เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยสถาบัน เป็นอย่างไร? ไปดูกัน


วิจัยสถาบัน เป็นการพัฒนางานประจำสู่การวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

เมื่อ วันที่ 18  สิงหาคม  2551 เวลา 9.00-12.00 น.

สำนักบริหารการวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดให้มีการ ฝึกอบรม

เทคนิคการเขียนบทความวิจัยสถาบัน

 

วัตถุประสงค์

1.    เพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะให้นักวิจัยสถาบันได้มีความรู้ ความสามารถในการเขียนบทความวิจัยสถาบัน รวมทั้งเทคนิคการนำเสนอผลงานวิจัยสถาบัน

2.    เพื่อสร้างและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยสถาบันที่นำไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ได้จริง

 

ผลที่ได้รับ

1.    นักวิจัยสถาบันมีความรู้ความสามารถในการเขียนบทความวิจัยสถาบันได้อย่างมีคุณภาพและสามารถนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ได้

2.    นักวิจัยได้ทักษะและเพิ่มขีดความสามารถในการทำวิจัยสถาบัน

 

กลุ่มเป้าหมาย

* นักวิจัยสถาบัน ที่ได้รับทุน ประมาณ 30 คน

    * ผู้สนใจ ที่เข้าร่วมอบรม     ประมาณ 10 คน

  

ได้รับเกียรติจากวิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิ มาให้ความรู้ เกี่ยวกับเทคนิคการเขียนบทความวิจัยสถาบัน ประกอบด้วย

 

1.  ผศ.ดร.ดุษฎี  อายุวัฒน์     

     รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2.  ผศ.ดร.วิรัช  วงศ์ภินันท์วัฒนา

     รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

ดังภาพ และกิจกรรมวันฝึกอบรมฯ

 

Pp1

เมื่อมีการบรรยายเศษ วิทยากรให้เกียรติในการให้ข้อเสนอแนะต่อนักวิจัยสถาบัน ที่เข้าร่วมฝึกอบรม โดยได้นำโจทย์ "ร่างบทความ" ที่นักวิจัยเตรียมการบ้านมาฝึกปฏิบัติในวันดังกล่าวด้วย

Pp2

 

ผลจากการฝึกอบรม นักวิจัยสถาบัน ได้รับความรู้ ความเข้าใจในการเขียนบทความวิจัยสถาบัน มากยิ่งขึ้น ซึ่งพอสรุปอย่างสังเขป ดังนี้

 

ประเภทการวิจัยสถาบัน ที่จัด เน้น : การวิจัยทำเป็นประจำ

 

ซึ่งหมายถึง เป็นเรื่องที่ทำเพื่อเอาผลวิจัยมาใช้เพื่อการปรับปรุงงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กร ในประเด็นต่อไปนี้คือ

v    หลักสูตรการศึกษา

v    บุคลากร

v    นักศึกษา

v    การบริหารจัดการ การเงิน

v    อาคารสถานที่

 

บทความวิจัย คือ บทความที่มีลีลาการเขียนแบบวิชาการ

 

ลักษณะของบทความ

   -   มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ มากกว่ารายงานการวิจัย เพราะสามารถตัดตอนผลการวิจัยบางส่วนมานำเสนอ เพื่อเผยแพร่หรือตรวจสอบความคิดได้

   -   เป็นมาตรฐานกว่ารายงานการวิจัย เพราะต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสารหรือคณะกรรมการประชุม

 

องค์ประกอบของบทความวิจัย

1.    บทคัดย่อ และ Abstract

2.    บทนำ (ความสำคัญของปัญหาวิจัย / คำถามการวิจัย / ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลวิจัย)

3.    เนื้อหา

a.    วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิด

b.    ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัย

c.     ผลการวิจัย ข้อค้นพบ

d.    อภิปรายผล

4.    บทสรุป (ข้อเสนอแนะ)

 

การเขียนบทความวิจัย  ผู้เขียนต้องรู้จัก 4 ประการ คือ

1.    ต้องรู้จักสรุปความ (summarize)

2.    ต้องรู้จักประเมิน  (evaluate)

3.    ต้องรู้จักวิเคราะห์ (analyze)

4.    ต้องรู้จักสังเคราะห์ (synthesize)

 

ข้อควรปฏิบัติในการเขียนบทความวิจัย

1.    กำหนดหัวข้อเรื่อง

2.    กำหนดขอบเขตและทำความเข้าใจหัวข้อเรื่อง

3.    วางโครงเรื่อง

4.    รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร

5.    รวบรวมข้อมูลสนาม

6.    เขียนฉบับร่าง

7.    แก้ไขและขัดเกลา

8.    ส่งให้ผู้รู้ หรือเพื่อนอ่าน วิจารณ์

9.    เขียนฉบับสมบูรณ์

 

เคล็ดลับการเขียนบทความวิจัยที่ดี

·  เลือกเรื่องที่น่าสนใจมาเขียน

·  เขียนให้มีขนาดพอเหมาะ  (ไม่ควรนำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยทั้งเรื่องมาเขียนเป็นบทความ)

·   อ่านบทความวิชาการมาก ๆ โดยเฉพาะที่เขียนโดยนักวิชาการเก่งๆ

·   จดจำวิธีการและลีลาการเขียนมาประยุกต์

·   พยายามเข้าร่วมการสัมมนา บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา

 

นี่คือบทสรุป ที่ท่านวิทยากรได้ให้เทคนิควิธีการเขียนบทความ ผู้จัดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงเป็นประโยชน์ และนำไปประยุกต์ใช้แก่ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม และผู้สนใจ ไม่มากก็น้อย

 

((((งานวิจัย หากมีการศึกษาแล้วไม่นำไปเผยแพร่และใช้ให้เกิดประโยชน์ นั่นหมายถึง งานวิจัยชิ้นนั้น ไม่มีคุณค่า และไม่มีความหมายอะไรเลย)))) 

เก็บเคล็ดลับดี ๆ มาฝาก ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 203098เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2008 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

รอรายละเอียดต่อค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

1. pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]
เมื่อ อา. 24 ส.ค. 2551 @ 10:44
798086 [ลบ]

ขอบคุณป้าแดง ที่แวะมาค่ะ
รายละเอียด แบบละเอียด ต้องมานั่งฟังในห้อง เพื่อเข้าอบรมน่ะค่ะ ได้รายละเอียดยิบเลย
อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท