ความงามของจิตที่คิดจะให้


ยิ่งอวดความสมบูรณ์ทางวัตถุมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเปิดเผยความขาดแคลนทางจิตใจเท่านั้น บ้านบางคนมีของแน่นไปหมด แต่เจ้าของบ้านกลับกลวง

ทานที่จะให้ความหมายในด้านการปฏิบัติ ไม่ได้อยู่ที่ว่าของที่ให้มีราคาเป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่น เป็นแสน ราคาไม่เป็นประมาณ ข้อสำคัญคือเรามีความตั้งใจว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับ และได้ขัดเกลาความยึดมั่นถือมั่นในใจให้เป็นอิสระจากความตระหนี่เพิ่มมากขึ้น

 พอถือว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งใดแล้ว  ไม่นานของนั้นก็เป็นเจ้าของเราได้ บังคับความรู้สึกของเราได้  ทางแก้คือ การสร้างความสัมพันธ์กับวัตถุที่ถูกต้อง คือใช้ของที่ควรใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่หลงใหล และผูกพันจนเกินไป วิธีสร้างความรู้สึกที่ดีนั้นเริ่มต้นด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สามารถสัมผัสความรู้สึกที่เรียกว่า บุญนั้นด้วยการแบ่งปันสิ่งที่มีอยู่ส่วนหนึ่ง เพื่อประโยชน์และความสุขต่อคนอื่น สังคม และพระศาสนา

.............ถึงใครจะเป็นคนซื่อตรง ขยันหมั่นเพียร  ใจบุญก็ตาม ถ้าหากหลงเป็นธาตุของวัตถุปล่อยให้จิตยึดติดอยู่กับมันแน่นแฟ้น จนกระทั่งเห็นคุณค่าของตนเองหรือศักดิ์ศรีของตนเองอยู่ที่สิ่งที่ตนเองบริโภคหรือเงินในบัญชีธนาคาร จิตใจจะตกต่ำและง่อนแง่น.

......ยิ่งอวดความสมบูรณ์ทางวัตถุมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเปิดเผยความขาดแคลนทางจิตใจเท่านั้น บ้านบางคนมีของแน่นไปหมด แต่ใจเจ้าของบ้านกลับกลวง

                                                                            จากหนังสือ "ปัจจุบันสดใส"

                                                                                       โดย ชยสาโร ภิกขุ

หมายเลขบันทึก: 201792เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2008 09:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 11:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดี..ผู้มีใจเป็นทาน..เราเห็นด้วยกับสาระของคุณ..มากๆๆ

เราอยากให้คนไทยให้ทาน โลกคงน่าอยู่มากกวานี้******

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท