the_first_domino(6)-KMตลาดนัดของนักเรียนทุนรัฐบาล


เป็นกลุ่มที่localที่สุดสำหรับผม สำหรับพวกเรานักเรียนทุนที่จะtake actionซักอย่างได้เป็นชิ้นเป็นอันมากกว่านั่งวิจารณ์เฉยๆ

(ร่างบทความสำหรับเผยแพร่ในเว็บไซท์ของนรทุนรัฐบาล)

บทความต่อไปนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักเรียนทุนรัฐบาล แต่เป็นความคิดเห็นของนักเรียนทุนคนหนึ่งต่อการยกสถานะทางวิชาการของประเทศเป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ ผมนำเสนอบทความนี้ต่อนักเรียนทุนเป็นกลุ่มแรกเพราะผมเห็นว่าสังคมนักเรียนทุนนี้เป็นสังคมวิชาการที่เข้มแข็งที่สุดสังคมหนึ่งของประเทศ เป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจ ความรู้ ประสบการณ์ และพันธมิตรที่หลากหลาย ท้ายสุดแล้วผมเชื่อว่าพวกเราต่างมีอุดมการณ์ลึกๆร่วมกันที่จะทำอะไรที่ยิ่งใหญ่เพื่อประเทศของพวกเรา

---------------------------------------------------------------------------------

ผมขอออกตัวก่อนว่าผมไม่ได้ลำเอียงเห็นว่า การสร้างตลาดนัดย่อย-การจัดการความรู้ในกลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาล สำคัญมากไปกว่าตลาดนัดย่อยในกลุ่มสังคมอื่นๆนะครับ ผมเพียงแต่เห็นว่าคนกลุ่มนี้มีลักษณะน่าสนใจหลายๆอย่าง และที่สำคัญที่สุด เป็นกลุ่มที่localที่สุดสำหรับผม สำหรับพวกเรานักเรียนทุนที่จะtake actionซักอย่างได้เป็นชิ้นเป็นอันมากกว่านั่งวิจารณ์เฉยๆ
ผมขอออกตัวไว้อีกข้อว่าในฐานะ นักเรียนทุนรัฐบาลคนหนึ่ง ผมอาจจะรู้อะไรไม่น้อยเกี่ยวกับธรรมชาติของคนกลุ่มนี้ แต่ก็ไม่ทั้งหมด ข้อมูลและความเห็นต่อไปนี้โปรดใช้วิจารณญาณในการเชื่อ
คนกลุ่มนี้น่าสนใจอย่างไร?
…ลองมามองมุมกว้างก่อน: คนกลุ่มนี้คือ”นักวิชาการกลางพีระมิด”
คนกลุ่มนี้ส่วนมากเป็นพวก “กลางพีระมิด” อย่างที่ผมกล่าวถึงในตอนแรก คือมีกำลังมากพอที่จะมองอะไรออกไปไกลกว่า local problems ถ้าจับมานั่นถกปัญหาวิชาการ ปัญหาบ้านเมือง การพัฒนา การปฎิรูป รับรองว่าคุยกันรู้เรื่อง ได้เรื่อง แต่ละคนมีไอเดียน่าสนใจต่างๆกันออกไป แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ “ยอดพีระมิด” ที่อยู่ดีๆจะไปปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงาน หรือประเทศ อะไรง่ายๆ คนกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มเด็กเล็กที่ต้องถูกปลูกความคิดสร้างความรู้อีกเป็นสิบๆปี แต่ก็ไม่ใช่กลุ่มคนกำลังทำงานได้เข้าไปติดเเหง็กอยู่ในระบบแล้ว นี่คือคนกลุ่มอายุสิบกว่าถึงราวๆสามสิบที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านจากชีวิตนักเรียนไปสู่ชีวิตคนทำงานเต็มตัว
คนกลุ่มนี้ถูกสร้างถูกคาดหวังให้เป็น “นักวิชาการ” ผมไม่สามารถพูดได้ว่าทุกคนคือ “นักวิชาการ” เพราะนักวิชาการเป็นลักษณะนามธรรมส่วนบุคคล แต่อย่างน้อยนั่นคือเป้าหมายของโครงการทั้งหมด ประเทศของเราลงทุนไปมากมายส่งคนออกไปต่างประเทศ ไม่ใช่เพราะต้องการแค่ “นักวิชาอาชีพ”ที่ไปเรียนไปจำเขามาทำอะไรซ้ำๆ เป้าหมายคือ”นักวิชาการ”ที่คิดอะไรแปลกๆสร้างอะไรใหม่ๆขึ้นมาแล้วเอาไปเผยแพร่
“คนกลางพีระมิด” และ “นักวิชาการ” เป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญของตลาดนัดความรู้
“คนกลางพีระมิด” มีไอเดียมากกว่าอำนาจ การรวมกลุ่มเป็นทีม ชมรม สหพันธ์ ตลาดนัดจะช่วยเติมเต็มอำนาจที่พวกเขาขาดไป
“นักวิชาการ” เป็นงานอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ (นักวิชาการที่ทำงานโดดเดี่ยวมักจะฟุ้งซ่าน เรียกว่า”นักวิชาเกิน”) “นักวิชาการ”ต้องพึ่งเครือข่ายของคนที่จะให้ inputคือปัญหาหรือโจทย์วิจัย,  supportคือแหล่งทุนแหล่งไอเดียความรู้, และ รับoutputคือ ผลงานที่ได้ออกไปสานต่อทำประโยชน์ งานของนักวิชาการนับวันจะยิ่งลึกและยิ่งแคบ ความต้องการทีมงานดีๆก็ยิ่งมากขึ้น ดังนั้นตลาดนัดความรู้ดีๆย่อมจะดึงดูดพวกเขาให้มารวมตัวกันได้ไม่ยาก
 …ทีนี้ลองมามองรายละเอียดของกลุ่มสังคมบ้าง: นี่คือกลุ่มสังคมที่แน่น, หลากหลาย, และconnectionกว้าง
กลุ่มสังคมที่แน่น ในที่นี้คือ กลุ่มที่มีความเป็น primary social groupอยู่มาก
นักเรียนทุนรัฐบาลที่มาตั้งแต่ระดับป.ตรี เฉพาะในอเมริกาปีละสามสิบถึงสี่สิบคนจะต้องผ่านการปฐมนิเทศร่วมกันช่วงซัมเม่อประมาณสองเดือนก่อนจะแยกย้ายกันไป ดังนั้นคนกลุ่มนี้แต่ละรุ่นจึงกลายเป็นกลุ่ม “เพื่อน”ที่รู้จักกันอยู่แล้ว ไปมาหาสู่กัน และส่วนใหญ่มีเว็บไซต์ของรุ่นอยู่แล้ว นอกจากนี้สังคมของนักเรียนไทยในแต่ละมหาวิทยาลัยที่นี้เป็นสังคมที่ไม่ใหญ่ อย่างมากที่สุดประมาณห้าสิบคน กลุ่มนี้ก็เป็นกลุ่ม “พี่ๆน้องๆ”ที่ประกอบด้วยนักเรียนหลายรุ่นตั้งแต่ป.ตรีขึ้นไปถึงpostdoc
เมื่อกลุ่มเป้าหมายประกอบขึ้นจาก primary social groupsย่อยๆที่คาบเกี่ยวกัน การรวมคนเป็นตลาดและ”การแลกเปลี่ยน”ที่จะเกิดหลังจากนั้นก็จะง่ายขึ้น เพราะว่าเป็นการรวมกัน การแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกันระหว่าง “เพื่อน” และ”รุ่นพี่รุ่นน้อง” มากกว่าที่จะต้องเริ่มจากคนที่แปลกหน้าต่อกันโดยสมบูรณ์
กลุ่มสังคมที่หลากหลาย: นี่คือกลุ่มคนที่ต่อไปจะกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร นักเศรษฐศาสตร์ นักการทูต ๙ล๙ ยิ่งกว่านั้นคนเหล่านี้เติบโตขึ้นในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันรูปแบบการเรียนเทคนิคในการวิจัยต่างกันไปตามมหาวิทยาลัยและประเทศที่อยู่ เราพูดกันมานักต่อนักว่าต่อไปในอนาคตเราต้องเน้นการบูรณาการความรู้ การโจทย์ปัญหาโดยทีมงานที่ประกอบด้วยคนหลายๆอาชีพหลายๆความถนัด กลุ่มนักเรียนทุนรัฐบาลมีคุณสมบัตินี้อยู่แล้ว เราเพียงแต่ต้องการให้แต่ละคนมองเห็นแต่ละคนลึกลงไปในมิติของความสามารถ ให้แต่ละคนเห็นว่า “เออ เราเก่งอันนั้น เพื่อนคนนี้เก่งอันโน้น พี่คนนั้นเก่งอันนู้น ถ้ามารวมกันน่าจะแก้ปัญหาข้อนี้ได้ทำโปรเจกอันนี้ได้”
กลุ่มคนที่connectionกว้าง เรามีกลุ่มคนที่กระจายกับอยู่ในสถาบันการศึกษาชั้นนำทั่วโลก ที่จะช่วยผสานความร่วมมือเข้ากับหน่วยงาน หน่วยวิจัยในต่างประเทศ …อันนี้ชัดอยู่แล้ว แต่ที่ผมเห็นว่าสำคัญกว่านั้นคือconnectionในประเทศไทย
…เรามีนักเรียนระดับโท เอกจำนวนไม่น้อยที่มีกลุ่ม “คนรู้จัก”…เพื่อนร่วมรุ่น พี่น้อง อาจารย์ จากมหาวิทยาลัยในไทยที่ตัวเองจบมา
…เรามีเพื่อนนักเรียนทุนด้วยกัน ที่เป็น พสวท, JSTP,โอลิมปิก และโครงการส่งเสริมวิชาการอื่นๆอีกเยอะแยะในบ้านเรา
..เรามีข้าราชการลาศึกษา ที่มีตำแหน่งหน้าที่ และเพื่อนร่วมงานอยู่แล้ว
…เรามีรุ่นพี่นักเรียนทุนที่จบกลับไปแล้ว เริ่มเข้าทำงาน เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นนักวิจัยBIOTECH, NECTECHอะไรก็ตามแต่
ถ้าเราสามารถสร้างตลาดนัดวิชาการที่เข้มแข็งขึ้นมาได้สำเร็จจากกลุ่มนักเรียนทุนก่อน connectionดังกล่าวจะช่วยดึง “ยอดฝีมือ” อีกมากมายมาเข้าร่วม ยิ่งคนเข้าร่วมมากตลาดก็ยิ่งกว้างยิ่งคึกคักและหลากหลายตลาดนัดวิชาการที่แต่เดิมออกแบบมาเพื่อเจาะกลุ่ม “นักเรียนทุนรัฐบาล” หรือ “นักเรียนไทยในต่างแดน” ก็จะเติบโตขึ้นเป็น “ตลาดนัดความรู้”ที่จะเป็นศูนย์รวมของ “ใครก็ตาม”ที่เป็น”นักวิชาการ”อย่างที่ผมนิยามไว้ในตอนแรก
…กลุ่ม”นักวิชาการ”ที่รวมตัวกันอย่างมีพลัง …พลังความคิดและพลังของเครือข่ายผู้ร่วมอุดมการณ์ที่มีอยู่ทุกหนแห่ง
…พลังที่จะปฎิรูปประเทศไทยของเราไม่ใช่เรื่องเกินความจริง

…เราจะเริ่มสร้าง”ตลาดนัด”ที่ว่าอย่างไร?
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------

 

 

 


 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 20168เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2006 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท