เครื่องเล่นสนาม : สนามเด็กเล่น


เครื่องเล่นสนาม

1 สนามเด็กเล่นสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 2-5 ปี) ควรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตรพื้นที่ไม่น้อยกว่า 60 ตารางเมตร ต่อจำนวนเด็กที่เข้าไปเล่นแต่ละครั้งไม่เกิน 20 คน หรือคิดเป็นเนื้อที่เฉลี่ย 3 ตารางเมตรต่อเด็ก 1 คน

2 สนามเด็กเล่นสำหรับเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี) ควรมีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 8 เมตร พื้นที่ไม่น้อยกว่า 80 ตารางเมตร ต่อจำนวนเด็กที่เข้าไปเล่นแต่ละครั้งไม่เกิน 20 คน หรือคิดเป็นเนื้อที่เฉลี่ย 4 ตารางเมตรต่อเด็ก 1 คน
โรงเรียนที่ครูดอย.คอมสอนอยู่นะค่ะ  ได้รับความอนุเคราะห์จากบริษัทยูลินิเวอร์ (บรีส)สร้างสนามเด็กเล่นให้กับนักเรียน นักเรียนในโรงเรียนจึงได้มีโอกาสได้เล่นเครื่องเล่นสนามที่มั่นคงแข็งแรง  เมื่อหลายปีก่อนบริษัทยางรถยนต์ก็ได้อนุเคราะห์สร้างเรื่องเล่นจากยางรถยนต์ให้ แต่ตอนนี้เหลือเพียงบางชิ้นเท่านั้นที่พอเล่นได้ หลังจากที่บริษัทยูลินิเวอร์ได้สร้างให้แล้ว  รองศาสตราจารย์ ชัชชัย โกมารทัต แห่งสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับลานเล่นกีฬาของเด็กๆที่ถูกหลักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ว่า
ขนาดของสนามเด็กเล่นที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับจำนวนของเด็กที่เข้าไปเล่น อายุของเด็ก ชนิดและอุปกรณ์ของสนามเด็กเล่น การบริหารจัดการ และการควบคุมดูแลเด็กในสนามเด็กเล่น ซึ่งมีความแตกต่างและผันแปรมาก จึงไม่มีกฏตายตัวว่าขนาดของสนามเด็กเล่นควรเป็นเท่าไร
สนามเด็กเล่นที่ได้มาตรฐานควรประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้
1 พื้นที่สนามต้องราบเรียบ ทำด้วยวัสดุที่สามารถดูดซับพลังงาน หรือมีความยืดหยุ่นที่ช่วยป้องกันการกระแทก ป้องกันอันตรายจากการตก หกล้ม โดยเฉพาะบริเวณศีรษะของเด็กได้ดี เช่น พื้นทราย พื้นหญ้า พื้นยางสังเคราะห์ เป็นต้น
2 มีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนเด็กที่ลงไปเล่น เหมาะสมกับวัย ไม่หนาแน่น จนอาจเกิดอันตรายจากการชน ปะทะกัน
3 มีระบบระบายน้ำที่ดี น้ำไม่ขัง ไม่ลื่น ไม่อับชื้น
4 การออกแบบสนามเล่น การจัดอุปกรณ์เครื่องเล่น ต้องเสริมสร้างคุณค่าทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้เด็กได้พัฒนาตามวัย และต้องตอบสนองความต้องการของเด็กตามวัยได้

5 อุปกรณ์เครื่องเล่น ควรเน้นอุปกรณ์ประเภทที่ส่งเสริมให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างกระตือรือร้น มากกว่าเครื่องเล่นประเภทเฉื่อยชา

6 อุปกรณ์เครื่องเล่นควรมีความหลากหลาย ทั้งประเภทเครื่องเดี่ยว (Single) เครื่องชุดรวม (Complex or Multiple) เครื่องเล่นประเภทส่งเสริมการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน เครื่องเล่นพื้นบ้าน เครื่องเล่นสมัยใหม่ เครื่องเล่นส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เครื่องเล่นชนิดผจญภัย เครื่องเล่นชนิดแฟนตาซี เป็นต้น

7 เครื่องเล่นทุกชนิด ต้องมีความปลอดภัยทั้งวัสดุที่ใช้ ขนาด ลักษณะและวิธีการเล่น การติดตั้งต้องแน่นหนา ไม่เกิดการพลิกคว่ำ เอียง เลื่อน หรือเคลื่อนตัวที่จะเป็นอันตรายต่อเด็ก

8 ต้องจัดให้มีพื้นที่เพื่อความปลอดภัย เช่นพื้นที่การตก (Falling Space) ระยะว่างอิสระ (Free Space) พื้นที่สัญจร (Traffic Space) และพื้นที่ผ่อนคลาย (Relax Space)

9 จัดให้มีเครื่องหมายแสดงทิศทางการเล่น ลำดับการเล่นทั้งภายในกลุ่มเครื่องเล่น ระหว่างกลุ่มเครื่องเล่น และทางเข้า ทางออก อย่างชัดเจน รวมถึงการจัดทำรั้วกั้นบริเวณพื้นที่สนามเด็กเล่นอย่างเหมาะสม

10 จัดให้มีคำอธิบายวิธีการเล่นง่าย ๆ พร้อมภาพประกอบเพื่อความเข้าใจง่าย ๆ ข้อควรระวังที่พึงปฏิบัติ หรือข้อห้ามในบริเวณที่ควรห้ามอย่างเหมาะสม

11 จัดให้มีบริเวณนั่งรอของผู้ปกครอง ที่สามารถมองเห็นทั่วทุกส่วนของสนามเด็กเล่นได้อย่างทั่วถึงชัดเจน

12 จัดให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องเล่น สนามเล่นเป็นประจำ ทุกวัน ทุก 3 เดือน โดยเจ้าหน้าที่ประจำสนาม และควรมีการตรวจเช็คประจำปีโดยเจ้าหน้าที่เทคนิคผู้ชำนาญด้วย

13 ควรมีเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กประจำสนามเด็กเล่น เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอันตรายจากการเล่นได้ทันท่วงที

อุปกรณ์เครื่องเล่นที่เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สนามเด็กเล่นมาตรฐานควรจะมี ประกอบด้วย

1. อุปกรณ์ปีนป่าย บันได เช่น บันไดโค้ง บันไดลิง บันไดตาข่าย บันไดโซ่ บันไดยางรถยนต์ ผนังหิน ผนังหน้าผา ผนังโค้ง เสารูด หรือเสาผจญเพลิง เชือกสำหรับปีนแนวดิ่ง แนวเฉลียง แนวนอน

2 อุปกรณ์ห้อยโหนราว เช่น ราวโหน ห่วงโหน เชือกโหนแบบทาร์ซาน

3. อุปกรณ์ลื่น กระดานลื่น อุโมงค์ลื่น อุโมงค์ลอด
4. อุปกรณ์ไกว เช่นชิงช้าหมุนรอบแกนเดียว ชิงช้าแกว่งหน้าหลัง ชิงช้าหมุนรอบตัว
5. อุปกรณ์ทรงตัวเช่น คานไม้ทรงตัว เดินทรงตัว สะพานเชือก สะพานโซ่ สะพานไม้ท่อนเดียว
6 อุปกรณ์เคลื่อนไหว เช่น แท่นหมุน ม้าหมุน ม้าโยก ไม้กระดก หรือ กระดานกระดก
แท่นยืนเดินลูกกลิ้ง
7 อุปกรณ์ชุดรวม รวมอุปกรณ์เครื่องเล่นต่าง ๆ มาจัดรวมกันเป็นชุดเดียว โดยแบ่งแยกตำแหน่งการจัดวางอุปกรณ์ แต่ละชนิดคนละทิศทางโดยใช้สะพาน ทางเดิน ท่อ หรือ ชานพัก มาเป็นตัวเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เวลาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในการใช้สนามเด็กเล่น ควรเป็นดังนี้
1. เวลาในชั่วโมงเรียน เช่นชั่วโมงวิชาพลศึกษา กีฬา กิจกรรมพิเศษ มีครูคอยควบคุมดูแล มีความปลอดภัยสูงในการเล่น
2. เวลาว่างทั่วไปในวันธรรมดา เช่นตอนเช้าก่อนเข้าเรียน พักกลางวัน เวลาเย็นหลังเลิกเรียนระหว่างรอผู้ปกครอง ค่อนข้างปลอดภัย เพราะยังมีครูหรือผู้ใหญ่คนอื่นอยู่ภายในบริเวณใกล้ ๆ
3. เวลาว่างในวันหยุด เช่นเวลาว่างในวันเสาร์-อาทิตย์ ค่อนข้างอันตราย เพราะไม่มีผู้ใหญ่อยู่ดูแล หากจะเล่นควรชวนผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ไปด้วย หรืออย่างน้อยควรมีเพื่อนที่โตกว่าไปด้วย
ประโยชน์ของสนามเด็กเล่น
1. เป็นสถานที่ผ่อนคลายความเครียดให้แก่เด็ก ๆ
2. เป็นสถานที่สร้างเสริมความแข็งแรง ความสมบูรณ์ทางกายและความฉลาดทางการ เคลื่อนไหวร่างกายแก่เด็ก ๆ (PQ)
3. เป็นสถานที่สร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การคิดพิจารณา อย่างมีเหตุผล ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางสติปัญญา (IQ)
4 . เป็นสถานที่สร้างเสริมความกล้า ความพยายาม ความพึงพอใจ ความสนุกสนาน ช่วย พัฒนาจิตใจ และอารมณ์ของเด็ก (EQ)
5. เป็นสถานที่สร้างเสริมความสัมพันธ์กับเพื่อน ท้องถิ่น ชุมชน และสังคม เปิดโลกทัศน์ทางสังคมให้แก่เด็ก

ครูดอย.คอมคิดว่าคามรู้ที่กล่าวข้างต้นคงเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจไม่น้อยนะค่ะ แสดงความคิดเห็นได้ ยินดีรับฟังค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 203170เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท