การสอนภาษาไทยแนวคีตวรรณกรรม


ท่วงทำนองของวรรณกรรม เช่น การอ่าน การขับ การร้อง การเห่ การสวด การแหล่ การเทศน์ การพากย์

             วันนี้  (25  สิงหาคม  2551)  ได้มีโอกาสเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาไทยแนวคีตวรรณกรรม  เนื้อหาในวันนี้เริ่มตั้งแต่การบ่นความของท่านวิทยากรผู้มากความสามารถ อาจารย์ธนกฤต  อกนิษฐ์ธาดา  ประธานกองทุนคีตวรรณกรรม  กล่าวถึงปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ที่มีความรุนแรงมากขึ้นเพราะปัจจัยหลายอย่าง และได้รณรงค์ให้ช่วยกันแก้ไข  นอกจากนี้ท่านวิทยากรได้อธิบายความหมายของคำว่า คีตวรรณกรรมไว้เป็น  นัยยะสำคัญคือ

           .  ท่วงทำนองของวรรณกรรม  เช่น การอ่าน  การขับ  การร้อง  การเห่  การสวด  การแหล่  การเทศน์  การพากย์  หรือท่วงทำนองใดก็ตามที่นำมาใช้ประกอบงานวรรณกรรมนับตั้งแต่โบราณจนถึงอนาคต  แม้เพลงลูกทุ่งเพลงสตริงที่กำลังโด่งดังในปัจจุบันก็ถือเป็นคีตวรรณกรรม  เพราะมีทำนองที่นำมาร้องกับเนื้อเพลงที่ถือเป็นงานวรรณกรรม แม้เพลงประกอบภาพยนตร์ก็ถือเป็นงานคีตวรรณกรรม  เพราะบทภาพยนตร์ถือเป็นงานวรรณกรรม 

.   วรรณกรรมที่มีท่วงทำนอง   ได้แก่  งานวรรณกรรมทุกประเภทที่สามารถนำมาขับขานเป็นทำนอง  หรือใช้เป็นตัวหลักให้มีทำนองดนตรีมาประกอบ  เช่น  เรื่องขุนช้างขุนแผนใช้ขับเสภา  กาพย์เห่เรือใช้สำหรับเห่เรือ  กาพย์พระไชยสุริยาใช้สำหรับสวดโอ้เอ้วิหารราย  บทละคร-บทภาพยนตร์ที่ต้องใช้ดนตรีประกอบ  เป็นต้น

 

ความสำคัญของการเรียนการสอนภาษาไทยแนวคีตวรรณกรรม

จากการที่มาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๔๔ ในแต่ละช่วงชั้น ได้กำหนดไว้ว่า ผู้เรียนจะต้อง  อ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรองให้ถูกต้องตามอักขรวิธีและลักษณะคำประพันธ์ และการอ่านทำนองเสนาะ 

อีกทั้งเป้าประสงค์ของหลักสูตรยังมุ่งให้เกิดการเรียนรู้อย่างบูรณาการ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสามารถบูรณาการอย่างใกล้ชิดกับสาขาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทย อาทิ การขับขานวรรณคดีกวีนิพนธ์เป็นท่วงทำนองต่าง ๆ เช่น การอ่านทำนองเสนาะ การขับเสภา การเห่เรือ การขับร้องเพลงไทย ฯลฯ  ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างภาษาและวรรณคดีไทยกับการขับร้องและการบรรเลงดนตรี  ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี และนาฏศิลป์  การบูรณาการในลักษณะนี้กำหนดเป็นคำศัพท์ทางวิชาการว่า คีตวรรณกรรม (Musical  Poetry)”

          ดังนั้นครูผู้สอนภาษาไทยจึงต้องมีทักษะความรู้ในด้านคีตศิลป์อย่างเพียงพอที่จะนำไปใช้ในการสอน เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้และโน้มน้าวให้ผู้เรียนเข้าถึงสุนทรียรสของวรรณคดีกวีนิพนธ์ที่ได้รับการคัดสรรมาใช้เป็นบทเรียน  หรือเพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดผลสัมฤทธิ์ของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น การประกวดอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น

          เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพการสอนและการเรียนรู้ภาษาไทย อันถือเป็นการสืบทอดภาษาและวัฒนธรรมไทยไปสู่อนุชนรุ่นหลัง  จึงสมควรที่ครูผู้สอนและผู้เรียนรู้ภาษาไทยทุกคนจะได้มีโอกาสในการฝึกฝนเสริมสร้างทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยตามแนวคีตวรรณกรรม 

 

คำสำคัญ (Tags): #คีตวรรณกรรม
หมายเลขบันทึก: 203424เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2008 19:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 08:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เสียดายจังเลย ไม่ได้เข้าอบรมด้วย กลับมาโรงเรียนก็มาถ่ายทอดรายละเอียดให้ฟังบ้างนะครูน้อย

อ.ธนกฤต อกนิษฐ์ธาดา

ขอบคุณครูสุนันท์มากนะครับที่ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่การสอนภาษาไทยตามแนวคีตวรรณกรรม

ปิดภาคเรียนนี้หนูขอไปหาคุณพ่อนะคะแล้วคุณพ่อไม่ต้องบอกพี่แตงนะคะ

ปิดภาคเรียนนี้หนูขอไปหาคุณพ่อนะคะแล้วคุณพ่อไม่ต้องบอกพี่แตงนะคะ

คุณพ่อช่วยโทรกลับมาหาหนูทีนะค่ะ จาก วรรณ

หนูขอนำชื่อคุณพ่อไปอ้างอิงกับคุณครูเพื่อการเข้าค่ายคีตวรรณกรรมของรุ่นน้องของหนูได้ไหมคะ

เด็กพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา"

อยากให้ครูสุนันท์มาเป็นวิทยากรในโครงการเข้าค่ายฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนการ สอนวิชาภาษาไทยแนวคีตวรรณกรรมจังเลยค่ะ

ด.ญ.กนกวรรณ ไม้พานิช

เด็กนักเรียนโรงเรียนพนมสารคาม"พนมอดุลวิทยา"

ด.ญ จินดามณี เลิศสิริปัญญา

ขอบคุณคะ ช่วยได้เยอเลยคะ*-*,*+*อิอิอิ555++

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

กองทุนคีตวรรณกรรม

เพื่อสืบสานความเป็นไทย
บรรจงบรรจุไว้ในหัวใจคุณ
~ความเป็นไทยที่เปล่งเสียงออกมาได้เต็มภาคภูมิ~
.......
ไม่มีที่ไหน ที่ความเป็นไทยจะกึกก้องซร้องเสียง พร้อมเพรียงกันได้เท่านี้อีกแล้ว....

รายละเอียดการรับสมัคร ฝึกปฏิบัติการ “อาขยานภาษาไทย”


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท