วิสัยทัศน์ประเทศไทย...สู่ปี 2570


         วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม 2551  ผมได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เข้าร่วมประชุมประจำปี 2551 ภายใต้หัวข้อ วิสัยทัศน์ประเทศไทย...สู่ปี 2570 ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์บอลรูม  อิมแพ็ค  เมืองทองธานี 
      นายกรัฐมนตรี(นายสมัคร  สุนทรเวช)  เป็นประธานเปิดประชุมและแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง 
วิสัยทัศน์ประเทศไทยในมุมมองของรัฐบาล  ท่านใช้เวลาพูดเกินเวลาไปครึ่งชั่วโมงกว่า  ส่วนใหญ่ท่านจะเล่าความหลังและแสดงวิสัยทัศน์ของท่านเกี่ยวกับการคมนาคมใน กทม.และปริมณฑล
      หลังเบรค(
11 โมงกว่า)เป็นการนำเสนอภาพรวมของงานนี้  โดย ดร.อำพน  กิตติอำพน(เลขาธิการ สศช.)  ท่านเล่าสรุปว่า  ประเทศเราใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขับเคลื่อนมาฉบับละ 5 ปี จนถึงฉบับที่ 10 ในปัจจุบัน 
        ประเทศมาเลเซียเขามีวิสัยทัศน์ใน
20 ปีข้างหน้าว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร  ดร.ป๋วย  เคยให้แนวคิดเรื่องการกำหนดวิสัยทัศน์ในบ้านเราไว้ ในปี 2519 แต่ก็ไม่ได้รับการสานต่อ  จน พ.ศ. 2540 ศ.ดร.สิปนนท์  เกตุทัต ได้นำจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ประเทศไทยสู่ พ.ศ. 2560”  ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างวิสัยทัศน์ของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม  โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน  ซึ่งผลการประชุมครั้งนั้น เราได้แนวคิดในการจัดทำแผนฯ 9 และ แผนฯ 10 ในระยะต่อมา  โดยแผนฯ 9(2545-2549) ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวปฏิบัตินำทาง ควบคู่กับการพัฒนาคนต่อจากแผนฯ 8 และแผนฯ 9 ได้กำหนดวิสัยทัศน์สังคมไทยมุ่งสู่ สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ  พอมาถึง แผนฯ 10(2550-2554) ก็ยังอัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติ และกำหนดวิสัยทัศน์ว่า สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 
        การจัดประชุมประจำปี 2551  ก็มุ่งให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย...สู่ปี 2570 ในอีก 20 ปีข้างหน้า  โดยมีประเด็นพิจารณา 4 ประเด็นคือ
        
1. การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในสังคมโลก
       
2
. การปรับโครงสร้างทางสังคมให้เข้มแข็งและยั่งยืน
       
3
.  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
       
4
.  การบริหารจัดการที่ดีสู่ความเป็นธรรมของการพัฒนาประเทศ
           หลังจากนั้นก็ได้มีการอภิปรายเรื่อง วิสัยทัศน์ประเทศไทย...สู่ปี 2570 ดำเนินการอภิปรายโดย  ดร.พนัส สิมะเสถียร(ประธานกรรมการ สศช.)  ผู้อภิปรายมี ศ.นพ.เกษม  วัฒนชัย(องคมนตรี)  นพ.สุรพงษ์  สืบวงศ์ลี(รองนายกฯและ รมว.คลัง)  นายโฆษิต  ปั้นเปี่ยมรัษฎ์(ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพฯ)  และนายประมนต์  สุธีวงศ์(ประธานกรรมการสภาหอการค้าฯ)  ซึ่งสาระการอภิปรายของแต่ละท่านผมจะนำมาเล่าในครั้งต่อๆไป

หมายเลขบันทึก: 201891เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

น่าสนใจมากครับ

จะคอยติดตาม อยากรู้ว่าแต่ละท่านมองประเทศไทย ปี 2570 เป็นอย่างไร

ผมคิดว่าเป็นเรื่องดีมากนะครับ ที่จะมีแผน ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว

จะได้มีวิสัยทัศน์ และสร้างยุทธศาสตร์ชาติ ได้อย่างเป็นรูปธรรม

เสียอย่างเดียว ที่ประเทศไทยตอนนี้่ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ มากเกินไปนะครับ

นี่ถ้ามีแผนปฏิบัติจริงๆ ไม่รู้ว่าจะดำเนินตามแผนได้หรือไม่

กลัว วิ่ง ๆ แล้วก็ สะดุดล้ม กันอีก

มันเจ็บนะผมว่า

อยู่ที่การบริหารจัดการทั้งภาพรวมและภาพย่อยนั่นแหละครับ ขออภัยที่ไม่ได้นำเสนอบันทึกต่อเนื่องเสียหลายวัน เพราะติดราชการตลอด วันนี้บันทึกวิสัยทัศน์ของคุณหมอเกษม แล้วครับ

สวัสดีครับ

ติดตามเข้ามาอ่าน วิสัยทัศน์ของคุณหมอเกษมแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท