เรารักบ้านเกิด


สำนึกรักบ้านเกิด

บทความเรื่อง บทสะท้อนหลักสูตร เรารักบ้านเกิด : We love my hometown

แนวคิดเชิงปฏิบัติสู่การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน

1.สาระสำคัญ

                การจัดการศึกษาตามแนว พ.ร.บ. 2542 สถานศึกษามีหน้าที่สำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรเริ่มตั้งแต่การออกแบบหลักสูตร การจัดทำสาระ การนำหลักสูตรไปใช้รวมทั้งการประเมินปรับปรุงให้หลักสูตร สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาของผู้เรียนและความต้องการของท้องถิ่น

            โรงเรียนบ้านหนองมะม่วงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่ผสมผสานสาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติ action research พัฒนานวัตกรรมพัฒนาหลักสูตรด้วยวงจรเดมมิ่ง Deming cycle : PDCA ผลดำเนินงานได้ช่วยสะท้อนให้เห็นการปฏิรูปการศึกษาของโรงเรียน จากการศึกษาโรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ การทำนา ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ จักสาน ภูมิปัญญาด้านศิลปะ การตีกลองยาว โรงเรียนมีข้อจำกัด ขาดแคลนครู ครูรับภาระงานการสอนหลายชั้นเรียนทำให้มีแผนการสอนไม่ครบทุกกลุ่มสาระ ผู้เรียนมาจากครอบครัวยากจนไม่ค่อยได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอุดมศึกษา ต้องออกไปหางานทำที่ต่างจังหวัดไม่ค่อยได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด ในการดำเนินงานสร้างหลักสูตรท้องถิ่นแบบอิงมาตรฐานมีอยู่  6   ขั้นตอนดังนี้

1.     การกำหนดหัวเรื่อง ( theme )

2.     การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสาระ

3.     การกำหนดขอบข่ายเนื้อหา

4.     การออกแบบการเรียนรู้

5.     การจัดทำแผนการเรียนรู้

6.     การจัดทำคำอธิบายรายวิชา

หลักสูตรท้องถิ่นเกิดขึ้นจากการหล่อหลอมสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นมาปรับสู่มาตรฐานช่วงชั้นบูรณาการเพื่อออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ 8 หน่วย แนวการจัดการเรียนรู้ใช้สอนแบบรวมชั้นเรียน ( ช่วงชั้น ) สอนแบบ group based learning แนวคิดการสอนแบบ 5 Ps มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

                1.P1   pre-learning แจ้งจุดประสงค์และขอบข่าย

                2.P2   presentation ขั้นนำเสนอบทเรียน

                3. P3  participation ขั้นเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

                4. P4  practice ขั้นการเรียนรู้โดยฝึกปฏิบัติ/สร้างสรรค์ผลงาน

                5. P5  performance assessment ขั้นประเมินผลการเรียนรู้

นอกจากการพัฒนาหลักสูตรมีคุณค่าต่อการปฏิรูปการเรียนรู้ นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์รักและศรัทธาภาคภูมิใจในบ้านเกิด สถานศึกษามีหลักสูตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ได้ระดับดีมากได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก สมศ. ได้รับรางวัลผลงานหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรมระดับเหรียญเงินของคุรุสภาประจำปี 2549

2. สิ่งที่ได้เรียนรู้

            2.1 ได้รู้แนวทางในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

            2.2 ได้รู้แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้คือ

                        2.2.1 plan การวางแผน

                        2.2.2 do การดำเนินการ

                        2.2.3check การตรวจสอบ

            2.3 การสร้างหลักสูตรท้องถิ่นแบบอิงมาตรฐานประกอบด้วย

                        2.3.1 การกำหนดหัวเรื่อง

                        2.3.2 การวิเคราะห์ความสอดคล้องของสาระการเรียนรู้

                        2.3.3 การกำหนดขอบข่ายเนื้อหาสาระ

                        2.3.4 การออกแบบการเรียนรู้

                        2.3.5 การจัดทำแผนการเรียนรู้

                        2.3.6 การจัดทำคำอธิบายรายวิชา

 

 

 

 

 

    

 


 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #รักบ้านเกิด
หมายเลขบันทึก: 201266เขียนเมื่อ 16 สิงหาคม 2008 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท