ข้อผิดพลาดที่มักพบในงานวิจัย


คนที่ทำวิจัยแล้วคิดไม่ตกเชิญอ่านกระตุ้นสมองนะครับ

1.การเขียนบทที่ 1

มักจะไม่สอดรับกัน คือเขียนหลักการและเหตุผลไม่สอดรับกับหัวข้อการวิจัย บ้างครั้งก็จับ ต้นชนปลายไม่ค่อยถูก ไม่มีการเรียงลำดับความสำคัญ ว่าอะไรเขียนก่อนหลัง ไม่แยกแดยะประเด็นให้ชัดเจนว่า สิ่งที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในการทำงานวิจัยใครั้งนี้คืออะไรแน่ ทำให้เรื่องลดความสำคัญลงไป การเขียนหลักการและเหตุผล

ถ้ามองมองภาพกรวยจะเห็นวาการเขียนหลักและเหตุผล ตลอดจนสภาพของปัญหา ควรมองมุมกว้างมาก ๆ เช่นเป็นปัญหาระดับโลก ภูมิภาค และค่อยลดหลั่นลงเป็นปัญหาที่ทีใกล้ตัว เหตุสมควรที่จะต้องศึกษาและทำการวิจัย

การเขียนในแต่ละระดับก็ควรจะให้มีความสอดคล้อง สอดรับกันเป็นลูกโซ่ ไม่ควรขาดตอน บางคนเขียนแล้วอ่านไม่สละสลวย ขาด ๆ เกิน ๆ มีความรู้สึกว่าเหมือนไปเอาจากโน่นนิด ตรงนี้มาหน่อย แล้ว ถูกก๊อบปี้มาทำให้รู้สึกเหมือนว่าท่านไม่ได้คิดเอง

การเขียนบทที่ 1 ถ้าทำให้ดีถือว่าเรามีชัยชนะเกินครึ่ง ยิ่งเป็นเรื่องของหัวข้อเรื่องยิ่งต้องใช้เวลาในการคิดหาคำให้ครอบคลุม เพราะหัวข้อเรื่องจะเป็นตัวแรกที่จะให้คำตอบในงานวิจัยของเราได้เป็นอย่างเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการตั้งวัตถุประสงค์การวิจัย การหากลุ่มเป้าหมาย การสร้างเรื่องมือ ตลอดจนการนำสถิติมาใช้ ทุกอย่าง หัวข้อเรื่อง จะเป็นคำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนอยู่ในตัว

2. การเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย

ที่พบบ่อยที่สุดคือ ไม่รู้ว่าจะศึกษาอะไรกันแน่ ควรบอกให้ชัดว่าเป็นการศึกษาอะไร เช่นศึกษา ปัญหา ศึกษาความคิดเห็น หรือจะพูดเป็น ภาษาชาวบ้าน ๆ คือจะทำอะไร กับใคร บางครั้งระหว่างวัตถุประสงค์กับหัวข้อเรื่องก็เป็นคนละเรื่องกันอีก ไปกันใหญ่ ต้องแก้ไขใหม่ยกเล่ม

บางครั้งพบว่าเขียน วัตถุประสงค์เสียมากมาย แต่พอโดยกรรมการซัก ก็ไม่สามารถทำได้ทุกข้อ แล้วเขียนไว้ทำไม เขียนไว้โก้ๆ เพื่อให้เห็นว่าการงานวิจัยครั้งมีเรื่องราวที่ต้องศึกษามากมาย พอเอาเข้าจริง ๆ ทำไม่ได้ ก็เป็นการตกม้าตาย พระเอกตายตอนจบ

การทำงานวิจัย โดยความจริงแล้ว เป็นการค้นคว้าหาคำตอบในปัญหาที่เราเห็นว่าควรศึกษา และการสัญญาว่าจะทำในสิ่งนั้นสิ่งนี้ตามที่เราคิดว่าเราจะทำได้ โดยใช้กระบวนการการค้นคว้าหาคำตอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นรูปธรรม น่าเชื่อถือได้ ดังนั้นการเขียนวัตถุประสงค์งานวิจัย ก็ต้องเป็นการเขียน วัตถุประสงค์ที่เราคิดว่าเราทำได้ และสอดรับกับหัวข้อวิจัย

3. การเขียนสมมุติฐานการวิจัย

ที่พบบ่อยเขียนสมมุติฐานไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เพราะว่าศึกษาวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน จึงเขียนสมมุติฐานเป็นคนละเรื่องกับวัตถุประสงค์

การเขียนสมมุติฐานเป็นการคาดเดาว่าสิ่งที่เรากำลังศึกษานั้น จะมีผลอย่างไร เช่นศึกษาแล้วมีค่าเพิ่มขึ้น หรือลดลง หรือมีความสอดคลองกัน หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เป็นต้น

4 . การเขียนของเขตงานวิจัย

ที่พบบ่อยผู้เขียนงานวิจัยไม่สามารถบอกขอบเขตงานวิยออกมาให้ชัดเจน เช่นไม่รู้ว่าเป็นขอบเขตงานวิจัยที่บ่งบอกถึงอะไร เช่นควรบอกบอกว่า ขอบเขตของประเด็นที่จะศึกษา มุ่งเน้นในการทำการศึกษาในเรื่องอะไรบ้าง มีประเด็นหลัก ประเด็นรองคืออะไรบอกให้ชัด ยกตัวอย่างเช่น ต้องการศึกษาประเด็นเกี่ยวกับงานประชาสัมพันธ์ หรือต้องการศึกษาความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องในการทำงานด้าน........................หรือต้องการศึกษาประเด็นการบริหารการจัดการเกี่ยวกับกำลังคน.............บางครั้งพบว่า ไม่ระบุขอบเขตพื้นที่ ที่ต้องการศึกษา ทำให้การทำการวิจัยไม่แน่นอนว่าจะต้องการศึกษาในพื้นที่ใดกันแน่ ประชากร ผู้เขียนควรระบุประชากรที่ต้องการศึกษาว่า เป็นใคร จำนวนเท่าไร เช่น ต้องการศึกษากับกลุ่มบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษาอาชีวศึกษาภาคใต้ ที่เปิดสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี รวมจำนวน 220 คน

5. การเขียนกลุ่มตัวอย่าง

ที่มักพบบ่อย ๆ ผู้เขียนไขว่เขว ระหว่างกลุ่มประชากรกับกลุ่มตัวอย่าง บางครั้ง ก็เอากลุ่มตัวอย่างไปสับสนกับกลุ่มที่ต้องการทำ Try Out ทำให้ต้องมานั่งแก้ใหม่หมด ผู้เขียนควรทำความเข้าใจในแต่ละอย่างให้ดี เช่น กลุ่มประชากรคืออะไร กลุ่มตัวอย่างคืออะไร กลุ่มที่ต้องการทำการทดลองเครื่องเพื่อหาค่าความเชื่อมั่น คืออะไร จะได้ไม่สับสน

ที่สำคัญอีกอย่างคือการได้มาของกลุ่มตัวอย่าง ได้มาอย่างไร ควรระบุให้ชัดเจน เช่นได้มาจากการสุ่ม ใช้วิธีการสุ่มแบบใด หรือได้มาจากการใช้สูตรคำนวณ ก็ควรระบุให้ชัด ที่น่าสังเกตคือ บางครั้งเมื่อต้องการใช้สูตรแล้ว ก็ใช้ไม่หมดทุกกลุ่มประชากร บางกลุ่มใช้สูตร แต่บางกลุ่มไปใช้วิธีการอย่างอื่น ก็จะทำให้ลดความน่าเชื่อถือในงานวิจัยลงไป หรือบางครั้งกรรมการอาจจะให้แก้ใหม่ เสียเวลา อย่าลืมว่าการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างหากไม่สามารถเอากลุ่มตัวอย่างมาได้อย่างยุติธรรม หมายถึงว่า ไม่สามารถทำกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาอย่างเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของงานวิจัยจะลดลงทันที เคยมีรายงานออกมาบ่อย ๆ เรื่องของการทำโพล์ ( Poll ) มักจะมีผู้ทักท้วงบ่อย ๆ ว่าทำมาได้อย่างไร เอาความคิดเห็นของคนมาไม่กี่กลุ่มคน แล้วมาสรุปว่าเขาส่วนใหญ่ คิดเห็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้เป็นการดิสเครดิตสการทำงานวิจัยไปในตัว แต่ถ้าหากการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างน่าเชื่อถือได้ และมีความเที่ยงธรรมในการให้กลุ่มตัวอย่าง งานวิจัยนั้น ก็มักได้รับการยอมรับจากมหาชน

6. การเขียนตัวแปรต้น และตัวแปรตาม

ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือการ ไม่สามารถตีความคำว่าตัวแปรต้น และตัวแปรตามให้ชัดเจนว่า อะไรคือตัวแปรต้น อะไรคือตัวแปรตาม ทำให้การสร้างกรอบการวิจัยไขว้เขว และทำให้การทำการศึกษาไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ในประเด็นนี้ต้อง ผู้วิจัยต้องหาคำตอบให้ชัดว่า ตัวแปรที่แท้จริงไม่ว่าจะเป็นตัวแปรต้น หรือตัวแปรตาม ลักษณะที่น่าสังเกต ตัวแปรต้นเช่นเรื่องของเพศ วัย ระดับการศึกษา พื้นฐานการศึกษาของบิดามารดา ฯลฯ ส่วนตัวแปรตามก็คือ เรื่องที่เราต้องการศึกษา เช่น ศึกษาความคิดเห็น ความคิดเห็นก็เป็นตัวแปรตาม หรือผลการเปรียบเทียบ อย่างนี้ถือเป็นตัวแปรตาม เมื่อชัดเจนว่าเราต้องการศึกษาประเด็นใด จากตัวแปรต้น และตัวตัวแปรตาม ก็ลองเขียนเป็นกรอบการวิจัย เพื่อให้เป็นรูปธรรมชัดเจนว่า เราต้องการศึกษาอะไร แล้วไม่สับสน

 โอ๊ะๆ เหมือนจะเก่งแต่จริงๆแล้วม่ายเอาอ่าว(เพราะไม่ใช่เรือ)

เงี้ยะเเหละครับเป็นทุกเรื่อง ไม่เป็นเรื่องเดียว (ไม่เป็นสับปะรดอ่ะ)



ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์มากค่ะ...

แวะมาอ่านพบสิ่งดีๆ

ขอบคุณที่แนะนำ

อยากได้เป็นที่ปรึกษาจัง

สวัสดีค่ะคุณคนพลัดถิ่น

  • ชัดเจนมากขึ้นจริงๆในเรื่องการเขียนงานวิจัย
  • กระตุ้นต่อมสมองให้เห็นภาพงานวิจัยได้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ
  • ปัญหาในการทำงานวิจัยในวิชาชีพครูส่วนมากแล้วมักเกิดจากเราขาดความชำนาญในการงานด้านวิจัยกันค่ะ  ก็เพราะชาวครูเราถนัดงานสอนหนังสือ มากกว่างานเขียนกันนะ 
  • เขียนให้อ่านบ่อยๆนะคะ  ทำให้ได้ทบทวนความรู้มากและมีความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • ขอบคุณมากๆค่ะที่ให้ความรู้ที่ดีๆสู่กัน

"โอ๊ะๆ เหมือนจะเก่งแต่จริงๆแล้วม่ายเอาอ่าว(เพราะไม่ใช่เรือ)"

ก็ยังดีกว่า ล่มปากอ่าว นะผมว่า

หุหุหุ

แวะมาทักทายครับ

ขอบคุณบทความดี ๆ ครับ

มีประโยชน์มากเลย เอาเป็นว่า...จะเก็บมาเป็นแนวในการเขียน และทบทวนงานตัวเองอีกครั้ง ก่อนสู่สายตาอันยาว ยาว ยาว ไกลของกรรมการทุกท่าน.....

น่ายกย่องสำหรับความห่วงใยผู้อื่น อุตส่าห์เอาเรื่องดี ๆ มาฝากให้ครูหลายคนได้ข้อคิด

ยกย่องค่ะ ยกย่อง

ขอบคุณอีกเช่นกันที่แวะเวียนกันเข้ามาอ่านนะครับ

อยากทราบสูตรคำนวณการแกแจงสิ่งตัวอย่างสัดส่น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

กับ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

คุณคิดว่ามันเป็นคนละประเด็นกันไหมคะ

ใช่ครับ

เพราะชื่อก็บอกตรงๆแล้ว ว่าวัตถุประสงค์

ต้องการจะให้เกิดอะไร

แต่ประโยชน์เนี่ย ต้องการจะได้อะไรครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท