesis

1.8  The L1 Hypothesis

1.9  Individual variation in monitor use

 

แต่เนื่องจากบางสมมุติฐานไม่ค่อยสำคัญจึงถูกลดลงมาเหลือ 5 สมมุติฐานคือ

1.      The acquisition –learning Hypothesis

2.      The natural order Hypothesis

3.      The monitor Hypothesis

4.      The input Hypothesis

5.      The affective filter Hypothesis

            (Larsen-Freeman, D. and Long, M. H. 1991, p. 241)

            จากที่มาของแนวความคิด Monitor ของ Krashen ข้าพเจ้าก็ได้ศึกษาจากหนังสืออีหลายเล่มที่พูดถึง 5 สมมุติฐาน เพื่อเพิ่มรายละเอียดของแต่ละสมมุติฐานให้เข้ามากขึ้น

                        1. สมมุติฐานที่ 1 The acquisition-learning Hypothesis

                        Krashen ได้แบ่งระบบความรู้ของการแสดงออกของภาษาที่สอง ออกเป็น 2 ระบบ ระบบที่ 1และสำคัญที่สุดคือ ระบบการรับรู้ (Acquired system) ซึ่งเป็นผลมาจากผู้เรียนรับรู้ภาษาได้เหมือนกับความสามารถในการรับรู้ภาษาแม่ของเด็ก และเป็นการเรียนรู้กฎไวยากรณ์โดยไม่รู้ตัว  ระบบที่ 2 คือ ระบบการเรียนรู้ (Learning system) ซึ่งให้ความสำคัญน้อยลงมา ซึ่งเกิดจากการเรียนรู้อย่างเป็นทางการจะเกิดขึ้นในห้องเรียน เป็นการเรียนรู้ไวยากรณ์ง่ายๆ การรับรู้เป็นความรู้ที่ผู้พูดสามารถใช้ได้ในการสื่อสารจริงๆ ซึ่งสนใจที่ความหมายไม่ใช่ที่รูปแบบของภาษา ส่วนความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้เป็นแค่รูปแบบของการแก้ไขผลลัพธ์ของระบบการรับรู้เท่านั้น เราจะใช้ระบบการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อต้องพบกับสภาพต่างๆ เช่น ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย  การทำข้อสอบไวยากรณ์ (Grammar) ซึ่งเขาต้องต้องใช้ความรู้เรื่อกฎเข้าไปช่วย (Diane and Michael 1991, p. 240)

นอกจากนี้การรับรู้ภาษาเป็นการรับรู้โดยไม่รู้ตัว (Subconscious language learning) เป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนในห้องเรียน ส่วนการเรียนรู้ภาษาเป็นการเรียนภาษาโดยตั้งใจและรู้สึกตัวกับสิ่งที่กำลังเรียน (Conscious language learning) เป็นกระบวนการที่มีการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งหากพูดถึงการใช้ภาษเพื่อการสื่อสารแล้ว เราจะใช้ภาษาที่เกิดจากการรับรู้ภาษามากกว่าการเรียนรู้เพราะภาษาที่ถูกเก็บไว้ในคลังภาษาเมื่อเราเริ่มรับรู้ภาษา จะถูกดึงออกมาใช้อย่างอัตโนมัติซึ่งเป็นภาษาที่จดจำได้นานกว่าการเรียนรู้ ส่วนการเรียนรู้ภาษาจะถูกนำมาใช้เพื่อการตรวจสอบแก้ไขความถูกต้องของภาษาที่เกิดจากการรับรู้นั่นเอง

            2. สมมุติฐานที่ 2  The natural order Hypothesis

            จากการวิจัยพบว่า เราสามารถคาดเดาลำดับการรับรู้ภาษา (Acquisition) ของคนได้ มีบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับแรก อีกสิ่งจึงจะเกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมา และมีอีกสิ่งเกิดขึ้นเป็นลำดับสุดท้าย  จากค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาษาทำให้เราสามารถพยากรณ์ได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเป็นลำดับแรกและอะไรจะเกิดขึ้นตามมา ถ้าเราใช้สถิติด้านสหสัมพันธ์จะได้ผลออกมาใกล้เคียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งใช้ได้กับการรับรู้ภาษาเท่านั้นแต่ใช้ไม่ได้กับการเรียนรู้ภาษา

            จากงานวิจัยของ Heidi Dulay และ Marina Burt เรื่องการรับรู้หน่วยของภาษา (Morpheme) ของเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษแบบ L1 และ L2 ได้ผลดังตารางข้างล่างนี้

English L1 and L2 Morpheme Acquisition Order

English L1

Morpheme

Example

English L2

1

2

3

4

5

6

7

8

9

Progressive (-ing)

Plural (-s)

Past irregular

Possessive (-s)

Articles (a/the)

Past regular (-ed)

Third person (-s)

Copula (-be)

Auxiliary (-be)

He is talking.

There are two cats.

We ate.

The child’s toy.

The cat. / A sunny day.

They talked.

He sings.

He’s tall.

She’s singing.

3

4

7

8

1

6

9

2

5

            ที่มา : Saville-Troike, M. 2006, p. 43

            Heidi Dulay และ Marina Burt ได้ศึกษาเด็กที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ซึ่งภาษาแม่คือ ภาษาสเปนและภาษาจีน  ผลการศึกษาพบว่า ตัวอย่างเช่น progressive

(-ing) และ Plural (-s) จะเป็น Morpheme กลุ่มแรกที่เด็กเข้าใจ ทั้งเด็กกลุ่ม L1 และ L2

ของคนเรียนภาษาอังกฤษ ส่วนกริยา Past tense irregular และ Possessive (-s) แสดงความเป็นเจ้าของจะพบเป็นลำดับต่อไปของ L1 แต่จะเป็นลำดับท้ายๆ ของ L2  พวกเขาสรุปได้ว่า L2  จะไม่คัดลอดสิ่งที่เขาได้ยินหรือถ่ายโอนโครงสร้างของ L1  ไปสู่รหัสใหม่แต่เกิดการสร้างกฎขึ้นมาใหม่โดยไม่รู้ตัวขึ้นภายในจิตใจ ซึ่งมีการตีความและสร้างเสียงที่เปล่งออกมาซึ่งพวกเขาไม่เคยได้ยินมาก่อน (Saville-Troike, M. 2006, p. 44)

            การรับรู้ภาษาแม่อาจใช้เวลา 6 เดือนถึง 1 ปีเต็ม ในการแยกกลุ่มการเติมคำพวกนี้ แต่สำหรับผู้ใหญ่ที่รับรู้ภาษาที่สองอาจใช้เวลา 10 ปี หรือบางทีอาจจะไม่เห็นว่ามีอะไรเกิดขึ้นตามมา กลุ่มเด็กจะใช้ (-s) รูปพหูพจน์ก่อนการเติม (-ing) แต่บางคนก็ใช้ (-ing) ก่อนการเติม (-s) ซึ่งก็จะเกิดเหมือนกันในการรับรู้ภาษาที่สอง แต่สามารถบอกในเชิงค่าเฉลี่ยทางสถิติได้ว่า ไม่มีใครใช้ (-s) รูปพหูพจน์ในตอนท้ายและไม่มีใครใช้ (-s) บุรุษที่สามในตอนต้น ทำให้เราสามารถทำนายได้ว่า การรับรู้กฎสิ่งไหนเกิดขึ้นก่อน-หลัง ซึ่งการรับรู้กฎจะเป็นไปตามธรรมชาติ เมื่อถึงเวลาโดยไม่ได้เกิดจากการฝึกหรือทำแบบฝึกหัด

            3. สมมุติฐานที่ 3  The monitor Hypothesis

            สมมุติฐานนี้บอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวกับรู้ตัวจะเกิดขึ้นเมื่อเรามีความชำนาญในการสื่อสารภาษาที่สอง เราจะสามารถสื่อสารได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเกิดมาจากการรับรู้ไม่ใช่การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาจสามารถบอกได้ว่า สิ่งที่เราพูดจะถูกขับออกมาโดยระบบการรับรู้ เหมือนที่เราพูดภาษาสเปนและฝรั่งเศสได้นั้นมาจากการรับรู้ ไม่ใช่การเรียนรู้ กฎไวยากรณ์ไม่ทำให้เราเกิดความชำนาญ  การเรียนรู้เป็นการแสดงออกทางภาษาที่มีหน้าที่เป็นเหมือนการตรวจสอบควบคุม (monitor) และเป็นตัวแก้ไข (editor) เราประยุกต์ใช้การเรียนรู้หลังจากคำพูดได้ออกไปแล้วหรือมีการแก้ไขคำพูดของตนเองก่อนพูดออกไป

            ดังนั้นเราเรียนรู้ได้จากการแก้ไขข้อผิดพลาดซึ่งจริงๆ แล้วเป็นข้อผิดพลาดที่เล็กน้อย เราใช้ประโยชน์จากการเรียนกฎง่ายๆ สอนได้ง่ายและจดจำได้ง่าย  การแก้ไขตนเอง(Self correction) ในการสื่อสารและการใช้กฎเกณฑ์ตรวจแก้ข้อผิดพลาดมีส่วนทำให้รู้ภาษาดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นภาษาที่หนึ่งหรือสอง   เราประยุกต์ใช้การเรียนรู้ไปที่ผลลัพธ์หรือคำพูดของเรา บางครั้งก็ใช้ก่อนหลังพูด เหมือนเป็นการขัดเกลา แก้ไขโดยอัตโนมัติ  การเรียนรู้ก็มีหน้าที่แค่นี้ บางคนบอกว่า การแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นสิ่งที่ดี ซึ่งในสมมุติฐานย่อยของการรับรู้และเรียนรู้ภาษา การแก้ไขมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เมื่อเราทำผิดครูแก้ไขให้เพื่อพยายามให้เรามีโอกาสที่จะระลึกถึงกฎที่อยู่ภายในจิตใจ

            ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้จะเป็นตัวควบคุมแก้ไขการพูด เป็นการแก้ไขอย่างมีสติกับสิ่งที่กำลังพูด  ทุกสิ่งที่เราพูดมาจากความรู้จากการรับรู้ แต่เราใช้ความรู้จากการเรียนรู้เป็นตัวแก้ไขผลการพูดไม่ว่าจะเป็นก่อนหรือหลัง  ฉะนั้นความรู้จากการเรียนเป็นตัวคอยแก้ไขคำพูดที่มาจากความรู้จากการรับรู้  (Cook, V. 1993, p. 51-52)

            การแก้ไขจะมีประสิทธิภาพในการสื่อสารถ้ามีองค์ประกอบต่อไปนี้

1.   เวลา  ต้องมีเวลาพอเพียงที่จะเกิดกระบวนการแก้ไข  แต่ในระหว่างการสนทนาเราไม่มีเวลาเตรียมประโยคเพราะจะทำให้เราฟังทัน  ไม่รู้เรื่อง

2.   คิดถึงแต่รูปแบบประโยค คุณจะคิดแต่เรื่องกฎเมื่อต้องการแก้ไข แต่ในการใช้ภาษาที่สอง  เรารู้ว่าเราจะไม่สนใจเรื่องโครงสร้างประโยค เพราะเราคิดว่าเรากำลังพูดอะไร ไม่ใช่อยากรู้ว่าจะต้องพูดอย่างไร

3.      ผู้พูดต้องมีความรู้เรื่องกฎเป็นอย่างดี

(Klein, W. 1986, p. 28-29)

            ทำไมเราเชื่อว่าสมมุติฐานด้านการแก้ไขมีเหตุผล   เพราะเราพบว่าถ้าเรานำผู้ที่ใช้ภาษาที่สองไปอยู่ในที่ที่ไม่สามรถแก้ไขได้  เขาก็จะแสดงความผิดพลาดออกมาเหมือนเด็กๆ  ในการสอบทั่วไปนักเรียน ESL ได้รับโอกาสให้มีเวลาในการแก้ไขแล้ว  เราพบว่าพวกเขาจะทำรูปแบบเดียวกับเด็กที่รับรู้ภาษาที่สอง  ใช้ (-ing) และ (-s plural) ในขั้นแรกถูกต้องและใช้ (-s) บุรุษที่สาม และ (-s) แสดงความเป็นเจ้าของถูกต้องในลำดับท้ายซึ่งมีข้อผิดพลาดเหมือนกับเด็ก แต่ถ้าให้นักเรียน ESL ทำข้อสอบไวยากรณ์จะพบว่าความผิดพลาดจะไม่เหมือนกับเด็กที่รับรู้ภาษาที่สอง เมื่อรูปแบบที่ไม่เป็นธรรมชาติ พวกเขาใช้ไวยากรณ์ที่เรียนมาช่วยในการทำข้อสอบ เป็นการแย่งเวลาของการแก้ไข   สำหรับผู้ใหญ่แล้ว การเติม (-s) บุรุษที่สาม จะเป็นลำดับแรก เพราะเป็นกฎที่ง่ายที่จะเรียนรู้

            กลุ่มคนที่ใช้การตรวจสอบแก้ไข (monitor) สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ

1.   บุคคลที่ไม่ตรวจแก้ภาษา (under-user) บุคคลเหล่านี้จะใช้ภาษาที่สองตามธรรมชาติเหมือนเป็นภาษาที่หนึ่ง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการพัฒนาภาษาทักษะอ่านและเขียนได้ช้ากว่ากลุ่มอื่นๆ

2.   บุคคลที่ตรวจแก้ภาษาระดับพอดี (optimal-user)  บุคคลกลุ่มนี้ใช้ไวยากรณ์ตรวจแก้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม ในการพูดจะเน้นที่การสื่อความหมายเพื่อทำให้สื่อสารได้คล่องแคล่ว (fluency)ส่วนการเขียนใช้ไวยากรณ์ตรวจเพื่อให้ได้ภาษาที่ถูกต้อง (accuracy)

3.   บุคคลที่มีการตรวจแก้ภาษาตลอดเวลา (over-user) กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะกังวลเรื่องความผิดพลาดในการใช้ไวยากรณ์มากเกินไป ทำให้พูดไม่คล่องเพราะกังวลเรื่องความผิดพลาดในการใช้ไวยากรณ์มากเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากเรียนภาษาด้วยวิธีไวยากรณ์หรือการแปลหรือเป็นลักษณะหรือบุคลิกส่วนบุคคล

ซึ่งความรู้ที่เกิดขึ้นในแต่ละระบบ(การรับรู้และเรียนรู้) ไม่สามารถส่งผล

กระทบต่ออีกระบบได้ เพราะว่าแต่ละระบบมีกระบวนการที่แตกต่างกัน

(Larsen-Freeman, D. and Long, M. H. 1991, p. 241)

การตรวจสอบแก้ไข (monitor) มีความสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ไวยากรณ์ 

ผู้เรียนสามารถใช้ความรู้ด้านไวยากรณ์เพื่อควบคุมแก้ไขประโยคสำหรับการพูดและการเขียนให้มีความถูกต้อง  เมื่อเราจำเป็นต้องใช้ Monitor เราต้องดูด้วยว่าระดับของ monitor ที่จะใช้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบดังนี้

1.      อายุและระดับของพัฒนาการทางความคิดของผู้เรียน

2.      การให้งานที่สามารถแสดงพฤติกรรมออกมาได้

3.      บุคลิกภาพของผู้เรียน

การตรวจสอบแก้ไขจะใช้ได้กับกฎง่ายๆ สามารถเข้าใจได้ แต่ก็ไม่ได้

หมายความว่าทุกคนจะแก้ไขไวยากรณ์ทางภาษาของตน แต่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกมากกว่าว่าจะทำหรือไม่ทำ (Krashen 1982, p. 71-72)

            4. สมมุติฐานที่ 4 The input Hypothesis

            เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษาที่สอง เพราะเราต้องการตอบคำถามที่ว่า  มนุษย์รับรู้ภาษาได้อย่างไร เราอาจจะตอบง่ายๆ ว่า เรารับรู้ภาษาจากสิ่งที่ป้อนเข้าไปที่สามารถเข้าใจได้ (Comprehensible input) โดยให้ความสำคัญกับเนื้อข้อความ (Message) มากกว่ารูปแบบ (Form) สมมุติฐานนี้ใช้ได้ดีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจจะอ้างว่าการฟังเพื่อความเข้าใจมีความสำคัญในระดับแรกในการรับรู้ภาษา แล้วการพูดก็จะตามมา  การรับรู้จะถูกนำมาใช้เมื่อคุณพูดคุยกับผู้ที่ต้องการรับรู้ภาษาเหมือนกัน  และเขาเข้าใจข้อความและเมื่อสิ่งที่ป้อนเข้าไปที่เขาเข้าใจได้ (Comprehensible input) ซึ่งความสามารถในการพูดก็จะตามมาเมื่อถึงเวลา

            ข้อมูลที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียนต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป  การรับรู้ภาษาที่สองผู้เรียนจะพัฒนาขึ้นมาในอีกขึ้นหนึ่งได้จะต้องเกิดการเข้าใจสิ่งที่ป้อนเข้าไป (input) ซึ่งรวมทั้งโครงสร้างของภาษาด้วย การรู้โครงสร้างของภาษาจะถูกสอนโดยผู้สอนซึ่งจะจัดประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนใช้โครงสร้างเหล่านั้นตามสภาพจริง

ซึ่งKrashen กล่าวว่าผู้สอนต้องจัดสภาพแวดล้อมและสื่อต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งที่ป้อนเข้าไป (input) เป็นการพัฒนาผู้เรียนจาก i ไปสู่ i+1 หมายความว่าพัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ต่างๆ จากในหนังสือ ความรู้รอบตัวและ

หมายเลขบันทึก: 203447เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ได้เรียนเรื่องนี้
  • ตอนอยู่ที่ มศว ประสานมิตรครับ
  • ชอบมากๆๆ
  • สมมุติฐานที่ 4 The input Hypothesis
  • i+1
  • เอามาฝากครับ
  • http://gotoknow.org/blog/yahoo/128242

     

    My Research (Full text)

     

  • รบกวนแก้คำหลักเป็น
  • ภาษาอังกฤษสุพรรณบุรี
  • ไม่ต้องมีเขต 2 จะได้มารวมกันครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับน้องชาย
  • นั่งอ่านตั้งนาน
  • ยังไม่ได้เรียน
  • อ่านไป ทำความเข้าใจไป
  • ดีจัง  ดีจัง

ขอบคุณมาเลยค่ะ

ป็นประโยชน์ต่อการศึกษามากเลย

อยากให้นักวิชาการไม่หวงความรู้

คนจะได้อ่าน ศึกษา ประเทศชาติจะได้เจริญ

Thank you, Teacher, for your information.

I'm studying this subject at the moment.

ขอบคุณมากค่ะ

ดีใจที่เจอเรื่องนี้

ดีใจมากๆเลยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ krashen รู้สึกว่าเข้าใจมากกว่าอ่านภาษาอังกฤษตั้งเยอะแน่ะพอดีว่าหนูจะต้องใช้ทฤษฏีนี้ด้วยในการทำวิจัย อิอิอิ

ขอบคุณมากๆค่ะ

มาอ่านเพื่อหาข้อมูลในการเรียนรายวิชา SLA ค่ะ มีประโยชน์มากเลย ขอบคุณข้อมูลดีๆ นะคะ

มีเนื่อหาเกี่ยวกับการรับภาษาที่สองของนักการศึกษาท่านอื่นอีกไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท