EM ครู กศน.พิจิตรพันธุ์ใหม่


Education Management(EM)

สำนักงาน กศน.จังหวัดพิจิตร ปรับปรุงอัตลักษณ์ขององค์กรใหม่ เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน(Education for All) แลดึงปวงชนเข้าร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อประชาชน (All for Education) ในรูปแบบการจัดการศึกษาชุมชน สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ บนพื้นฐานความรู้ชุมชน ตามโครงการหมู่บ้านฐานความรู้ โดยดำเนินการจัดตั้งและพัฒนาศูนย์การเรียนชุมชน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านฐานความรู้ และได้มอบหมายให้ครู กศน. ทั้งประเภทครูอาสาสมัคร และครูศูนย์การเรียน(ครู ศรช.) เป็นผู้รับผิดชอบประจำศูนย์การเรียนประจำตำบลทั่วทั้งจังหวัดพิจิตร จำนวน 86 ตำบล/ศูนย์การเรียน  ภาพลักษณ์ และบทบาทของครู กศน. ที่ประจำตำบล ได้ปรับเปลี่ยนไปจากเป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายในชุมชน มาเป็นผู้จัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน เช่นการพบกลุ่มนักศึกษา กศน. ของครูก็ให้งด หรือลดน้อยลง แต่จะร่วมกับนักศึกษา กศน. หรือ ประชาชนในชุมชน วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ รูปแบบการเรียน ร่วมกัน พร้อมทั้งแนะแนวนักศึกษาให้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ตามที่ตนเองเลือก หรือประสานงานกับเครือข่าย แหล่งเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน แนวคิดของการให้ครู กศน.เป็นผู้จัดการศึกษาชุมชน (Education Manager) ด้วยเหตุผลที่ว่า ครู กศน. ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นการที่นักศึกษาต้องการที่จะเรียนเพิ่มเติม หรือสรุปรายวิชาต่าง ๆ นั้นควรที่จะได้รับการเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ ครู กศน. ก็จะเป็นผู้ประสานงานกับวิทยากรมาให้ผู้เรียน  หรือการร่วมกับผู้เรียนหรือกลุ่มในชุมชน วางแผนการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มนั้น ๆ พร้อมทั้งเป็นผู้นิเทศตรวจเยี่ยม ให้กำลังใจ ประสานงานในการแก้ไขปัญหาผู้เรียน หรือ การนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตร การจัดกระบวนการเรียนรู้ และการวัดประเมินผลเทียบองค์ความรู้ผู้เรียน เหตูผลประการสำคัญคือ การศึกษานอกระบบ เป็นการจัดการศึกษาตามสภาพให้กับคนทุกคน ที่มีความแตกต่างและหลากหลายเป็นอันมากการที่ ครู กศน. จะสอนเอง นอกจากไม่ถนัดและตรงสาขาวิชาแล้ว ยังตอบสนองการเรียนรู้ไม่เพียงพอกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น ครู กศน. จึงต้องเปลี่ยน และสวมบทบาทในการเป็นผู้จัดการเรียนรู้มากว่าที่จะเป็นผู้ดำเนินการเสียเอง นักศึกษา กศน. ที่ผ่านการออกแบบ และวางแผนกระบวนการเรียนรู้ทุกวิธีเรียน ไม่ว่าจะเป็นแบบชั้นเรียนในสถานศึกษาปกติ แบบเทียบวัดความรู้ แบบเครดิต แบบเรียนทางไกล แบบเรียนด้วยตนเองและสอบหน้าจอคอมพิวเตอร์ แบบเทียบระดับความรู้ หรือแบบติวเข้มกวดวิชา รวมถึงการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต เชิงบูรณาการ ก็ถือว่าเป็นนักศึกษาในสังกัดของครู กศน. เช่นเดียวกัน วิธีการบริหารการจัดการแบบนี้ จังหวัดพิจิตรเห็นว่าจะเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และทำให้การเรียนรี้ของ กศน. มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้สำนักงาน กศน.พิจิตร ได้เตรียม ครู โดยให้ความรู้ วิธีการ และทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานแก่ครู กศน. ตลอกจนการเตรียมการด้านอื่น ๆ รองรับเพื่อความพร้อมของการดำเนินโครงการ ซึ่งคาดว่า ครูพันธุ์ใหม่หรือที่เรียบว่า EM จะสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2552 หรือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป ท่านใดมีของคิดเห็น เสนอแนะรูปแบบดังกล่าวช่วเสนอแนะเพิ่มเติมได้ จักขอบคุณยิ่ง

คำสำคัญ (Tags): #education manager(em)
หมายเลขบันทึก: 202982เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2008 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากเป็น ครู กศน.ต้องทำไงบ้างค่ะ ตอนนี จบ ป.ตรี แล้วค่ะยังไม่มีวุฒิครู กำลังจะลงเรียน ที่ ปากทางพิจิตร ค่ะอยากเป็นครูกศน.มากค่ะ เพราะ จบ กศน.มาอยากให้ความรู้และอยากให้เพื่อนๆพี่ได้รับความรูเพิ่มมากๆๆค่ะ อยู่จังหวัดพิจิตรค่ะในเมือง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท