เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" : สยามกีฬา


ผมอยากให้คอลัมภ์นี้มีประโยชน์ โดยผมจะเน้นมุมมองและบทเรียนของผมเกี่ยวกับกีฬา

สวัสดีครับชาว Blog,

           ขอต้อนรับสู่ Blog เรียนรู้จากกีฬากับ "ดร.จีระ" ซึ่งผมจะเขียนเป็นประจำทุกวันพุธทางหนังสือพิมพ์สยามกีฬาครับ ท่านผู้ใดสนใจมุมมองด้านกีฬาผ่านการวิเคราะห์ ผมขอเชิญอ่าน และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Blog นี้นะครับ สำหรับวันที่ 16 กรกฎาคม 2551 ถือเป็นวันแรกสำหรับคอลัมภ์ที่ผมเขียนให้สยามกีฬาครับ  ผมจึงขอนำมาฝากชาว Blog ได้อ่าน และร่วมแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมครับ ผมหวังว่าคอลัมภ์นี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างสังคมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นต่อไปครับ

........................................................................................................................................................................

สวัสดีกับท่านผู้อ่านครั้งแรก

 

ผมภูมิใจมากที่คุณ ระวิ  โหลทอง  กรุณาให้ผมมาทำงานเป็นแนวร่วม เรื่องกีฬา , หลายคนอาจจะไม่รู้จักผมเรื่องกีฬา แต่บรรดาเพื่อนรุ่นน้อง รุ่นพี่ ทั้งเทพศิรินทร์  และสมัยที่เรียนที่ New Zealand หรือสมัยที่เป็นอาจารย์ธรรมศาสตร์ ทราบว่าผมเป็นบุคคลที่ชอบกีฬาเป็นชีวิตจิตใจ และติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด รายการวิทยุของผม (รายการ Human Talk 96.5 MHz) และ TV TNN  2 ก็มีโอกาสพูดถึงกีฬาบ่อย ผมอ่านสยามกีฬาทุกวันมาโดยตลอด พร้อมกับอ่าน Bangkok Post , Nation  , และ Herald Tribune การอ่าน Web ของผมก็เน้นอ่านเรื่องกีฬาเสมอ พอ Happy ความรู้ต่างๆ ก็เพิ่มขึ้น

อยากให้คอลัมภ์ในวันนี้ มีประโยชน์ โดยจะเน้นมุมมองและบทเรียนของผมเกี่ยวกับกีฬา ในแต่ละอาทิตย์ก็จะแบ่งปันกัน และจะสร้าง Blog เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน แต่เป้าหมายผมสูง อยากให้กีฬาช่วยชาติไทยในหลาย ๆ เรื่อง

ให้คนไทยภูมิใจในประเทศของเรา มีศักดิ์ศรี เพราะคนในโลกสนใจกีฬา เช่น รู้จักเปเล่ มากกว่าประธานาธิบดีของบราซิล หรือเมื่อพูดถึงอาเจนตินา ก็คงยังพูดถึง มาราโดนา

อยากจะทำวิจัยเสนอแนะว่า กีฬา ช่วยการจ้างงานสักกี่คน หลักสูตรมหาวิทยาลัยจะสร้างบุคลากรทางด้านกีฬาได้แค่ไหน

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกีฬา ซึ่งวันนี้เป็นธุรกิจทางด้านสาขาบริการ อนาคตเมืองไทย อาจจะมี GDP จากสาขากีฬามากขึ้นเป็น 2% 3% หรือ 5% เพราะโอกาสสูง ดูมูลค่าของสโมสร Real Madrid หรือ แมนยู ซึ่งมีสูงมาก อยากให้คนนอกวงการที่ไม่เน้นการพนันมาร่วมหารือด้วย

อยากให้เยาวชน มองกีฬาเป็นอาชีพ มีรายได้ดี  มีชีวิตที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี  อย่างยั่งยืน

อยากให้กีฬาเป็นการทูตภาคประชาชนเชื่อมโยงกับต่างประเทศได้อย่างดี อยากให้เราบริโภคกีฬาต่างประเทศให้พอดี แต่ คุ้มทุน ไม่ใช่ มีแต่โปรแกรมต่างประเทศ คือเสียมากกว่าได้  เช่น บ้าคลั่งฟุตบอลอังกฤษ จนไม่ดูฟุตบอลไทย เช่นนี้ ผมไม่เห็นด้วย  ผมไปดูฟุตบอลไทยเสมอ

ก่อนอื่นนอกจากBlog (www.chiraacademy.com, www.gotoknow.org/blog/chiraacademy) แล้ว ผมจะฝากเบอร์  E-mail :[email protected] และเบอร์ที่ Office  โทรศัพท์ 0-2884-8814, 0-2884-9420-1 หากจะติดต่อผมที่ Office จะให้คุณเอราวรรณ รับเรื่องไว้  

ผมเริ่มเขียนต้นฉบับก็มีข่าวดีมาก คือ Scottish Open เหลืออีกแค่ 1 วัน คุณธงชัย ใจดี คะแนนอยู่ที่ - 7  ห่างผู้นำอยู่ 3 แต้ม คืนนี้ ผมก็จะดูว่าคุณธงชัย จะยืนระยะได้หรือไม่ ถึงไม่ได้ที่ 1 แต่ 1 ใน 5 ก็ดีแล้ว ภูมิใจในตัวคุณธงชัยมาก  ขอพูดถึงความสำเร็จของ Tiger Woods ที่ชอบ Tiger เพราะ

-          เป็นลูกครึ่งไทย

-          เก่งมาก ๆ

ที่ไม่ชอบก็มี ในเรื่องที่เขาไม่มีความรักชาติไทยเลย  ดูแล้ว Tiger Wood จะขาดความเข้าใจวัฒนธรรมไทยมาก ๆ

ถ้าผมเป็นคนมีอำนาจทางกีฬา ผมจะใช้ Tiger เพื่อสร้าง Brand ของประเทศไทย (ได้ข่าวว่าจะใช้แต่แพง)  แพงแค่ไหนก็ต้องทำ เพราะเขามีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นลูกครึ่งไทย

วันนี้ บทเรียนที่จะพูดถึงเขามาจากหนังสือ ชื่อ “How Tiger does it” เขียนโดย Brad Kearns ขอขอบคุณ McGraw Hills ที่รู้ว่าผมชอบและสนใจหนังสือเล่มนี้ ส่งมาให้ผมได้อ่าน หนังสือเล่มนี้เห็นว่า Tiger ประสบความสำเร็จเพราะอะไร ผู้เขียนเป็นนักกีฬาอาชีพที่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ทางด้านปัญจะกรีฑา  และชอบเขียน ชอบถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจ เขาได้ติดตามบทบาทของ Tiger มาตลอด ตั้งแต่ Tiger เริ่มเล่นที่ California ตอนใต้  เขาได้วิเคราะห์ความสามารถของ Tiger ในหลายประเด็น

ประเด็นแรกคือ Focus การทำอะไรที่มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมาย ในประเด็นนี้ผมเลือกจุดสำคัญ 2-3 เรื่อง ของ Focus :

จะ Focus สำเร็จต้องสร้างบรรยากาศให้เกิดการแข่งขันที่เป็นเลิศ  เช่น Tiger จะชอบเล่นระดับ Grand Slam  เพราะแรงบันดาลใจสูง

และประเด็นสำคัญ ก็คือ เมื่อมีบรรยากาศของการแข่งขันที่เป็นเลิศแล้ว Tiger มักจะเตรียมพร้อมเสมอ เช่น ฝึกหัดอย่างมีวินัย คือ ไม่ประมาท ไม่ใช่เก่งแล้ว จะเล่นอย่างไรก็ชนะ Tiger บ้าคลั่งการซ้อม และฟิตร่างกายตลอดเวลา

ทำงานอย่างมุ่งมั่น ที่สำคัญคือ ต้องพร้อมที่จะแก้ปัญหาและตัดสินใจที่ยาก และต้องควบคุมวินัยของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ผมว่า Tiger เก่งเรื่องควบคุมวินัย ซึ่งถ้าจะเปรียบกับนักกีฬาที่เก่ง แต่ไม่ถึงจุดสูงสุด ที่ผมติดตามก็คือ Roddick กับ Phil Mickelson ทั้งสองคน เจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็จะไม่มีวินัยในการควบคุมตัวเอง

ประเด็นที่ 2 ที่ผู้เขียนได้เน้น ก็คือ เรื่องการมีค่านิยมที่เน้นความสมดุลระหว่าง Work / play คือ Tiger  ไม่ใช่ คนที่มุ่งมั่นในมิติเดียว เราจะสร้างความสมดุลให้แก่ชีวิตของเรา แบบเล่นเก่งและมีความสุขในการเล่น นอกเวลาการเล่น ก็มีสังคม มีเพื่อน มีครอบครัว ที่อบอุ่น ซึ่งในประเทศไทยจะเห็นคนบางคน เน้นงานจนไม่มีเพื่อน  บางคนเน้นเพื่อนแต่ไม่เก่งเรื่องงาน

การเล่น  golf ต้องสร้างความสุขให้เขาด้วย เรื่องนี้ ผมกับคุณหญิงทิพาวดี พูดไว้บ่อยก็คือ การทำงานอย่างมีความสุข

อย่ามีเป้าหมายที่จำกัด  ผู้เขียนใช้คำว่า  Horizon (ขอบฟ้า) คือแปลว่า จุดสูงสุด คืออะไรก็ได้ที่ดีกว่า ที่เคยทำมาแล้ว ตัวอย่างที่เห็นก็คือ ภราดร ขึ้นระดับที่ 9 ของโลกแล้ว แต่ไม่ไปสูงกว่านั้น เพราะไม่มีจุดที่กระตุ้นที่ดี  ความจริง จุดที่ภราดรผิดพลาดก็คือ โลกทัศน์ของภราดรและพ่อของเขาแค่เก่งระดับโลกแต่ระดับโลกมีแบบ Federer, Samprasและ Agassie   ซึ่งต้องไปให้ถึงแบบอันดับ 1 หรือชนะ Grand Slam  ครอบครัวมองว่าการจ้าง Coach แพงไม่คุ้ม แต่บางคนบอกว่าคุ้ม ควรดูที่มูลค่าเพิ่มที่จะได้ เช่นชนะ Wimbledon ได้เงินเป็นพันล้าน Coach แค่ 50 ล้านถึงจะแพงแต่ก็คุ้ม

สุดท้าย เรื่องความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต ก็คือ ความสมดุลไม่ใช่แค่ขยันฝึกซ้อม แต่พอเจอปัญหาต่าง ๆ ต้อง Work Smart มากกว่า Work Hard จะเห็นได้ว่า Tiger มักจะใช้ Judgement (การตัดสินใจ) ที่ดีในการแก้วิกฤติของการเล่น golf เพราะฉะนั้นจึงเป็นจุดสำคัญว่า Work hard / Play hard ไม่ใช่แค่ Hard แต่ต้อง  Smart  ด้วย

 

                                                                                                             จีระ  หงส์ลดารมภ์

                                                                                                         dr.[email protected]

...........................................................................................................................................................

 

ติดตามอ่านบทความอื่น ๆ โปรดคลิกลิ้งค์นี้

 

สวัสดีกับท่านผู้อ่านครั้งแรก (16 ก.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk506.html

 

ควันหลงจากบทความครั้งแรก (23 ก.ค. 51) 

http://www.siamsport.co.th/Columntalk528.html

 

ฟุตบอลอังกฤษ/โอลิมปิกที่จีน (30 ก.ค.51) 

http://www.siamsport.co.th/Columntalk529.html

 

ผมไม่เข้าใจ Michelle Wei (6 ส.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk547.html

 

เหรียญทองถวายสมเด็จฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา (13 ส.ค. 51)

http://www.siamsport.co.th/Columntalk569.html

หมายเลขบันทึก: 201219เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2008 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมต้องขอขอบคุณอาจารย์จีระที่เสียสละเวลามาให้มุมมอง และแง่คิดที่เป็นประโยชน์ต่อแวดวงกีฬา ผมเองก็สนใจกีฬาแต่ยังมีมุมมองที่ยังไม่กว่างนัก

ผมมีความคิดเห็นเล็กน้อยเกี่ยวกับโอลิมปิกครั้งนี้ ประเด็นคือ ประเทศไทยมักจะให้เงิน ชื่อเสียง และการยอมรับมากเกินไปแก่นักกีฬาผู้ที่ได้ชัยชนะ แต่กลับละเลยที่จะให้กำลังใจแก่ผู้ที่พ่ายแพ้หรือยังไม่ประสบความสำเร็จ ผมจึงอยากให้อาจารย์กระตุ้นให้ผู้ที่มีอำนาจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้โอกาสแก่ผู้แพ้ด้วย

                                                                   สมบัติ

สวัสดีครับอาจารย์จีระที่เคารพ

ผมอยากให้อาจารย์ช่วยวิเคราะห์ว่าทำไมฟุตบอลไทยสู้ฟุตบอลในแอฟริกาไม่ได้ และอยากทราบว่านายกสมาคมฟุตบอลในแอฟริกาส่วนมากมีอาชีพอะไร

                                                                                                                รัตน์

ขอขอบคุณคุณสมบัติและคุณรัตน์ครับที่ส่งความคิดเห็นเข้ามา เป็นประเด็นที่ดีมาก ผมจะหาข้อมูลมาให้นะครับ

                                                                   จีระ หงส์ลดารมภ์

 

พิมพ์ครั้งที่ 6 หนังสือพิมพ์สยามกีฬา

ฉบับวันที่ 20 สิงหาคม 2551                 

                           

                     โอลิมปิกที่ปักกิ่ง (ตอน 2)

        ระหว่างที่ผมเขียนนี้ไทยยังอยู่ที่ 1 เหรียญทอง มวยเข้ารอบสุดท้ายแล้ว 4 รุ่น คาดหวังว่าไทยคงจะได้เหรียญเพิ่มขึ้น คุณเก๋ ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล ก็ทำให้คนไทยภูมิใจและฉลองวันแม่ไปเรียบร้อยแล้ว

        สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ ทรงรับสั่งเกี่ยวกับเมืองไทยไว้ 3 เรื่อง จะนำมาวิเคราะห์และขอให้ผู้ที่สนใจกีฬานำไปพิจารณาต่อไป

        เรื่องแรก คือ เรื่องการศึกษาไทยในปัจจุบันที่ยังไม่เน้นเรื่องประวัติศาสตร์และศีลธรรม พระองค์ท่านจึงทรงให้เห็นความสำคัญที่จะปรับปรุงหลักสูตรเหล่านี้ เป็นประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และการศึกษาไม่จำเป็นต้องเน้นการศึกษาอย่างเป็นทางการ สื่ออย่าง สยามกีฬาก็เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ พระองค์ท่านสนับสนุนให้คนไทยหวงแหนศิลปวัฒนธรรม โครงการศิลปาชีพเป็นตัวอย่างที่กระทรวงศึกษาโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาชีวศึกษานำไปพิจารณา

        ประเด็นที่สอง คือ เรื่องวิธีการพัฒนาประเทศควรจะดูแลทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำและป่าไม้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญและคนไทยควรจะน้อมรับไว้ ธุรกิจหลายแห่งเริ่มสนใจ Green Business หลายแห่ง เช่น ปตท. ก็เอาจริงกับเรื่องการปลูกป่า สำหรับผมเน้นการพัฒนาทุนมนุษย์ที่ช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นจึงจะเป็นการทำงานที่สมดุล

        สุดท้าย ก็คือ เรื่องของข้าราชการ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือทหารหรือข้าราชการทั่วๆ ไป โดยเฉพาะภาคใต้ที่เสียสละ และอุทิศตนน่ายกย่อง พระองค์ท่านทรงยกย่องตำรวจที่เคยอารักขาพระองค์ท่านทางใต้ที่เสียชีวิตไป คือ ร.ต.อ.ธรณิศ ศรีสุข และ ร.ต.ต.กิตติกุล บุญลือ มีความมุ่งมั่น มีจิตวิญญาณ มีอุดมการณ์ที่จะรับใช้ชาติ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่จรรโลงประเทศของเราไว้

       กลับมาเรื่องโอลิมปิกมีหลายประเด็นที่น่าจะพูดถึง

        เรื่องแรกก็คือ การแข่งขันผ่านไปแล้วอาทิตย์กว่า ๆ ต้องยอมรับว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เรียบร้อยดี ความเสี่ยงเรื่องการควบคุมไว้ได้ มีหลายกลุ่มเห็นว่า คนจีนในปักกิ่งเองต่างหากที่ดูเหมือนว่าถูกจำกัดเสรีภาพเพื่อให้ภาพต่าง ๆ ที่ออกมาดี ก็ต้องดูกันต่อไป เหลืออีกประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะจบเรื่องนี้

        เรื่องที่สองก็คือ บทเรียนจากกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ต่อไทยก็มีมาก        

       o เรื่องแรกก็คือ เมื่อไหร่ไทยเราจะมีโอกาสได้เป็นเจ้าภาพ ผมยังคิดว่าไทยจัดได้แต่รัฐบาลหรือหากกลุ่มไหนจะริเริ่ม ต้องเป็นการวางแผนระยะยาว อย่างในอังกฤษเขาก็จะเชิญอดีตนักกีฬาเหรียญทองโอลิมปิกมาช่วย อย่าง Sebastian Coe อดีตนักวิ่งระยะทาง 800, 1500 เมตรเหรียญทองโอลิมปิกมาเป็นประธานเตรียมการจัดโอลิมปิกลอนดอน 2012 ซึ่งเขาก็ทำได้ดี มาดูอดีตเหรียญทองของเราวันนี้หายไปจากวงการ บางคนก็กลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เรายังใช้ประโยชน์จากนักกีฬาเหรียญทองของเราน้อยเกินไป

        o จุดสำคัญของประเทศไทยน่าจะเน้นให้คนไทยได้ออกกำลังกายอย่างจริงจัง เพราะคนไทยทุกวันนี้บ้าเงิน กับบ้าอำนาจ มีชีวิตที่ไม่ค่อยสมดุลเท่าไหร่นัก

         o ต่อมาน่าจะมองกีฬาเป็นเรื่องการจ้างงานของคนไทย และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น เพราะ GDP ทางภาคบริการ ก็จะขยายตัวได้ดี

         o จะเห็นว่าผู้บริหารสมาคมกีฬาต่าง ๆ ทำตัวเป็นมืออาชีพมากขึ้น และพร้อมที่จะแข่งขันต่อสู้กันในระดับโลกมากขึ้น

          การจัดโอลิมปิกที่จีนครั้งนี้ หนังสือพิมพ์ Business Week เล่มล่าสุด เขียนว่ากีฬาระดับโอลิมปิกสร้างงานและสร้างธุรกิจต่าง ๆ ในโลกได้ มาก มีการค้า มีธุรกิจใหม่เกี่ยวกับกีฬาและโอลิมปิกซึ่งเน้นคำว่า นวัตกรรมหรือ “Innovation” ซึ่งเป็นแนวคิดที่เหมาะจะนำมาใช้กับสังคมไทยด้วย เพราะสังคมไทย ธุรกิจและราชการไทยยังมองอะไรแบบเดิม ไม่ค่อยจะมีความคิดสร้างสรรค์และนำไปสู่นวัตกรรม ซึ่งกีฬาก็ช่วยกระตุ้นให้เกิด Innovation ใหม่ ๆ ได้ หนังสือ Business week ว่าแค่ค่าใช้จ่ายในเรื่องการดูแลความปลอดภัยอย่างเดียวก็ทำให้เกิดการจ้างงานกันอย่างมาก สำหรับผมชื่นชมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยที่เผยแพร่ผลไม้ไทยให้นักกีฬาโอลิมปิกได้ทดลองชิมดู เป็นการเผยแพร่เพื่อการส่งออกได้ดี

          3- 4 ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับโอลิมปิก ที่ควรจะนำไปวิเคราะห์ต่อ

          จีนไม่ได้เก่งเรื่องพิธีเปิดเท่านั้น แต่เก่งจริงเรื่องกีฬา ระหว่างที่ผมเขียนต้นฉบับ ก็พูดได้เลยว่า จีนต้องชนะที่หนึ่งเหรียญทองแน่นอน อเมริกาซึ่งเคยชนะเหรียญทองอันดับหนึ่งเสมอ ก็ลงมาอยู่อันดับ 2 คำถาม ก็คือ ผลกระทบต่อกีฬาโลกจะเป็นอย่างไร? คงจะต้องติดตามต่อไป กีฬาของโลกจะเคลื่อนย้ายความสำคัญจากตะวันตกมาตะวันออกอย่างไร? จะเชื่อมโยงกันอย่างไร? จะขยายมาทางจีนและสร้างธุรกิจอย่างมหาศาล

          ที่ผมประทับใจมากก็คือ ความสามารถของ ไมเคิ่ล เฟลป์ส นักว่ายน้ำหนุ่มชาวสหัฐอเมริกา เป็นคนที่มีอัจฉริยะภาพมาก ระหว่างที่เขียนอยู่ก็สามารถได้เหรียญทองแล้วประมาณ 8เหรียญ ซึ่งรวมกับเหรียญทองคราวที่แล้วอีก 5 เหรียญถือว่ามากที่สุด ผมว่าคนว่ายน้ำเก่งน่าจะเป็นคนประเภทว่ายเหมือนปลาน่าชื่นชมมาก

          ก่อนจบ ผมคงจะต้องฝากเรื่องฟุตบอลอังกฤษไว้ คือ ขอแสดงความเสียใจกับสเปอร์ที่ออก Start ได้ไม่ดีเลย ทั้ง ๆ ที่นักข่าวต่างประเทศส่วนมากวิเคราะห์กันว่าจะมีโอกาสได้ดี ในฐานะที่ผมเป็นแฟนพันธุ์แท้ ก็คงจะพูดว่ารอมาเกือบ 50 ปี รออีกปีก็คงไม่นานเกินไป ก็ต้องดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

          ดูเหมือนว่า ทีมน้องใหม่ที่เพิ่งขึ้นมา ออก 2 แนว คือ ทีม สโตค ก็คงคล้าย ๆ กับ ดาร์บี้ แต่ทีมฮัลก็สามารถทำสถิติชนะได้ ต้องดูในต่อไปว่าทั้ง 3 ทีมจะรอดกลับไปหรือไม่

             

                                 จีระ  หงส์ลดารมภ์

..แม้ว่าจะเข้ามาอ่านBlogนี้ช้าไปหน่อย แต่ รู้สึกว่ามีประโยชน์มาก ได้ช่วยให้เกิดความคิดที่อยากจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากปูมหลังที่มีต่อกีฬากับอาจารย์ในฐานะคนไทยคนนึง..

๑.เรื่องไทเกอร์ วูด..กับความรู้สึกที่คนไทยหลายคนน้อยใจ..ไทเกอร์ มีแม่เป็นชาวราชบุรี และหลายปีมานี้ คุณแม่ของไทเกอร์ และตัวไทเกอร์เองได้ส่งเงินและวัสดุ อุปกรณ์การศึกษา มาให้โรงเรียนหลายแห่งในอำเภอสวนผึ้ง อำเภอบ้านคา โดยไม่เคยประกาศให้ใครๆรู้ ตลอดมา..ผม คิดว่า ไทเกอร์ไม่เคยลืมว่าเขามีเลือดไทยผสมอยู่ในกายแน่นอน..แต่อาจจะเป็นเพราะมีหลายสาเหตุที่ทำให้เขาไม่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งถึงความเป็นลูกผสมไทย-อเมริกัน(ดำ)..

๒.กีฬาโอลิมปิค..ผมรู้สึกว่า เหรียญต่างๆที่เราได้มาเป็นแค่ภาพลวงตาที่น่าจะสะท้อนอะไรหลายอย่างของสังคมไทย..คงเช่นเดียวกับที่เรามีคนถูกหวย..ความจริง ด้วยขนาดของประเทศและทรัพยากร ผนวกกับศักยภาพของร่างกาย จิตใจ คนไทย..เราสามารถสร้างนักกีฬาที่เก่งและได้รับเหรียญโอลิมปิกได้มากกว่านี้และมากกว่าหลายประเทศ..แต่ กระบวนการสร้างคน สร้างชาติของเราถูก กลุ่มคนบางพวกทำลายไป..ผมว่าไม่น้อยกว่า ๕๐ ปี..ถ้าเราศึกษาวิจัยพัฒนาการต่างๆ ทุกด้านของประเทศ จะเห็นว่า ถดถอย หรือชะลอตัวมาตลอด..ทั้งๆที่เรามีชาติที่ประเสริฐ ศาสนาที่ประเสริฐและพระมหากษัตริย์ที่ประเสริฐ..แต่...เราทุกคนคงจะต้องร่วมกันคิด ร่วมกันแก้ต่อไป..

เรียนอาจารย์จีระ หงสืลดารมภ์

ผมชอบบทสรุปนี้มาก มันโดนใจครับ

สุดท้าย เรื่องความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต ก็คือ ความสมดุลไม่ใช่แค่ขยันฝึกซ้อม แต่พอเจอปัญหาต่าง ๆ ต้อง Work Smart มากกว่า Work Hard จะเห็นได้ว่า Tiger มักจะใช้ Judgement (การตัดสินใจ) ที่ดีในการแก้วิกฤติของการเล่น golf เพราะฉะนั้นจึงเป็นจุดสำคัญว่า Work hard / Play hard ไม่ใช่แค่ Hard แต่ต้อง Smart ด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท